xs
xsm
sm
md
lg

ใครแพ้ ใครชนะ : รัฐบาลหรือเสื้อแดง

เผยแพร่:   โดย: สามารถ มังสัง

“ในสงครามและความรัก ชัยชนะเป็นสิ่งจำเป็น วิธีการไม่จำเป็น”

จากนัยแห่งข้อความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าในการต่อสู้ ในการทำสงคราม และในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงคนรัก ก็ในทำนองเดียวกัน คือ ผู้ที่ทำการต่อสู้จะมุ่งหวังเพียงอย่างเดียวคือ ชัยชนะ ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ผิดหรือถูกในสายคนภายนอกที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อสู้

ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่เกิดการต่อสู้กันระหว่างคนสองฝ่าย หรือแม้กระทั่งเกินสองฝ่ายที่ต้องการแย่งชิงอย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นของตน ผู้ที่ต่อสู้กันจะไม่คำนึงถึงกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม หรือกติกาใดๆ ที่สังคมยึดถือปฏิบัติ และนี่เองคือจุดที่คนภายนอกซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องทำความเข้าใจ ก่อนที่จะบอกให้ผู้ที่ทำการต่อสู้ต้องยึดถือกติกาใดๆ มิฉะนั้นแล้วกติกาที่นำมาอ้างนั้นจะไม่แตกต่างไปจากข้อห้ามที่ให้ผู้ปฏิบัติเหมือนกับป้ายบอกข้อความห้ามทิ้งขยะ แต่ปรากฏว่ามีกองขยะท่วมป้าย

วันนี้ และเวลานี้ สังคมไทยมีความแตกแยก ยุ่งเหยิง และความแตกแยกที่ว่านี้ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปลายปี 2549 เมื่อคนกลุ่มเสื้อเหลืองที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้รวมตัวกันต่อสู้ความไม่ถูกต้องและความไม่เป็นธรรมที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อขึ้น และการต่อสู้ของคนกลุ่มนี้ได้เป็นไปในรูปแบบของการเมืองภาคประชาชนที่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ

จากผลของการต่อสู้ คนกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ พธม.นี้เอง ได้ส่งผลให้การอยู่ในอำนาจของผู้นำรัฐบาลในยุคนั้นต้องจบลงโดยการถูกกองทัพโค่นล้ม ด้วยเหตุอ้างที่ใครๆ ฟังแล้วก็เห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ว่า ทุจริตคอร์รัปชัน และการมีพฤติกรรมจาบจ้วงเบื้องสูง ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่มีการฟ้องร้องตามมา 10 กว่าคดี และตัดสินจำคุกไปแล้วหลายคดี ส่วนที่เหลือรอให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาขึ้นศาลอีกครั้ง

ในขณะที่คนส่วนหนึ่ง และอาจเป็นส่วนใหญ่ของประเทศเห็นด้วยกับการดำเนินคดีเอาผิดต่ออดีตนายกฯ ทักษิณ ได้มีคนกลุ่มเสื้อแดงที่เรียกตัวเองว่า นปช. ได้ออกมาต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร อย่างเป็นระยะๆ และต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ ทั้งที่วันนี้คนเสื้อเหลืองได้ยุติบทบาทการต่อสู้ของการเมืองภาคประชาชน และหันไปจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเตรียมต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบของรัฐสภาแล้วก็ตาม

ยิ่งกว่านี้ คนกลุ่มเสื้อแดงวันนี้ได้พัฒนารูปแบบของการต่อสู้โดยการใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้ในช่วงของวันที่ 8-13 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ทั้งที่พัทยาและที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเรียกได้ว่าป่าเถื่อน และไร้กติกาการต่อสู้ในทางการเมืองตามครรลองแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการใช้อาวุธเข้าทำร้าย

ในปี 2553 เริ่มต้นมกราคมขึ้นมา ในขณะที่ความสนุกสนานอันเนื่องมาจากเทศกาลปีใหม่ยังไม่ทันจาง คนกลุ่มเสื้อแดงได้ออกมาประกาศจะต่อสู้อีกครั้ง และนัยว่าในครั้งนี้จะรุนแรงถึงขั้นนำเอาทหารพรานติดอาวุธเข้ามาร่วมต่อสู้ด้วย

ถ้าทุกอย่างเกิดขึ้นจริง ก็แปลความได้ว่าการต่อสู้เกิดขึ้นแน่ ส่วนว่าเกิดแล้วใครจะเป็นผู้แพ้ระหว่างรัฐบาลในฐานะผู้ปกครอง และมีเครื่องมือกฎหมายในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศเพื่อความสงบสุขของปวงชน กับกลุ่มคนเสื้อแดงผู้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐ โดยมีกลุ่มคนติดอาวุธเข้ามาร่วมด้วย อันถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ที่เกินสิทธิและหน้าที่ที่ประชาชนจะกระทำได้ ภายใต้กรอบแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐจึงมีความชอบธรรมในการควบคุมและป้องปรามมิให้เกิดความรุนแรงขึ้น ส่วนจะใช้วิธีใดในการควบคุมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ฝ่ายต่อต้านรัฐก่อขึ้นมากกว่าที่จะเกิดจากฝ่ายรัฐ

นี่คือหลักการที่ผู้เขียนคาดว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะกระทำ ทั้งนี้อนุมานจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8-13 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา ทั้งที่พัทยาและกระทรวงมหาดไทย รวมไปถึงการสลายม็อบในเวลาต่อมาด้วย

ส่วนประเด็นว่าใครจะเป็นผู้แพ้และเป็นผู้ชนะนั้น ถ้ามองในแง่ของรัฐศาสตร์แล้วไม่อาจพูดได้ว่าใครแพ้ใครชนะ แต่น่าจะพูดได้ว่าใครหรือฝ่ายไหนมีความชอบธรรมในการดำเนินการมากกว่า เพราะถ้าพูดว่าแพ้หรือชนะโดยดูจากความเสียหายแล้ว ไม่มีใครไม่เสียหายเมื่อประเทศชาติและประชาชนโดยรวมเดือดร้อน เพราะทั้งคนที่อยู่ในฝ่ายรัฐและฝ่ายม็อบก็ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมพอๆ กันในฐานะประชาชน

แต่ถ้าจะให้บ่งบอกลงไปว่าใครแพ้และใครชนะ โดยการมองข้ามผลเสียที่ตกกับส่วนรวม ก็พอจะอนุมานได้ว่าฝ่ายรัฐบาลชนะ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้

1. เมื่อเทียบภาพลักษณ์ระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำรัฐบาล ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา ก็พอจะบอกได้ว่าภาพลักษณ์ของรัฐบาลดีขึ้นเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่ถูกมองจากอดีตนายกฯ ทักษิณว่าทำงานแบบเด็ก ทำงานไม่เป็น จนมาถึงวันนี้จะเห็นได้ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พิสูจน์ภาวะแห่งความเป็นผู้นำที่มีวุฒิภาวะในการควบคุมอารมณ์ในยามเจอภาวะวิกฤต เช่น เมื่อเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมาว่าเหนือกว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่ออกมาบอกทุกครั้งไม่อยู่ในภาวะที่ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้สมกับที่มองคนอื่นว่าเป็นเด็ก หรือพูดง่ายๆ ก็มีลักษณะเป็นเด็กมากกว่าเด็นที่ตนเองพูดถึง จึงทำให้ภาพลักษณ์ในด้านนี้ด้อยลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ออกมาพูด

2. ในแง่ของการทำงานในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการ โดยที่อดีตนายกฯ ทักษิณเป็นผู้อยู่เบื้องหลังหรือผู้บงการให้ม็อบเสื้อแดงดำเนินการต่อสู้กับรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลควบคุม ครม. และข้าราชการประจำ จะเห็นได้ชัดเจนว่าอดีตนายกฯ ทักษิณมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการม็อบให้หันซ้ายหันขวาได้ดังใจ แต่ก็ทำได้แค่เรียกมาชุมนุมด่าคนโน้น ตำหนิคนนี้แล้วกลับบ้าน และที่ยิ่งกว่านี้จำนวนผู้มาชุมนุมลดลงเรื่อยๆ แกนนำหลายคนตกเป็นผู้ต้องหา และมีแนวโน้มว่าจะติดคุกด้วย

ส่วนทางด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้นำรัฐบาลภาพเป็นบวกขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของการปกครอง จะเห็นได้จากการผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้มากขึ้น และที่สำคัญ ในการดำเนินการแก้ปัญหาการทุจริตกระทำได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมก็คือ การกดดันให้ รมว.และ รมช.กระทรวงสาธารณสุขลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง เมื่อตกเป็นผู้ต้องสงสัยของคณะกรรมการสอบสวนความผิดในโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของกระทรวงนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น