นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีที่นางสิมารักษ์ ณ นครพนม มารดานาย ศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทยที่ถูกกัมพูชาจับกุมตัวในข้อหาจารกรรมขอเปลี่ยนทนายความในการต่อสู้คดีที่กัมพูชาว่า เป็นสิทธิของนางสิมารักษ์ ที่สามารถดำเนินการได้ แต่ในส่วนของรัฐบาลก็พยายาม ให้การช่วยเหลือต่อไปในทางที่ทำได้ คนไทยไปตกทุกข์ได้ยากที่ไหนที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องดูแลอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทยบอกว่าจะมีข่าวใหญ่ ข่าวดี ซึ่งมองกันว่าน่าจะเป็นเรื่องที่นายศิวรักษ์ ได้รับการประกันตัว และถ้าเป็นอย่างนั้นจริง น่าจะเป็นผลงานของใคร รองนายกฯ กล่าวว่า เป็นผลงานของใคร ไม่เป็นไร แต่เราก็ดีใจที่เขาได้รับการประกันตัว หรือถ้าเขาพ้นคดีได้ก็ยิ่งดีใหญ่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้า กรณีที่นางสิมารักษ์ ณ นครพนม มารดานายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ เปลี่ยนตัวทนายความ ที่ดูแลคดีของบุตรชาย จากคนเดิมที่กระทรวงการต่างประเทศจัดหาให้เป็นคนใหม่ ที่เพื่อนของลูกชายแนะนำว่า ได้พูดคุยกับนางสิมารักษ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวทนายความคนใหม่แล้ว ทราบว่าทนายคนใหม่เป็นชาวกัมพูชาชื่อนายเขียว สัมโบ เป็นทนายความที่มีความเชี่ยวชาญในคดีลักษณะนี้ และมีการประสานผ่านหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานของนายศิวรักษ์ มีการนำเอกสารไปให้เจ้าตัวเซ็นแล้ว ซึ่งเมื่อ นางสิมารักษ์ได้ปรึกษากับนายเขียวแล้วจึงได้ตัดสินใจยื่นคำร้องขอยกเลิกการประกันตัว ที่ทนายคนเดิมทำไว้เพื่อให้คดีเดินหน้าไปด้วยความรวดเร็ว
ทั้งนี้ นางสิมารักษ์จะเดินทางไปประเทศกัมพูชาอีกครั้งในวันที่ 7 ธ.ค.พร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อฟังผลการตัดสินคดีในวันที่ 8 ธ.ค. หากผลการตัดสินออกมาว่านายศิวรักษ์ไม่มีความผิดก็จะพาลูกชายกลับบ้านและให้บวชตามที่ตั้งใจไว้ แต่หากมีความผิดก็จะดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ โดย นางสิมารักษ์จะขอให้ทุกฝ่ายช่วยเหลือ ทั้งรัฐบาล และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมถึง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย
ด้านนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ว่า กรณีที่ นางสิมารักษ์ตัดสินใจขอถอนเรื่องการยื่นประกันตัวที่ทนายความคนเดิมทำไว้นั้น ตน และพรรคเพื่อไทยไม่ได้แนะนำหรือเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าว แต่ทราบว่า เหตุผลสำคัญที่นางสิมารักษ์ตัดสินใจขอถอนเรื่องการยื่นประกันตัวเพราะเห็นว่าใกล้จะถึงวันตัดสินคดีแล้ว อยากให้มีการตัดสินเป็นเด็ดขาดในวันที่ 8 ธ.ค. เพราะเกรงว่า หากทำการประกันตัวอาจจะมีการไต่สวนของศาลเพิ่มเติม ในเมื่อรอมาถึงขนาดนี้แล้ว ก็คิดว่ารออีก 3-4 วันแล้วให้ทุกอย่างจบลงในคราวเดียวจะดีกว่า เนื่องจากนางสิมารักษ์อยากให้ลูกชายออกมาอย่างถาวรไม่ใช่แค่ชั่วคราว
สำหรับการตัดสินคดีในวันที่ 8 ธ.ค.นั้น ผลที่ออกมาจะผิดถูกอย่างไรพ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งพล.อ.ชวลิตพร้อมให้ความช่วยเหลือจนตลอดรอดฝั่ง ซึ่งหากผลการตัดสินออกมาว่านายศิวรักษ์มีความผิดจริงเชื่อว่านางสิมารักษ์และทนายความจะไม่ยื่นเรื่องขออุทธรณ์ แต่จะกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ เพราะนางสิมารักษ์ ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกชายได้กลับบ้านโดยเร็วที่สุด เนื่องจากหากทำการอุทธรณ์ จะต้องอยู่ในการควบคุมตัวต่อไป
สำหรับขั้นตอนของการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น หากต้องทำจริงๆ เบื้องต้น ทนายความจะเป็นคนดำเนินการให้ก่อน จากนั้นพ.ต.ท.ทักษิณและพล.อ.ชวลิตจะประสานทางการกัมพูชาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กล่าวถึงท่าทีของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่แสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลไทยว่า จากการหารือกันในการ ประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ทั้งสองฝ่ายจะดูแลประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนให้เกิดความเรียบร้อย และสามารถติดต่อประสานงานกันได้ในทันที ทั้งนี้ตนไม่ได้พูดคุยกับสมเด็จฮุนเซน แต่ได้พูดคุยกับพล.อ. เตีย บันห์ รองนายกฯ และรมว.กลาโหมกัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องของพล.อ. เตีย บันห์ ที่ต้องไปคุยกับสมเด็จฮุน เซน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องของรัฐบาล
ในด้านความมั่นคง ทางทหารได้คุยกันแล้ว และพล.อ. เตีย บันห์ เข้าใจในทุกเรื่อง เพราะในระดับกองทัพ เรามีการประสานงานกัน คุยกัน และทำงานร่วมกันตลอดเวลา ซึ่งผมไม่รู้สึกกังวลใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อผมเข้ามาแล้วก็ต้องทำงานให้เต็มที่
ผู้สื่อข่าวถามว่าพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทยบอกว่าจะมีข่าวใหญ่ ข่าวดี ซึ่งมองกันว่าน่าจะเป็นเรื่องที่นายศิวรักษ์ ได้รับการประกันตัว และถ้าเป็นอย่างนั้นจริง น่าจะเป็นผลงานของใคร รองนายกฯ กล่าวว่า เป็นผลงานของใคร ไม่เป็นไร แต่เราก็ดีใจที่เขาได้รับการประกันตัว หรือถ้าเขาพ้นคดีได้ก็ยิ่งดีใหญ่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้า กรณีที่นางสิมารักษ์ ณ นครพนม มารดานายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ เปลี่ยนตัวทนายความ ที่ดูแลคดีของบุตรชาย จากคนเดิมที่กระทรวงการต่างประเทศจัดหาให้เป็นคนใหม่ ที่เพื่อนของลูกชายแนะนำว่า ได้พูดคุยกับนางสิมารักษ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวทนายความคนใหม่แล้ว ทราบว่าทนายคนใหม่เป็นชาวกัมพูชาชื่อนายเขียว สัมโบ เป็นทนายความที่มีความเชี่ยวชาญในคดีลักษณะนี้ และมีการประสานผ่านหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานของนายศิวรักษ์ มีการนำเอกสารไปให้เจ้าตัวเซ็นแล้ว ซึ่งเมื่อ นางสิมารักษ์ได้ปรึกษากับนายเขียวแล้วจึงได้ตัดสินใจยื่นคำร้องขอยกเลิกการประกันตัว ที่ทนายคนเดิมทำไว้เพื่อให้คดีเดินหน้าไปด้วยความรวดเร็ว
ทั้งนี้ นางสิมารักษ์จะเดินทางไปประเทศกัมพูชาอีกครั้งในวันที่ 7 ธ.ค.พร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อฟังผลการตัดสินคดีในวันที่ 8 ธ.ค. หากผลการตัดสินออกมาว่านายศิวรักษ์ไม่มีความผิดก็จะพาลูกชายกลับบ้านและให้บวชตามที่ตั้งใจไว้ แต่หากมีความผิดก็จะดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ โดย นางสิมารักษ์จะขอให้ทุกฝ่ายช่วยเหลือ ทั้งรัฐบาล และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมถึง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย
ด้านนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ว่า กรณีที่ นางสิมารักษ์ตัดสินใจขอถอนเรื่องการยื่นประกันตัวที่ทนายความคนเดิมทำไว้นั้น ตน และพรรคเพื่อไทยไม่ได้แนะนำหรือเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าว แต่ทราบว่า เหตุผลสำคัญที่นางสิมารักษ์ตัดสินใจขอถอนเรื่องการยื่นประกันตัวเพราะเห็นว่าใกล้จะถึงวันตัดสินคดีแล้ว อยากให้มีการตัดสินเป็นเด็ดขาดในวันที่ 8 ธ.ค. เพราะเกรงว่า หากทำการประกันตัวอาจจะมีการไต่สวนของศาลเพิ่มเติม ในเมื่อรอมาถึงขนาดนี้แล้ว ก็คิดว่ารออีก 3-4 วันแล้วให้ทุกอย่างจบลงในคราวเดียวจะดีกว่า เนื่องจากนางสิมารักษ์อยากให้ลูกชายออกมาอย่างถาวรไม่ใช่แค่ชั่วคราว
สำหรับการตัดสินคดีในวันที่ 8 ธ.ค.นั้น ผลที่ออกมาจะผิดถูกอย่างไรพ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งพล.อ.ชวลิตพร้อมให้ความช่วยเหลือจนตลอดรอดฝั่ง ซึ่งหากผลการตัดสินออกมาว่านายศิวรักษ์มีความผิดจริงเชื่อว่านางสิมารักษ์และทนายความจะไม่ยื่นเรื่องขออุทธรณ์ แต่จะกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ เพราะนางสิมารักษ์ ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกชายได้กลับบ้านโดยเร็วที่สุด เนื่องจากหากทำการอุทธรณ์ จะต้องอยู่ในการควบคุมตัวต่อไป
สำหรับขั้นตอนของการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น หากต้องทำจริงๆ เบื้องต้น ทนายความจะเป็นคนดำเนินการให้ก่อน จากนั้นพ.ต.ท.ทักษิณและพล.อ.ชวลิตจะประสานทางการกัมพูชาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กล่าวถึงท่าทีของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่แสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลไทยว่า จากการหารือกันในการ ประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ทั้งสองฝ่ายจะดูแลประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนให้เกิดความเรียบร้อย และสามารถติดต่อประสานงานกันได้ในทันที ทั้งนี้ตนไม่ได้พูดคุยกับสมเด็จฮุนเซน แต่ได้พูดคุยกับพล.อ. เตีย บันห์ รองนายกฯ และรมว.กลาโหมกัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องของพล.อ. เตีย บันห์ ที่ต้องไปคุยกับสมเด็จฮุน เซน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องของรัฐบาล
ในด้านความมั่นคง ทางทหารได้คุยกันแล้ว และพล.อ. เตีย บันห์ เข้าใจในทุกเรื่อง เพราะในระดับกองทัพ เรามีการประสานงานกัน คุยกัน และทำงานร่วมกันตลอดเวลา ซึ่งผมไม่รู้สึกกังวลใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อผมเข้ามาแล้วก็ต้องทำงานให้เต็มที่