ถ้าท่านผู้อ่านย้อนไปดูการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างประชาชนกับรัฐบาล หรือพูดให้เป็นภาษารัฐศาสตร์การต่อสู้ระหว่างผู้ถูกปกครองกับรัฐบาลผู้ปกครองใน 2 ห้วงแห่งเวลา คือ จาก ก.ย. 2548-ก.ย. 2549 และจาก ธ.ค. 2550- 4 ธ.ค. 2551 ก็จะมองเห็นภาพการต่อสู้ระหว่างพลังประชาชนที่รวมตัวกันภายใต้ชื่อว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วง ก.ย. 2548-ก.ย. 2549 และระหว่างพันธมิตรฯ กับรัฐบาล ภายใต้การนำของนอมินีอดีตนายกฯ ทักษิณ คือนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมีเหตุจูงใจให้กลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาต่อสู้ใน 2 ห้วงแห่งเวลาแตกต่างกันในด้านรูปแบบ และวิธีการ
กล่าวคือ พันธมิตรฯ ได้ลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลทักษิณ ด้วยเหตุว่ารัฐบาลที่ว่านี้มีพฤติกรรมแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ แทรกแซงสื่อ และข้อหาที่สังคมทนไม่ได้ก็คือ มีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย และมูลเหตุจูงใจให้พันธมิตรฯ ลุกขึ้นสู้ในครั้งนั้น ได้รับการยืนยันเพิ่มเติมอีกครั้ง เมื่อกองทัพทำการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล ด้วยเหตุอ้างในทำนองเดียวกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
ส่วนมูลเหตุจูงใจให้พันธมิตรฯ ลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลนอมินีของทักษิณ เท่าที่ปรากฏชัดก็คือ รัฐบาลในยุคนี้พยายามที่จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้กลุ่มการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้เว้นวรรค 111 คน กลับมีอำนาจอีกครั้ง รวมไปถึงการออกกฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมในความผิดประเภทอื่นๆ ด้วย และในที่สุดรัฐบาลนอมินีก็ต้องจบลงด้วยคำพิพากษาของศาลทั้ง 2 คน อันเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมในการบริหารประเทศ ในฐานะเป็นรัฐบาลตัวแทนอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการพิสูจน์เจตนารมณ์ของพันธมิตรฯ ว่าได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ผู้คนในสังคม และเป็นการปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตามหน้าที่ซึ่งผู้ที่เป็นพลเมืองของประเทศจะต้องกระทำ
การต่อสู้ของพันธมิตรฯ กับรัฐบาลทั้ง 2 ห้วงแห่งเวลาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปในลักษณะการต่อสู้ของการเมืองภาคประชาชนที่สามารถกระทำได้ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้กระทำได้ และก่อให้เกิดผลได้ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด แต่ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงกติกา และกฎเกณฑ์ทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของนักการเมืองในฐานะเป็นปัจเจกบุคคล และพฤติกรรมขององค์กรทางการเมือง คือ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในฐานะเป็นนิติบุคคลได้
ด้วยเหตุนี้ แนวคิดในการที่จะต้องมีพรรคการเมืองขึ้นมารองรับกิจกรรมการต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบของรัฐสภาตามครรลองประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้น และนี่เองคือจุดที่ทำให้พรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นมา
ส่วนว่าเมื่อตั้งขึ้นมาแล้วจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบกับอุดมการณ์ และเจตนารมณ์ที่วางไว้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรทางการเมือง คือ พรรค และบุคลากรทางการเมืองที่จะเข้ามารับใช้ประชาชนภายใต้อุดมการณ์ของพรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพมากน้อยแค่ไหนเพียงไร
2. นโยบายที่พรรคกำหนดขึ้นตามมติคณะกรรมการบริหารพรรค สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนโดยรวมหรือไม่มากน้อยแค่ไหน
3. การนำนโยบายมาแปลงเป็นแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ครอบคลุมนโยบายในแต่ละด้านหรือไม่มากน้อยแค่ไหน
4. บุคลากรในระดับปฏิบัติ ในที่นี้หมายถึงผู้จะลงสมัคร ส.ส.รวมไปถึงผู้ที่จะดำรงตำแหน่งบริหารในกรณีที่พรรคได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล หรือแม้กระทั่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีความรู้ ความสามารถทำความเข้าใจในนโยบายของพรรค และมีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการตามแผนให้บรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน
ถ้าปัจจัยทั้ง 4 ข้อมีการดำเนินการครบถ้วนสมบูรณ์ในระดับที่จะก่อให้เกิดผลในทางบวกแล้ว เชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใหม่จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจแน่นอน
แต่ก่อนที่พรรคจะดำเนินการตามเหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้ จะต้องมีการเตรียมการในรูปของคณะทำงานหรืออนุกรรมการชุดต่างๆ ที่พรรคควรจะได้ตั้งขึ้นอย่างน้อย 3 ชุด ดังต่อไปนี้
1. คณะทำงานหรืออนุกรรมการเพื่อหาทุนมาใช้ในการทำกิจกรรมทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งมากพอที่จะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งได้ตามที่พรรคเห็นควร
2. คณะทำงานหรืออนุกรรมการสรรหาบุคคลเพื่อส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง รวมไปถึงเข้าดำรงตำแหน่งเป็น รมว.หรือ รมช. หรือแม้กระทั่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในกรณีที่มีโอกาสได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล หรือเข้าร่วมรัฐบาล
3. กรรมการหรืออนุกรรมการบริหารพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งดูแลกิจการทั่วๆ ไปของพรรคการเมืองที่เป็นงานประจำ เช่น จัดทำหนังสือ เก็บข้อมูล เตรียมการแถลงข่าว เป็นต้น รวมไปถึงงานสารบรรณของพรรคด้วย
ใน 3 ข้อนี้ ในทัศนะของผู้เขียนแล้วควรจะได้ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน หรือถ้าจะให้จัดอันดับข้อที่ 3 ควรจะต้องเริ่มก่อน และควรจะเลือกบุคลากรที่มีความรู้ มีความเข้าใจระบบ และระเบียบราชการเป็นอย่างดีเป็นอันดับแรก
แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่สังเกตและติดตามกิจกรรมของพรรคนี้ก็มีความคืบหน้าไปพอสมควร แต่ก็เชื่อว่ายังไม่พอถ้าอนุมานจากสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ เพราะโอกาสที่จะมีการยุบสภาและเลือกตั้งทั่วไปคงจะเกิดขึ้นในปีนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรรคการเมืองใหม่ก็ควรจะพร้อมเพื่อการเลือกตั้งในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านบุคลากร และทุน
กล่าวคือ พันธมิตรฯ ได้ลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลทักษิณ ด้วยเหตุว่ารัฐบาลที่ว่านี้มีพฤติกรรมแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ แทรกแซงสื่อ และข้อหาที่สังคมทนไม่ได้ก็คือ มีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย และมูลเหตุจูงใจให้พันธมิตรฯ ลุกขึ้นสู้ในครั้งนั้น ได้รับการยืนยันเพิ่มเติมอีกครั้ง เมื่อกองทัพทำการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล ด้วยเหตุอ้างในทำนองเดียวกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
ส่วนมูลเหตุจูงใจให้พันธมิตรฯ ลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลนอมินีของทักษิณ เท่าที่ปรากฏชัดก็คือ รัฐบาลในยุคนี้พยายามที่จะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้กลุ่มการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาให้เว้นวรรค 111 คน กลับมีอำนาจอีกครั้ง รวมไปถึงการออกกฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมในความผิดประเภทอื่นๆ ด้วย และในที่สุดรัฐบาลนอมินีก็ต้องจบลงด้วยคำพิพากษาของศาลทั้ง 2 คน อันเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมในการบริหารประเทศ ในฐานะเป็นรัฐบาลตัวแทนอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการพิสูจน์เจตนารมณ์ของพันธมิตรฯ ว่าได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ผู้คนในสังคม และเป็นการปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตามหน้าที่ซึ่งผู้ที่เป็นพลเมืองของประเทศจะต้องกระทำ
การต่อสู้ของพันธมิตรฯ กับรัฐบาลทั้ง 2 ห้วงแห่งเวลาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นไปในลักษณะการต่อสู้ของการเมืองภาคประชาชนที่สามารถกระทำได้ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้กระทำได้ และก่อให้เกิดผลได้ภายใต้เงื่อนไขอันจำกัด แต่ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงกติกา และกฎเกณฑ์ทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของนักการเมืองในฐานะเป็นปัจเจกบุคคล และพฤติกรรมขององค์กรทางการเมือง คือ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในฐานะเป็นนิติบุคคลได้
ด้วยเหตุนี้ แนวคิดในการที่จะต้องมีพรรคการเมืองขึ้นมารองรับกิจกรรมการต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบของรัฐสภาตามครรลองประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้น และนี่เองคือจุดที่ทำให้พรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นมา
ส่วนว่าเมื่อตั้งขึ้นมาแล้วจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบกับอุดมการณ์ และเจตนารมณ์ที่วางไว้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรทางการเมือง คือ พรรค และบุคลากรทางการเมืองที่จะเข้ามารับใช้ประชาชนภายใต้อุดมการณ์ของพรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพมากน้อยแค่ไหนเพียงไร
2. นโยบายที่พรรคกำหนดขึ้นตามมติคณะกรรมการบริหารพรรค สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนโดยรวมหรือไม่มากน้อยแค่ไหน
3. การนำนโยบายมาแปลงเป็นแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ครอบคลุมนโยบายในแต่ละด้านหรือไม่มากน้อยแค่ไหน
4. บุคลากรในระดับปฏิบัติ ในที่นี้หมายถึงผู้จะลงสมัคร ส.ส.รวมไปถึงผู้ที่จะดำรงตำแหน่งบริหารในกรณีที่พรรคได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล หรือแม้กระทั่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีความรู้ ความสามารถทำความเข้าใจในนโยบายของพรรค และมีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินการตามแผนให้บรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน
ถ้าปัจจัยทั้ง 4 ข้อมีการดำเนินการครบถ้วนสมบูรณ์ในระดับที่จะก่อให้เกิดผลในทางบวกแล้ว เชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใหม่จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจแน่นอน
แต่ก่อนที่พรรคจะดำเนินการตามเหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้ จะต้องมีการเตรียมการในรูปของคณะทำงานหรืออนุกรรมการชุดต่างๆ ที่พรรคควรจะได้ตั้งขึ้นอย่างน้อย 3 ชุด ดังต่อไปนี้
1. คณะทำงานหรืออนุกรรมการเพื่อหาทุนมาใช้ในการทำกิจกรรมทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งมากพอที่จะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งได้ตามที่พรรคเห็นควร
2. คณะทำงานหรืออนุกรรมการสรรหาบุคคลเพื่อส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง รวมไปถึงเข้าดำรงตำแหน่งเป็น รมว.หรือ รมช. หรือแม้กระทั่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในกรณีที่มีโอกาสได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล หรือเข้าร่วมรัฐบาล
3. กรรมการหรืออนุกรรมการบริหารพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งดูแลกิจการทั่วๆ ไปของพรรคการเมืองที่เป็นงานประจำ เช่น จัดทำหนังสือ เก็บข้อมูล เตรียมการแถลงข่าว เป็นต้น รวมไปถึงงานสารบรรณของพรรคด้วย
ใน 3 ข้อนี้ ในทัศนะของผู้เขียนแล้วควรจะได้ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน หรือถ้าจะให้จัดอันดับข้อที่ 3 ควรจะต้องเริ่มก่อน และควรจะเลือกบุคลากรที่มีความรู้ มีความเข้าใจระบบ และระเบียบราชการเป็นอย่างดีเป็นอันดับแรก
แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่สังเกตและติดตามกิจกรรมของพรรคนี้ก็มีความคืบหน้าไปพอสมควร แต่ก็เชื่อว่ายังไม่พอถ้าอนุมานจากสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ เพราะโอกาสที่จะมีการยุบสภาและเลือกตั้งทั่วไปคงจะเกิดขึ้นในปีนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรรคการเมืองใหม่ก็ควรจะพร้อมเพื่อการเลือกตั้งในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านบุคลากร และทุน