เอเอฟพี/เอเจนซี - โฟล์กสวาเกน เอจี บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น จะเข้าซื้อหุ้น 19.9% ของบริษัทซูซูกิ แห่งญี่ปุ่น ด้วยราคาประมาณ 222,500 ล้านเยน (2,530 ล้านดอลลาร์) โดยมุ่งประสงค์จะอาศัยความชำนาญในเรื่องรถยนต์ขนาดเล็กและการมีฐานะเป็นเจ้าตลาดรถในอินเดียของซูซูกิ เพื่อขับดันตนเองให้พุ่งผงาดแซงโตโยต้า กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก
ตลาดรถยนต์ของโลกเวลานี้ ส่วนที่ขยายตัวไปได้อย่างรวดเร็วที่สุดก็คือจีนและอินเดีย โดยที่โฟล์กนั้นมีรากฐานแน่นหนามั่นคงอยู่ในแดนมังกรอยู่แล้ว และ มาร์ติน วินเทเอร์คอร์น ซีอีโอของโฟล์ก กล่าวย้ำขณะแถลงข่าวเรื่องการซื้อหุ้นซูซูกินี้ที่กรุงโตเกียวว่า หวังจะให้ซูซูกิมาช่วยเติมความฝันของโฟล์กที่จะแซงโตโยต้าขึ้นเป็นหมายเลขหนึ่งของโลก โดยหากทำได้สำเร็จเร็วกว่าปี 2018 เขาก็จะรู้สึกพอใจมาก
ทางด้านโอซามุ ซูซูกิ ซีอีโอวัยใกล้ๆ 80 ปีของซูซูกิ ซึ่งร่วมในการแถลงข่าวด้วยกล่าวว่า บริษัทตั้งใจจะนำเงินที่ได้รับจากโฟล์กจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะถึงครึ่งหนึ่งก็ได้ ไปซื้อหุ้นของบริษัทโฟล์ก พร้อมกับยืนยันว่า ซูซูกิไม่ได้ต้องการกลายเป็นแบรนด์รถยนต์แบรนด์ที่ 12 ของโฟล์กสวาเกน
การทำข้อตกลงของบริษัททั้งสองซึ่งกำหนดจะดำเนินการกันในเดือนมกราคมปีหน้า บังเกิดขึ้นในขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกกำลังเกิดการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ภายหลังเผชิญความยากลำบากจากวิกฤตการเงินที่ลุกลามกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยอันแสนสาหัส ทั้งนี้แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ได้แก่ การจับมือหาพันธมิตรที่จะช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การออกแบบรถยนต์ขนาดเล็ก, และการมีเครือข่ายในระดับทั่วโลก
เมื่อไม่กี่วันก่อน พีเอสเอ เปอร์โยต์ ซีตรอง แห่งฝรั่งเศส กับ มิตซูบิชิ มอเตอส์ ของญี่ปุ่น เพิ่งแถลงว่ากำลังศึกษาหาลู่ทางที่จะร่วมมือผูกสัมพันธ์กันให้มากขึ้น ส่วน เรโนลต์ กับ นิสสัน ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันอยู่แล้ว ก็แถลงในเดือนที่แล้วว่า พวกเขาจะเปิดตัว “รถยนต์ราคาต่ำสุดๆ” ในอินเดียในปี 2012 เพื่อสู้กับรถ นาโน ของบริษัททาทา มอเตอส์
ตลาดรถยนต์ของโลกเวลานี้ ส่วนที่ขยายตัวไปได้อย่างรวดเร็วที่สุดก็คือจีนและอินเดีย โดยที่โฟล์กนั้นมีรากฐานแน่นหนามั่นคงอยู่ในแดนมังกรอยู่แล้ว และ มาร์ติน วินเทเอร์คอร์น ซีอีโอของโฟล์ก กล่าวย้ำขณะแถลงข่าวเรื่องการซื้อหุ้นซูซูกินี้ที่กรุงโตเกียวว่า หวังจะให้ซูซูกิมาช่วยเติมความฝันของโฟล์กที่จะแซงโตโยต้าขึ้นเป็นหมายเลขหนึ่งของโลก โดยหากทำได้สำเร็จเร็วกว่าปี 2018 เขาก็จะรู้สึกพอใจมาก
ทางด้านโอซามุ ซูซูกิ ซีอีโอวัยใกล้ๆ 80 ปีของซูซูกิ ซึ่งร่วมในการแถลงข่าวด้วยกล่าวว่า บริษัทตั้งใจจะนำเงินที่ได้รับจากโฟล์กจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจจะถึงครึ่งหนึ่งก็ได้ ไปซื้อหุ้นของบริษัทโฟล์ก พร้อมกับยืนยันว่า ซูซูกิไม่ได้ต้องการกลายเป็นแบรนด์รถยนต์แบรนด์ที่ 12 ของโฟล์กสวาเกน
การทำข้อตกลงของบริษัททั้งสองซึ่งกำหนดจะดำเนินการกันในเดือนมกราคมปีหน้า บังเกิดขึ้นในขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกกำลังเกิดการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ภายหลังเผชิญความยากลำบากจากวิกฤตการเงินที่ลุกลามกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยอันแสนสาหัส ทั้งนี้แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ได้แก่ การจับมือหาพันธมิตรที่จะช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การออกแบบรถยนต์ขนาดเล็ก, และการมีเครือข่ายในระดับทั่วโลก
เมื่อไม่กี่วันก่อน พีเอสเอ เปอร์โยต์ ซีตรอง แห่งฝรั่งเศส กับ มิตซูบิชิ มอเตอส์ ของญี่ปุ่น เพิ่งแถลงว่ากำลังศึกษาหาลู่ทางที่จะร่วมมือผูกสัมพันธ์กันให้มากขึ้น ส่วน เรโนลต์ กับ นิสสัน ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันอยู่แล้ว ก็แถลงในเดือนที่แล้วว่า พวกเขาจะเปิดตัว “รถยนต์ราคาต่ำสุดๆ” ในอินเดียในปี 2012 เพื่อสู้กับรถ นาโน ของบริษัททาทา มอเตอส์