ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคดีความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ โดยแต่งตั้งให้ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน และตั้งปลัดกระทรวงจากทุกกระทรวงร่วมเป็นคณะกรรมการ มีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นเลขานุการ โดยจะมีการประชุมอย่างเป็น ทางการวันนี้ (12 ม.ค.) เวลา 14.00 น. และนายกรัฐมนตรีจะร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย
สำหรับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคดีความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ ให้มีบทบาทหน้าที่ในการให้คำปรึกษาการดำเนินคดีความมั่งคงที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดีเอสไอ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อให้การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความรอบคอบ เป็นธรรมและเกิดความเหมาะสม
ต่อมาเวลา 14.00 น. มีการประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคดีความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย หลังการประชุม นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงประชุมว่า คณะกรรมการฯชุดนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2552 โดยนัดแรกนายกฯได้เข้าร่วมประชุมด้วย
สำหรับคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาทางวิชาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีความมั่นคงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะให้คำปรึกษาทางวิชาการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ฯลฯ เพื่อให้การทำงาน มีเอกภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามีช่องว่างการดำเนินคดีความมั่นคงที่มีความเข้าใจ ไม่ตรงกันหลายเรื่อง รวมถึงความไม่เข้าใจจากต่างประเทศด้วย
โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ทำคดีความมั่นคงด้วยความชัดเจน แม่นยำมากขึ้น และป้องกันไม่ให้มีการนำคดีดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาว่าจะดูแลในคดีใดบ้าง เพราะเป็นเพียงการประชุมในเบื้องต้นเท่านั้น หลังจากนั้นจะมีการรวบรวมคดีต่างๆ เพื่อหาข้อมูลในการทำคดี ก่อนให้ความเห็นทางวิชาการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ใช้ดุลยพินิจต่อไป ไม่จำเป็นต้องทำตามข้อเสนอของตณะกรรมการฯ เชื่อว่าจะทำให้การพิจารณาข้อกล่าวหาต่างๆ มีความสมดุลรอบด้าน เพราะหน่วยงานต่างๆจะมีข้อมูลที่ตรงกัน ไม่ให้มีข้อครหาตามมาว่าเป็นการใช้กฎหมายความมั่นคงเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง
สำหรับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคดีความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ ให้มีบทบาทหน้าที่ในการให้คำปรึกษาการดำเนินคดีความมั่งคงที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดีเอสไอ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อให้การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความรอบคอบ เป็นธรรมและเกิดความเหมาะสม
ต่อมาเวลา 14.00 น. มีการประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคดีความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมด้วย หลังการประชุม นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงประชุมว่า คณะกรรมการฯชุดนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2552 โดยนัดแรกนายกฯได้เข้าร่วมประชุมด้วย
สำหรับคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาทางวิชาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีความมั่นคงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะให้คำปรึกษาทางวิชาการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม ตำรวจ อัยการ ฯลฯ เพื่อให้การทำงาน มีเอกภาพมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามีช่องว่างการดำเนินคดีความมั่นคงที่มีความเข้าใจ ไม่ตรงกันหลายเรื่อง รวมถึงความไม่เข้าใจจากต่างประเทศด้วย
โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ทำคดีความมั่นคงด้วยความชัดเจน แม่นยำมากขึ้น และป้องกันไม่ให้มีการนำคดีดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาว่าจะดูแลในคดีใดบ้าง เพราะเป็นเพียงการประชุมในเบื้องต้นเท่านั้น หลังจากนั้นจะมีการรวบรวมคดีต่างๆ เพื่อหาข้อมูลในการทำคดี ก่อนให้ความเห็นทางวิชาการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ใช้ดุลยพินิจต่อไป ไม่จำเป็นต้องทำตามข้อเสนอของตณะกรรมการฯ เชื่อว่าจะทำให้การพิจารณาข้อกล่าวหาต่างๆ มีความสมดุลรอบด้าน เพราะหน่วยงานต่างๆจะมีข้อมูลที่ตรงกัน ไม่ให้มีข้อครหาตามมาว่าเป็นการใช้กฎหมายความมั่นคงเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง