นางสาวศุภวรรณ ลิมปกาญจน์เวช นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลวิจัยเรื่อง "มองนักลงทุนบุคคลไทยจากพฤติกรรมซื้อขายหลักทรัพย์" ว่า นักลงทุนส่วนบุคคลเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีบทบาทสำคัญมากต่อตลาดหุ้นไทย เพราะมีปริมาณการซื้อขายสูงสุดและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการซื้อขายรวมของตลาด โดยตั้งแต่ ม.ค.– ก.ย.52 พบว่ามีสัดส่วนถึง 62%ของมูลค่าการซื้อขายรวม หรือคิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 10,781 ล้านบาท
ขณะที่ภาพรวมพบว่านักลงทุนบุคคลรายใหญ่กับรายย่อยมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่มีมูลค่าซื้อขายต่อเดือนน้อยกว่า 1 แสนบาท แต่นักลงทุนบุคคลแต่ละกลุ่มก็สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่แตกต่างกันออกไป เพราะปัจจุบันยังมีนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากที่ซื้อขายหลักทรัพย์เพียง 1 หลักทรัพย์ต่อเดือน และไม่นิยมลงทุนในหุ้นปันผล มองว่าควรมีการส่งเสริมให้รายย่อยกระจายความเสี่ยง และมีนโยบายลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนในระยะยาวมากขึ้น ขณะที่บทบาทของเจ้าหน้าที่การตลาดต่อนักลงทุนบุคคลพบว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมการซื้อขายต่อนักลงทุนรายใหญ่มาก เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้แก่ธุรกรรม Day trading ได้สูง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมการเลือกลงทุนหุ้น พบว่า นักลงทุนบุคคลมีการซื้อขายหลักทรัพย์ขนาดใหญ่และมีพื้นฐานดีเพิ่มขึ้นจากช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สังเกตได้จากปริมาณการลงทุนในหุ้นSET50 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นใน 10 อันดับหลักทรัพย์แรกของ SET 50 อีกทั้งช่วง 9 เดือนที่ผ่านมานักลงทุนรายใหญ่กระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงมากขึ้น
ในทางกลับกัน ด้านนักลงทุนรายย่อยที่มีการซื้อขายต่อเดือนไม่เกิน 1 แสนบาท กลับให้ความสำคัญต่อการลงทุนในหุ้นที่อยู่นอกเหนือจากSet50 มากกว่า และมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง ทั้งที่สภาพคล่องในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ส่วนมากมาจากนักลงทุนรายใหญ่ เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นปันผลที่รายใหญ่ซื้อขายสูงกว่ารายย่อย คือ 21.5% และ5.4% ตามลำดับ โดยข้อมูลด้าน Day trading ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ พบว่านักลงทุนบุคคลมีพฤติกรรมในธุรกรรมนี้ลดลง ซึ่งภาพรวมรายใหญ่มีสัดส่วนใน Day trader มากกว่ารายย่อย นอกจากนี้ปี 52 โอกาสที่ Day trader ได้กำไรนั้นมีมากกว่าขาดทุนสูง โดยเฉพาะช่วงที่ดัชนีตลาดปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต พบว่าช่วยทำให้นักลงทุนบุคคลลงทุนในหลักทรัพย์ที่หลากหลายและเป็นหุ้นปันผลและมีความถี่ในการซื้อขายกว่า ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด จึงควรส่งเสริมให้บล.ใช้เป็นช่องทางในการให้บริการนักลงทุนบุคคลโดยเฉพาะรายย่อยเพิ่มขึ้น
นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า พฤติกรรมการของนักลงทุนบุคคลนั้นมีระยะเวลาในการลงทุนที่สั้นกว่าสถาบัน โดยให้ความสนใจกับหุ้นที่การแกว่งตัวมากกว่าหุ้นบูล ชิพ แต่ส่วนตัวมองว่าลักษณะการลงทุนของรายย่อยและรายย่อยไม่ต่างกันมาก จะต่างกันก็ที่เม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุน ส่วนการลงทุนแบบ Day trading พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ ซื้อเป็น แต่ยังขายไม่เป็น ดังนั้นหากมีมาร์เกตติ้งที่มีประสบการณ์เชื่อว่าจะช่วยให้มีโอกาสในการทำกำไรมากขึ้น
ด้านนายสุชีล นารูลา กรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย กว่าวว่าส่วนหนึ่งที่นักลงทุนรายย่อยมีการซื้อหุ้นในกลุ่มบลูชิพมากขึ้นนั้น น่าจะมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน พอนักลงทุนเห็นราคาปรับตัวสูงก็อยากเข้ามาทำกำไร ตามการเติบโตของราคาและความต้องการของตลาด
" ภาพแบบนี้มันเกิดขึ้นมาแล้วระยะหนึ่ง และเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะปัจจุบันมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์เกิดขึ้นมาก การเปลี่ยนแปลงและโยกย้ายเงินลงทุนก็เร็วขึ้นเพราะมีเครื่องใหม่ๆอย่าง ฟิวเจอร์ส อนุพันธ์ แครี่เทรด ที่ช่วยในการป้องกันความเสี่ยง จึงทำให้นักลงทุนโฟกัสมาที่หุ้นใหญ่มากขึ้น ดังนั้นในปี 53 หากตลาด เติบโตตามปกติ หรือเป็นแบบ Sideways เงินก็อาจกลับที่หุ้นขนาดเล็กน้อยลง เพราะมีตัวเลือกในการลงทุนอื่นๆที่ง่ายกว่ารองรับ "
ขณะที่ภาพรวมพบว่านักลงทุนบุคคลรายใหญ่กับรายย่อยมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่มีมูลค่าซื้อขายต่อเดือนน้อยกว่า 1 แสนบาท แต่นักลงทุนบุคคลแต่ละกลุ่มก็สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่แตกต่างกันออกไป เพราะปัจจุบันยังมีนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากที่ซื้อขายหลักทรัพย์เพียง 1 หลักทรัพย์ต่อเดือน และไม่นิยมลงทุนในหุ้นปันผล มองว่าควรมีการส่งเสริมให้รายย่อยกระจายความเสี่ยง และมีนโยบายลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนในระยะยาวมากขึ้น ขณะที่บทบาทของเจ้าหน้าที่การตลาดต่อนักลงทุนบุคคลพบว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมการซื้อขายต่อนักลงทุนรายใหญ่มาก เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้แก่ธุรกรรม Day trading ได้สูง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมการเลือกลงทุนหุ้น พบว่า นักลงทุนบุคคลมีการซื้อขายหลักทรัพย์ขนาดใหญ่และมีพื้นฐานดีเพิ่มขึ้นจากช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สังเกตได้จากปริมาณการลงทุนในหุ้นSET50 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นใน 10 อันดับหลักทรัพย์แรกของ SET 50 อีกทั้งช่วง 9 เดือนที่ผ่านมานักลงทุนรายใหญ่กระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงมากขึ้น
ในทางกลับกัน ด้านนักลงทุนรายย่อยที่มีการซื้อขายต่อเดือนไม่เกิน 1 แสนบาท กลับให้ความสำคัญต่อการลงทุนในหุ้นที่อยู่นอกเหนือจากSet50 มากกว่า และมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง ทั้งที่สภาพคล่องในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ส่วนมากมาจากนักลงทุนรายใหญ่ เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นปันผลที่รายใหญ่ซื้อขายสูงกว่ารายย่อย คือ 21.5% และ5.4% ตามลำดับ โดยข้อมูลด้าน Day trading ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ พบว่านักลงทุนบุคคลมีพฤติกรรมในธุรกรรมนี้ลดลง ซึ่งภาพรวมรายใหญ่มีสัดส่วนใน Day trader มากกว่ารายย่อย นอกจากนี้ปี 52 โอกาสที่ Day trader ได้กำไรนั้นมีมากกว่าขาดทุนสูง โดยเฉพาะช่วงที่ดัชนีตลาดปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต พบว่าช่วยทำให้นักลงทุนบุคคลลงทุนในหลักทรัพย์ที่หลากหลายและเป็นหุ้นปันผลและมีความถี่ในการซื้อขายกว่า ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด จึงควรส่งเสริมให้บล.ใช้เป็นช่องทางในการให้บริการนักลงทุนบุคคลโดยเฉพาะรายย่อยเพิ่มขึ้น
นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า พฤติกรรมการของนักลงทุนบุคคลนั้นมีระยะเวลาในการลงทุนที่สั้นกว่าสถาบัน โดยให้ความสนใจกับหุ้นที่การแกว่งตัวมากกว่าหุ้นบูล ชิพ แต่ส่วนตัวมองว่าลักษณะการลงทุนของรายย่อยและรายย่อยไม่ต่างกันมาก จะต่างกันก็ที่เม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุน ส่วนการลงทุนแบบ Day trading พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ ซื้อเป็น แต่ยังขายไม่เป็น ดังนั้นหากมีมาร์เกตติ้งที่มีประสบการณ์เชื่อว่าจะช่วยให้มีโอกาสในการทำกำไรมากขึ้น
ด้านนายสุชีล นารูลา กรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย กว่าวว่าส่วนหนึ่งที่นักลงทุนรายย่อยมีการซื้อหุ้นในกลุ่มบลูชิพมากขึ้นนั้น น่าจะมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน พอนักลงทุนเห็นราคาปรับตัวสูงก็อยากเข้ามาทำกำไร ตามการเติบโตของราคาและความต้องการของตลาด
" ภาพแบบนี้มันเกิดขึ้นมาแล้วระยะหนึ่ง และเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะปัจจุบันมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์เกิดขึ้นมาก การเปลี่ยนแปลงและโยกย้ายเงินลงทุนก็เร็วขึ้นเพราะมีเครื่องใหม่ๆอย่าง ฟิวเจอร์ส อนุพันธ์ แครี่เทรด ที่ช่วยในการป้องกันความเสี่ยง จึงทำให้นักลงทุนโฟกัสมาที่หุ้นใหญ่มากขึ้น ดังนั้นในปี 53 หากตลาด เติบโตตามปกติ หรือเป็นแบบ Sideways เงินก็อาจกลับที่หุ้นขนาดเล็กน้อยลง เพราะมีตัวเลือกในการลงทุนอื่นๆที่ง่ายกว่ารองรับ "