เมื่อเวลา 13.00น. วานนี้ (18 ม.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติ ตอนหนึ่งว่า รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในการกระจายอำนาจให้แก่ส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก แต่ต้องยอมรับว่า กลไกที่จะใช้แก้ไขปัญหายังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ดังนั้นการทำงานในลักษณะดังกล่าว อาจจะได้ผลในบางพื้นที่ หรือบางช่วง แต่ก็ยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร
ในปีงบประมาณ 52-53 รัฐบาลมีความพยายามเริ่มต้นกระบวนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด และกลุ่มจังหวัด แต่เนื่องจากยังขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย กฎระเบียบ รวมทั้งเวลาที่ไม่มีเวลาเพียงพอในการจัดการงบประมาณ จึงทำให้เดินหน้าไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ยังถือว่าเดินหน้าไปได้
" ตอนนี้อนุมัติโครงการไปแล้ว 4,500 โครงการ ใช้งบประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท คาดว่าในปีงบประมาณ 54 จะใช้ตัวเลขในยอดรวมที่ใกล้เคียงกับตัวเลขที่ผ่านมา โดยสิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ ความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องวิธีการ และหลักคิดในการจัดทำงบประมาณส่วนนี้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงหลักคิดในการทำงบประมาณว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะปรากฏอยู่ในแผนของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งจะมีการอนุมัติทั้งจากงบประมาณปกติ และเงินกู้ไทยเข้มแข็ง ทั้งนี้ทราบว่าความต้องการของท้องถิ่นมีมาก แต่อย่างไรก็ดี การจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ จะหมายถึงการบริหารพื้นที่หรือกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่มียุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน
"หลักคิดที่สำคัญที่สุดคือ ทุกกลุ่มจังหวัด จะมีความต้องการ คิดจากกลุ่มจังหวัดก่อนว่าภาพที่ชัดเจนของแต่ละภาค แต่ละกลุ่มมียุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างไร วางตำแหน่งของพื้นที่ตัวเองว่าจะมีการเจริญก้าวหน้าอย่างไร และใช้ตัวนั้นเป็นหลักในการคิดว่าจะมีโครงการอะไรไปเสริมจากการลงทุนจากงบประมาณปกติ"
ทั้งนี้ การจัดทำโครงการนั้น 1. ต้องบังคับตัวเองให้ออกจากกรอบของการจัดการงบประมาณแบบปกติ 2. ต้องเชื่อมโยงโครงการมายังยุทธศาสตร์ของท้องถิ่น โดยมีการปรึกษาหารือกับทุกฝ่ายทั้งประชาชน เอกชน และผู้ที่ได้รับส่วนได้ส่วนเสีย
สำหรับสถานการณ์ที่จะต้องตระหนักเป็นพิเศษนั้น นายอภิสิทธิ์ วิเคราะห์ว่า 1.สภาพความเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค โดยต้องทำยุทธศาสตร์ที่ตอบโจทย์กับประโยชน์ที่จะได้รับจากการเชื่อมโยงกับประเทศเหล่านั้น
2. การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยในส่วนของภาคเกษตรกรรมนั้น จะต้องคิดไปไกลถึงการแปรรูป ระบบโลจิสติกส์ ส่วนภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยง จะผลักดันเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ คือการดึงเอาทุนทางสังคม อาทิ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตนมองถึงการวิเคราะห์ต่อไปถึงสถานการณ์ที่ 3 คือ สภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ซึ่งในหลายประเทศมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งเริ่มมีการกำหนดประเด็นด้านภูมิอากาศมาเป็นเงื่อนไขในการค้าการลงทุนด้วย
ดังนั้นในแต่ละพื้นที่ควรนำประเด็นนี้มาเชื่อมโยงกับสองประเด็นข้างต้น ทั้งนี้มองว่า อุตสหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังจะมีการเติบโต และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งประเทศไทย ถือว่าได้เปรียบและมีโอกาสรวมถึงลู่ทางมาก
"ประเด็นสุดท้ายในเชิงทิศทางนโยบายคือ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยปลายเดือนนี้มีการทำประชาคมทั้งประเทศ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้นับเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการด้วย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหมด ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการระดมความร่วมมือได้ดีที่สุด จึงต้องปฏิบัติงานอย่างเต็มที่" นายอภิสิทธิ์กล่าว
ในปีงบประมาณ 52-53 รัฐบาลมีความพยายามเริ่มต้นกระบวนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด และกลุ่มจังหวัด แต่เนื่องจากยังขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย กฎระเบียบ รวมทั้งเวลาที่ไม่มีเวลาเพียงพอในการจัดการงบประมาณ จึงทำให้เดินหน้าไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ยังถือว่าเดินหน้าไปได้
" ตอนนี้อนุมัติโครงการไปแล้ว 4,500 โครงการ ใช้งบประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท คาดว่าในปีงบประมาณ 54 จะใช้ตัวเลขในยอดรวมที่ใกล้เคียงกับตัวเลขที่ผ่านมา โดยสิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ ความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องวิธีการ และหลักคิดในการจัดทำงบประมาณส่วนนี้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงหลักคิดในการทำงบประมาณว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะปรากฏอยู่ในแผนของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งจะมีการอนุมัติทั้งจากงบประมาณปกติ และเงินกู้ไทยเข้มแข็ง ทั้งนี้ทราบว่าความต้องการของท้องถิ่นมีมาก แต่อย่างไรก็ดี การจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ จะหมายถึงการบริหารพื้นที่หรือกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ คือ การบริหารที่มียุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน
"หลักคิดที่สำคัญที่สุดคือ ทุกกลุ่มจังหวัด จะมีความต้องการ คิดจากกลุ่มจังหวัดก่อนว่าภาพที่ชัดเจนของแต่ละภาค แต่ละกลุ่มมียุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างไร วางตำแหน่งของพื้นที่ตัวเองว่าจะมีการเจริญก้าวหน้าอย่างไร และใช้ตัวนั้นเป็นหลักในการคิดว่าจะมีโครงการอะไรไปเสริมจากการลงทุนจากงบประมาณปกติ"
ทั้งนี้ การจัดทำโครงการนั้น 1. ต้องบังคับตัวเองให้ออกจากกรอบของการจัดการงบประมาณแบบปกติ 2. ต้องเชื่อมโยงโครงการมายังยุทธศาสตร์ของท้องถิ่น โดยมีการปรึกษาหารือกับทุกฝ่ายทั้งประชาชน เอกชน และผู้ที่ได้รับส่วนได้ส่วนเสีย
สำหรับสถานการณ์ที่จะต้องตระหนักเป็นพิเศษนั้น นายอภิสิทธิ์ วิเคราะห์ว่า 1.สภาพความเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค โดยต้องทำยุทธศาสตร์ที่ตอบโจทย์กับประโยชน์ที่จะได้รับจากการเชื่อมโยงกับประเทศเหล่านั้น
2. การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยในส่วนของภาคเกษตรกรรมนั้น จะต้องคิดไปไกลถึงการแปรรูป ระบบโลจิสติกส์ ส่วนภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยง จะผลักดันเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ คือการดึงเอาทุนทางสังคม อาทิ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตนมองถึงการวิเคราะห์ต่อไปถึงสถานการณ์ที่ 3 คือ สภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ซึ่งในหลายประเทศมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งเริ่มมีการกำหนดประเด็นด้านภูมิอากาศมาเป็นเงื่อนไขในการค้าการลงทุนด้วย
ดังนั้นในแต่ละพื้นที่ควรนำประเด็นนี้มาเชื่อมโยงกับสองประเด็นข้างต้น ทั้งนี้มองว่า อุตสหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังจะมีการเติบโต และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งประเทศไทย ถือว่าได้เปรียบและมีโอกาสรวมถึงลู่ทางมาก
"ประเด็นสุดท้ายในเชิงทิศทางนโยบายคือ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยปลายเดือนนี้มีการทำประชาคมทั้งประเทศ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้นับเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการด้วย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหมด ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการระดมความร่วมมือได้ดีที่สุด จึงต้องปฏิบัติงานอย่างเต็มที่" นายอภิสิทธิ์กล่าว