ASTVผู้จัดการรายวัน - “การบินไทย” ฟ้องเหวี่ยงแหพันธมิตรฯ 36 คนรวม “กษิต ภิรมย์” รมต.ต่างประเทศ เรียกค่าเสียหายกว่า 575 ล้านบาท อ้างพาประชาชนนับหมื่นบุกยึดสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ทำให้ระบบการเดินทางอากาศหยุดชะงัก เผยคิดค่าใช้จ่ายกระทั่งปากกา ดินสอ ยางลบ ค่าอาหารพนักงาน เบี้ยเลี้ยง บวกดอกเบี้ยสุดโหดทั้งที่ได้รับชดเชยจากรัฐบาล
วานนี้ (9 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 52 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)THAI โดยนายบำเพ็ญ สรรพศรี ผู้รับมอบอำนาจ จากนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 36 คน ในข้อหาความผิดละเมิดเรียกค่าเสียหาย 575,229,059 บาท
โดยการบินไทยอ้างว่า คดีนี้จำเลยทั้ง 36 คน และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำผู้นำมวลชน ผู้ชักชวน รวมกลุ่มเพื่อประท้วงทางการเมือง ขับไล่รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีให้ออกจากการทำหน้าที่รัฐบาล โดยการนำประชาชน มวลชนไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งนำมวลชนกลุ่มย่อยไปปิดล้อมหน่วยงานราชการต่างๆ ในลักษณะดาวกระจาย รวมทั้งนำประชาชน มวลชนไปทำการปิดล้อมท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ตามคำฟ้องระบุด้วยว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2551 จำเลยทั้ง 36 คน ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ร่วมกันปลุกระดมประชาชนมวลชนประมาณหลายหมื่นคนให้เข้ามาภายในบริเวณชานชาลา ลานจอดรถ หน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อประท้วงรัฐบาลขับไล่นายสมชาย และเพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรีใช้อาคารสถานที่ของท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งรัฐบาลใช้เป็นสถานที่จัดประชุมชั่วคราวแทนทำเนียบรัฐบาล ทำการประชุมคณะรัฐมนตรีได้ตามปกติ โดยจำเลยทั้ง 36 คน ทราบดีอยู่แล้วว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 36 คน เป็นการกระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง
ต่อมา 25 พ.ย.2551 จำเลยทั้ง 36 คน ได้ร่วมกันปลุกระดมประชาชนมวลชนให้มีจำนวนมากขึ้นจากผู้ที่ทำการชุมชุมอยู่ที่สนามบินดอนเมืองอยู่แล้วกับประชาชนที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ให้ไปร่วมกันชุมนุมและบุกเข้าไปบริเวณภายนอกและภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อสร้างความวุ่นวายมากขึ้น โดยกระทำการปิดถนน ทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งจุดสกัดผ่านเข้าอาคารผู้โดยสาร ห้ามเครื่องบินขึ้นลงที่สนามบิน ห้ามมิให้มีการเคลื่อนไหวในลานจอดเครื่องบิน ห้ามมิให้มีการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจราจรทางอากาศ รวมทั้งได้ตั้งเต็นท์ทับถนนสาย 1 ขาเข้า รวมทั้งปิดกั้นไม่ให้รถบริการของโจทก์เข้าภายในท่าอากาศยาน เพื่อรับผู้โดยสารที่ตกค้างภายในท่าอากาศยานให้สามารถออกจากอาคารได้ ทำให้โจทก์ไม่สามารถให้บริการการรับขนส่งผู้โดยสารและกิจการอื่นต่อไปได้ ต้องประกาศระงับการให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิทันที
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พ.ย.2551 จำเลยทั้ง 36 คนได้ปลุกระดมมวลชนชุมนุมบริเวณชานชาลาลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมืองเข้ามาเพิ่มขึ้น พร้อมปิดกั้นการให้บริการต่างๆ ของท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นเหตุให้ต้องหยุดการบริการโดยทันทีเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่จำเลยทั้ง 36 คน ปิดท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยองบริการผู้โดยสารแทน โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้ง 36 คน โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายโรงแรมที่พักและอาหารของผู้โดยสารที่ตกค้างทั้งในและต่างประเทศ 35 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายโรงแรมที่พักและอาหารของพนักงานการบินไทย 23 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการโอนผู้โดยสารให้แก่สายการบินอื่น 402 ล้านบาท ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานการบินไทย 17 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ปากกา ดินสอ ยางลบ กระดาษ 1.4 ล้านบาทและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าผ่านทางของรถยนต์และยานพาหนะของการบินไทยที่ใช้แก้ปัญหา 5.8 แปดแสนบาท เป็นต้น
รวมเป็นเงินที่โจทก์ต้องจ่ายไป 575,229,059 บาท ซึ่งโจทก์ถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้ โจทก์ไม่สามารถบังคับเอากับจำเลยทั้ง 36 คนได้ จึงต้องขอบารมีศาล
โดยท้ายคำฟ้อง ระบุว่า ขอศาลออกหมายเรียกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษา และบังคับจำเลยตามคำขอ ดังนี้ 1.พิพากษาให้จำเลยทั้ง 36 คนร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าเสียหาย จำนวน 575,229,059 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 535,096,799 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
2.พิพากษาให้จำเลยทั้ง 36 คน ร่วมกันหรือแทนกันรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความในอัตราสูงสุดแทนโจทก์ โดยศาลนัดรับคำฟ้องไว้พิจารณา และนัดชี้สองสถานในวันที่ 22 ก.พ.2553
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยนายพิเชษฐ์ โชคบุญธิญานท์ ผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก รวม 14 คน กรณีนำกลุ่มพันธมิตรฯปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง เช่นเดียวกัน โดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 103,483,141.80 บาท โดยศาลแพ่งนัดชี้สองสถานในวันที่ 22 ก.พ.53 เวลา 13.30 น.เช่นกัน
สำหรับรายชื่อจำเลยทั้ง 36 คน ประกอบด้วย จำเลยที่ 1 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
จำเลยที่ 2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล
จำเลยที่ 3 นายพิภพ ธงไชย
จำเลยที่ 4 นายสุริยะใส กตะศิลา
จำเลยที่ 5 นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
จำเลยที่ 6 นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
จำเลยที่ 7 นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
จำเลยที่ 8 นายอมรเทพ อมรรัตนานนท์
จำเลยที่ 9 นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง
จำเลยที่ 10 นายสำราญ รอดเพชร
จำเลยที่ 11 นายศิริชัย ไม้งาม
จำเลยที่ 12 นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
จำเลยที่ 13 นายเทิดภูมิ ใจดี
จำเลยที่ 14 พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
จำเลยที่ 15 น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก
จำเลยที่ 16 นายพิชิต ไชยมงคล
จำเลยที่ 17 นายประพันธ์ คูณมี
จำเลยที่ 18 นายบรรจง นะแส
จำเลยที่ 19 นายกษิต ภิรมย์
จำเลยที่ 20 นายวีระ สมความคิด
จำเลยที่ 21 นางสโรชา พรอุดมศักดิ์
จำเลยที่ 22 ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ ร.น.
จำเลยที่ 23 นายชนะ ผาสุกสกุล
จำเลยที่ 24 พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์
จำเลยที่ 25 นายสุรวิชช์ วีรวรรณ
จำเลยที่ 26 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จำเลยที่ 27 นายสาวิทย์ แก้วหวาน
จำเลยที่ 28 นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
จำเลยที่ 29 นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์
จำเลยที่ 30 นายสมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย
จำเลยที่ 31 นางจินดารัตน์ ชโยธิน
จำเลยที่ 32 นายเติมศักดิ์ จารุปราณ
จำเลยที่ 33 นายบัณฑิต ปิ่นมงคลกุล
จำเลยที่ 34 นางสาววรรณมน ช่างปรีชา
จำเลยที่ 35 นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที
จำเลยที่ 36 นายสุมิตร นวลมณี
วานนี้ (9 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 52 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)THAI โดยนายบำเพ็ญ สรรพศรี ผู้รับมอบอำนาจ จากนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 36 คน ในข้อหาความผิดละเมิดเรียกค่าเสียหาย 575,229,059 บาท
โดยการบินไทยอ้างว่า คดีนี้จำเลยทั้ง 36 คน และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำผู้นำมวลชน ผู้ชักชวน รวมกลุ่มเพื่อประท้วงทางการเมือง ขับไล่รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีให้ออกจากการทำหน้าที่รัฐบาล โดยการนำประชาชน มวลชนไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งนำมวลชนกลุ่มย่อยไปปิดล้อมหน่วยงานราชการต่างๆ ในลักษณะดาวกระจาย รวมทั้งนำประชาชน มวลชนไปทำการปิดล้อมท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ตามคำฟ้องระบุด้วยว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2551 จำเลยทั้ง 36 คน ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ร่วมกันปลุกระดมประชาชนมวลชนประมาณหลายหมื่นคนให้เข้ามาภายในบริเวณชานชาลา ลานจอดรถ หน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อประท้วงรัฐบาลขับไล่นายสมชาย และเพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรีใช้อาคารสถานที่ของท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งรัฐบาลใช้เป็นสถานที่จัดประชุมชั่วคราวแทนทำเนียบรัฐบาล ทำการประชุมคณะรัฐมนตรีได้ตามปกติ โดยจำเลยทั้ง 36 คน ทราบดีอยู่แล้วว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 36 คน เป็นการกระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง
ต่อมา 25 พ.ย.2551 จำเลยทั้ง 36 คน ได้ร่วมกันปลุกระดมประชาชนมวลชนให้มีจำนวนมากขึ้นจากผู้ที่ทำการชุมชุมอยู่ที่สนามบินดอนเมืองอยู่แล้วกับประชาชนที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ให้ไปร่วมกันชุมนุมและบุกเข้าไปบริเวณภายนอกและภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อสร้างความวุ่นวายมากขึ้น โดยกระทำการปิดถนน ทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งจุดสกัดผ่านเข้าอาคารผู้โดยสาร ห้ามเครื่องบินขึ้นลงที่สนามบิน ห้ามมิให้มีการเคลื่อนไหวในลานจอดเครื่องบิน ห้ามมิให้มีการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจราจรทางอากาศ รวมทั้งได้ตั้งเต็นท์ทับถนนสาย 1 ขาเข้า รวมทั้งปิดกั้นไม่ให้รถบริการของโจทก์เข้าภายในท่าอากาศยาน เพื่อรับผู้โดยสารที่ตกค้างภายในท่าอากาศยานให้สามารถออกจากอาคารได้ ทำให้โจทก์ไม่สามารถให้บริการการรับขนส่งผู้โดยสารและกิจการอื่นต่อไปได้ ต้องประกาศระงับการให้บริการสนามบินสุวรรณภูมิทันที
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พ.ย.2551 จำเลยทั้ง 36 คนได้ปลุกระดมมวลชนชุมนุมบริเวณชานชาลาลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมืองเข้ามาเพิ่มขึ้น พร้อมปิดกั้นการให้บริการต่างๆ ของท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นเหตุให้ต้องหยุดการบริการโดยทันทีเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่จำเลยทั้ง 36 คน ปิดท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยองบริการผู้โดยสารแทน โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้ง 36 คน โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายโรงแรมที่พักและอาหารของผู้โดยสารที่ตกค้างทั้งในและต่างประเทศ 35 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายโรงแรมที่พักและอาหารของพนักงานการบินไทย 23 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการโอนผู้โดยสารให้แก่สายการบินอื่น 402 ล้านบาท ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานการบินไทย 17 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ปากกา ดินสอ ยางลบ กระดาษ 1.4 ล้านบาทและค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าผ่านทางของรถยนต์และยานพาหนะของการบินไทยที่ใช้แก้ปัญหา 5.8 แปดแสนบาท เป็นต้น
รวมเป็นเงินที่โจทก์ต้องจ่ายไป 575,229,059 บาท ซึ่งโจทก์ถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้ โจทก์ไม่สามารถบังคับเอากับจำเลยทั้ง 36 คนได้ จึงต้องขอบารมีศาล
โดยท้ายคำฟ้อง ระบุว่า ขอศาลออกหมายเรียกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษา และบังคับจำเลยตามคำขอ ดังนี้ 1.พิพากษาให้จำเลยทั้ง 36 คนร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าเสียหาย จำนวน 575,229,059 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 535,096,799 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
2.พิพากษาให้จำเลยทั้ง 36 คน ร่วมกันหรือแทนกันรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความในอัตราสูงสุดแทนโจทก์ โดยศาลนัดรับคำฟ้องไว้พิจารณา และนัดชี้สองสถานในวันที่ 22 ก.พ.2553
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด โดยนายพิเชษฐ์ โชคบุญธิญานท์ ผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก รวม 14 คน กรณีนำกลุ่มพันธมิตรฯปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง เช่นเดียวกัน โดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 103,483,141.80 บาท โดยศาลแพ่งนัดชี้สองสถานในวันที่ 22 ก.พ.53 เวลา 13.30 น.เช่นกัน
สำหรับรายชื่อจำเลยทั้ง 36 คน ประกอบด้วย จำเลยที่ 1 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
จำเลยที่ 2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล
จำเลยที่ 3 นายพิภพ ธงไชย
จำเลยที่ 4 นายสุริยะใส กตะศิลา
จำเลยที่ 5 นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
จำเลยที่ 6 นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
จำเลยที่ 7 นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
จำเลยที่ 8 นายอมรเทพ อมรรัตนานนท์
จำเลยที่ 9 นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง
จำเลยที่ 10 นายสำราญ รอดเพชร
จำเลยที่ 11 นายศิริชัย ไม้งาม
จำเลยที่ 12 นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
จำเลยที่ 13 นายเทิดภูมิ ใจดี
จำเลยที่ 14 พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
จำเลยที่ 15 น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก
จำเลยที่ 16 นายพิชิต ไชยมงคล
จำเลยที่ 17 นายประพันธ์ คูณมี
จำเลยที่ 18 นายบรรจง นะแส
จำเลยที่ 19 นายกษิต ภิรมย์
จำเลยที่ 20 นายวีระ สมความคิด
จำเลยที่ 21 นางสโรชา พรอุดมศักดิ์
จำเลยที่ 22 ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ ร.น.
จำเลยที่ 23 นายชนะ ผาสุกสกุล
จำเลยที่ 24 พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์
จำเลยที่ 25 นายสุรวิชช์ วีรวรรณ
จำเลยที่ 26 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จำเลยที่ 27 นายสาวิทย์ แก้วหวาน
จำเลยที่ 28 นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
จำเลยที่ 29 นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์
จำเลยที่ 30 นายสมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย
จำเลยที่ 31 นางจินดารัตน์ ชโยธิน
จำเลยที่ 32 นายเติมศักดิ์ จารุปราณ
จำเลยที่ 33 นายบัณฑิต ปิ่นมงคลกุล
จำเลยที่ 34 นางสาววรรณมน ช่างปรีชา
จำเลยที่ 35 นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที
จำเลยที่ 36 นายสุมิตร นวลมณี