ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – บีโอไอภาคใต้เผยสถานการณ์ลงทุนในภาคใต้ตอนล่างไปได้สวย11 เดือนส่งเสริมลงทุนแล้ว2,565.80 ล้านบาท ล่าสุดอนุมัติ 3 โครงการลงทุนกว่า 600 ล้านบาท และนักลงทุนยังเข้ามาปรึกษาและขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการต่างๆ มากขึ้น เนื่องมาจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และนโยบายไทยเข้มแข็งของรัฐบาล
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในภาคใต้ตอนล่างจำนวน 3 โครงการ รวมเงินลงทุน 661.70 ล้านบาท ซึ่งถือหุ้นโดยคนไทย 100% จ้างแรงงานคนไทย 823 คน ดังนี้ จ.ตรัง มีการอนุมัติลงทุนแล้ว 3 โครงการ ล่าสุดคือ บริษัทรับเบอร์ แอนด์ ลาเท็คส์ จำกัด ขยายกิจการน้ำยางข้นประมาณ 15,000 ตัน/ปี สกิมเครฟและสกิมบล็อกประมาณ 1,050 ตัน/ปี เงินลงทุน 234.50 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 88 คน
จ.สตูล มีการอนุมัติลงทุนโครงการเดียวในรอบปีนี้ คือ บริษัทผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องสยาม จำกัด ขยายกำลังการผลิตอาหารสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึกประมาณ 11,300 ตัน/ปี เงินลงทุน 400 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 686 คน และ จ.นครศรีธรรมราช มีการอนุมัติลงทุนแล้ว 10 โครงการ ล่าสุดคือบริษัทพีพี แอนด์ บี อุตสาหกรรมยาง จำกัด ผลิตยางแผ่นรมควันและหรือยางแผ่นอบแห้งประมาณ 4,500 ตัน/ปี เงินลงทุน 27.20 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 49 คน
ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนใน 14 จังหวัดภาคใต้ 11 เดือน พบว่า มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 65 โครงการเท่ากันกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินลงทุน 11,506.60 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.40 และการจ้างแรงงานไทย 7,567 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.97
โครงการที่มีขนาดการลงทุนสูงสุด 11 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ บริษัทบาห์รัต โฮเต็ลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโรงแรมขนาด 100 ห้อง เงินลงทุน 1,521.80 บาท จ้างแรงงานไทย 143 คน ถือหุ้นโดยชาวอินเดียและอังกฤษ รองลงมาคือบริษัท เอสจีซี วินด์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด จ. นครศรีธรรมราช ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมประมาณ 9,000 กิโลวัตต์/ปี ของเงินลงทุน 842.50 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 25 คน ถือหุ้นโดยชาวอินเดีย และอันดับสามบริษัทมะขาม บีช จำกัด จ.ภูเก็ต เป็นโรงแรมขนาด 231 ห้อง เงินลงทุน 799.60 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 218 คน ถือหุ้นโดยคนไทยทั้งสิ้น
ในปีนี้ กิจการเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตรยังคงครองแชมป์การลงทุนมากที่สุด 34 โครงการ เงินลงทุน 5,638.10 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 5,845 คน ได้แก่ เนื้อปูบรรจุภาชนะผนึก เนื้อปลา สัตว์น้ำแช่แข็ง (4โครงการ) น้ำมันปาล์ม (4 โครงการ) ยางผสม/ยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง (10 โครงการ) ถุงนิ้วมือยาง ถุงมือยาง (2 โครงการ) น้ำยางข้น (10 โครงการ) และอาหารสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก
รองลงมาคือกิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 22 โครงการ เงินลงทุน 5,525.90 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 917 คน ได้แก่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ/ชีวมวล/พลังงานลม (11 โครงการ) การขนถ่ายสินค้า (2 โครงการ) และสำนักงานปฎิบัติการภูมิภาค
ส่วนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก มี 3 โครงการ เงินลงทุน 138.40 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 260 คน ได้แก่ยากันยุง ถุงมือยาง และแถบรัดพลาสติก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามี 2 โครงการ เงินลงทุน 4.20 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 3 คน ได้แก่ซอฟต์แวร์
นอกจากนี้ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 ยังคาดการณ์แนวโน้มการลงทุนในภาคใต้ ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ด้วยว่า สถานการณ์จะดีขึ้นกว่าปีก่อน ทั้งนี้ดูได้จากสถิติการได้รับการส่งเสริมการลงทุน 11 เดือนแรกของปี 2552 ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว 65 โครงการ และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน อีก 15 โครงการ
ขณะเดียวกันยังมีนักลงทุนเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน และสนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจในการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และนโยบายไทยเข้มแข็งของรัฐบาล แต่ก็ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจลงทุนในภาคใต้อีกด้วย คือ สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั่นเอง
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในภาคใต้ตอนล่างจำนวน 3 โครงการ รวมเงินลงทุน 661.70 ล้านบาท ซึ่งถือหุ้นโดยคนไทย 100% จ้างแรงงานคนไทย 823 คน ดังนี้ จ.ตรัง มีการอนุมัติลงทุนแล้ว 3 โครงการ ล่าสุดคือ บริษัทรับเบอร์ แอนด์ ลาเท็คส์ จำกัด ขยายกิจการน้ำยางข้นประมาณ 15,000 ตัน/ปี สกิมเครฟและสกิมบล็อกประมาณ 1,050 ตัน/ปี เงินลงทุน 234.50 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 88 คน
จ.สตูล มีการอนุมัติลงทุนโครงการเดียวในรอบปีนี้ คือ บริษัทผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องสยาม จำกัด ขยายกำลังการผลิตอาหารสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึกประมาณ 11,300 ตัน/ปี เงินลงทุน 400 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 686 คน และ จ.นครศรีธรรมราช มีการอนุมัติลงทุนแล้ว 10 โครงการ ล่าสุดคือบริษัทพีพี แอนด์ บี อุตสาหกรรมยาง จำกัด ผลิตยางแผ่นรมควันและหรือยางแผ่นอบแห้งประมาณ 4,500 ตัน/ปี เงินลงทุน 27.20 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 49 คน
ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนใน 14 จังหวัดภาคใต้ 11 เดือน พบว่า มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 65 โครงการเท่ากันกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินลงทุน 11,506.60 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.40 และการจ้างแรงงานไทย 7,567 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.97
โครงการที่มีขนาดการลงทุนสูงสุด 11 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ บริษัทบาห์รัต โฮเต็ลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี เป็นโรงแรมขนาด 100 ห้อง เงินลงทุน 1,521.80 บาท จ้างแรงงานไทย 143 คน ถือหุ้นโดยชาวอินเดียและอังกฤษ รองลงมาคือบริษัท เอสจีซี วินด์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด จ. นครศรีธรรมราช ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมประมาณ 9,000 กิโลวัตต์/ปี ของเงินลงทุน 842.50 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 25 คน ถือหุ้นโดยชาวอินเดีย และอันดับสามบริษัทมะขาม บีช จำกัด จ.ภูเก็ต เป็นโรงแรมขนาด 231 ห้อง เงินลงทุน 799.60 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 218 คน ถือหุ้นโดยคนไทยทั้งสิ้น
ในปีนี้ กิจการเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตรยังคงครองแชมป์การลงทุนมากที่สุด 34 โครงการ เงินลงทุน 5,638.10 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 5,845 คน ได้แก่ เนื้อปูบรรจุภาชนะผนึก เนื้อปลา สัตว์น้ำแช่แข็ง (4โครงการ) น้ำมันปาล์ม (4 โครงการ) ยางผสม/ยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง (10 โครงการ) ถุงนิ้วมือยาง ถุงมือยาง (2 โครงการ) น้ำยางข้น (10 โครงการ) และอาหารสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก
รองลงมาคือกิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 22 โครงการ เงินลงทุน 5,525.90 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 917 คน ได้แก่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ/ชีวมวล/พลังงานลม (11 โครงการ) การขนถ่ายสินค้า (2 โครงการ) และสำนักงานปฎิบัติการภูมิภาค
ส่วนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก มี 3 โครงการ เงินลงทุน 138.40 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 260 คน ได้แก่ยากันยุง ถุงมือยาง และแถบรัดพลาสติก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามี 2 โครงการ เงินลงทุน 4.20 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 3 คน ได้แก่ซอฟต์แวร์
นอกจากนี้ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 ยังคาดการณ์แนวโน้มการลงทุนในภาคใต้ ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ด้วยว่า สถานการณ์จะดีขึ้นกว่าปีก่อน ทั้งนี้ดูได้จากสถิติการได้รับการส่งเสริมการลงทุน 11 เดือนแรกของปี 2552 ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว 65 โครงการ และยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน อีก 15 โครงการ
ขณะเดียวกันยังมีนักลงทุนเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน และสนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจในการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และนโยบายไทยเข้มแข็งของรัฐบาล แต่ก็ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจลงทุนในภาคใต้อีกด้วย คือ สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั่นเอง