ASTVผู้จัดการรายวัน – “กรณ์” เตรียมชง ครม.เศรษฐกิจผุดโครงการใช้ประโยชน์ร่วมเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงความเร็งสูง 5 รัฐวิสาหกิจ ช่วยรัฐประหยัดเม็ดเงินลงทุนนับหมื่นล้านพร้อมสร้างรายได้จากค่าเช่าโครงข่าย ขณะที่ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์ใช้บอร์ดแบรนด์ความเร็ว 25-100 Mb/s
นายกุลิศ สมบัติศิริ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มกราคมนี้ กระทรวงการคลังโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังจะนำเสนอแผนการสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่งใช้ประโยชน์จากการลงทุนร่วมกัน เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เศรษฐกิจ เพื่อ ให้รัฐมนตรีต้นสังกัดไปผลักดันต่อไป
โดยรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่ง ประกอบไปด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) บมจ.ทีโอที TOT และบมจ.กสท โทรคมนาคมCAT ซึ่งรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งนี้สามารถใช้โครงข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูงที่ครอบคลุมทั่วประเทศร่วมกันจะช่วยให้ประหยัดเงินลงทุนของประเทศได้มาก
ซึ่งโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วเป็นการลงทุนวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกของ บมจ.กสท โทรคมนาคมเฉพาะในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล ใช้เม็ดเงินลงทุนสูงถึง 6,000 ล้านบาทในระยะเวลา 3 ปี หากจะลงทุนขยายไปทั่วประเทศ โดยรวมในส่วนของการลงทุนของ บมจ.ทีโอทีด้วยอีกเกือบ 1 หมื่นล้านบาทนั้นก็อาจจะซ้ำซ้อนกันและจะเป็นการใช้ทรัพยากรทางโครงข่ายที่ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด
“หากรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งสามารถตกลงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกันได้จะทำให้ประเทศชาติประหยัดเงินลงทุนอย่างมหาศาลและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” นายกุลิศกล่าวและว่า โดยเฉพาะการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งที่มีสายไฟเบอร์ออฟติกอยู่ทั่วประเทศจะต้องพัฒนาการใช้โครงข่ายที่มีอยู่อย่างเต็มที่
ทั้งนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 5 อาจมีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันโดยเป็นเจ้าของโครงข่ายและทำหน้าที่เป็นเจ้าของผู้ให้เช่าโครงข่ายกับเอกชนโดยเฉพาะการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบอร์ดแบรนด์ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก ซึ่งในปัจจุบันความเร็วที่ใช้อยู่สูงสุดที่ 4 Mb/s แต่หากใช้โรงข่ายที่มีอยู่จะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบรนด์ที่มีความเร็ว 25-100 Mb/s ที่มีความเร็วใกล้เคียงกับเรียลไทม์มาก
“ศักยภาพของรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งนี้มีสูงมากหากมีการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้มีรายได้เข้ารัฐบาลได้อย่างมหาศาลและเกิดประโยชน์กับประชาชนมาก เราจึงมีแนวคิดที่จะให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันโดยไม่ทิ้งไว้ให้สูญเปล่า และหวังว่าต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งคงให้ความสนับสนุนให้โครงการนี้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างได้” นายกุลิศกล่าว
นายกุลิศ สมบัติศิริ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มกราคมนี้ กระทรวงการคลังโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังจะนำเสนอแผนการสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่งใช้ประโยชน์จากการลงทุนร่วมกัน เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เศรษฐกิจ เพื่อ ให้รัฐมนตรีต้นสังกัดไปผลักดันต่อไป
โดยรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่ง ประกอบไปด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) บมจ.ทีโอที TOT และบมจ.กสท โทรคมนาคมCAT ซึ่งรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งนี้สามารถใช้โครงข่ายใยแก้วนำแสงความเร็วสูงที่ครอบคลุมทั่วประเทศร่วมกันจะช่วยให้ประหยัดเงินลงทุนของประเทศได้มาก
ซึ่งโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วเป็นการลงทุนวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกของ บมจ.กสท โทรคมนาคมเฉพาะในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล ใช้เม็ดเงินลงทุนสูงถึง 6,000 ล้านบาทในระยะเวลา 3 ปี หากจะลงทุนขยายไปทั่วประเทศ โดยรวมในส่วนของการลงทุนของ บมจ.ทีโอทีด้วยอีกเกือบ 1 หมื่นล้านบาทนั้นก็อาจจะซ้ำซ้อนกันและจะเป็นการใช้ทรัพยากรทางโครงข่ายที่ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด
“หากรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งสามารถตกลงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกันได้จะทำให้ประเทศชาติประหยัดเงินลงทุนอย่างมหาศาลและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” นายกุลิศกล่าวและว่า โดยเฉพาะการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งที่มีสายไฟเบอร์ออฟติกอยู่ทั่วประเทศจะต้องพัฒนาการใช้โครงข่ายที่มีอยู่อย่างเต็มที่
ทั้งนี้รัฐวิสาหกิจทั้ง 5 อาจมีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันโดยเป็นเจ้าของโครงข่ายและทำหน้าที่เป็นเจ้าของผู้ให้เช่าโครงข่ายกับเอกชนโดยเฉพาะการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบอร์ดแบรนด์ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก ซึ่งในปัจจุบันความเร็วที่ใช้อยู่สูงสุดที่ 4 Mb/s แต่หากใช้โรงข่ายที่มีอยู่จะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบรนด์ที่มีความเร็ว 25-100 Mb/s ที่มีความเร็วใกล้เคียงกับเรียลไทม์มาก
“ศักยภาพของรัฐวิสาหกิจทั้ง 5 แห่งนี้มีสูงมากหากมีการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้มีรายได้เข้ารัฐบาลได้อย่างมหาศาลและเกิดประโยชน์กับประชาชนมาก เราจึงมีแนวคิดที่จะให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันโดยไม่ทิ้งไว้ให้สูญเปล่า และหวังว่าต้นสังกัดของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งคงให้ความสนับสนุนให้โครงการนี้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างได้” นายกุลิศกล่าว