xs
xsm
sm
md
lg

บจ.ไทยระดมทุนต่ำตามศก.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายธีระพล ลาชโรจน์ นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียนไทยมีการระดมทุนในตลาดรองช่วงปี 2543- เดือนมิถุนายน 2552 มีมูลค่าการเพิ่มทุน 803,619 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศนั้น บจ.ไทยมีมูลค่าการระดมทุนในตลาดรองต่ำกว่าต่างประเทศ โดยมีอัตราเฉลี่ยการระดมทุนในตลาดรองที่เสนอขายต่อนักลงทุนทั่วไปเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)ช่วงปี 2548-2551ของไทยต่ำสุดอยู่ที่ 0.14% ต่อปี ขณะที่ ฮ่องกงมีอัตรา 0.87% สิงคโปร์ 0.68% อินโดนีเซีย 0.60% และ มาเลเซีย 0.31%
เนื่องจากการกระดมทุนของไทยเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจมากกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น หากภาวะเศรษฐกิจไทยดีจะมีมุลค่าการะดมทุนที่สูงแต่จะลดลงช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นมักจะปรับตัวลดลงการระดมทุนมีต้นทุนสูงจึงทำให้ไม่มีการระดมทุนเกิดขึ้น ซึ่งมูลค่าการะดมทุนของไทยลดลงอย่างมากช่วงเศรษฐกิจขาลง โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกปี 2552 พบว่าไม่มีการะดมทุนในตลาดรองเลย สวนทางตลาดอื่นในภูมิภาคที่ยังระดมทุนในระดับค่อนข้างสูง
โดยปัจจัยด้านกฎเกณฑ์ ที่มีอุปสรรคต่อการเพิ่มทุน คือการใช้ มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการะเพิ่มทุน ทำให้บริษัทที่มีราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่าราคาพาร์และไม่มีผลขาดทุนสะสมนั้น ต้องเสนอขายหุ้นที่ราคาพาร์หรือสูงกว่า ทำให้ราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่ สูงกว่าราคาซื้อขายในกระดาน ทำให้การขออนุมัติเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นไม่สำเร็จ เพราะบริษัทที่มีกำไรสะสมแต่ราคาหุ้นต่ำกว่าพาร์ไม่มีการะดมทุนในตลาดทุน โดยหันไประดมทุนด้านอื่น
รวมถึงการกำหนดสัดส่วนการอนุมัติเพิ่มทุนจากผุ้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 75%ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ถือว่ามีสัดส่วนสูง แม้บางบริษัทผู้ถือหุ้นอนุมัติสัดส่วน50% มติไม่สามารถผ่านได้ และการขออนุมัติเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นในวาระพิเศษถือว่ามีขั้นตอนการดำเนินงานช้าและนานและทำให้การเพิ่มทุนไม่ทันต่อภาวะตลาดที่อาจจะปรับตัวลดลงไปแล้วทำให้ได้ราคาไม่สูง
ดังนั้น ฝ่ายวิจัยมองว่าควรยกเลิกการใช้ราคาพาร์เป็นเกณฑ์อ้างอิงในเรื่องการเพิ่มทุน และควรปรับลดสัดส่วนการให้ความเห็นชอบของผู้ถือหุ้นสำหรับการอนุมัติเพิ่มทุนเป็นไม่น้อยกว่า 50% ของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ควรจะนำหลักการขออนุมัติเพิ่มทุนล่วงหน้ามาใช้กับบริษัทจดทะเบียนไทย เพื่อทำให้การอนุมัติเพิ่มทุนทำได้รวดเร็วขึ้น และทำให้ระดมทุนได้ในจังหวะภาวะตลาดปรับตัวดีขึ้น โดยจะทำให้ บจ.ไทยใช้ตลาดทุนเป็นช่องทางในการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพและมีเงินทุนในการขยายกิจการสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้และยังส่งผลดีทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตมากขึ้น
นางปรารถนา มงคลกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)หรือ MINOR กล่าวว่า ตั้งแต่บริษัทได้ขายหุ้นไอพีโอแล้วไม่มีการระดมทุนลักษณะเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไป (PO) เลย แต่หันไประดมทุนแบบอื่นแทน เนื่องจากการออกหุ้นPO นั้นเพราะ ราคาเสนอขาย PO จะต้องมีส่วนลดจากราคาตลาดทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมถือหุ้นมีต้นทุนที่สูงกว่าและยังทำสัดส่วนการถือหุ้นลดลงด้วย ผู้ถือหุ้นจึงไม่อนุมัติ ส่วนตัวมองว่าควรยกเลิกใช้พาร์ เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ใช้พาร์ จึงทำให้ผู้ถือหุ้นไม่มีความรู้สึกกังวล
นอกจากนี้ ส่วนตัวเห็นด้วยที่จะมีสัดส่วนการอนุมัติเพิ่มทุนเป็นไม่น้อยกว่า 50% ของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยจะส่งผลให้สภาพคล่องการซื้อขายหุ้น(ฟรีโฟลท)ของหุ้นจะดีขึ้น เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ต้องถือหุ้นไว้ในสัดส่วนที่สูง เพื่อรักษาคะแนนโหวตหากต้องการขอมติจากผู้ถือหุ้น โดยในต่างประเทศนั้นผู้ถือหุ้นใหญ่จะถือหุ้นเพียง 10% สามารถขอมติผ่านได้ หากบริษัทสามารถสร้างผลงาน ก็จะทำให้บริษัทมีกำไรและสร้างผลตอบแทนที่ดีกับนักลงทุน
กำลังโหลดความคิดเห็น