เสาร์ที่ 16 มกราคม ในการจัดงานวันครูที่ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผมรู้สึกปลื้มใจที่เห็นคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้เข้ากราบอาจารย์เก่า คือ อ.ลินจง อินทรัมพรรย์ และ อ.องอาจ บุญรักษ์ สมัยเรียนที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แม้จะถูกนักการเมืองคู่ปรับบางส่วนกระแนะกระแหนว่า คุณอภิสิทธิ์นั้นเป็นเด็กอินเตอร์ เป็นเด็กหัวนอก ไร้เครือข่ายเพื่อนฝูงในเมืองไทย แต่อย่างน้อยๆ คุณอภิสิทธิ์ก็มีโอกาสได้รับการศึกษาแบบไทยในช่วงเด็กคือ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จนกระทั่งจบชั้น ป.6 ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อที่อังกฤษ โดยคุณอภิสิทธิ์ถือเป็นศิษย์เก่าสาธิตจุฬาฯ รุ่นที่ 17
ตัวผมเองก็เป็นศิษย์เก่าสาธิตจุฬาฯ เป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 31 แม้จะเป็นน้องคุณอภิสิทธิ์สิบกว่าปี แต่ก็เคยได้ยินชื่อ “รุ่นพี่” คนนี้มาตั้งแต่สมัยคุณอภิสิทธิ์เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองใหม่ๆ สมัยเดินตามคุณชวน หลีกภัย โดยในตอนนั้นคุณอภิสิทธิ์ถือเป็นดาวรุ่งในแวดวงการเมืองไทยและถือเป็นความภูมิใจของโรงเรียน ยิ่งเมื่อคุณอภิสิทธิ์ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียิ่งถือว่าเป็นเรื่องเชิดหน้าชูตาให้โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ขึ้นไปใหญ่ เพราะถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนของเรา
เมื่อเปรียบเทียบกับ สวนกุหลาบฯ เซนต์คาเบรียล อัสสัมชัญฯ เตรียมอุดมศึกษาฯ มาแตร์เดอีฯ หรือ เซนต์โยเซฟฯ แล้วโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ถือว่ามีประวัติที่ไม่ยาวนานนัก เพราะก่อตั้งมาเพียง 50 กว่าปี (ก่อตั้ง พ.ศ.2501) โดยเป็นโรงเรียนในสังกัดคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้นับถึงปัจจุบันมีศิษย์เก่าเพียง 40 กว่ารุ่นเท่านั้น
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ มีลักษณะพิเศษหลายประการคือ เป็นโรงเรียนสหศึกษาที่ในแต่ละชั้นปีรับนักเรียนจำนวนไม่มากคือ 200 กว่าคน โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นลูก-หลานอาจารย์และข้าราชการของจุฬาฯ ทำให้ในแต่ละชั้นมีห้องเพียง 6-7 ห้อง และเนื่องจากนักเรียนเกือบทุกคนต้องเรียนและคลุกคลีอยู่ด้วยกันเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ชั้น ป.1 จนถึง ม.6 ทำให้นักเรียนและอาจารย์ส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้นกันเกือบหมด รวมถึงรุ่นพี่-รุ่นน้องด้วย
ส่วนตัวผมก็ถือเป็นรุ่นน้องของคุณอภิสิทธิ์ และ เป็นลูกศิษย์ของ อ.ลินจง ที่เป็นอาจารย์ประจำชั้นของผมสมัยชั้น ป.4 ห้อง ป.4/4 ขณะที่ อ.องอาจ ในสมัยผมเรียนนั้นอาจารย์ถือเป็นมือวางอันดับหนึ่งในเรื่องวิชาลูกเสือ และดูแลกองร้อยพิเศษ
วันที่ 16-17 มกราคมที่ผ่านมา ผมได้ฟัง อ.องอาจ และ อ.ลินจง ให้สัมภาษณ์กับสื่อโทรทัศน์หลายช่องถึงลูกศิษย์ชื่ออภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ในคำให้สัมภาษณ์ผมสังเกตเห็นได้ชัดว่า สำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์โดยสายเลือด ไม่ว่าศิษย์จะเติบโต เติบใหญ่ไปเช่นไร เป็นคนทั่วไป หรือ เป็นนายกรัฐมนตรี อาจารย์ก็จะยังคงมีความใส่ใจ มีความห่วงใย มีความเมตตาและปรารถนาดีกับลูกศิษย์ทุกคนอย่างสม่ำเสมอ
ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง อ.ลินจง ให้สัมภาษณ์ว่า ภูมิใจในลูกศิษย์ที่ชื่ออภิสิทธิ์ และรู้สึกเป็นห่วงกับภาระหน้าที่ที่คุณอภิสิทธิ์ต้องแบกรับอยู่ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจหลายๆ อย่างของคุณอภิสิทธิ์ในช่วงที่ผ่านมานั้นส่วนตัวอาจารย์ก็เห็นด้วย ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องของการยกเลิกหวยออนไลน์ …
เมื่อได้ยิน อ.ลินจง กล่าวชื่นชมถึงการตัดสินใจยกเลิกโครงการหวยออนไลน์ของคุณอภิสิทธิ์แล้ว ผมก็อดยิ้มไม่ได้ และรู้สึกว่าผมไม่เสียชาติเกิดจริงๆ ที่ในชีวิตหนึ่งได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน เพราะคำพูดของ อ.ลินจงพิสูจน์ให้เห็นว่า ในวัยเกษียณ อาจารย์ของผมและคุณอภิสิทธิ์ นอกจากจะยังคงจิตวิญญาณของความเป็นครู ความเป็นแม่ ความห่วงใยต่อลูกหลานของเยาวชนไทยอย่างแน่วแน่แล้ว ท่านยังมีความกล้าหาญในการออกความเห็นคัดค้าน เรื่องที่ขัดกับเรื่องศีลธรรมของบ้านเมืองอย่างตรงไปตรงมา
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่อาจารย์ทั้งสองท่านที่รู้สึกปลื้มใจกับคุณอภิสิทธิ์เป็นพิเศษ เพราะ ตัวผมเอง รวมถึงประชาชนไทยจำนวนไม่น้อยก็คงรู้สึกพอใจกับการตัดสินใจหลายๆ อย่างของคุณอภิสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการยกเลิกโครงการหวยออนไลน์ การกดดันให้คุณวิทยา แก้วภราดัย และคุณมานิต นพอมรบดี ลาออกจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมไปถึงกรณีล่าสุดคือกรณีการปฏิเสธมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กรณีมีความเห็นกลับมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในคดีสลายม็อบพันธมิตรฯ 7 ตุลาคม และ พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี ในคดีปล่อยให้กลุ่มเสื้อแดงเข้าทำร้ายผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ จ.อุดรธานี
การตัดสินใจของคุณอภิสิทธิ์หลายๆ ประการในช่วงต้นปี 2553 นี้ ในสายตาของผมและประชาชนทั่วไปถือว่าเป็นการพลิกภาพลักษณ์ “หล่อหลักลอย” ที่สื่อมวลชนตั้งให้คุณอภิสิทธิ์ในช่วงปลายปี 2552 ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ และสามารถช่วยสลายภาพลักษณ์การเป็นนายกฯ หุ่นเชิด ให้พรรคร่วมโกงกินได้อย่างชะงัด เพราะ ในช่วงปี 2552 การขาดความเด็ดขาด ความโลเล และ การตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่เน้น “การบริหารผลประโยชน์ทางการเมือง” มากกว่า “การบริหารประเทศชาติเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน” จนทำให้ประเทศชาติและสังคมได้รับความเสียหายอย่างมาก ยกอย่างเช่น กรณีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่ร่วมเจรจาที่พัทยา กรณีสงกรานต์เลือด กรณีการทุจริตรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน กรณีโครงการทุจริตกองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ ได้ทำลายภาพลักษณ์ของอดีตศิษย์เก่าสาธิตจุฬาฯ คนนี้ไปมาก อย่างชนิดที่เรียกได้ว่ากองเชียร์หลายคนนึกว่าจะไปไม่รอดเสียแล้ว
อย่างไรก็ตามก็มีผู้หวังดี ทักท้วงขึ้นมาว่า การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของคุณอภิสิทธิ์ในวันนี้เป็นไปได้หรือไม่ว่าอาจเป็นเพียง “เกมการเมือง” ฉากหนึ่ง เป็น “แทคติกทางการเมือง” ในการบริหารผลประโยชน์ชนิดหนึ่ง? เพราะ ทางหนึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ใช้ภาพลักษณ์ของคุณอภิสิทธิ์เพื่อเรียกคะแนนนิยมของประชาชน ขณะที่อีกทางหนึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ใช้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เพื่อบริหารผลประโยชน์ในหมู่พรรคร่วม และกลุ่มทหาร-ตำรวจที่นายสุเทพเคยกล่าวว่ามีบุญคุณอย่างมากต่อการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้
โดยส่วนตัว ผมไม่กล้าโต้เถียงความเห็นข้างต้นแทนคุณอภิสิทธิ์ เพราะ การตัดสินใจในหลายๆ เรื่องของรัฐบาลก็ยังถือว่ามีลักษณะคลุมเครืออยู่ ไม่ว่าจะในกรณีการที่พรรคภูมิใจไทย ทำร้ายจิตใจประชาชนด้วยการส่งชื่อพรรณสิริ กุลนาถศิริ น้องสาวนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขทั้งๆ ที่ปราศจากความเหมาะสมโดยสิ้นเชิง รวมไปถึงกรณีมติ ก.ตร. อุ้มนายตำรวจ 3 นายด้วย โดยหนึ่งในนั้นเป็นน้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม
เวลาเท่านั้นที่เป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงใจของคนชื่ออภิสิทธิ์ และ รุ่นน้องคนนี้หวังว่าพี่อภิสิทธิ์คงไม่ทำให้โรงเรียน อาจารย์ รุ่นพี่ รุ่นน้องสาธิตจุฬาฯ และประชาชนทุกคนผิดหวัง เหมือนกับที่อดีตนายกรัฐมนตรีหลายๆ คนเคยทำกับโรงเรียน ผู้มีพระคุณ รุ่นพี่ รุ่นน้องและประเทศชาติมาแล้ว
แม้จะถูกนักการเมืองคู่ปรับบางส่วนกระแนะกระแหนว่า คุณอภิสิทธิ์นั้นเป็นเด็กอินเตอร์ เป็นเด็กหัวนอก ไร้เครือข่ายเพื่อนฝูงในเมืองไทย แต่อย่างน้อยๆ คุณอภิสิทธิ์ก็มีโอกาสได้รับการศึกษาแบบไทยในช่วงเด็กคือ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จนกระทั่งจบชั้น ป.6 ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อที่อังกฤษ โดยคุณอภิสิทธิ์ถือเป็นศิษย์เก่าสาธิตจุฬาฯ รุ่นที่ 17
ตัวผมเองก็เป็นศิษย์เก่าสาธิตจุฬาฯ เป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 31 แม้จะเป็นน้องคุณอภิสิทธิ์สิบกว่าปี แต่ก็เคยได้ยินชื่อ “รุ่นพี่” คนนี้มาตั้งแต่สมัยคุณอภิสิทธิ์เริ่มเข้าสู่แวดวงการเมืองใหม่ๆ สมัยเดินตามคุณชวน หลีกภัย โดยในตอนนั้นคุณอภิสิทธิ์ถือเป็นดาวรุ่งในแวดวงการเมืองไทยและถือเป็นความภูมิใจของโรงเรียน ยิ่งเมื่อคุณอภิสิทธิ์ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียิ่งถือว่าเป็นเรื่องเชิดหน้าชูตาให้โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ขึ้นไปใหญ่ เพราะถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนของเรา
เมื่อเปรียบเทียบกับ สวนกุหลาบฯ เซนต์คาเบรียล อัสสัมชัญฯ เตรียมอุดมศึกษาฯ มาแตร์เดอีฯ หรือ เซนต์โยเซฟฯ แล้วโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ถือว่ามีประวัติที่ไม่ยาวนานนัก เพราะก่อตั้งมาเพียง 50 กว่าปี (ก่อตั้ง พ.ศ.2501) โดยเป็นโรงเรียนในสังกัดคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้นับถึงปัจจุบันมีศิษย์เก่าเพียง 40 กว่ารุ่นเท่านั้น
นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ มีลักษณะพิเศษหลายประการคือ เป็นโรงเรียนสหศึกษาที่ในแต่ละชั้นปีรับนักเรียนจำนวนไม่มากคือ 200 กว่าคน โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นลูก-หลานอาจารย์และข้าราชการของจุฬาฯ ทำให้ในแต่ละชั้นมีห้องเพียง 6-7 ห้อง และเนื่องจากนักเรียนเกือบทุกคนต้องเรียนและคลุกคลีอยู่ด้วยกันเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ชั้น ป.1 จนถึง ม.6 ทำให้นักเรียนและอาจารย์ส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้นกันเกือบหมด รวมถึงรุ่นพี่-รุ่นน้องด้วย
ส่วนตัวผมก็ถือเป็นรุ่นน้องของคุณอภิสิทธิ์ และ เป็นลูกศิษย์ของ อ.ลินจง ที่เป็นอาจารย์ประจำชั้นของผมสมัยชั้น ป.4 ห้อง ป.4/4 ขณะที่ อ.องอาจ ในสมัยผมเรียนนั้นอาจารย์ถือเป็นมือวางอันดับหนึ่งในเรื่องวิชาลูกเสือ และดูแลกองร้อยพิเศษ
วันที่ 16-17 มกราคมที่ผ่านมา ผมได้ฟัง อ.องอาจ และ อ.ลินจง ให้สัมภาษณ์กับสื่อโทรทัศน์หลายช่องถึงลูกศิษย์ชื่ออภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ในคำให้สัมภาษณ์ผมสังเกตเห็นได้ชัดว่า สำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์โดยสายเลือด ไม่ว่าศิษย์จะเติบโต เติบใหญ่ไปเช่นไร เป็นคนทั่วไป หรือ เป็นนายกรัฐมนตรี อาจารย์ก็จะยังคงมีความใส่ใจ มีความห่วงใย มีความเมตตาและปรารถนาดีกับลูกศิษย์ทุกคนอย่างสม่ำเสมอ
ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง อ.ลินจง ให้สัมภาษณ์ว่า ภูมิใจในลูกศิษย์ที่ชื่ออภิสิทธิ์ และรู้สึกเป็นห่วงกับภาระหน้าที่ที่คุณอภิสิทธิ์ต้องแบกรับอยู่ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจหลายๆ อย่างของคุณอภิสิทธิ์ในช่วงที่ผ่านมานั้นส่วนตัวอาจารย์ก็เห็นด้วย ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องของการยกเลิกหวยออนไลน์ …
เมื่อได้ยิน อ.ลินจง กล่าวชื่นชมถึงการตัดสินใจยกเลิกโครงการหวยออนไลน์ของคุณอภิสิทธิ์แล้ว ผมก็อดยิ้มไม่ได้ และรู้สึกว่าผมไม่เสียชาติเกิดจริงๆ ที่ในชีวิตหนึ่งได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน เพราะคำพูดของ อ.ลินจงพิสูจน์ให้เห็นว่า ในวัยเกษียณ อาจารย์ของผมและคุณอภิสิทธิ์ นอกจากจะยังคงจิตวิญญาณของความเป็นครู ความเป็นแม่ ความห่วงใยต่อลูกหลานของเยาวชนไทยอย่างแน่วแน่แล้ว ท่านยังมีความกล้าหาญในการออกความเห็นคัดค้าน เรื่องที่ขัดกับเรื่องศีลธรรมของบ้านเมืองอย่างตรงไปตรงมา
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่อาจารย์ทั้งสองท่านที่รู้สึกปลื้มใจกับคุณอภิสิทธิ์เป็นพิเศษ เพราะ ตัวผมเอง รวมถึงประชาชนไทยจำนวนไม่น้อยก็คงรู้สึกพอใจกับการตัดสินใจหลายๆ อย่างของคุณอภิสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการยกเลิกโครงการหวยออนไลน์ การกดดันให้คุณวิทยา แก้วภราดัย และคุณมานิต นพอมรบดี ลาออกจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมไปถึงกรณีล่าสุดคือกรณีการปฏิเสธมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กรณีมีความเห็นกลับมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในคดีสลายม็อบพันธมิตรฯ 7 ตุลาคม และ พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี ในคดีปล่อยให้กลุ่มเสื้อแดงเข้าทำร้ายผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ จ.อุดรธานี
การตัดสินใจของคุณอภิสิทธิ์หลายๆ ประการในช่วงต้นปี 2553 นี้ ในสายตาของผมและประชาชนทั่วไปถือว่าเป็นการพลิกภาพลักษณ์ “หล่อหลักลอย” ที่สื่อมวลชนตั้งให้คุณอภิสิทธิ์ในช่วงปลายปี 2552 ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ และสามารถช่วยสลายภาพลักษณ์การเป็นนายกฯ หุ่นเชิด ให้พรรคร่วมโกงกินได้อย่างชะงัด เพราะ ในช่วงปี 2552 การขาดความเด็ดขาด ความโลเล และ การตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่เน้น “การบริหารผลประโยชน์ทางการเมือง” มากกว่า “การบริหารประเทศชาติเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน” จนทำให้ประเทศชาติและสังคมได้รับความเสียหายอย่างมาก ยกอย่างเช่น กรณีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่ร่วมเจรจาที่พัทยา กรณีสงกรานต์เลือด กรณีการทุจริตรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน กรณีโครงการทุจริตกองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ ได้ทำลายภาพลักษณ์ของอดีตศิษย์เก่าสาธิตจุฬาฯ คนนี้ไปมาก อย่างชนิดที่เรียกได้ว่ากองเชียร์หลายคนนึกว่าจะไปไม่รอดเสียแล้ว
อย่างไรก็ตามก็มีผู้หวังดี ทักท้วงขึ้นมาว่า การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของคุณอภิสิทธิ์ในวันนี้เป็นไปได้หรือไม่ว่าอาจเป็นเพียง “เกมการเมือง” ฉากหนึ่ง เป็น “แทคติกทางการเมือง” ในการบริหารผลประโยชน์ชนิดหนึ่ง? เพราะ ทางหนึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้ใช้ภาพลักษณ์ของคุณอภิสิทธิ์เพื่อเรียกคะแนนนิยมของประชาชน ขณะที่อีกทางหนึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ใช้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เพื่อบริหารผลประโยชน์ในหมู่พรรคร่วม และกลุ่มทหาร-ตำรวจที่นายสุเทพเคยกล่าวว่ามีบุญคุณอย่างมากต่อการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้
โดยส่วนตัว ผมไม่กล้าโต้เถียงความเห็นข้างต้นแทนคุณอภิสิทธิ์ เพราะ การตัดสินใจในหลายๆ เรื่องของรัฐบาลก็ยังถือว่ามีลักษณะคลุมเครืออยู่ ไม่ว่าจะในกรณีการที่พรรคภูมิใจไทย ทำร้ายจิตใจประชาชนด้วยการส่งชื่อพรรณสิริ กุลนาถศิริ น้องสาวนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขทั้งๆ ที่ปราศจากความเหมาะสมโดยสิ้นเชิง รวมไปถึงกรณีมติ ก.ตร. อุ้มนายตำรวจ 3 นายด้วย โดยหนึ่งในนั้นเป็นน้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม
เวลาเท่านั้นที่เป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงใจของคนชื่ออภิสิทธิ์ และ รุ่นน้องคนนี้หวังว่าพี่อภิสิทธิ์คงไม่ทำให้โรงเรียน อาจารย์ รุ่นพี่ รุ่นน้องสาธิตจุฬาฯ และประชาชนทุกคนผิดหวัง เหมือนกับที่อดีตนายกรัฐมนตรีหลายๆ คนเคยทำกับโรงเรียน ผู้มีพระคุณ รุ่นพี่ รุ่นน้องและประเทศชาติมาแล้ว