ข่าวเด่นประเด็นฮิตในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องดูไบเวิลด์ขอเลื่อนการชำระหนี้ ทำเอานักลงทุนช็อกกันทั่วโลก ส่งผลให้ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหุ้น ทองคำ น้ำมัน ถูกนักลงทุนเททิ้งกันถ้วนหน้า ด้วยความกังวลว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณวิกฤตการเงินรอบสอง แต่ก่อนที่จะคิดไปไกลถึงขั้นนั้น เรามาดูต้นตอของปัญหาวิกฤตดูไบกันก่อนค่ะ
ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates : UAE) ประกอบด้วย 7 รัฐ ซึ่งแต่ละรัฐมีผู้ปกครองรัฐของตนเอง รัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ อาบูดาบีและดูไบ โดยอาบูดาบีมีบ่อน้ำมัน ส่วนดูไบเป็นท่าเรือและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ดูไบจึงต้องการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของตะวันออกกลาง ด้วยการตั้งบริษัทลงทุนต่างๆ เช่น ดูไบเวิลด์ ดูไบโฮลดิ้ง บรรษัทเพื่อการลงทุนแห่งดูไบ (Investment Corporation of Dubai) และบริษัทลูกอีกหลายๆ บริษัท เพื่อเป็นเครื่องมือในการลงทุนของรัฐบาลดูไบ และโครงการที่สำคัญหนึ่งในนั้นก็คือ โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่และหรูหรา อาทิ เกาะปาร์มจูเมียราห์ที่สร้างจากฝีมือมนุษย์ อาคารบูร์จ อาจีที่สูงที่สุดของโลก เรือสำราญมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทที่เหมือนคฤหาสถ์ลอยน้ำ รวมถึงโดมเล่นสกีหิมะในร่มขนาดใหญ่กลางทะเลทราย จากการทำโครงการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดฟองสบู่ขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ของดูไบ และเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ฟองสบู่ที่ดูสวยหรูมากว่า 6 ปีก็แตกลงกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สะเทือนตลาดเงินโลกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทดูไบเวิลด์ ซึ่งเป็นของรัฐบาลดูไบ ประกาศขอเลื่อนการชำระหนี้มูลค่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (จากหนี้ 5.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ที่จะครบกำหนดชำระคืนในเดือนธันวาคมนี้ เลื่อนออกไปเป็นเดือนพฤษภาคมปีหน้า ทำให้ Moody’s และ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของดูไบเวิลด์ เป็น junk (ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่าลงทุน หรือ ระดับของพันธบัตรขยะ) ทันที และปรับลดอันดับเครดิตบริษัทอีก 6 แห่งของรัฐบาลดูไบด้วย เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบหลายด้าน อาทิ ปัญหาความน่าเชื่อถือในการกู้ยืมเงินทุนและการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลดูไบและประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ติดตามมาด้วยปัญหาสภาพคล่องและภาระหนี้ (ที่อาจเสีย) ของธนาคารพาณิชย์สำคัญหลายแห่ง อาทิ Standard Charter, HSBC, RBS และ Barclay รวมถึงภาวะตลาดเงิน ตลาดทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะผันผวนต่อไปอีกในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องดูไบเวิลด์ก็มีข้อดีอยู่บ้าง ตรงที่ช่วยเตือนสติให้เหล่าประเทศที่(เคย) ร่ำรวยที่พากันก่อหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ตระหนักและระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะในอนาคตอันใกล้ก็ต้องเริ่มชำระคืนหนี้แล้ว
ล่าสุดรัฐบาลดูไบปฏิเสธความรับผิดชอบใน "ดูไบ เวิร์ลด์" ได้สร้างความผิดหวังให้กับบรรดาเจ้าหนี้ (1 ธ.ค.) โดยระบุว่ากลุ่มบริษัทดูไบเวิร์ลด์ ทำธุรกิจหลายอย่างและมีความเสี่ยง ซึ่งได้ระบุตั้งแต่แรกแล้วว่ารัฐบาลไม่ใช่ผู้ค้ำประกันหนี้สินของดูไบเวิลด์ แต่ก็ยังมีความหวังจากรัฐอาบูดาบี ซึ่งเป็นอีกรัฐหนึ่งที่สำคัญที่สุดในบรรดา 7 รัฐของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยรัฐอาบูดาบีประกาศว่าจะช่วยเหลือการชำระหนี้ของดูไบ แต่จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี และจะไม่เข้าไปค้ำประกันหนี้สินทั้งหมด
แม้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิกฤตดูไบจะไม่น่ากลัวเหมือนวิกฤตซับไพร์มของสหรัฐฯ และดูเหมือนนักลงทุนทั่วโลกก็เห็นด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้น ทองคำ น้ำมันตั้งแต่ต้นสัปดาห์นี้ แต่สิ่งที่น่าติดตามต่อก็คือ ถ้าดูไบยังหาเงินมาใช้หนี้ไม่ทัน ได้แต่หวังว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คงไม่หันไปใช้วิธีลัดด้วยการขึ้นราคาน้ำมันมาทำร้ายโลก!!!
ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates : UAE) ประกอบด้วย 7 รัฐ ซึ่งแต่ละรัฐมีผู้ปกครองรัฐของตนเอง รัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ อาบูดาบีและดูไบ โดยอาบูดาบีมีบ่อน้ำมัน ส่วนดูไบเป็นท่าเรือและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ดูไบจึงต้องการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของตะวันออกกลาง ด้วยการตั้งบริษัทลงทุนต่างๆ เช่น ดูไบเวิลด์ ดูไบโฮลดิ้ง บรรษัทเพื่อการลงทุนแห่งดูไบ (Investment Corporation of Dubai) และบริษัทลูกอีกหลายๆ บริษัท เพื่อเป็นเครื่องมือในการลงทุนของรัฐบาลดูไบ และโครงการที่สำคัญหนึ่งในนั้นก็คือ โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่และหรูหรา อาทิ เกาะปาร์มจูเมียราห์ที่สร้างจากฝีมือมนุษย์ อาคารบูร์จ อาจีที่สูงที่สุดของโลก เรือสำราญมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทที่เหมือนคฤหาสถ์ลอยน้ำ รวมถึงโดมเล่นสกีหิมะในร่มขนาดใหญ่กลางทะเลทราย จากการทำโครงการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดฟองสบู่ขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ของดูไบ และเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ฟองสบู่ที่ดูสวยหรูมากว่า 6 ปีก็แตกลงกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สะเทือนตลาดเงินโลกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทดูไบเวิลด์ ซึ่งเป็นของรัฐบาลดูไบ ประกาศขอเลื่อนการชำระหนี้มูลค่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (จากหนี้ 5.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ที่จะครบกำหนดชำระคืนในเดือนธันวาคมนี้ เลื่อนออกไปเป็นเดือนพฤษภาคมปีหน้า ทำให้ Moody’s และ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของดูไบเวิลด์ เป็น junk (ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่าลงทุน หรือ ระดับของพันธบัตรขยะ) ทันที และปรับลดอันดับเครดิตบริษัทอีก 6 แห่งของรัฐบาลดูไบด้วย เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบหลายด้าน อาทิ ปัญหาความน่าเชื่อถือในการกู้ยืมเงินทุนและการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลดูไบและประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ติดตามมาด้วยปัญหาสภาพคล่องและภาระหนี้ (ที่อาจเสีย) ของธนาคารพาณิชย์สำคัญหลายแห่ง อาทิ Standard Charter, HSBC, RBS และ Barclay รวมถึงภาวะตลาดเงิน ตลาดทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะผันผวนต่อไปอีกในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องดูไบเวิลด์ก็มีข้อดีอยู่บ้าง ตรงที่ช่วยเตือนสติให้เหล่าประเทศที่(เคย) ร่ำรวยที่พากันก่อหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ตระหนักและระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะในอนาคตอันใกล้ก็ต้องเริ่มชำระคืนหนี้แล้ว
ล่าสุดรัฐบาลดูไบปฏิเสธความรับผิดชอบใน "ดูไบ เวิร์ลด์" ได้สร้างความผิดหวังให้กับบรรดาเจ้าหนี้ (1 ธ.ค.) โดยระบุว่ากลุ่มบริษัทดูไบเวิร์ลด์ ทำธุรกิจหลายอย่างและมีความเสี่ยง ซึ่งได้ระบุตั้งแต่แรกแล้วว่ารัฐบาลไม่ใช่ผู้ค้ำประกันหนี้สินของดูไบเวิลด์ แต่ก็ยังมีความหวังจากรัฐอาบูดาบี ซึ่งเป็นอีกรัฐหนึ่งที่สำคัญที่สุดในบรรดา 7 รัฐของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยรัฐอาบูดาบีประกาศว่าจะช่วยเหลือการชำระหนี้ของดูไบ แต่จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณี และจะไม่เข้าไปค้ำประกันหนี้สินทั้งหมด
แม้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิกฤตดูไบจะไม่น่ากลัวเหมือนวิกฤตซับไพร์มของสหรัฐฯ และดูเหมือนนักลงทุนทั่วโลกก็เห็นด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้น ทองคำ น้ำมันตั้งแต่ต้นสัปดาห์นี้ แต่สิ่งที่น่าติดตามต่อก็คือ ถ้าดูไบยังหาเงินมาใช้หนี้ไม่ทัน ได้แต่หวังว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คงไม่หันไปใช้วิธีลัดด้วยการขึ้นราคาน้ำมันมาทำร้ายโลก!!!