รัฐสภาได้เปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไปประจำปี 2553 แล้ว เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2553 ด้วยบรรยากาศที่ห่างไกลจากความเป็นสภาของบัณฑิตอย่างลิบลับ เพราะบรรยากาศเคยเป็นมาอย่างไร ก็คงเป็นไปอย่างนั้น
เมื่อสภาเปิดแล้ว การขับเคลื่อนทางการเมืองในสภาก็ย่อมตามมาเป็นธรรมดา
และเรื่องใหญ่ใจความในช่วงนี้ก็เห็นจะมีอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องหนึ่ง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกเรื่องหนึ่ง
เรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นเป็นเรื่องที่ต้องกระทำโดยสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะ ซึ่งในขณะนี้เท่าที่ปรากฏข่าวก็พอสรุปได้ว่าฝ่ายค้านยังจ้องมองหาเวลาที่เหมาะสมอยู่ว่าจะยื่นเรื่องอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อใด โดยได้กำหนดตัวบุคคลที่จะไม่ไว้วางใจไว้แล้ว 2 คน คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แต่ยังมีการขู่ประปรายว่ายังมีมากกว่านี้ พร้อมทั้งได้เผยชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมออกมาด้วย เป็นทีท่าทำให้นักสังเกตการณ์ทางการเมืองได้แต่อมยิ้มว่าลีลาการแย้มชื่อแบบนี้อาจเป็นลีลาตีกินทางการเมืองแบบเก่า
เพราะเมื่อใครเอาอกเอาใจหรือเจรจาต้าอ่วยกันแล้ว ในที่สุด 2 คนนี้ก็คงไม่มีชื่อถูกอภิปราย แต่คนที่จะต้องยืนแป้นเป็นเป้าให้โขกสับนั้นก็คง 2 คนที่ว่านั่นแหละคือนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แต่คอยดูไปเถิด ถึงจะตีฆ้องร้องป่าวประการใด ในที่สุดแล้วเกียรติภูมิของคนอภิปรายกับคนที่ถูกอภิปรายและเรื่องราวที่ผ่านมาก็คงจะให้คำตอบแก่บรรดาคอการเมืองและผู้ติดตามได้ว่าใครกันแน่ที่จะหงายท้องในสภา
เพราะทุกวันนี้บรรดาคอการเมืองหรือผู้สังเกตการณ์นั้นเขาไม่ได้สนใจไยดีกับท่าทีอันธพาลหรือคำพูดก้าวร้าวตีสำนวนแต่ประการใด กลับเห็นเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระเพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว ทุกคนต่างต้องการรู้ข้อมูลและข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไรกันแน่
ก็คอยดูกันก็แล้วกันว่ารัฐบาลหรือฝ่ายค้านที่จะเป็นฝ่ายถูกตอกหน้าจนหงายท้องในสภา
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและกำลังขับเคลื่อนกันอยู่อย่างเต็มกำลังก็คือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญคราวนี้มีลักษณาการที่แปลกกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเพราะไม่ได้เริ่มโดยฝ่ายรัฐบาล และไม่ได้เริ่มโดยหัวหน้าพรรคการเมือง หรือคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาในปัจจุบันนี้ แต่เป็นเรื่องของภูตผีปีศาจนอกสภาที่เคลื่อนไหวกันตัวเป็นเกลียว
ก็เป็นที่รู้กันแล้วในขณะนี้ว่าคนที่ริเริ่มขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้คือมังกรเติ้งเมืองสุพรรณ ผู้ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี และไม่ได้มีตำแหน่งบริหารอยู่ในพรรคการเมือง
แต่ลีลาท่วงท่าที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่านี่แหละเจ้าของพรรคการเมืองตัวจริงที่ร่วมรัฐบาลอยู่ แล้วจู่ๆ ก็มาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ โดยเชิญนายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งก็มีท่วงท่าปรากฏให้เห็นว่าเป็นเจ้าของพรรคการเมืองตัวจริงอีกพรรคหนึ่งมาปรึกษาหารือกัน
แล้วก็เปิดแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่าพรรคร่วมรัฐบาล 2 พรรค ได้ตกลงกันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา นั่นคือมาตราที่ว่าด้วยเขตเลือกตั้งที่จะเปลี่ยนจากเขตใหญ่เป็นเขตเล็กเบอร์เดียว หรือเขตเดียว คนเดียว และอีกเรื่องหนึ่งคือการให้สิทธิ ส.ส. ที่จะไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งการล้วงลูกแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการและงบประมาณได้อีกด้วย
รวมความว่าที่จะแก้ไขกันนั้นไม่มีเรื่องใดที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเลย แต่เป็นเรื่องประโยชน์ของนักการเมือง เป็นเรื่องของการชงเอง กินเอง หรือที่เรียกกันในสมัยนี้ว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องว่าทำไม่ได้
ถัดมานายบรรหาร ศิลปอาชา ก็เชิญตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาลอีกพรรคหนึ่งไปปรึกษาหารือในเรื่องเดียวกันอีก แล้วก็แถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่าตกลงกันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 เรื่องที่ว่านั้น
จึงเป็นอันว่าตามถ้อยแถลงของนักการเมืองนอกสภา แต่ก็รู้กันว่าเป็นเจ้าของพรรคตัวจริงถึง 3 พรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ ได้ตกลงกันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 เรื่อง
เมื่อเรื่องนี้มีการยืนยัน พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำในรัฐบาลก็แสดงท่าทีว่าเรื่องนี้ไม่ทำให้รัฐบาลล้มเพราะไม่ใช่เป็นเรื่องของรัฐบาล แต่เป็นเรื่องของพรรคการเมือง
ก็ต้องประกาศให้คนทั้งหลาย รวมทั้ง กกต. ได้รับรู้โดยทั่วกันว่าขณะนี้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งบางคน ได้เข้ามาครอบงำแทรกแซงบงการพรรคการเมือง และพรรคการเมืองบางพรรคก็ยอมให้คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเหล่านั้นเข้ามาครอบงำบงการเสมือนหนึ่งเป็นหัวหน้าพรรค
การกระทำอย่างนี้มีผู้ไปร้องต่อ กกต. อยู่แล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ถึงวันนี้ก็ไม่มีความคืบหน้าและทำให้ปัญหาผีห่าซาตานไม่จบไม่สิ้น และกลายเป็นปัญหาเรื้อรังทางการเมืองอยู่จนถึงวันนี้ และคงจะมีปัญหาต่อไปจนกว่าจะพินาศฉิบหายกันไปข้างหนึ่งอย่างแน่นอน
การขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังจากที่แกนนำพรรคฝ่ายค้านคนหนึ่งไปเสวนาดื่มกินกับนายบรรหาร ศิลปอาชา แล้ว แต่จะเป็นการเคลื่อนไหวเพราะมีการตกลงกันประการใดหรือไม่ย่อมยากที่ใครจะรู้ได้
แต่ก็สอดคล้องกับคำเล่าข่าวลือในวงการเมืองที่ว่า ในวันนี้แนวรบที่จะล้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในสภานั้นเป็นอีกแนวรบหนึ่งที่จะละวางสายตาไม่ได้เป็นอันขาด
ความจริงนายบรรหาร ศิลปอาชา นั้นอายุอานามก็ไม่น้อยแล้ว ทรัพย์สมบัติพัสถานก็มีมากนักหนา ทั้งเคยถูกยึดทรัพย์โดยคณะรัฐประหารมาแล้ว และเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ประชาชนต่อต้านถึงขนาดแยกพรรคมาร พรรคเทพ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมาแล้ว
แต่เหตุการณ์เหล่านั้นดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นที่พึ่งที่หวังทางการเมืองของคนไทยเลย เพราะการขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ นอกจากการแสดงท่าทีทางการเมืองที่สวนทางกับพรรคแกนในรัฐบาลแล้ว ยังเป็นการแสดงท่าทีที่ไม่แยแสสนใจต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเลย
ไม่คำนึงหรือไม่แยแสว่าใครจะรู้สึกหรือเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวเช่นนี้อาจเกี่ยวโยงกับการรับลูกทางการเมืองของใครบางคนมาล้มรัฐบาล ทำตัวเป็นอีกแนวรบหนึ่งที่จะล้มรัฐบาลในสภา
ดังนั้นหากบุญกรรมมีจริงแล้ว วิบากกรรมครั้งนี้ก็ย่อมบังเกิดแก่นายบรรหาร ศิลปอาชา ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน นั่นคือถ้าเป็นกุศลกรรมก็ย่อมได้รับวิบากกรรมอันเป็นกุศลครั้งใหญ่ แต่ถ้าเป็นอกุศลกรรมก็ย่อมได้รับวิบากกรรมเป็นอกุศลครั้งใหญ่ด้วย
เมื่อลีลาท่าทีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเริ่มมีความชัดเจน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เคลื่อนไหวเปิดการประชุมและได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนในวันที่ 22 มกราคม 2553 เป็นอย่างเดียวกับที่เคยแสดงท่าทีมาแล้วว่าถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญ กลุ่มพันธมิตรฯ ก็จะจัดการชุมนุมประท้วงจนถึงที่สุด
เพราะไม่เชื่อว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสุจริต พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการเปิดช่องที่จะมีการแปรญัตติแก้รัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นอีกในมาตราอื่นๆ หรือหยิบยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ลิ่วล้อบริวาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ยื่นคาสภาไว้ มารวมพิจารณาด้วย
จึงเป็นที่มาของความกังขาว่าแผนการแก้รัฐธรรมนูญนั้น แท้จริงแล้วก็เพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นโทษพ้นผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มพันธมิตรฯ ยอมไม่ได้ แตกหักเป็นตายอย่างไรก็ต้องเป็นกัน
แต่มันเป็นห้วงเวลาประจวบเหมาะกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงที่จะออกมาขับไล่รัฐบาล ดังนั้นเมื่อมองไปที่รัฐบาลแล้วก็ประหนึ่งว่าจะต้องเผชิญหน้าทั้งศึกเหลือง ศึกแดงไปพร้อมกัน แล้วนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ถูกเยาะเย้ยว่าเป็นเด็กดื้อ มีสองมืออันน้อย จะยันปัญหาเหล่านี้ได้ไหวหรือไม่
ใครรับแผนใครมาก็ไม่รู้ล่ะ แต่ดูท่วงท่าลีลาเยื้องกรายในระยะใกล้ๆ นี้แล้วก็พอจะมั่นใจว่าสองมืออันน้อยนั่นแหละที่จะขจัดปัดเป่าความเลวร้ายในบ้านเมืองให้ผ่านพ้นไปได้ หรือแม้เกินกำลังแล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องวิตกทุกข์ร้อนแต่ประการใด
เพราะนั่นหมายความว่าเวลาสุดท้ายของสภาชุดนี้มาถึงแล้ว! เป็นโอกาสดีที่จะได้นับหนึ่งกันใหม่!
เมื่อสภาเปิดแล้ว การขับเคลื่อนทางการเมืองในสภาก็ย่อมตามมาเป็นธรรมดา
และเรื่องใหญ่ใจความในช่วงนี้ก็เห็นจะมีอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องหนึ่ง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกเรื่องหนึ่ง
เรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นเป็นเรื่องที่ต้องกระทำโดยสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะ ซึ่งในขณะนี้เท่าที่ปรากฏข่าวก็พอสรุปได้ว่าฝ่ายค้านยังจ้องมองหาเวลาที่เหมาะสมอยู่ว่าจะยื่นเรื่องอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อใด โดยได้กำหนดตัวบุคคลที่จะไม่ไว้วางใจไว้แล้ว 2 คน คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แต่ยังมีการขู่ประปรายว่ายังมีมากกว่านี้ พร้อมทั้งได้เผยชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมออกมาด้วย เป็นทีท่าทำให้นักสังเกตการณ์ทางการเมืองได้แต่อมยิ้มว่าลีลาการแย้มชื่อแบบนี้อาจเป็นลีลาตีกินทางการเมืองแบบเก่า
เพราะเมื่อใครเอาอกเอาใจหรือเจรจาต้าอ่วยกันแล้ว ในที่สุด 2 คนนี้ก็คงไม่มีชื่อถูกอภิปราย แต่คนที่จะต้องยืนแป้นเป็นเป้าให้โขกสับนั้นก็คง 2 คนที่ว่านั่นแหละคือนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
แต่คอยดูไปเถิด ถึงจะตีฆ้องร้องป่าวประการใด ในที่สุดแล้วเกียรติภูมิของคนอภิปรายกับคนที่ถูกอภิปรายและเรื่องราวที่ผ่านมาก็คงจะให้คำตอบแก่บรรดาคอการเมืองและผู้ติดตามได้ว่าใครกันแน่ที่จะหงายท้องในสภา
เพราะทุกวันนี้บรรดาคอการเมืองหรือผู้สังเกตการณ์นั้นเขาไม่ได้สนใจไยดีกับท่าทีอันธพาลหรือคำพูดก้าวร้าวตีสำนวนแต่ประการใด กลับเห็นเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระเพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว ทุกคนต่างต้องการรู้ข้อมูลและข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไรกันแน่
ก็คอยดูกันก็แล้วกันว่ารัฐบาลหรือฝ่ายค้านที่จะเป็นฝ่ายถูกตอกหน้าจนหงายท้องในสภา
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่สนใจและกำลังขับเคลื่อนกันอยู่อย่างเต็มกำลังก็คือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญคราวนี้มีลักษณาการที่แปลกกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเพราะไม่ได้เริ่มโดยฝ่ายรัฐบาล และไม่ได้เริ่มโดยหัวหน้าพรรคการเมือง หรือคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาในปัจจุบันนี้ แต่เป็นเรื่องของภูตผีปีศาจนอกสภาที่เคลื่อนไหวกันตัวเป็นเกลียว
ก็เป็นที่รู้กันแล้วในขณะนี้ว่าคนที่ริเริ่มขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้คือมังกรเติ้งเมืองสุพรรณ ผู้ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี และไม่ได้มีตำแหน่งบริหารอยู่ในพรรคการเมือง
แต่ลีลาท่วงท่าที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่านี่แหละเจ้าของพรรคการเมืองตัวจริงที่ร่วมรัฐบาลอยู่ แล้วจู่ๆ ก็มาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ โดยเชิญนายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งก็มีท่วงท่าปรากฏให้เห็นว่าเป็นเจ้าของพรรคการเมืองตัวจริงอีกพรรคหนึ่งมาปรึกษาหารือกัน
แล้วก็เปิดแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่าพรรคร่วมรัฐบาล 2 พรรค ได้ตกลงกันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตรา นั่นคือมาตราที่ว่าด้วยเขตเลือกตั้งที่จะเปลี่ยนจากเขตใหญ่เป็นเขตเล็กเบอร์เดียว หรือเขตเดียว คนเดียว และอีกเรื่องหนึ่งคือการให้สิทธิ ส.ส. ที่จะไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งการล้วงลูกแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการและงบประมาณได้อีกด้วย
รวมความว่าที่จะแก้ไขกันนั้นไม่มีเรื่องใดที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเลย แต่เป็นเรื่องประโยชน์ของนักการเมือง เป็นเรื่องของการชงเอง กินเอง หรือที่เรียกกันในสมัยนี้ว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องว่าทำไม่ได้
ถัดมานายบรรหาร ศิลปอาชา ก็เชิญตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาลอีกพรรคหนึ่งไปปรึกษาหารือในเรื่องเดียวกันอีก แล้วก็แถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่าตกลงกันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 เรื่องที่ว่านั้น
จึงเป็นอันว่าตามถ้อยแถลงของนักการเมืองนอกสภา แต่ก็รู้กันว่าเป็นเจ้าของพรรคตัวจริงถึง 3 พรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ ได้ตกลงกันที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 เรื่อง
เมื่อเรื่องนี้มีการยืนยัน พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำในรัฐบาลก็แสดงท่าทีว่าเรื่องนี้ไม่ทำให้รัฐบาลล้มเพราะไม่ใช่เป็นเรื่องของรัฐบาล แต่เป็นเรื่องของพรรคการเมือง
ก็ต้องประกาศให้คนทั้งหลาย รวมทั้ง กกต. ได้รับรู้โดยทั่วกันว่าขณะนี้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งบางคน ได้เข้ามาครอบงำแทรกแซงบงการพรรคการเมือง และพรรคการเมืองบางพรรคก็ยอมให้คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเหล่านั้นเข้ามาครอบงำบงการเสมือนหนึ่งเป็นหัวหน้าพรรค
การกระทำอย่างนี้มีผู้ไปร้องต่อ กกต. อยู่แล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ถึงวันนี้ก็ไม่มีความคืบหน้าและทำให้ปัญหาผีห่าซาตานไม่จบไม่สิ้น และกลายเป็นปัญหาเรื้อรังทางการเมืองอยู่จนถึงวันนี้ และคงจะมีปัญหาต่อไปจนกว่าจะพินาศฉิบหายกันไปข้างหนึ่งอย่างแน่นอน
การขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังจากที่แกนนำพรรคฝ่ายค้านคนหนึ่งไปเสวนาดื่มกินกับนายบรรหาร ศิลปอาชา แล้ว แต่จะเป็นการเคลื่อนไหวเพราะมีการตกลงกันประการใดหรือไม่ย่อมยากที่ใครจะรู้ได้
แต่ก็สอดคล้องกับคำเล่าข่าวลือในวงการเมืองที่ว่า ในวันนี้แนวรบที่จะล้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในสภานั้นเป็นอีกแนวรบหนึ่งที่จะละวางสายตาไม่ได้เป็นอันขาด
ความจริงนายบรรหาร ศิลปอาชา นั้นอายุอานามก็ไม่น้อยแล้ว ทรัพย์สมบัติพัสถานก็มีมากนักหนา ทั้งเคยถูกยึดทรัพย์โดยคณะรัฐประหารมาแล้ว และเคยประสบกับเหตุการณ์ที่ประชาชนต่อต้านถึงขนาดแยกพรรคมาร พรรคเทพ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมาแล้ว
แต่เหตุการณ์เหล่านั้นดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นที่พึ่งที่หวังทางการเมืองของคนไทยเลย เพราะการขับเคลื่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ นอกจากการแสดงท่าทีทางการเมืองที่สวนทางกับพรรคแกนในรัฐบาลแล้ว ยังเป็นการแสดงท่าทีที่ไม่แยแสสนใจต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเลย
ไม่คำนึงหรือไม่แยแสว่าใครจะรู้สึกหรือเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวเช่นนี้อาจเกี่ยวโยงกับการรับลูกทางการเมืองของใครบางคนมาล้มรัฐบาล ทำตัวเป็นอีกแนวรบหนึ่งที่จะล้มรัฐบาลในสภา
ดังนั้นหากบุญกรรมมีจริงแล้ว วิบากกรรมครั้งนี้ก็ย่อมบังเกิดแก่นายบรรหาร ศิลปอาชา ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน นั่นคือถ้าเป็นกุศลกรรมก็ย่อมได้รับวิบากกรรมอันเป็นกุศลครั้งใหญ่ แต่ถ้าเป็นอกุศลกรรมก็ย่อมได้รับวิบากกรรมเป็นอกุศลครั้งใหญ่ด้วย
เมื่อลีลาท่าทีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเริ่มมีความชัดเจน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เคลื่อนไหวเปิดการประชุมและได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนในวันที่ 22 มกราคม 2553 เป็นอย่างเดียวกับที่เคยแสดงท่าทีมาแล้วว่าถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญ กลุ่มพันธมิตรฯ ก็จะจัดการชุมนุมประท้วงจนถึงที่สุด
เพราะไม่เชื่อว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสุจริต พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการเปิดช่องที่จะมีการแปรญัตติแก้รัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นอีกในมาตราอื่นๆ หรือหยิบยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ลิ่วล้อบริวาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ยื่นคาสภาไว้ มารวมพิจารณาด้วย
จึงเป็นที่มาของความกังขาว่าแผนการแก้รัฐธรรมนูญนั้น แท้จริงแล้วก็เพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นโทษพ้นผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มพันธมิตรฯ ยอมไม่ได้ แตกหักเป็นตายอย่างไรก็ต้องเป็นกัน
แต่มันเป็นห้วงเวลาประจวบเหมาะกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงที่จะออกมาขับไล่รัฐบาล ดังนั้นเมื่อมองไปที่รัฐบาลแล้วก็ประหนึ่งว่าจะต้องเผชิญหน้าทั้งศึกเหลือง ศึกแดงไปพร้อมกัน แล้วนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ถูกเยาะเย้ยว่าเป็นเด็กดื้อ มีสองมืออันน้อย จะยันปัญหาเหล่านี้ได้ไหวหรือไม่
ใครรับแผนใครมาก็ไม่รู้ล่ะ แต่ดูท่วงท่าลีลาเยื้องกรายในระยะใกล้ๆ นี้แล้วก็พอจะมั่นใจว่าสองมืออันน้อยนั่นแหละที่จะขจัดปัดเป่าความเลวร้ายในบ้านเมืองให้ผ่านพ้นไปได้ หรือแม้เกินกำลังแล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องวิตกทุกข์ร้อนแต่ประการใด
เพราะนั่นหมายความว่าเวลาสุดท้ายของสภาชุดนี้มาถึงแล้ว! เป็นโอกาสดีที่จะได้นับหนึ่งกันใหม่!