พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะตัวแทน พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้อง ระหว่าง กองทัพบก กับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ว่า จรวดหลายลำกล้องที่ได้มีการวิจัยพัฒนา ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศ ซึ่งสามารถต่อยอดและวิจัยไปได้เร็วขึ้น คงต้องใช้เวลา 1-2 ปี จะสามารถผลิตเข้าประจำการในกองทัพ จากนั้นจะต่อยอดการวิจัยจากจรวดหลายลำกล้องไปสู่อาวุธนำวิถีที่คาดหวังว่าควรจะมีในโอกาสต่อไปเมื่อเรามีเทคโนโลยีและมีความรู้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทในการวิจัยพัฒนาอาวุธประเภทอื่น ทางสถานบันจะได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับคณะกรรมการบริหารฯ และนำเข้าสู่การพิจารณาของสภากลาโหมในเดือนนี้
น่าน้อยใจที่ ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะไม่ค่อยมั่นใจในผลผลิตที่เกิดขึ้นจากคนไทยด้วยกันเอง อย่างกรณีของบริษัทชัยเสรี หรือ เลดี้แท้งค์ (นพรัตน์ กุลหิรัญ) ที่ทำสายพานรถยานเกราะขายทั่วโลก เว้นประเทศไทย 37 ประเทศรับซื้อหมด ไปดูงานประเทศไหนในต่างประเทศถ้าเอารถถังที่เอามาวิ่ง ส่วนหนึ่งของแทร็ค (ตีนตะขาบรถถัง) ที่เขาจะพูดถึงเขาจะพูดถึงประเทศไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบริษัทด้วยซ้ำไป แต่ก็เป็นความภาคภูมิใจที่มีธงชาติไทยไปประดับอยู่ในงาน ดีเฟ้นด์ เอ็กซิบิชั่น ที่จัดขึ้นในหลายประเทศ เพราะสิ่งที่ผมนำเสนอคือนักวิจัย และคณะกรรมการ ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกท่านเห็นว่า สิ่งที่เราพยายามทำต้องการ ทำให้เกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือ กับคนไทยด้วยกัน นักวิจัยระดับด็อกเตอร์ 50 กว่าคน และที่เราจะรับเพิ่ม ก็เพื่อจะพัฒนาเพื่อพึ่งพาตัวเองในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สถานะงบประมาณของชาติในขณะนี้หรืออีกสิบปีข้างหน้า กระทรวงกลาโหมคาดหวังไว้ว่าต้องได้ประมาณ 2 %ของจีดีพี ขณะนี้ได้ประมาณ 1.59 % ของจีดีพี ในปีงบ 53 ก็คงไม่สามารถซื้อยุทโธปกรณ์ที่เราต้องการ ก็คงเลือกได้ยุทโธปกรณ์ที่เราจำเป็น แต่ผลิตไม่ได้เท่านั้นเอง
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ขณะนี้มีประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พยายามร้องขอให้เราเข้าไปแลกเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ที่แต่ละประเทศผลิตได้ ในประชาคมอาเซียนก็ใช้ยุทโธปกรณ์ภายในประชาคมอาเซียนร่วมกันก่อน แต่ไทยก็ยังมีประเด็นปัญหาว่าเรายังไม่ให้ความเชื่อมั่นในยุทโธปกรณ์ ของเราเอง คงต้องรอให้ผลการวิจัยมีความเชื่อมั่นและ สร้างมั่นคงได้อย่างแท้จริง
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่าในส่วนของงานวิจัยขนาดเล็กและกลาง ซึ่งดูแล โดยเหล่าทัพ ซึ่งมีศักยภาพในการดูแล งานวิจัยขนาดเล็กก็มีการปรับปรุง มีการพัฒนาขึ้นไปอีก ประเทศจีนเองก็ไม่ได้มีเทคโนโลยีที่สูงมากมายในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่แล้ว แต่ตอนนี้พัฒนาไปมากจนผลิตไปขายต่างประเทศมาก และประชาคมอาเซียนเองก็พยายามเลียนแบบ หากไทยมีการยอมรับในของที่ผลิตเองได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานไหนก็แล้วแต่ ศอ.วท. ของ กรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่พบยายามร่วมมือกับหน่วยงานในและนอกกระทรวงกลาโหม ซึ่งผลผลิตที่เกิดขึ้นก็นำไปทดลองใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายรายการ เช่น แผ่นปิดแผลห้ามเลือด ซึ่งใช้ได้ผล หรือเครื่องตรวจสัญญาณ เสื้อเกราะ
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ในส่วนของภาคเอกชนก็จะร่วมมือกันเพื่อขยายเครือข่าย การผลิตให้เพิ่มขึ้น ในแนวทางคือพยายามจับมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ หรือ เอกชนที่มีขีดความสามารถอยู่แล้ว และร่วมมือกันให้อุตสาหกรรมในการป้องกันประเทศมีความชัดเจน มีการใช้ยุทโธปกรณ์ในประเทศเป็นหลัก ปัญหาคือ พ.ร.บ.ป้องกันประเทศ ซึ่งกลาโหม ดำเนินการอยู่ ครม. ให้ความเห็นชอบแล้วแต่ไปติดที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ไม่อยากให้มีการดำเนินการ ในลักษณะนี้ ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการผลักดันให้ออกมารองรับให้ภาคเอกชนผลิต และ จำหน่ายไปต่างประเทศได้
นางนพรัตน์ กุลหิรัญ ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ของบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด กล่าวว่า อุปสรรคของบริษัทผู้ผลิตของไทย คือในประเทศไม่ให้การยอมรับแบรนด์ไทย และ นิยมเฉพาะของที่ผลิตจากต่างประเทศ เพราะเกรงว่าไม่ได้มาตรฐาน เช่นรถเกราะที่ชัยเสรีที่ผลิตขึ้นก็ขายให้กองทัพไม่ได้ แต่กลับไปขายได้ที่กระทรวงยุติธรรม ที่สำคัญคือไม่สามารถขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ชาติได้ คือ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพราะเป็นข้อกำหนดของกระทรวงกลาโหม ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศ ซึ่งถูกกำหนดมาจากสหรัฐฯ ซึ่งหลายปีก่อนเคยคุยกับทาง พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย ว่า พม่าต้องการซ่อมรถถังเอ็ม -34, เอ็ม- 35 ของสหรัฐฯ แต่เราก็ไม่สามารถขายอุปกรณ์ให้เขาได้ เพราะทางเราห้าม
เจ้าของฉายา เลดี้ แทงค์ กล่าวว่า บริษัท ชัยเสรีฯ ยังมีตลาดใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาหรับ และ ทั่วโลกมากกว่า 37 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นตีนตาขาบรถถัง ซึ่งทำจากยางในประเทศไทย ถือเป็นทรัพยากรในประเทศ ที่ตนเองมีความคิดว่า ต้องส่งเสริม นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอาวุธที่ตนทำจะไม่เน้นสิ่งที่เป็นการยิง หรือ ทำลาย เพราะกลัวเป็นบาป แต่จะเน้นที่อุปกรณ์และการป้องกันเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในประเทศตะวันออกกลาง ก็สามารถส่งออกได้ในหลายประเทศ ยกเว้นประเทศที่สหรัฐฯ ห้าม แต่บางประเทศ ก็ไม่อนุญาตเหมือนกันทั้งที่ไม่ได้เป็นฝ่ายตรงข้ามสหรัฐฯ เช่น โมร็อกโก ซูดาน หรือ ไนจีเรีย ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ที่เราต้องการ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าการส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศช่วยชาติได้ดีกว่านำเข้าอาวุธจากต่างประเทศอย่างเดียว ตนทำอาชีพนี้มานานแล้ว ไม่ได้มีอาชีพเป็นนายหน้าขายอาวุธชาติอื่นให้กองทัพ
ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทในการวิจัยพัฒนาอาวุธประเภทอื่น ทางสถานบันจะได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับคณะกรรมการบริหารฯ และนำเข้าสู่การพิจารณาของสภากลาโหมในเดือนนี้
น่าน้อยใจที่ ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะไม่ค่อยมั่นใจในผลผลิตที่เกิดขึ้นจากคนไทยด้วยกันเอง อย่างกรณีของบริษัทชัยเสรี หรือ เลดี้แท้งค์ (นพรัตน์ กุลหิรัญ) ที่ทำสายพานรถยานเกราะขายทั่วโลก เว้นประเทศไทย 37 ประเทศรับซื้อหมด ไปดูงานประเทศไหนในต่างประเทศถ้าเอารถถังที่เอามาวิ่ง ส่วนหนึ่งของแทร็ค (ตีนตะขาบรถถัง) ที่เขาจะพูดถึงเขาจะพูดถึงประเทศไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบริษัทด้วยซ้ำไป แต่ก็เป็นความภาคภูมิใจที่มีธงชาติไทยไปประดับอยู่ในงาน ดีเฟ้นด์ เอ็กซิบิชั่น ที่จัดขึ้นในหลายประเทศ เพราะสิ่งที่ผมนำเสนอคือนักวิจัย และคณะกรรมการ ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกท่านเห็นว่า สิ่งที่เราพยายามทำต้องการ ทำให้เกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือ กับคนไทยด้วยกัน นักวิจัยระดับด็อกเตอร์ 50 กว่าคน และที่เราจะรับเพิ่ม ก็เพื่อจะพัฒนาเพื่อพึ่งพาตัวเองในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สถานะงบประมาณของชาติในขณะนี้หรืออีกสิบปีข้างหน้า กระทรวงกลาโหมคาดหวังไว้ว่าต้องได้ประมาณ 2 %ของจีดีพี ขณะนี้ได้ประมาณ 1.59 % ของจีดีพี ในปีงบ 53 ก็คงไม่สามารถซื้อยุทโธปกรณ์ที่เราต้องการ ก็คงเลือกได้ยุทโธปกรณ์ที่เราจำเป็น แต่ผลิตไม่ได้เท่านั้นเอง
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ขณะนี้มีประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พยายามร้องขอให้เราเข้าไปแลกเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ที่แต่ละประเทศผลิตได้ ในประชาคมอาเซียนก็ใช้ยุทโธปกรณ์ภายในประชาคมอาเซียนร่วมกันก่อน แต่ไทยก็ยังมีประเด็นปัญหาว่าเรายังไม่ให้ความเชื่อมั่นในยุทโธปกรณ์ ของเราเอง คงต้องรอให้ผลการวิจัยมีความเชื่อมั่นและ สร้างมั่นคงได้อย่างแท้จริง
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่าในส่วนของงานวิจัยขนาดเล็กและกลาง ซึ่งดูแล โดยเหล่าทัพ ซึ่งมีศักยภาพในการดูแล งานวิจัยขนาดเล็กก็มีการปรับปรุง มีการพัฒนาขึ้นไปอีก ประเทศจีนเองก็ไม่ได้มีเทคโนโลยีที่สูงมากมายในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่แล้ว แต่ตอนนี้พัฒนาไปมากจนผลิตไปขายต่างประเทศมาก และประชาคมอาเซียนเองก็พยายามเลียนแบบ หากไทยมีการยอมรับในของที่ผลิตเองได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานไหนก็แล้วแต่ ศอ.วท. ของ กรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่พบยายามร่วมมือกับหน่วยงานในและนอกกระทรวงกลาโหม ซึ่งผลผลิตที่เกิดขึ้นก็นำไปทดลองใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายรายการ เช่น แผ่นปิดแผลห้ามเลือด ซึ่งใช้ได้ผล หรือเครื่องตรวจสัญญาณ เสื้อเกราะ
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ในส่วนของภาคเอกชนก็จะร่วมมือกันเพื่อขยายเครือข่าย การผลิตให้เพิ่มขึ้น ในแนวทางคือพยายามจับมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ หรือ เอกชนที่มีขีดความสามารถอยู่แล้ว และร่วมมือกันให้อุตสาหกรรมในการป้องกันประเทศมีความชัดเจน มีการใช้ยุทโธปกรณ์ในประเทศเป็นหลัก ปัญหาคือ พ.ร.บ.ป้องกันประเทศ ซึ่งกลาโหม ดำเนินการอยู่ ครม. ให้ความเห็นชอบแล้วแต่ไปติดที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ไม่อยากให้มีการดำเนินการ ในลักษณะนี้ ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการผลักดันให้ออกมารองรับให้ภาคเอกชนผลิต และ จำหน่ายไปต่างประเทศได้
นางนพรัตน์ กุลหิรัญ ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ของบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด กล่าวว่า อุปสรรคของบริษัทผู้ผลิตของไทย คือในประเทศไม่ให้การยอมรับแบรนด์ไทย และ นิยมเฉพาะของที่ผลิตจากต่างประเทศ เพราะเกรงว่าไม่ได้มาตรฐาน เช่นรถเกราะที่ชัยเสรีที่ผลิตขึ้นก็ขายให้กองทัพไม่ได้ แต่กลับไปขายได้ที่กระทรวงยุติธรรม ที่สำคัญคือไม่สามารถขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ชาติได้ คือ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพราะเป็นข้อกำหนดของกระทรวงกลาโหม ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศ ซึ่งถูกกำหนดมาจากสหรัฐฯ ซึ่งหลายปีก่อนเคยคุยกับทาง พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย ว่า พม่าต้องการซ่อมรถถังเอ็ม -34, เอ็ม- 35 ของสหรัฐฯ แต่เราก็ไม่สามารถขายอุปกรณ์ให้เขาได้ เพราะทางเราห้าม
เจ้าของฉายา เลดี้ แทงค์ กล่าวว่า บริษัท ชัยเสรีฯ ยังมีตลาดใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาหรับ และ ทั่วโลกมากกว่า 37 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นตีนตาขาบรถถัง ซึ่งทำจากยางในประเทศไทย ถือเป็นทรัพยากรในประเทศ ที่ตนเองมีความคิดว่า ต้องส่งเสริม นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอาวุธที่ตนทำจะไม่เน้นสิ่งที่เป็นการยิง หรือ ทำลาย เพราะกลัวเป็นบาป แต่จะเน้นที่อุปกรณ์และการป้องกันเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในประเทศตะวันออกกลาง ก็สามารถส่งออกได้ในหลายประเทศ ยกเว้นประเทศที่สหรัฐฯ ห้าม แต่บางประเทศ ก็ไม่อนุญาตเหมือนกันทั้งที่ไม่ได้เป็นฝ่ายตรงข้ามสหรัฐฯ เช่น โมร็อกโก ซูดาน หรือ ไนจีเรีย ซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ที่เราต้องการ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าการส่งเสริมผู้ผลิตในประเทศช่วยชาติได้ดีกว่านำเข้าอาวุธจากต่างประเทศอย่างเดียว ตนทำอาชีพนี้มานานแล้ว ไม่ได้มีอาชีพเป็นนายหน้าขายอาวุธชาติอื่นให้กองทัพ