ASTVผู้จัดการรายวัน- “พาณิชย์”ใบ้กินฟันผิดฟิลลิป มอร์ริส หลังดีเอสไอไม่ยอมให้ข้อมูลเพิ่ม เผยหลักฐานที่มีอยู่ยกเลิกการคุ้มครองตามสนธิสัญญาไมตรีไม่ได้ เหตุไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนจีจีเอฟ ทำได้แค่ส่งตำรวจปรับโทษฐานย้ายสำนักงานแล้วไม่แจ้ง แต่ฟันผิดนอมินียังหาบทสรุปไม่เจอ อ้าง“อลงกรณ์”ให้ข่าวตามข้อมูลดีเอสไอ
นายบรรยง ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ขอให้ตรวจสอบบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด บริษัทสัญชาติอเมริกันที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ปฎิบัติผิดเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทยตามสิทธิของสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-สหรัฐฯ ปี 2511ว่า กรมฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบตามข้อกล่าวหาของดีเอสไอแล้ว โดยตรวจสอบจากหลักฐานที่กรมฯ มีอยู่ในฐานะผู้ออกหนังสือรับรองการเข้ามาประกอบธุรกิจของบริษัทที่มีสัญชาติเป็นอเมริกัน ซึ่งตามสนธิสัญญาฯ ระบุว่าไม่ต้องขออนุญาต แต่ให้ขอหนังสือรับรองเท่านั้น และพบว่าตั้งแต่วันที่ 24ก.ย.2534 จนถึงขณะนี้ ตามข้อมูลไม่มีการเเจ้งการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางธุรกิจ
ทำให้กรมฯ ไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดได้ตามข้อกล่าวหาของดีเอสไอ
“ดีเอสไอแจ้งมาว่าบริษัทดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นไปเป็นสัญชาติอื่น คือ ออสเตรเลีย และอินเดีย ซึ่งไม่ใช่อเมริกัน ทั้งที่สนธิสัญญาฯ ระบุว่า ให้สิทธิเฉพาะบุคคลสัญชาติอเมริกันเท่านั้น หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ควบคุมและจัดการเป็นบุคคลสัญชาติอื่นจะไม่อยู่ในการคุ้มครองของสนธิสัญญาฯ แต่จากการตรวจสอบข้อมูลที่กรมฯ มีอยู่ พบว่า บริษัทอเมริกันที่เข้ามาเปิดสาขาในไทยแห่งนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น”นายบรรยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้มีหนังสือถึงดีเอสไอ2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 25ธ.ค.2552และวันที่ 18ม.ค.2553ขอใด้ดีเอสไอเร่งส่งหลักฐานที่ดีเอสไออ้างว่า บริษัทดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ควบคุมและจัดการเป็นบุคคลสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่อเมริกัน มา เพื่อกรมฯ จะได้ตรวจสอบต่อไป หากพบว่าเป็นไปตามที่ดีเอสไอกล่าวอ้าง กรมฯ จะพิจารณาส่งเรื่องดังกล่าวดำเนินการตามกฎหมายทันที
ส่วนการตรวจสอบ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทอีกแห่งที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ในฐานะนิติบุคคลไทย จากการตรวจสอบพบว่าบริษัทไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. 2542และยังไม่ได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจใด
นายบรรยงค์กล่าวว่า สำหรับกรณีบริษัท จีจีเอฟ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่เป็นบริษัทที่ทำสัญญาเช่าไซโลกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) และมีปัญหาว่ากระทำผิดกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยให้คนไทยเป็นผู้ถือหุ้นแทน (นอมินี) นั้น ยอมรับว่าจนถึงขณะนี้ ในส่วนของกรมฯ ยังไม่สามารถสรุปความผิดดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เพราะกรมฯ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพียงเรียกมาให้ถ้อยคำ และเรียกให้ส่งเอกสารตามที่ร้องขอ หากไม่ดำเนินการตามจะมีโทษเพียงปรับครั้งละไม่เกิน 5พันบาท และแม้จีจีเอฟ
จะให้ความร่วมมือแล้วระดับหนึ่ง ก็ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าบริษัทหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยมีพฤติกรรมเป็นนอมินี
“สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีช่วย (นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์) แถลงข่าวไปก่อนหน้านี้ว่าจีจีเอฟเป็นนอมินี เป็นข้อมูลที่ได้จากดีเอสไอ ซึ่งได้มีการสอบสวนในเชิงลึกตามอำนาจหน้าที่ที่ดีเอสไอทำได้ แต่ในส่วนของกรมฯ ทำได้ยากกว่า เพราะถ้ากรมฯ เรียกไม่มา แค่ถูกปรับ แต่ถ้าดีเอสไอเรียกไม่มาติดคุก การสอบเชิงลึกจึงทำได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม กรมฯ จะนำข้อมูลจากดีเอสไอใช้เป็นแนวทางการสวบสวนต่อไป” นายบรรยงกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25ม.ค.ที่ผ่านมา กรมฯ ได้ส่งหลักฐานความผิดต่อบริษัท จีจีเอฟ ให้แก่กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ในข้อหาย้ายสำนักงานโดยไม่แจ้งให้กรมฯทราบ มีโทษปรับไม่เกิน 7หมื่นบาท
นายบรรยง ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ขอให้ตรวจสอบบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด บริษัทสัญชาติอเมริกันที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ปฎิบัติผิดเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทยตามสิทธิของสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-สหรัฐฯ ปี 2511ว่า กรมฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบตามข้อกล่าวหาของดีเอสไอแล้ว โดยตรวจสอบจากหลักฐานที่กรมฯ มีอยู่ในฐานะผู้ออกหนังสือรับรองการเข้ามาประกอบธุรกิจของบริษัทที่มีสัญชาติเป็นอเมริกัน ซึ่งตามสนธิสัญญาฯ ระบุว่าไม่ต้องขออนุญาต แต่ให้ขอหนังสือรับรองเท่านั้น และพบว่าตั้งแต่วันที่ 24ก.ย.2534 จนถึงขณะนี้ ตามข้อมูลไม่มีการเเจ้งการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางธุรกิจ
ทำให้กรมฯ ไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดได้ตามข้อกล่าวหาของดีเอสไอ
“ดีเอสไอแจ้งมาว่าบริษัทดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นไปเป็นสัญชาติอื่น คือ ออสเตรเลีย และอินเดีย ซึ่งไม่ใช่อเมริกัน ทั้งที่สนธิสัญญาฯ ระบุว่า ให้สิทธิเฉพาะบุคคลสัญชาติอเมริกันเท่านั้น หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ควบคุมและจัดการเป็นบุคคลสัญชาติอื่นจะไม่อยู่ในการคุ้มครองของสนธิสัญญาฯ แต่จากการตรวจสอบข้อมูลที่กรมฯ มีอยู่ พบว่า บริษัทอเมริกันที่เข้ามาเปิดสาขาในไทยแห่งนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น”นายบรรยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้มีหนังสือถึงดีเอสไอ2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 25ธ.ค.2552และวันที่ 18ม.ค.2553ขอใด้ดีเอสไอเร่งส่งหลักฐานที่ดีเอสไออ้างว่า บริษัทดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ควบคุมและจัดการเป็นบุคคลสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่อเมริกัน มา เพื่อกรมฯ จะได้ตรวจสอบต่อไป หากพบว่าเป็นไปตามที่ดีเอสไอกล่าวอ้าง กรมฯ จะพิจารณาส่งเรื่องดังกล่าวดำเนินการตามกฎหมายทันที
ส่วนการตรวจสอบ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทอีกแห่งที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ในฐานะนิติบุคคลไทย จากการตรวจสอบพบว่าบริษัทไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. 2542และยังไม่ได้เริ่มต้นประกอบธุรกิจใด
นายบรรยงค์กล่าวว่า สำหรับกรณีบริษัท จีจีเอฟ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่เป็นบริษัทที่ทำสัญญาเช่าไซโลกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) และมีปัญหาว่ากระทำผิดกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยให้คนไทยเป็นผู้ถือหุ้นแทน (นอมินี) นั้น ยอมรับว่าจนถึงขณะนี้ ในส่วนของกรมฯ ยังไม่สามารถสรุปความผิดดังกล่าวได้อย่างชัดเจน เพราะกรมฯ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเพียงเรียกมาให้ถ้อยคำ และเรียกให้ส่งเอกสารตามที่ร้องขอ หากไม่ดำเนินการตามจะมีโทษเพียงปรับครั้งละไม่เกิน 5พันบาท และแม้จีจีเอฟ
จะให้ความร่วมมือแล้วระดับหนึ่ง ก็ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าบริษัทหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยมีพฤติกรรมเป็นนอมินี
“สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีช่วย (นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์) แถลงข่าวไปก่อนหน้านี้ว่าจีจีเอฟเป็นนอมินี เป็นข้อมูลที่ได้จากดีเอสไอ ซึ่งได้มีการสอบสวนในเชิงลึกตามอำนาจหน้าที่ที่ดีเอสไอทำได้ แต่ในส่วนของกรมฯ ทำได้ยากกว่า เพราะถ้ากรมฯ เรียกไม่มา แค่ถูกปรับ แต่ถ้าดีเอสไอเรียกไม่มาติดคุก การสอบเชิงลึกจึงทำได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม กรมฯ จะนำข้อมูลจากดีเอสไอใช้เป็นแนวทางการสวบสวนต่อไป” นายบรรยงกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25ม.ค.ที่ผ่านมา กรมฯ ได้ส่งหลักฐานความผิดต่อบริษัท จีจีเอฟ ให้แก่กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ในข้อหาย้ายสำนักงานโดยไม่แจ้งให้กรมฯทราบ มีโทษปรับไม่เกิน 7หมื่นบาท