เดลิเมล์ – แนะวิธีลดน้ำหนักอย่างง่ายได้ผลจริง แถมทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นชัดเจน เพราะช่วยบรรเทาโรคหอบหืด ลดระดบน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งเต้านม รวมถึงปกป้องเซลล์สมอง
สูตรนี้เรียกขานกันหลายชื่อ อาทิ ดิ อัลเทอร์เน็ต-เดย์ ไดเอ็ต, อินเตอร์มิตเทน ฟาสติ้ง หรือเดอะ ลองจิวิตี้ ไดเอ็ต แต่หลักการเป็นแบบเดียวกันคือ กินน้อยมากวันหนึ่ง (50% ของปริมาณปกติ) และกินเท่าที่อยากกินในวันถัดมา เนื่องจากวิธีนี้จะไปกระตุ้นยีน SIRT1 หรือ ‘ยีนความผอม’ ให้เผาผลาญไขมันในร่างกาย ทำให้ร่างกายต้องนำไขมันที่สะสมออกมาใช้มากขึ้นจึงลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักวิจัยพบประโยชน์จากการกินอาหารแคลอรี่ต่ำครั้งแรกในทศวรรษ 1930 หลังจากพบว่าหนู หนอน แมลงวันผลไม้ หรือสัตว์ใดๆ ก็ตาม มีอายุยืนยาวกว่าปกติเมื่อกินอาหารแคลอรี่ต่ำมากเป็นการถาวร โดยหลอดเลือดหัวใจของสัตว์เหล่านี้ไม่อุดตัน ระดับการอักเสบต่ำ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น เซลล์สมองมีแนวโน้มถูกทำลายน้อยลง และอัตราการเกิดโรคที่สัมพันธ์กับอายุลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากยีน SIRT1 ทั้งสิ้น
กระนั้น นักวิจัยยังไม่เคยรู้ว่าประโยชน์นี้เกิดขึ้นกับมนุษย์ด้วยหรือไม่ จนกระทั่งปี 2003 ดร.มาร์ก แมตต์สัน นักประสาทวิทยาศาสตร์อเมริกันจึงค้นพบว่า หนูยังคงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์แม้ลดอาหารอุดมแคลอรี่วันเว้นวัน ซึ่งถือเป็นการค้นพบสำคัญที่มีนัยว่าคนเราไม่จำเป็นต้องอดทนลดอาหารทุกวัน
คริสตา วาราดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและโภชนาการ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ขานรับว่าการกินแค่ 20-40% ของปกติสลับกับการกินตามปกติวันเว้นวัน ทำให้การควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีนี้ทำได้ง่ายขึ้น
จากการวิจัยกับผู้ป่วย 16 คนที่หนัก 88 กิโลกรัมขึ้นไปนานสิบสัปดาห์ โดยให้สลับระหว่างการกินอาหารแค่ 20% ของปริมาณปกติกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการปริมาณปกติอย่างละวัน พบว่าผู้ป่วยแต่ละคนสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 4.5-13.6 กิโลกรัม มากกว่าที่คาดไว้ 2.2-2.7 กิโลกรัม โดยที่ผู้ป่วยใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ในการปรับตัวให้เคยชินกับการกินแบบนี้ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่รู้สึกหิวในวันที่กินน้อยกว่าปกติแต่อย่างใด
ดร.เจมส์ จอห์นสัน ผู้เขียนหนังสือเดอะ อัลเทอร์เนต-เดย์ ไดเอ็ต และผู้บรรยายวิชาศัลยกรรมความงาม สำทับว่าสูตรนี้ทำให้ตนลดน้ำหนักได้ถึง 15 กิโลกรัมใน 11 สัปดาห์ โดยวิธีการก็คือ กินอาหารที่ให้พลังงานเพียง 500 แคลอรี่ในวันอด และกินอาหารเท่าที่ต้องการในวันปกติแต่ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังกายเป็นประจำโดยเฉพาะในวันที่กินอาหารปกติ
สูตรลดน้ำหนักนี้ยังช่วยบรรเทาอาการหอบหืด โดยผลศึกษาจากผู้ป่วยโรคหอบหืดและเบาหวาน 10 คนที่ดร.จอห์นสันจัดทำร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันว่าด้วยภาวะสูงวัยแห่งชาติของสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด พบว่า สามารถลดน้ำหนักได้ 8% หลังจาก 8 สัปดาห์ และอาการหอบหืดทุเลาลง และมีอาการอักเสบในปอดน้อยลง 70% จึงหายใจสะดวกขึ้น
ผู้ป่วยเหล่านี้ยังมีระดับอนุมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและมะเร็งลดลงถึง 90%
อย่างไรก็ดี หลังจากเลิกใช้สูตรนี้สองสัปดาห์ พบว่าอาการหอบหืดกลับมาใหม่
ขณะเดียวกัน ดร.มิเชล ฮาร์วี จากศูนย์ป้องกันมะเร็งเต้านมในแมนเชสเตอร์ อังกฤษ พบว่าการกินอาหารที่ให้พลังงานเพียงวันละ 800 แคลอรี่ช่วยลดเอนไซม์ที่เผาผลาญไขมันและกลูโคสในเนื้อเยื่อเต้านมได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จากการตรวจพบว่าเอนไซม์นี้จะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
สูตรนี้เรียกขานกันหลายชื่อ อาทิ ดิ อัลเทอร์เน็ต-เดย์ ไดเอ็ต, อินเตอร์มิตเทน ฟาสติ้ง หรือเดอะ ลองจิวิตี้ ไดเอ็ต แต่หลักการเป็นแบบเดียวกันคือ กินน้อยมากวันหนึ่ง (50% ของปริมาณปกติ) และกินเท่าที่อยากกินในวันถัดมา เนื่องจากวิธีนี้จะไปกระตุ้นยีน SIRT1 หรือ ‘ยีนความผอม’ ให้เผาผลาญไขมันในร่างกาย ทำให้ร่างกายต้องนำไขมันที่สะสมออกมาใช้มากขึ้นจึงลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักวิจัยพบประโยชน์จากการกินอาหารแคลอรี่ต่ำครั้งแรกในทศวรรษ 1930 หลังจากพบว่าหนู หนอน แมลงวันผลไม้ หรือสัตว์ใดๆ ก็ตาม มีอายุยืนยาวกว่าปกติเมื่อกินอาหารแคลอรี่ต่ำมากเป็นการถาวร โดยหลอดเลือดหัวใจของสัตว์เหล่านี้ไม่อุดตัน ระดับการอักเสบต่ำ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น เซลล์สมองมีแนวโน้มถูกทำลายน้อยลง และอัตราการเกิดโรคที่สัมพันธ์กับอายุลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากยีน SIRT1 ทั้งสิ้น
กระนั้น นักวิจัยยังไม่เคยรู้ว่าประโยชน์นี้เกิดขึ้นกับมนุษย์ด้วยหรือไม่ จนกระทั่งปี 2003 ดร.มาร์ก แมตต์สัน นักประสาทวิทยาศาสตร์อเมริกันจึงค้นพบว่า หนูยังคงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์แม้ลดอาหารอุดมแคลอรี่วันเว้นวัน ซึ่งถือเป็นการค้นพบสำคัญที่มีนัยว่าคนเราไม่จำเป็นต้องอดทนลดอาหารทุกวัน
คริสตา วาราดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและโภชนาการ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ขานรับว่าการกินแค่ 20-40% ของปกติสลับกับการกินตามปกติวันเว้นวัน ทำให้การควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีนี้ทำได้ง่ายขึ้น
จากการวิจัยกับผู้ป่วย 16 คนที่หนัก 88 กิโลกรัมขึ้นไปนานสิบสัปดาห์ โดยให้สลับระหว่างการกินอาหารแค่ 20% ของปริมาณปกติกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการปริมาณปกติอย่างละวัน พบว่าผู้ป่วยแต่ละคนสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 4.5-13.6 กิโลกรัม มากกว่าที่คาดไว้ 2.2-2.7 กิโลกรัม โดยที่ผู้ป่วยใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ในการปรับตัวให้เคยชินกับการกินแบบนี้ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่รู้สึกหิวในวันที่กินน้อยกว่าปกติแต่อย่างใด
ดร.เจมส์ จอห์นสัน ผู้เขียนหนังสือเดอะ อัลเทอร์เนต-เดย์ ไดเอ็ต และผู้บรรยายวิชาศัลยกรรมความงาม สำทับว่าสูตรนี้ทำให้ตนลดน้ำหนักได้ถึง 15 กิโลกรัมใน 11 สัปดาห์ โดยวิธีการก็คือ กินอาหารที่ให้พลังงานเพียง 500 แคลอรี่ในวันอด และกินอาหารเท่าที่ต้องการในวันปกติแต่ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังกายเป็นประจำโดยเฉพาะในวันที่กินอาหารปกติ
สูตรลดน้ำหนักนี้ยังช่วยบรรเทาอาการหอบหืด โดยผลศึกษาจากผู้ป่วยโรคหอบหืดและเบาหวาน 10 คนที่ดร.จอห์นสันจัดทำร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันว่าด้วยภาวะสูงวัยแห่งชาติของสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด พบว่า สามารถลดน้ำหนักได้ 8% หลังจาก 8 สัปดาห์ และอาการหอบหืดทุเลาลง และมีอาการอักเสบในปอดน้อยลง 70% จึงหายใจสะดวกขึ้น
ผู้ป่วยเหล่านี้ยังมีระดับอนุมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและมะเร็งลดลงถึง 90%
อย่างไรก็ดี หลังจากเลิกใช้สูตรนี้สองสัปดาห์ พบว่าอาการหอบหืดกลับมาใหม่
ขณะเดียวกัน ดร.มิเชล ฮาร์วี จากศูนย์ป้องกันมะเร็งเต้านมในแมนเชสเตอร์ อังกฤษ พบว่าการกินอาหารที่ให้พลังงานเพียงวันละ 800 แคลอรี่ช่วยลดเอนไซม์ที่เผาผลาญไขมันและกลูโคสในเนื้อเยื่อเต้านมได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จากการตรวจพบว่าเอนไซม์นี้จะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม