เอเอฟพี – บรรดานักวิเคราะห์ชี้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯ ต้องเผชิญอุปสรรคสำคัญ เพราะโครงสร้างองค์กรเป็นระบบราชการอันใหญ่โตมหึมา การปรับปรุงหน่วยงานทั้งหมด 16 หน่วยซึ่งมีเจ้าหน้าที่ราว 200,000 คนให้มีประสิทธิภาพฉับไวจึงเป็นภารกิจหนักมาก หนำซ้ำยังต้องจัดการกับระบบการไหลเวียนข้อมูลที่มีมหาศาลด้วย
บรูซ ไรเดล อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอซึ่งเวลานี้เป็นนักวิจัยของสถาบันบรูกกิ้ง หน่วยงานศึกษาวิจัยชื่อดังที่อยู่ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา “พบแล้วว่ามรดกที่เขาได้รับมาในส่วนของงานข่าวกรองก็คือ หน่วยงานแบบราชการเทอะทะ ซึ่งแม้จะเป็นเพราะเจตนาดี แต่เมื่อโครงสร้างใหญ่โตมาก การประสานส่วนย่อยต่างๆ จึงทำได้ยากมาก”
ประธานาธิบดีโอบามาเรียกประชุมพวกหัวหน้าหน่วยงานข่าวกรองและความมั่นคงคงต่างๆ ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันอังคาร(5) เพื่อไล่เรียงเกี่ยวกับความล้มเหลวที่ทำให้ชายชาวไนจีเรียผู้มีพฤติการณ์น่าสงสัย ยังสามารถเล็ดลอดขึ้นไปบนเครื่องบินโดยสาร โดยทำท่าจะจุดระเบิดเครื่องบินลำนั้นขณะกำลังเดินทางสู่เมืองดีทรอยต์ของสหรัฐฯในวันคริสต์มาสได้อยู่แล้ว แต่ถูกพวกผู้โดยสารและลูกเรือขัดขวางเสียก่อน
ไรเดลชี้ว่า จากภาพข่าวจะเห็นโอบามาต้องเข้าร่วมประชุมกับพวกเจ้าหน้าที่จำนวนมากมาย “มีคนตั้งยี่สิบกว่าคนในห้องนั้น ทำไมถึงมีคนตั้งมากมายพยายามเปิดการแสดง ทำไมโอบามาถึงไม่คุยกับเจ้าหน้าที่สูงสุดเพียงคนเดียวที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ล่ะ”
เขาบอกอีกว่าหลังเหตุโจมตีสหรัฐฯ “9/11” เคยมีการปฏิรูปโดยแต่งตั้งผู้อำนวยการงานข่าวกรองแห่งชาติคนใหม่เพื่อดูแลโครงสร้างของหน่วยงาน แต่ตำแหน่งดังกล่าวไม่เคยได้รับมอบอำนาจหน้าที่อย่างเพียงพอ
ทางด้าน ธอมัส คีน และ จอห์น ฟาร์เมอร์ อดีตสมาชิก 2 คนในคณะกรรมาธิการสอบสวนเหตุการณ์ “9/11” เขียนแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันพุธว่า ความล้มเหลวที่จะตรวจจับแผนโจมตีเครื่องบินโดยสารด้วยระเบิดในวันคริสต์มาส เป็น “เสียงสะท้อนที่น่าหวาดหวั่น” ของความล้มเหลวอย่างเดียวกันที่ปรากฏออกมาให้เห็นในช่วงก่อนหน้าเหตุการณ์ 9/11 บุคคลทั้งสองระบุว่า หน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบผิดแผกกันแต่ก็มีส่วนที่เหลื่อมล้ำกัน แล้วยังคงมุ่งมั่นขีดวงอำนาจหน้าที่ของพวกตนอย่างตายตัวแบบราชการ ทำให้ระบบในปัจจุบันของอเมริกัน ถึงแม้ปรับปรุงขึ้นมากแล้วภายหลัง 9/11 แต่ก็ยังคงมีโอกาสมากมายที่จะเกิดความผิดพลาด ทั้งจากการปล่อยปละละเลยข้อมูลข่าวสาร และจากความบกพร่องผิดพลาดของผู้ทำงาน
ส่วน อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอผู้หนึ่งได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า ปัญหาใหญ่ตอนนี้ก็คือระบบมีข้อมูลท่วมท้น เช่น มีบัญชีรายชื่อผู้ต้องสงสัยซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์ แต่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าทิ้งไปเพราะกลัวมีปัญหา ดังนั้น ทุกๆ สองสามนาทีก็จะมีข้อมูลใหม่เข้ามา ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำลังติดตามหรือไม่ก็ได้
บรูซ ไรเดล อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอซึ่งเวลานี้เป็นนักวิจัยของสถาบันบรูกกิ้ง หน่วยงานศึกษาวิจัยชื่อดังที่อยู่ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา “พบแล้วว่ามรดกที่เขาได้รับมาในส่วนของงานข่าวกรองก็คือ หน่วยงานแบบราชการเทอะทะ ซึ่งแม้จะเป็นเพราะเจตนาดี แต่เมื่อโครงสร้างใหญ่โตมาก การประสานส่วนย่อยต่างๆ จึงทำได้ยากมาก”
ประธานาธิบดีโอบามาเรียกประชุมพวกหัวหน้าหน่วยงานข่าวกรองและความมั่นคงคงต่างๆ ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันอังคาร(5) เพื่อไล่เรียงเกี่ยวกับความล้มเหลวที่ทำให้ชายชาวไนจีเรียผู้มีพฤติการณ์น่าสงสัย ยังสามารถเล็ดลอดขึ้นไปบนเครื่องบินโดยสาร โดยทำท่าจะจุดระเบิดเครื่องบินลำนั้นขณะกำลังเดินทางสู่เมืองดีทรอยต์ของสหรัฐฯในวันคริสต์มาสได้อยู่แล้ว แต่ถูกพวกผู้โดยสารและลูกเรือขัดขวางเสียก่อน
ไรเดลชี้ว่า จากภาพข่าวจะเห็นโอบามาต้องเข้าร่วมประชุมกับพวกเจ้าหน้าที่จำนวนมากมาย “มีคนตั้งยี่สิบกว่าคนในห้องนั้น ทำไมถึงมีคนตั้งมากมายพยายามเปิดการแสดง ทำไมโอบามาถึงไม่คุยกับเจ้าหน้าที่สูงสุดเพียงคนเดียวที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ล่ะ”
เขาบอกอีกว่าหลังเหตุโจมตีสหรัฐฯ “9/11” เคยมีการปฏิรูปโดยแต่งตั้งผู้อำนวยการงานข่าวกรองแห่งชาติคนใหม่เพื่อดูแลโครงสร้างของหน่วยงาน แต่ตำแหน่งดังกล่าวไม่เคยได้รับมอบอำนาจหน้าที่อย่างเพียงพอ
ทางด้าน ธอมัส คีน และ จอห์น ฟาร์เมอร์ อดีตสมาชิก 2 คนในคณะกรรมาธิการสอบสวนเหตุการณ์ “9/11” เขียนแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ฉบับวันพุธว่า ความล้มเหลวที่จะตรวจจับแผนโจมตีเครื่องบินโดยสารด้วยระเบิดในวันคริสต์มาส เป็น “เสียงสะท้อนที่น่าหวาดหวั่น” ของความล้มเหลวอย่างเดียวกันที่ปรากฏออกมาให้เห็นในช่วงก่อนหน้าเหตุการณ์ 9/11 บุคคลทั้งสองระบุว่า หน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบผิดแผกกันแต่ก็มีส่วนที่เหลื่อมล้ำกัน แล้วยังคงมุ่งมั่นขีดวงอำนาจหน้าที่ของพวกตนอย่างตายตัวแบบราชการ ทำให้ระบบในปัจจุบันของอเมริกัน ถึงแม้ปรับปรุงขึ้นมากแล้วภายหลัง 9/11 แต่ก็ยังคงมีโอกาสมากมายที่จะเกิดความผิดพลาด ทั้งจากการปล่อยปละละเลยข้อมูลข่าวสาร และจากความบกพร่องผิดพลาดของผู้ทำงาน
ส่วน อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอผู้หนึ่งได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า ปัญหาใหญ่ตอนนี้ก็คือระบบมีข้อมูลท่วมท้น เช่น มีบัญชีรายชื่อผู้ต้องสงสัยซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์ แต่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าทิ้งไปเพราะกลัวมีปัญหา ดังนั้น ทุกๆ สองสามนาทีก็จะมีข้อมูลใหม่เข้ามา ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำลังติดตามหรือไม่ก็ได้