ASTVผู้จัดการรายวัน - เน็กซัส ชี้ ตลาดอสังหาฯ เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 52 คาดว่าจะปรับตัวดีต่อเนื่องเหตุมาตรการภาษีหนุน พร้อมเผยผลสำรวจพบ ระบุตลาดคอนโดฯ-รีเทลปรับตัวดีขึ้น คอนโดฯ 8 หมื่น – 1.2 แสนบาท/ตร.ม.ตลาดตอบรับดี ทำเลรัชดาภิเษก-รัชโยธิน ขายดีสุด ส่วนอาคารสำนักงาน – นิคมอุตฯ -เซอร์วิสอพาร์ต เมนต์ยังชะลอตัว
นายอภิสิทธิ์ ลิ้มล้อมวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เน็กซัส พรอพเพอตี้ คอนซัลแทนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง ปี 52 ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มกลับมาฟื้นตัว สังเกตจากสภาพโดยทั่วไปของตลาดที่เริ่มฟื้นตัวและยอดขายคอนโดมิเนียมที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากที่มีการชะลอตัวลงของยอดขายคอนโดในช่วงปี 51 – กลางปี 52 ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นตลาด ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และมีการใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดฯมียอดขายฟื้นกลับมาอย่างเห็นได้ชัด โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในประเทศ และที่สำคัญผู้ซื้อ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีซึ่งจะสิ้นสุดลงใน 28 มีนาคม53 นี้
จากการสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯของฝ่ายวิจัยของเน็กซัสฯ พบว่า ตลาดคอนโดฯไฮเอนด์ ที่มีราคาขายเฉลี่ย 80,000 – 120,000 บาท / ตารางเมตร(ตร.ม.) ได้รับการตอบรับที่ดีมากในช่วงครึ่งหลังปี 52 ที่ผ่านมา โดยบางโครงการที่เปิดตัวใหม่ สามารถปิดการขายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่ยังมีอยู่มากเพียงแต่ชะลอการซื้อออกไป เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น
ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลัง ปี 52 มีโครงการเปิดตัวใหม่ 37 โครงการจำนวน 11,591 หน่วย โดยทำเลที่มียอดขายสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ย่านรัชดาภิเษก – รัชโยธิน ขายได้ 28.16% จากจำนวนยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 52, ย่านลาดพร้าว ขายได้ 17.58% และบริเวณอโศก – เพชรบุรี ขายได้ 16.81% ตามลำดับ ส่วนราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ทั้งตลาด ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ ประมาณ 85,000 บาท/ตร.ม.สำหรับขนาดห้องที่นิยมพัฒนาโดยเฉลี่ยมีขนาด 62 ตร.ม.ต่อห้อง
ด้านตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ในปัจจุบันคงที่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา โดยตลาดเช่าห้องพักนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนและชาวต่างชาติ หากสภาพเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่อง ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์จะปรับตัวดีขึ้นตามตลาดอสังหาฯอื่นๆ ปัจจุบันซัพพลายอยู่ 12,939 หน่วย และมีอัตราการเช่า 71.47% เพิ่มขึ้น1.82%จากช่วงครึ่งปีแรก โดยมีราคาค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,329 บาทต่อห้องต่อคืน
ตลาดอาคารสำนักงาน ในปัจจุบัน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงไตรมาสสามที่ผ่านมา โดยมีซัพพลายอยู่ที่ 2.16 และ 1.49 ล้านตร.ม. ในศูนย์กลางธุรกิจ( CBD )และรอบนอกซีบีดี( Non CBD ) ตามลำดับ โดยมีอาคารสำนักงานเกรด เอ 0.69 และ 0.18 ล้านตร.ม.ใน CBD และ Non CBD ตามลำดับ ทั้งนี้การใช้พื้นที่อาคารสำนักงานในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีอยู่ที่ 88.83% และ 91.91% โดยราคาค่าเช่าอยู่ที่เฉลี่ย 605 สำหรับ CBD และ 503 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือนสำหรับ Non CBD
ตลาดรีเทล ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา เริ่มเห็นลักษณะของ Neighborhood Mall มากขึ้น มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ประมาณ 4,000 – 7,000 ตร.ม. เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่
ตลาดนิคมอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมามีการทำธุรกรรมเพียง 1,300 ไร่ ซึ่งลดลงมากกว่า 90% จากปี 2551
สรุปตลาดโดยรวม ตลาดคอนโดฯและตลาดรีเทล มีลูกค้าหลักเป็นลูกค้าในประเทศ สถานการณ์ตลาดปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนตลาดอาคารสำนักงาน, ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และตลาดนิคมอุตฯ ที่อิงลูกค้านักลงทุนและชาวต่างชาติ ชะลอตัว เนื่องจากลูกค้ายังคงขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ทั้งจากปัจจัยทางการเมืองและสภาพเศรษฐกิจ.
นายอภิสิทธิ์ ลิ้มล้อมวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เน็กซัส พรอพเพอตี้ คอนซัลแทนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง ปี 52 ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มกลับมาฟื้นตัว สังเกตจากสภาพโดยทั่วไปของตลาดที่เริ่มฟื้นตัวและยอดขายคอนโดมิเนียมที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากที่มีการชะลอตัวลงของยอดขายคอนโดในช่วงปี 51 – กลางปี 52 ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นตลาด ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และมีการใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดฯมียอดขายฟื้นกลับมาอย่างเห็นได้ชัด โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในประเทศ และที่สำคัญผู้ซื้อ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีซึ่งจะสิ้นสุดลงใน 28 มีนาคม53 นี้
จากการสำรวจตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯของฝ่ายวิจัยของเน็กซัสฯ พบว่า ตลาดคอนโดฯไฮเอนด์ ที่มีราคาขายเฉลี่ย 80,000 – 120,000 บาท / ตารางเมตร(ตร.ม.) ได้รับการตอบรับที่ดีมากในช่วงครึ่งหลังปี 52 ที่ผ่านมา โดยบางโครงการที่เปิดตัวใหม่ สามารถปิดการขายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่ยังมีอยู่มากเพียงแต่ชะลอการซื้อออกไป เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น
ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลัง ปี 52 มีโครงการเปิดตัวใหม่ 37 โครงการจำนวน 11,591 หน่วย โดยทำเลที่มียอดขายสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ย่านรัชดาภิเษก – รัชโยธิน ขายได้ 28.16% จากจำนวนยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 52, ย่านลาดพร้าว ขายได้ 17.58% และบริเวณอโศก – เพชรบุรี ขายได้ 16.81% ตามลำดับ ส่วนราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ทั้งตลาด ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ ประมาณ 85,000 บาท/ตร.ม.สำหรับขนาดห้องที่นิยมพัฒนาโดยเฉลี่ยมีขนาด 62 ตร.ม.ต่อห้อง
ด้านตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ในปัจจุบันคงที่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา โดยตลาดเช่าห้องพักนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนและชาวต่างชาติ หากสภาพเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่อง ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์จะปรับตัวดีขึ้นตามตลาดอสังหาฯอื่นๆ ปัจจุบันซัพพลายอยู่ 12,939 หน่วย และมีอัตราการเช่า 71.47% เพิ่มขึ้น1.82%จากช่วงครึ่งปีแรก โดยมีราคาค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,329 บาทต่อห้องต่อคืน
ตลาดอาคารสำนักงาน ในปัจจุบัน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงไตรมาสสามที่ผ่านมา โดยมีซัพพลายอยู่ที่ 2.16 และ 1.49 ล้านตร.ม. ในศูนย์กลางธุรกิจ( CBD )และรอบนอกซีบีดี( Non CBD ) ตามลำดับ โดยมีอาคารสำนักงานเกรด เอ 0.69 และ 0.18 ล้านตร.ม.ใน CBD และ Non CBD ตามลำดับ ทั้งนี้การใช้พื้นที่อาคารสำนักงานในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีอยู่ที่ 88.83% และ 91.91% โดยราคาค่าเช่าอยู่ที่เฉลี่ย 605 สำหรับ CBD และ 503 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือนสำหรับ Non CBD
ตลาดรีเทล ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา เริ่มเห็นลักษณะของ Neighborhood Mall มากขึ้น มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ประมาณ 4,000 – 7,000 ตร.ม. เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่
ตลาดนิคมอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมามีการทำธุรกรรมเพียง 1,300 ไร่ ซึ่งลดลงมากกว่า 90% จากปี 2551
สรุปตลาดโดยรวม ตลาดคอนโดฯและตลาดรีเทล มีลูกค้าหลักเป็นลูกค้าในประเทศ สถานการณ์ตลาดปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนตลาดอาคารสำนักงาน, ตลาดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และตลาดนิคมอุตฯ ที่อิงลูกค้านักลงทุนและชาวต่างชาติ ชะลอตัว เนื่องจากลูกค้ายังคงขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ทั้งจากปัจจัยทางการเมืองและสภาพเศรษฐกิจ.