นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมในเดือนธ.ค.53 เริ่มดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา โดยภาพรวมอัตราเข้าพักเฉลี่ยประมาณ 70% หากแบ่งเป็นรายจังหวัด จะได้ กรุงเทพฯ 50-60% เชียงใหม่ 50-60% ภูเก็ต 65-70% พังงา 60% กระบี่ 55-60% โดยเฉลี่ยทุกที่จะลดลงเทียบกับปีก่อน 10-20% ส่งผลให้ภาพรวมทั้งปีอัตราเข้าพักติดลบจากปีก่อน 10-15%
ประเด็นสำคัญที่ทีเอชเอ ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับสมาชิก คือเรื่องของการกำหนดราคาห้องพัก ซึ่งเบื้องต้นคงต้องขอความร่วมมือสมาชิก ไม่ให้ปรับลดราคาห้องพักจนเกินพอดี เพราะในปี 2552 นี้ ภาพรวมราคาห้องพักโรงแรม เฉลี่ยทั้งปีลงจากปี ก่อนถึง 30% ทำให้โครงสร้างราคาโรงแรมทั้งประเทศถูกกระทบไปทั้งหมด ซึ่งทีเอชเอ จะหารือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเอเยนต์ทัวร์ เพื่อหาทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ
“ตอนนี้แม้จะเป็นไฮซีซั่นแต่ยังมีผู้ประกอบการบางรายจัดโปรโมชั่นดึงลูกค้า ด้วยการลดราคา ซึ่งโปรโมชั่น ซื้อ 1 คืน แถม 1 คืน ซึ่งเป็นแคมเปญที่ผู้ประกอบการโรงแรมส่วนใหญ่กระหน่ำทำกันมาตลอดปี เพื่อต้องการดึงลูกค้าเข้ามาพัก แต่หารู้ไม่ว่าได้ส่งผลกระทบกับโครงสร้างราคาห้องพักโดยรวมทั้งระบบไปแล้ว”
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การท่องเที่ยวในปีหน้า ปัจจัยสำคัญ ยังเป็นเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ล่าสุด การประกาศของแกนนำกลุ่มเสื้อแดง ที่จะนัดชุมนุมในปีหน้าอย่างไม่มีกำหนดวันสิ้นสุด ตรงนี้จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ วึ่งจับตามมองประเทศไทยอยู่ เกิดความไม่มั่นใจ และถ้าเป็นการชุมนุมยืดเยื้อ เขาก็จะไม่นำเสนอขายประเทศไทยให้แก่นักท่องเที่ยวอย่างแน่นอน แต่หากทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ มั่นใจว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีหน้าจะฟื้นตัวและกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เป็นเดสติเนชั่นยอดนิยมของชาวต่างชาติ
**หวั่นนักท่องเที่ยวคุณภาพหนี***
ด้านนายสุรพล ศรีตระกูล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) กล่าวว่า ในเรื่องของสถานการณ์ราคาห้องพักโรงแรมที่ลดต่ำลงมากนั้น ล่าสุด แอตต้า จะหารือกับ ทีเอชเอ สร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการโรงแรม ว่า อย่าใช้กลยุทธ์ตัดราคาเพื่อเรียกนักท่องเที่ยว เพราะจะทำให้นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เกิดเความไม่มั่นใจที่จะเข้ามาใช้บริการ เช่น ชาวญี่ปุ่น จะไม่ชอบการลดราคาจนเกินพอดี เพราะการลดราคาหมายถึงการปรับลดคุณภาพการให้บริการด้วย ซึ่ง เขาจะรู้สึกไม่พอใจ หากมาท่องเที่ยวแล้วไม่ได้รับการบริการตามที่คาดหวังไว้ ที่เห็นชัดเจนคือเมนูอาหารเช้า เมื่อโรงแรมปรับลดราคาห้องพักลงมามาก เมนูอาหารเช้าแทนที่จะหลากหลาย กลับมีเพียงไม่กี่เมนูเป็นต้น
นอกจากนั้น ต้องการเตือนผู้ประกอบการโรงแรมว่า การลดราคา เพียงเพื่อต้องการจำนวนนักท่องเที่ยวนั้น ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ได้เฉพาะช่วงสั้นๆ แต่ผลกระทบที่ตามมาจะอยู่นานกว่า การลดราคามากเกินพอดีก็เท่ากับฆ่าตัวเอง เพราะลดมากจนไม่มีกำไร กิจการก็ขาดทุนอยู่ดี ทางที่ดี ควรเพิ่มมูลค่าให้กับแขกที่มาพัก ด้วยบริการที่ดี
ให้เขารู้สึกคุ้มค่าเงินที่จ่ายไปจะดีกว่า
“มีผู้ประกอบการบางรายอ้างว่าที่ลดราคาก็เพื่อเรียกแขก เพราะกิจการต้องการเงินเข้ามาเสริมสภาพคล่อง แต่ผลที่ได้หนักกว่านั้น คือ โครงสร้างราคาเสีย นักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพเกิดความไม่มั่นใจ กิจการก็ยังขาดทุนอยู่ดี“
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นักท่องเที่ยวปีหน้า ตลาดที่มีศักยภาพ ยังอยู่ย่านเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย และ ตะวันออกกลาง โดยล่าสุดม รายงานว่า ยอดจองล่วงหน้า 3 เดือนแรกของปี 2553 เริ่มทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เกือบเท่ากับช่วงต้นปี 2551 ซึ่งสถานการณ์ยังเป็นปกติ จึงถือเป็นแนวโน้มที่ดี หากไม่มีสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรง ปีหน้าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะฟื้นเป็นปกติแน่นอน
ประเด็นสำคัญที่ทีเอชเอ ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับสมาชิก คือเรื่องของการกำหนดราคาห้องพัก ซึ่งเบื้องต้นคงต้องขอความร่วมมือสมาชิก ไม่ให้ปรับลดราคาห้องพักจนเกินพอดี เพราะในปี 2552 นี้ ภาพรวมราคาห้องพักโรงแรม เฉลี่ยทั้งปีลงจากปี ก่อนถึง 30% ทำให้โครงสร้างราคาโรงแรมทั้งประเทศถูกกระทบไปทั้งหมด ซึ่งทีเอชเอ จะหารือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเอเยนต์ทัวร์ เพื่อหาทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ
“ตอนนี้แม้จะเป็นไฮซีซั่นแต่ยังมีผู้ประกอบการบางรายจัดโปรโมชั่นดึงลูกค้า ด้วยการลดราคา ซึ่งโปรโมชั่น ซื้อ 1 คืน แถม 1 คืน ซึ่งเป็นแคมเปญที่ผู้ประกอบการโรงแรมส่วนใหญ่กระหน่ำทำกันมาตลอดปี เพื่อต้องการดึงลูกค้าเข้ามาพัก แต่หารู้ไม่ว่าได้ส่งผลกระทบกับโครงสร้างราคาห้องพักโดยรวมทั้งระบบไปแล้ว”
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การท่องเที่ยวในปีหน้า ปัจจัยสำคัญ ยังเป็นเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ล่าสุด การประกาศของแกนนำกลุ่มเสื้อแดง ที่จะนัดชุมนุมในปีหน้าอย่างไม่มีกำหนดวันสิ้นสุด ตรงนี้จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและบริษัทนำเที่ยวในต่างประเทศ วึ่งจับตามมองประเทศไทยอยู่ เกิดความไม่มั่นใจ และถ้าเป็นการชุมนุมยืดเยื้อ เขาก็จะไม่นำเสนอขายประเทศไทยให้แก่นักท่องเที่ยวอย่างแน่นอน แต่หากทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ มั่นใจว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปีหน้าจะฟื้นตัวและกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เป็นเดสติเนชั่นยอดนิยมของชาวต่างชาติ
**หวั่นนักท่องเที่ยวคุณภาพหนี***
ด้านนายสุรพล ศรีตระกูล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) กล่าวว่า ในเรื่องของสถานการณ์ราคาห้องพักโรงแรมที่ลดต่ำลงมากนั้น ล่าสุด แอตต้า จะหารือกับ ทีเอชเอ สร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการโรงแรม ว่า อย่าใช้กลยุทธ์ตัดราคาเพื่อเรียกนักท่องเที่ยว เพราะจะทำให้นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เกิดเความไม่มั่นใจที่จะเข้ามาใช้บริการ เช่น ชาวญี่ปุ่น จะไม่ชอบการลดราคาจนเกินพอดี เพราะการลดราคาหมายถึงการปรับลดคุณภาพการให้บริการด้วย ซึ่ง เขาจะรู้สึกไม่พอใจ หากมาท่องเที่ยวแล้วไม่ได้รับการบริการตามที่คาดหวังไว้ ที่เห็นชัดเจนคือเมนูอาหารเช้า เมื่อโรงแรมปรับลดราคาห้องพักลงมามาก เมนูอาหารเช้าแทนที่จะหลากหลาย กลับมีเพียงไม่กี่เมนูเป็นต้น
นอกจากนั้น ต้องการเตือนผู้ประกอบการโรงแรมว่า การลดราคา เพียงเพื่อต้องการจำนวนนักท่องเที่ยวนั้น ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ได้เฉพาะช่วงสั้นๆ แต่ผลกระทบที่ตามมาจะอยู่นานกว่า การลดราคามากเกินพอดีก็เท่ากับฆ่าตัวเอง เพราะลดมากจนไม่มีกำไร กิจการก็ขาดทุนอยู่ดี ทางที่ดี ควรเพิ่มมูลค่าให้กับแขกที่มาพัก ด้วยบริการที่ดี
ให้เขารู้สึกคุ้มค่าเงินที่จ่ายไปจะดีกว่า
“มีผู้ประกอบการบางรายอ้างว่าที่ลดราคาก็เพื่อเรียกแขก เพราะกิจการต้องการเงินเข้ามาเสริมสภาพคล่อง แต่ผลที่ได้หนักกว่านั้น คือ โครงสร้างราคาเสีย นักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพเกิดความไม่มั่นใจ กิจการก็ยังขาดทุนอยู่ดี“
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นักท่องเที่ยวปีหน้า ตลาดที่มีศักยภาพ ยังอยู่ย่านเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย และ ตะวันออกกลาง โดยล่าสุดม รายงานว่า ยอดจองล่วงหน้า 3 เดือนแรกของปี 2553 เริ่มทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เกือบเท่ากับช่วงต้นปี 2551 ซึ่งสถานการณ์ยังเป็นปกติ จึงถือเป็นแนวโน้มที่ดี หากไม่มีสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรง ปีหน้าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะฟื้นเป็นปกติแน่นอน