xs
xsm
sm
md
lg

คลำ “สองเต้า” เราทำได้เอง! มาป้องกันมะเร็งเต้านมกันเถอะ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เนต
“สองเต้า” ของสตรีเพศในโลกยุคกระแสสื่อสารสนเทศแทรกซึมวิถีชีวิตคนทั่วโลก กลายเป็นสัญลักษณ์ของการกระตุ้นทางเพศ ทว่า เจตจำนงที่ธรรมชาติมอบอวัยวะส่วนนี้ให้แก่มนุษยชาตินั้น มีคุณค่าลึกลำล้ำกว่านั้นมากมายนักเพราะสองเต้าของผู้หญิงทุกคน คือ แหล่งอาหารที่ไม่อาจหาสิ่งใดเสมอเหมือนสำหรับทารกทุกคนที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนผืนพิภพสีน้ำใบนี้

นอกจากมีบทบาทหน้าที่ให้แก่โลก สองเต้าบนร่างของสตรียังเป็นสิ่งที่ต้องการการบำรุงดูแลเพราะเป็นหนึ่งในอวัยวะที่รวมกลไกอันซับซ้อน และเป็นหนึ่งใน “จุดอ่อน” ของร่างกายปัจจุบันมีแนวทางป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นแก่เต้านมหลายวิธี ที่สำคัญ ก็คือ การตรวจเต้านมเป็นประจำ และการตรวจด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “เมมโมแกรม” ที่น่าสนใจ คือ ผู้หญิงในกรุงเทพฯ คือ ผู้ที่ “เข้าถึง” การป้องกันทั้งสองวิธีดังกล่าวมากที่สุด
ภาพประกอบจากอินเทอร์เนต
  • คลำสองเต้า เราทำได้เอง!
    ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้จัดให้มีโครงการป้องกันและควบคุมโรคมเร็งเต้านม โดยการรณรงค์ให้สตรีอายุ 35 ปี ขึ้น ไป ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมก็ยังเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ โดยในปี 2542 อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยอยู่ที่ 19.9 ต่อประชากร 100,000 คน มากกว่าปี 2433 ซึ่งมีอัตราเท่ากับ 13.5 ต่อประชากรแสนคน

    ข้อมูลที่น่าสนใจจากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ผู้หญิงไทยอายุ15-59 ปี ประมาณ ร้อยละ 50 เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง อีกประมาณ ร้อยละ 23 ได้รับการตรวจเต้านมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มที่ได้รับการตรวจมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มอายุ 30 ปีขึ้น ไป ส่วนกลุ่มที่อายุน้อย คือ 15-29 ปี มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพียง ร้อยละ 35

    ที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่ง ผู้หญิงในกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองมากที่สุด

  • ตรวจด้วยเครื่อง เรื่องที่ยังไม่ครอบคลุม
    ด้านการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเมมโมแกรม ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ละเอียดและแม่นยำกว่าการตรวจด้วยการคลำ และมีโอกาสพบตั้งแต่ในระยะแรก โดยแพทย์แนะนำให้ตรวจด้วยวิธีนีตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปซึ่งพบว่า ยังมีหญิงไทยน้อยมากที่มีโอกาสได้รับการตรวจเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมด้วยวิธีนี้ โดยมีผู้หญิงเพียงร้อยละ 4 จากทั้งประเทศ ที่มีโอกาสและผู้หญิงจากกรุงเทพฯ ได้รับการตรวจเมมโมแกรมมากกว่าผู้หญิงจากทุกภาค

    และเมื่อเหลียวมาดูข้อมูลการกระจายเครื่องเมมโมแกรมในประเทศไทย ก็พบว่า ในปี 2549 ในกรุงเทพฯ มีเครื่องเมมโมแกรม 80 เครื่อง มากกว่าทัง้ ประเทศที่มีรวมกันนับได้เพียง 72 เครื่อง

    อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การตรวจเต้านมด้วยตนเองยังถือเป็นหนึ่งในปราการต้านมะเร็งก่อนสายได้อย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร





  • บทความโดย: การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ.2546-2547

    สืบค้นได้จาก http://www.hiso.or.th
    กำลังโหลดความคิดเห็น