แม้ ป.ป.ช.จะมีมติว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว และ ฯลฯ มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาและถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552
แต่เรื่องนอกจากจะยังไม่จบแล้ว – ยังขยายเป็นเรื่องใหญ่ก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองอีกต่างหาก
ในวุฒิสภาที่จะประชุมกันวันนี้ก็จะมีการอภิปรายกันในวาระเรื่องด่วนที่ 6
“รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกรณีถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง”
การบรรจุอยู่ในวาระ “เรื่องด่วน” ก็เป็นไป “เพื่อพิจารณา” ว่าวุฒิสภาจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร
หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 มีการบรรจุเข้าระเบียบวาระมาครั้งหนึ่งแล้วในวาระ “เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม” เป็นวาระประเภท “เพื่อทราบ” ไม่ใช่ “เพื่อพิจารณา” เหมือนวันนี้
เพราะในวันนั้นประธานวุฒิสภาเห็นว่าเมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาถอดถอนได้อีก
แต่มาถูกทักท้วงในการประชุมวุฒิสภาครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ว่าไม่ถูกต้อง !
เพราะถึงจะถอดถอนไม่ได้แล้วก็จริง แต่ยังมีโทษตัดสิทธิห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการเป็นเวลา 5 ปีอีก !!
ก่อนหน้านั้น 2 วัน คอลัมนิสต์ท่านหนึ่งของนสพ.มติชน (ประสงค์ วิสุทธิ์) วิจารณ์ประธานวุฒิสภาว่ากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 26 ตุลาคม 2552 เพราะเรื่องกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 – 274 รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาเพียงคนเดียวที่จะใช้ดุลพินิจตามลำพังว่าเหตุแห่งการถอดถอนหมดไปแล้วไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ต่อหรือไม่
ประธานวุฒิสภาจึงบรรจุเรื่องนี้เข้ามาในระเบียบวาระการประชุมอีกครั้งในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552
แต่พิจารณาไม่ทัน และหลังจากนั้นก็ปิดสมัยประชุมเสียก่อน
การอภิปรายในวาระนี้ในวันนี้ซึ่งคงจะตกเวลาในช่วงบ่ายต้น ๆ น่าจะทำให้อุณหภูมิในห้องประชุม “ร้อนขึ้น” ในระดับหนึ่ง
แต่คงยังถึงขั้นใกล้ “ปรอทแตก” หรอก !
เพราะยังอยู่ในขั้นตอนแค่อภิปรายกันว่าในกรณีเช่นนี้จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร จะต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปเพราะถือว่าแม้จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วแต่ยังคงมีโทษตัดสิทธิไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและรับราชการอีก 5 ปีรออยู่หากวุฒิสภามีมติถอดถอน หรือจะยุติกระบวนการถอดถอนไปเลยเพราะในเมื่อผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุให้ต้องถอดถอนต่อไป
เพราะถ้าเห็นร่วมกันว่าต้องเดินหน้ากระบวนการถอดถอนต่อไป ก็จะต้องทำตามข้อบังคับการประชุมสภาข้อ 111 – 128 ที่ระบุลำดับขั้นตอนและระยะเวลาไว้ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ประธานวุฒิสภาจะต้องมีคำสั่งให้แจกสำเนารายงานพร้อมเอกสารที่มีอยู่และความเห็นของป.ป.ช.ให้แก่สมาชิกวุฒิสภาและผู้ถูกกล่าวหาเพื่อศึกษาล่วงหน้าไม่น้อยว่า 15 วันก่อนการประชุมนัดแรกของกระบวนการถอดถอน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาอาจยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติมก่อนการประชุมนัดแรกของกระบวนการถอดถอนไม่น้อยกว่า 5 วัน ซึ่งก็มีเงื่อนไขจำกัดไว้ว่าจะต้องเป็นหลักฐานประเภทใด จากนั้นก็จะเป็นการประชุมนัดต่อไปที่เปิดโอกาสให้ผู้แทนป.ป.ช.แถลงปิดสำนวน และผู้ถูกกล่าวหาแถลงคัดค้าน โดยวุฒิสภาลงมติว่าจะเปิดให้สมาชิกวุฒิสภาตั้งคำถามหรือไม่ หากมีมติให้ตั้งคำถามได้ก็ให้สมาชิกวุฒิสภาที่ประสงค์จะตั้งคำถามยื่นญัตติเข้ามา แล้วมีการตั้งกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ซักถามภายใน 7 วัน ขั้นตอนยังมีอีกมากครับ ที่เป็นหลักประกันให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา และเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนคณะลูกขุนในระบบศาลของสหรัฐอเมริกาได้กระจ่างแจ้งในข้อเท็จจริงทั้งหมดจากทุกฝ่าย แต่เราไม่คุ้นกัน เพราะนับตั้งแต่มีการบัญญัติมาตรการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 ก็ไม่เคยปรากฏว่ากระบวนการถอดถอนเดินหน้ามาถึงวุฒิสภาเลย
สรุปว่าวันนี้แค่พิจารณาและลงมติว่าจะต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภาต่อไปหรือไม่ ยังไม่ได้เริ่มนับ 1 เริ่มกำหนด “การประชุมนัดแรก(ของกระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภา)” ตามข้อบังคับฯเลย จึงยังไม่น่าจะทำให้อุณหภูมิร้อนขึ้นมากเกินไป
แต่การเกิดปัญหานี้ขึ้นก็มีผลให้กระบวนการถอดถอนล่าช้ามา 3 เดือนแล้ว !
แปลกแต่จริง ที่แม้ป.ป.ช.จะมีมติเรื่องนี้มาตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2552 แล้วส่งเรื่องตามกระบวนการออกไป 3 ทาง กลับปรากฏว่าล่าช้าและมีปัญหาขัดแย้งทั้ง 3 ทาง
ทางหนึ่ง มาที่วุฒิสภาเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน ซึ่งพ่วงข้อห้ามไม่ให้รับตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ 5 ปีไว้ด้วย ก็ล่าช้าและติดขัดอย่างที่เล่ามาโดยสรุปนี่
ทางหนึ่ง ไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อทำหน้าที่ส่งฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ปรากฏว่าสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนของป.ป.ช.ยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีการสอบสวนพยานหลักฐานเพิ่มเติม จึงต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดกับป.ป.ช.ขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณา โดยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ป.ป.ช.มีมติตั้งนายวิชัย วิวิธเสวี กรรมการป.ป.ช. เป็นประธานคณะทำงานร่วมที่มี 10 คน ขณะนี้ยังไม่ทราบผล เห็นแต่มีข่าวว่าน่าจะได้ผลสรุปภายในเดือนมกราคม 2553 นี้ ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าในที่สุดแล้วป.ป.ช.จะต้องทำหน้าที่ฟ้องเองหรือไม่
ทางหนึ่ง ไปที่รัฐบาล เพื่อดำเนินการทางวินัย ก็ขัดแย้งหนักตรงที่โดนมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) สวนทาง และวันนี้ยังไม่รู้ว่านายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจสั่งการอย่างไร
แปลกไหมครับพี่น้อง
กรณี 7 ตุลาคม 2551 จึงยังไม่จบ !
แต่ในทั้ง 3 ทางนี้ ที่สุดแล้วมันมีกระบวนการมีขั้นตอนของมันตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ถึงจะล่าช้าไปสองสามเดือน อย่างมากก็อีกไม่เกินเดือนสองเดือนกระบวนการก็จะต้องเดินหน้าต่อไปตามขั้นตอน ทางแรกต่อให้แม้วุฒิสภาจะมีมติเริ่มกระบวนการถอดถอน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกที่จะถอดถอนได้ เพราะต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5 ทางที่สองนั้น ไม่ว่าใครจะฟ้อง ก็ต้องรอศาลฎีกาฯท่านพิจารณาอีกระหว่างครึ่งปีถึง 1 ปี
มีแต่ทางที่สามเท่านั้นที่กระบวนการสั้นกว่าเพื่อน เพราะนายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจภายในไม่ช้าไม่นานไม่น่าจะเกิน 1 เดือนจากนี้ไป
วันนี้ยังไม่รู้ว่ากรณี 7 ตุลาคม 2551 จะจบลงอย่างไรในทั้ง 3 ทางนี้...
หรือจะจบลงด้วย “ทางอื่น” ที่ไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ?
แต่เรื่องนอกจากจะยังไม่จบแล้ว – ยังขยายเป็นเรื่องใหญ่ก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองอีกต่างหาก
ในวุฒิสภาที่จะประชุมกันวันนี้ก็จะมีการอภิปรายกันในวาระเรื่องด่วนที่ 6
“รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกรณีถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง”
การบรรจุอยู่ในวาระ “เรื่องด่วน” ก็เป็นไป “เพื่อพิจารณา” ว่าวุฒิสภาจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร
หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 มีการบรรจุเข้าระเบียบวาระมาครั้งหนึ่งแล้วในวาระ “เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม” เป็นวาระประเภท “เพื่อทราบ” ไม่ใช่ “เพื่อพิจารณา” เหมือนวันนี้
เพราะในวันนั้นประธานวุฒิสภาเห็นว่าเมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาถอดถอนได้อีก
แต่มาถูกทักท้วงในการประชุมวุฒิสภาครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ว่าไม่ถูกต้อง !
เพราะถึงจะถอดถอนไม่ได้แล้วก็จริง แต่ยังมีโทษตัดสิทธิห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการเป็นเวลา 5 ปีอีก !!
ก่อนหน้านั้น 2 วัน คอลัมนิสต์ท่านหนึ่งของนสพ.มติชน (ประสงค์ วิสุทธิ์) วิจารณ์ประธานวุฒิสภาว่ากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 26 ตุลาคม 2552 เพราะเรื่องกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 – 274 รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและต้องการให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาเพียงคนเดียวที่จะใช้ดุลพินิจตามลำพังว่าเหตุแห่งการถอดถอนหมดไปแล้วไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ต่อหรือไม่
ประธานวุฒิสภาจึงบรรจุเรื่องนี้เข้ามาในระเบียบวาระการประชุมอีกครั้งในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552
แต่พิจารณาไม่ทัน และหลังจากนั้นก็ปิดสมัยประชุมเสียก่อน
การอภิปรายในวาระนี้ในวันนี้ซึ่งคงจะตกเวลาในช่วงบ่ายต้น ๆ น่าจะทำให้อุณหภูมิในห้องประชุม “ร้อนขึ้น” ในระดับหนึ่ง
แต่คงยังถึงขั้นใกล้ “ปรอทแตก” หรอก !
เพราะยังอยู่ในขั้นตอนแค่อภิปรายกันว่าในกรณีเช่นนี้จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร จะต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อไปเพราะถือว่าแม้จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วแต่ยังคงมีโทษตัดสิทธิไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและรับราชการอีก 5 ปีรออยู่หากวุฒิสภามีมติถอดถอน หรือจะยุติกระบวนการถอดถอนไปเลยเพราะในเมื่อผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุให้ต้องถอดถอนต่อไป
เพราะถ้าเห็นร่วมกันว่าต้องเดินหน้ากระบวนการถอดถอนต่อไป ก็จะต้องทำตามข้อบังคับการประชุมสภาข้อ 111 – 128 ที่ระบุลำดับขั้นตอนและระยะเวลาไว้ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ประธานวุฒิสภาจะต้องมีคำสั่งให้แจกสำเนารายงานพร้อมเอกสารที่มีอยู่และความเห็นของป.ป.ช.ให้แก่สมาชิกวุฒิสภาและผู้ถูกกล่าวหาเพื่อศึกษาล่วงหน้าไม่น้อยว่า 15 วันก่อนการประชุมนัดแรกของกระบวนการถอดถอน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาอาจยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติมก่อนการประชุมนัดแรกของกระบวนการถอดถอนไม่น้อยกว่า 5 วัน ซึ่งก็มีเงื่อนไขจำกัดไว้ว่าจะต้องเป็นหลักฐานประเภทใด จากนั้นก็จะเป็นการประชุมนัดต่อไปที่เปิดโอกาสให้ผู้แทนป.ป.ช.แถลงปิดสำนวน และผู้ถูกกล่าวหาแถลงคัดค้าน โดยวุฒิสภาลงมติว่าจะเปิดให้สมาชิกวุฒิสภาตั้งคำถามหรือไม่ หากมีมติให้ตั้งคำถามได้ก็ให้สมาชิกวุฒิสภาที่ประสงค์จะตั้งคำถามยื่นญัตติเข้ามา แล้วมีการตั้งกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ซักถามภายใน 7 วัน ขั้นตอนยังมีอีกมากครับ ที่เป็นหลักประกันให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา และเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนคณะลูกขุนในระบบศาลของสหรัฐอเมริกาได้กระจ่างแจ้งในข้อเท็จจริงทั้งหมดจากทุกฝ่าย แต่เราไม่คุ้นกัน เพราะนับตั้งแต่มีการบัญญัติมาตรการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 ก็ไม่เคยปรากฏว่ากระบวนการถอดถอนเดินหน้ามาถึงวุฒิสภาเลย
สรุปว่าวันนี้แค่พิจารณาและลงมติว่าจะต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภาต่อไปหรือไม่ ยังไม่ได้เริ่มนับ 1 เริ่มกำหนด “การประชุมนัดแรก(ของกระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภา)” ตามข้อบังคับฯเลย จึงยังไม่น่าจะทำให้อุณหภูมิร้อนขึ้นมากเกินไป
แต่การเกิดปัญหานี้ขึ้นก็มีผลให้กระบวนการถอดถอนล่าช้ามา 3 เดือนแล้ว !
แปลกแต่จริง ที่แม้ป.ป.ช.จะมีมติเรื่องนี้มาตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2552 แล้วส่งเรื่องตามกระบวนการออกไป 3 ทาง กลับปรากฏว่าล่าช้าและมีปัญหาขัดแย้งทั้ง 3 ทาง
ทางหนึ่ง มาที่วุฒิสภาเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน ซึ่งพ่วงข้อห้ามไม่ให้รับตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ 5 ปีไว้ด้วย ก็ล่าช้าและติดขัดอย่างที่เล่ามาโดยสรุปนี่
ทางหนึ่ง ไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อทำหน้าที่ส่งฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ปรากฏว่าสำนักงานอัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนของป.ป.ช.ยังไม่สมบูรณ์ ต้องมีการสอบสวนพยานหลักฐานเพิ่มเติม จึงต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดกับป.ป.ช.ขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณา โดยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ป.ป.ช.มีมติตั้งนายวิชัย วิวิธเสวี กรรมการป.ป.ช. เป็นประธานคณะทำงานร่วมที่มี 10 คน ขณะนี้ยังไม่ทราบผล เห็นแต่มีข่าวว่าน่าจะได้ผลสรุปภายในเดือนมกราคม 2553 นี้ ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าในที่สุดแล้วป.ป.ช.จะต้องทำหน้าที่ฟ้องเองหรือไม่
ทางหนึ่ง ไปที่รัฐบาล เพื่อดำเนินการทางวินัย ก็ขัดแย้งหนักตรงที่โดนมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) สวนทาง และวันนี้ยังไม่รู้ว่านายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจสั่งการอย่างไร
แปลกไหมครับพี่น้อง
กรณี 7 ตุลาคม 2551 จึงยังไม่จบ !
แต่ในทั้ง 3 ทางนี้ ที่สุดแล้วมันมีกระบวนการมีขั้นตอนของมันตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ถึงจะล่าช้าไปสองสามเดือน อย่างมากก็อีกไม่เกินเดือนสองเดือนกระบวนการก็จะต้องเดินหน้าต่อไปตามขั้นตอน ทางแรกต่อให้แม้วุฒิสภาจะมีมติเริ่มกระบวนการถอดถอน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกที่จะถอดถอนได้ เพราะต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5 ทางที่สองนั้น ไม่ว่าใครจะฟ้อง ก็ต้องรอศาลฎีกาฯท่านพิจารณาอีกระหว่างครึ่งปีถึง 1 ปี
มีแต่ทางที่สามเท่านั้นที่กระบวนการสั้นกว่าเพื่อน เพราะนายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจภายในไม่ช้าไม่นานไม่น่าจะเกิน 1 เดือนจากนี้ไป
วันนี้ยังไม่รู้ว่ากรณี 7 ตุลาคม 2551 จะจบลงอย่างไรในทั้ง 3 ทางนี้...
หรือจะจบลงด้วย “ทางอื่น” ที่ไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ?