ASTVผู้จัดการรายวัน – ตลาดอนุพันธ์ เชื่อ แบงก์ชาติไฟเขียวนำเงินสกุลต่างประเทศวางเป็นหลักประกันซื้อขายอนุพันธ์ได้ เชื่อดันนักลงทุนสถาบันเข้าลงทุนมากขึ้น –ดันวอลุ่มซื้อขายโต มั่นใจหลักประกันโกลด์ฟิวเจอร์สที่ 6.65 หมื่นบาทเพียงพอแม้ราคาทองคำใกล้ 2 หมื่นบาท
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (TFEX) เปิดเผยว่า หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)อนุมัติให้สามารถนำเงินสกุลต่างประเทศมาวางเป็นหลักประกันในการซื้อขายอนุพันธ์ได้นั้น จะส่งผลดีให้การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์มากขึ้น เพราะ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน เพื่อลดต้นทุน ลดความเสี่ยงจากการผันผวนของค่าเงิน และเพิ่มความคล่องตัวแก่นักลงทุนสถาบันต่างประเทศในการลงทุน ซึ่งจะทำให้นักลงทุนสถาบันเข้ามาลงทุนในตลาดอนุพันธ์มากขึ้น
ทั้งนี้แนวคิดในการนำนำเงินสกุลต่างประเทศมาวางเป็นหลักประกันในการซื้อขายอนุพันธ์ เนื่องจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯมีแผนต้องการเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายและเพิ่มจำนวนนักลงทุนสถาบันในตลาดอนุพันธ์มากขึ้น จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับเมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ อย่างประเทศมาเลเซียที่รับสกุลเงินดอลลาร์ ยูโร และเยน สามารถนำมาวางหลักประกันได้ โดยคาดว่าสกุลเงินต่างประเทศที่น่าจะได้รับการอนุมัติในเบื้องต้นน่าจะเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการแล้ว
สำหรับปัญหาของการนำสกุลเงินต่างประเทศมาวางเป็นหลักประกัน คือเมื่อนำเงินเข้ามาแล้วจะต้องนำมาแปลงเป็นเงินบาท ซึ่งหากเงินที่นำมาวางซื้อขายทองคำล่วงหน้าในช่วงที่ขึ้นลงมาก จะทำให้มีความเสี่ยงสูงจากการเข้าออกของเงินในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะต้องมีการควบคุมในเรื่องนี้ โดยอาจจะให้นำเงินสกุลต่างประเทศมาวางไว้ก่อน โดยที่ไม่เอาเงินออก และถ้าขาดทุนก็จะต้องนำเงินบาทมาใส่ ซึ่งจะทำให้ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน แต่จะมีการคิดมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาวางทุกวันแต่ไม่ต้องมีการแปลงค่าเป็นเงินบาทแค่เป็นการวางหลักประกันไว้อย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและส่งออก ทำให้มีบัญชีเงินดอลลาร์ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความสะดวกที่คนไทยถือเงินดอลลาร์อยู่ จะไม่ได้รับผลกระทบกับเงินหรือทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นในแง่ของหลักการ ยังต้องไปดูอีกว่ามีวิธีการอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบกับเงินบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับธปท.
นางเกศรา กล่าวว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์ใหม่ในปีหน้า ซึ่งตลาดอนุพันธ์จะออกออกสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า 10 บาท (Gold future 10 บาท) โดยคาดว่าจะออกได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจทำให้มีนักลงทุนเพิ่มขึ้น โดยปีหน้าตั้งเป้าการซื้อขายในตลาดทองคำล่วงหน้า (Gold Future) 3,000 สัญญาต่อ จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 สัญญาต่อวัน ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ และด้านการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์โดยรวมปีหน้าตั้งเป้าสัญญาการซื้อขายที่ 15,000 สัญญาต่อวัน
สำหรับการวางหลักประกันของทองคำล่วงหน้าในปัจจุบันที่ระดับ 66,500 บาท ถือว่าเพียงพอแล้ว แม้ว่าราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นใกล้บาทละ 20,000 บาท ทำให้ส่วนของเงินวางประกันลดลงไปประมาณ 1% แต่ในแง่ของความผันผวนของราคาทองคำที่แกว่งตัวอยู่ที่ 1-2% ยังสามารถครอบคลุมได้อยู่ ซึ่งตอนนี้การวางมาร์จิ้น ของโกลด์ฟิวเจอร์สยังเพียงพออยู่ เพราะแม้ราคาจะขึ้นสูงแต่ก็ถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับความผันผวนของราคาทองคำก่อนหน้านี้ ซึ่งหากต้องการปรับเปลี่ยนเงินวางหลักประกันก็สามารถทำได้ โดย TFEX ได้ตกลงกับโบรกเกอร์แล้ว โดยจะใช้เวลาประมาณ 5 วันในการเปลี่ยน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ตลาดอนุพันธ์ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แล้ว
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (TFEX) เปิดเผยว่า หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)อนุมัติให้สามารถนำเงินสกุลต่างประเทศมาวางเป็นหลักประกันในการซื้อขายอนุพันธ์ได้นั้น จะส่งผลดีให้การซื้อขายในตลาดอนุพันธ์มากขึ้น เพราะ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน เพื่อลดต้นทุน ลดความเสี่ยงจากการผันผวนของค่าเงิน และเพิ่มความคล่องตัวแก่นักลงทุนสถาบันต่างประเทศในการลงทุน ซึ่งจะทำให้นักลงทุนสถาบันเข้ามาลงทุนในตลาดอนุพันธ์มากขึ้น
ทั้งนี้แนวคิดในการนำนำเงินสกุลต่างประเทศมาวางเป็นหลักประกันในการซื้อขายอนุพันธ์ เนื่องจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯมีแผนต้องการเพิ่มสภาพคล่องการซื้อขายและเพิ่มจำนวนนักลงทุนสถาบันในตลาดอนุพันธ์มากขึ้น จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับเมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ อย่างประเทศมาเลเซียที่รับสกุลเงินดอลลาร์ ยูโร และเยน สามารถนำมาวางหลักประกันได้ โดยคาดว่าสกุลเงินต่างประเทศที่น่าจะได้รับการอนุมัติในเบื้องต้นน่าจะเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการแล้ว
สำหรับปัญหาของการนำสกุลเงินต่างประเทศมาวางเป็นหลักประกัน คือเมื่อนำเงินเข้ามาแล้วจะต้องนำมาแปลงเป็นเงินบาท ซึ่งหากเงินที่นำมาวางซื้อขายทองคำล่วงหน้าในช่วงที่ขึ้นลงมาก จะทำให้มีความเสี่ยงสูงจากการเข้าออกของเงินในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะต้องมีการควบคุมในเรื่องนี้ โดยอาจจะให้นำเงินสกุลต่างประเทศมาวางไว้ก่อน โดยที่ไม่เอาเงินออก และถ้าขาดทุนก็จะต้องนำเงินบาทมาใส่ ซึ่งจะทำให้ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน แต่จะมีการคิดมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาวางทุกวันแต่ไม่ต้องมีการแปลงค่าเป็นเงินบาทแค่เป็นการวางหลักประกันไว้อย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและส่งออก ทำให้มีบัญชีเงินดอลลาร์ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของความสะดวกที่คนไทยถือเงินดอลลาร์อยู่ จะไม่ได้รับผลกระทบกับเงินหรือทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นในแง่ของหลักการ ยังต้องไปดูอีกว่ามีวิธีการอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบกับเงินบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับธปท.
นางเกศรา กล่าวว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์ใหม่ในปีหน้า ซึ่งตลาดอนุพันธ์จะออกออกสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า 10 บาท (Gold future 10 บาท) โดยคาดว่าจะออกได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจทำให้มีนักลงทุนเพิ่มขึ้น โดยปีหน้าตั้งเป้าการซื้อขายในตลาดทองคำล่วงหน้า (Gold Future) 3,000 สัญญาต่อ จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 สัญญาต่อวัน ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ และด้านการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์โดยรวมปีหน้าตั้งเป้าสัญญาการซื้อขายที่ 15,000 สัญญาต่อวัน
สำหรับการวางหลักประกันของทองคำล่วงหน้าในปัจจุบันที่ระดับ 66,500 บาท ถือว่าเพียงพอแล้ว แม้ว่าราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นใกล้บาทละ 20,000 บาท ทำให้ส่วนของเงินวางประกันลดลงไปประมาณ 1% แต่ในแง่ของความผันผวนของราคาทองคำที่แกว่งตัวอยู่ที่ 1-2% ยังสามารถครอบคลุมได้อยู่ ซึ่งตอนนี้การวางมาร์จิ้น ของโกลด์ฟิวเจอร์สยังเพียงพออยู่ เพราะแม้ราคาจะขึ้นสูงแต่ก็ถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับความผันผวนของราคาทองคำก่อนหน้านี้ ซึ่งหากต้องการปรับเปลี่ยนเงินวางหลักประกันก็สามารถทำได้ โดย TFEX ได้ตกลงกับโบรกเกอร์แล้ว โดยจะใช้เวลาประมาณ 5 วันในการเปลี่ยน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ตลาดอนุพันธ์ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แล้ว