ASTV ผู้จัดการรายวัน – ผู้จัดงาน “มอเตอร์เอ็กซ์โป” ประกาศชูให้ 3 ฝ่าย ผู้ผลิต ภาครัฐ และผู้บริโภค ร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการผลิตและใช้รถยนต์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ทำลายโลก เผยปัจจัยจากภาครัฐยังเป็นปัญหาและจุดอ่อน เหตุไม่มีความชัดเจน และนโยบายแห่งชาติเป็นรูปธรรม โดยต่างฝ่ายต่างทำ จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อยๆ จนส่งผลต่อโครงการลงทุนผลิตรถยนต์รักโลก ทั้งที่รัฐควรจะกำหนดและวางมาตรการสนับสนุนไว้ก่อนแล้ว
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานคณะกรรมการจัดงานมหกรรมยานยนต์ หรือมอเตอร์เอ็กซ์โป เปิดเผยว่า ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีผู้เกี่ยวข้องสำคัญ 3 ฝ่าย คือ ผู้ผลิต รัฐ และผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมาผู้ผลิตรถยนต์ล้วนพัฒนาและออกแบบรถรุ่นใหม่ๆ ที่ไม่เพียงตอบสนองความต้องการผู้บริโภค แต่ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่มาควบคุมด้วย
“จากความต้องการที่บางอย่างอาจจะไม่ตรงกัน ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลก ทำให้เกิดปัญหาเรื่องพลังงาน และสภาวะสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัจจุบันที่กำลังเจอกับปัญหาโลกร้อน ดังนั้นทั้ง 3 ฝ่ายจะต้องร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เพื่อหนทางสู่ความยั่งยืนและสำเร็จของอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะการสร้างและใช้รถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
โดยปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดยานยนต์รักโลก ควรจะเริ่มจากผู้บริโภคที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ จากเลือกใช้เฉพาะยานยนต์ที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพสูง แต่ต้องประหยัดเชื้อเพลิง ปล่อยมลพิษต่ำ และไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร ส่วนตัวผู้ผลิตจะต้องเร่งสร้างสรรค์รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแดวล้อม ออกมาทดแทนรถรุ่นเก่า ให้เท่าทันกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค
นายขวัญชัยกล่าวว่า ภาครัฐเป็นปัจจัยสุดท้ายที่ควรเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมการผลิตยานยนต์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิประโยชน์การลงทุน การกำหนดโครงสร้างภาษีที่เหมาะสม และเงื่อนไขการผลิตที่เป็นไปได้ สนับสนุนทางด้านการเงินแก่ผู้ใช้ยานยนต์มลพิษต่ำ พร้อมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ๆ ให้ผู้ผลิต เป็นต้น
“ปัจจุบันรัฐยังเป็นปัญหาและมีจุดอ่อน ในการผลักดันหรือสนับสนุน และไม่มีนโยบายแห่งชาติที่เป็นกรอบให้ผู้ผลิตอย่างชัดเจน ซึ่งเข้าใจว่ามาจากการเมืองที่ผันผวน มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ และเมื่อเข้ามาแล้วต่างฝ่ายต่างทำ ไม่มีความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ผู้ผลิตไม่มีความมั่นใจ จนส่งผลต่อกระทบต่อโครงการลงทุนต่างๆ ไม่เดินหน้าเท่าที่ควร ขณะเดียวกันการผลักดันผู้บริโภคให้ใช้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลก็น้อย ไม่เหมือนหลายประเทศที่เขาสนับสนุนเงิน หรือคืนเงินบางส่วน ให้กับผู้ซื้อรถไฟฟ้า หรือไฮบริด เป็นต้น” นายขวัญชัยกล่าวและว่า
ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องมีความชัดเจน มองทิศทางของอนาคตให้ออก เพื่อที่จะได้กำหนดหรือวางมาตรการต่างๆ รองรับ ซึ่งในความเป็นจริงรัฐบาลจะต้องรู้แน่นอนอยู่แล้วว่า จะมีปัญหาเรื่องพลังงานเชื้อเพลิง และสภาวะมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ยานยนต์ต่อไปในอนาคตจะต้องก้าวไปสู่รถพลังงานไฟฟ้า หรือไฮโดรเจน แต่ก่อนจะถึงจุดนั้นย่อมมีรถพลังงานทางเลือก หรือทดแทน อย่างรถยนต์ไฮบริดที่จะเข้ามาแทรกก่อน นั่นหมายความว่ารัฐจะต้องวางมาตรการสนับสนุนให้ชัดเจนและเรียบร้อยไปแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาหารือเรื่องการสนับสนุน หรือวางมาตรการกำหนด จนเกิดปัญหาต่อการพัฒนาและลงทุนของผู้ผลิตรถยนต์ไฮบริดเช่นปัจจุบัน
นายขวัญชัยกล่าวต่อว่า จากการมองเห็นปัญหาดังกล่าว และเพื่อหนทางสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ในฐานะผู้จัดงานแสดงยานยนต์จึงได้กำหนดคอนเซ็ปต์งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 27 หรืองานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2010 ภายใต้แนวคิด “น้ำหนึ่งใจเดียว...สร้างสรรค์ยานยนต์รักโลก”(UNIFY…CREEATH-LOVING VEHICLES) ขึ้น สำหรับผลักดันให้ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ยานยนต์ที่เป็นมิตรและไม่ทำลายโลก
ในส่วนของรูปแบบการจัดงานจะยังคงยึดมาตรฐานความสำเร็จของครั้งที่ผ่านมา หรืองานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2009 ซึ่งมีผู้ผลิตรถยนต์และอุปกรณ์ประดับยนต์ รวมถึงผู้มาชมงานจำนวนมาก ทำให้มียอดจองรถสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ด้วยจำนวนถึง 2.5 หมื่นคัน โดยมีสาเหตุมาจากการอั้นซื้อรถของผู้บริโภคในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี จากการหวั่นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจะลุกลามเหมือนปี 2540 แต่สำหรับปีนี้ทิศทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจน ทำให้สถานการณ์ต่างๆ น่าจะเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว จึงได้มองยอดจองรถในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปีนี้ น่าจะอยู่ที่ 1.7 หมื่นคัน และผู้เข้าชมงานกว่า 1.6 ล้านคน ตามสภาวะความเป็นจริงของตลาด
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานคณะกรรมการจัดงานมหกรรมยานยนต์ หรือมอเตอร์เอ็กซ์โป เปิดเผยว่า ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีผู้เกี่ยวข้องสำคัญ 3 ฝ่าย คือ ผู้ผลิต รัฐ และผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมาผู้ผลิตรถยนต์ล้วนพัฒนาและออกแบบรถรุ่นใหม่ๆ ที่ไม่เพียงตอบสนองความต้องการผู้บริโภค แต่ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่มาควบคุมด้วย
“จากความต้องการที่บางอย่างอาจจะไม่ตรงกัน ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลก ทำให้เกิดปัญหาเรื่องพลังงาน และสภาวะสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัจจุบันที่กำลังเจอกับปัญหาโลกร้อน ดังนั้นทั้ง 3 ฝ่ายจะต้องร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เพื่อหนทางสู่ความยั่งยืนและสำเร็จของอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะการสร้างและใช้รถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
โดยปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดยานยนต์รักโลก ควรจะเริ่มจากผู้บริโภคที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ จากเลือกใช้เฉพาะยานยนต์ที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพสูง แต่ต้องประหยัดเชื้อเพลิง ปล่อยมลพิษต่ำ และไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร ส่วนตัวผู้ผลิตจะต้องเร่งสร้างสรรค์รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแดวล้อม ออกมาทดแทนรถรุ่นเก่า ให้เท่าทันกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค
นายขวัญชัยกล่าวว่า ภาครัฐเป็นปัจจัยสุดท้ายที่ควรเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมการผลิตยานยนต์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิประโยชน์การลงทุน การกำหนดโครงสร้างภาษีที่เหมาะสม และเงื่อนไขการผลิตที่เป็นไปได้ สนับสนุนทางด้านการเงินแก่ผู้ใช้ยานยนต์มลพิษต่ำ พร้อมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ๆ ให้ผู้ผลิต เป็นต้น
“ปัจจุบันรัฐยังเป็นปัญหาและมีจุดอ่อน ในการผลักดันหรือสนับสนุน และไม่มีนโยบายแห่งชาติที่เป็นกรอบให้ผู้ผลิตอย่างชัดเจน ซึ่งเข้าใจว่ามาจากการเมืองที่ผันผวน มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ และเมื่อเข้ามาแล้วต่างฝ่ายต่างทำ ไม่มีความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ผู้ผลิตไม่มีความมั่นใจ จนส่งผลต่อกระทบต่อโครงการลงทุนต่างๆ ไม่เดินหน้าเท่าที่ควร ขณะเดียวกันการผลักดันผู้บริโภคให้ใช้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลก็น้อย ไม่เหมือนหลายประเทศที่เขาสนับสนุนเงิน หรือคืนเงินบางส่วน ให้กับผู้ซื้อรถไฟฟ้า หรือไฮบริด เป็นต้น” นายขวัญชัยกล่าวและว่า
ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องมีความชัดเจน มองทิศทางของอนาคตให้ออก เพื่อที่จะได้กำหนดหรือวางมาตรการต่างๆ รองรับ ซึ่งในความเป็นจริงรัฐบาลจะต้องรู้แน่นอนอยู่แล้วว่า จะมีปัญหาเรื่องพลังงานเชื้อเพลิง และสภาวะมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ยานยนต์ต่อไปในอนาคตจะต้องก้าวไปสู่รถพลังงานไฟฟ้า หรือไฮโดรเจน แต่ก่อนจะถึงจุดนั้นย่อมมีรถพลังงานทางเลือก หรือทดแทน อย่างรถยนต์ไฮบริดที่จะเข้ามาแทรกก่อน นั่นหมายความว่ารัฐจะต้องวางมาตรการสนับสนุนให้ชัดเจนและเรียบร้อยไปแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาหารือเรื่องการสนับสนุน หรือวางมาตรการกำหนด จนเกิดปัญหาต่อการพัฒนาและลงทุนของผู้ผลิตรถยนต์ไฮบริดเช่นปัจจุบัน
นายขวัญชัยกล่าวต่อว่า จากการมองเห็นปัญหาดังกล่าว และเพื่อหนทางสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ในฐานะผู้จัดงานแสดงยานยนต์จึงได้กำหนดคอนเซ็ปต์งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 27 หรืองานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2010 ภายใต้แนวคิด “น้ำหนึ่งใจเดียว...สร้างสรรค์ยานยนต์รักโลก”(UNIFY…CREEATH-LOVING VEHICLES) ขึ้น สำหรับผลักดันให้ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ยานยนต์ที่เป็นมิตรและไม่ทำลายโลก
ในส่วนของรูปแบบการจัดงานจะยังคงยึดมาตรฐานความสำเร็จของครั้งที่ผ่านมา หรืองานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2009 ซึ่งมีผู้ผลิตรถยนต์และอุปกรณ์ประดับยนต์ รวมถึงผู้มาชมงานจำนวนมาก ทำให้มียอดจองรถสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ด้วยจำนวนถึง 2.5 หมื่นคัน โดยมีสาเหตุมาจากการอั้นซื้อรถของผู้บริโภคในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี จากการหวั่นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจะลุกลามเหมือนปี 2540 แต่สำหรับปีนี้ทิศทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวชัดเจน ทำให้สถานการณ์ต่างๆ น่าจะเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว จึงได้มองยอดจองรถในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปีนี้ น่าจะอยู่ที่ 1.7 หมื่นคัน และผู้เข้าชมงานกว่า 1.6 ล้านคน ตามสภาวะความเป็นจริงของตลาด