ASTVผู้จัดการรายวัน – “โบรกเกอร์อสังหาฯ” มึน ปปง.สั่งรายงานธุรกรรมการซื้อขายอสังหาฯต้องสงสัย ตามพ.ร.บ.ฟองเงิน พร้อมถามกลับอะไรเข้าข่ายต้องสงสัย แถมไม่รายงานต้องถูกดำเนินคดี ชี้ทำธุรกิจยากขึ้น ด้านปปง.ระบุพ.ร.บ.ฟอกเงินคาดบังคับใช้ต้นปี 53 เหตุรอกฎหมายลูก มั่นใจช่วยจับโจรได้เพิ่มขึ้น เผยตั้งแต่ปี 43 ยึดทรัพย์แล้วรวมกว่า 4,000 ล้านบาท ปี 52 ยอดแตะ 400 ล้านบาท
วานนี้ (26 พ.ย. 52) สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จัดงานสัมมนา เรื่อง “ ความเข้าใจกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำหรับผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ”โดยมีพ.ต.อ.ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ รองเลขาธิการรักษาราชการแทนเลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวว่า ที่มาของการกำหนดให้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องรายงานการทำธุรกรรมที่มีค่านายหน้าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
นอกจากนี้ การที่ต้องเพิ่มให้อาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องรายงานการทำธุรกรรมการซื้อขายอสังหาฯนั้น เนื่องมาจากต้องการให้ฐานข้อมูลของผู้กระทำผิด เป็นมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศที่มีหน่วยการป้องกันและปรามปราบการฟอกเงินหรือ Egmont group ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกถึง 116 ประเทศ
อย่างไรก็ดี พ.ร.บ.ฟอกเงินดังกล่าว จะต้องมีกฎหมายลูกออกมารองรับเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่า จะสามารถบังคับใช้ได้ภายในต้นปี 2553 อีกทั้งนายหน้าฯยังต้องรายงานธุรกรรมต้องสงสัยว่าจะมีการฟอกเงินต่อปปง.อีกด้วย โดยจะต้องปิดเป็นความลับไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบ หากแจ้งต่อลูกค้าจะถือว่ามีความผิดฐานเปิดเผยข้อมูล
สำหรับบทลงโทษในกฎหมายใหม่ มีบทลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรง คือ ปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท หรือปรับวันละ 5,000 บาท จนกว่าจะมีการรายงาน ซึ่งที่ผ่านมาจะมีกลุ่มต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายเข้ามาตั้งบริษัทเป็นนายหน้าค้าขาย หรือเอาไปซื้ออสังหาฯซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายอสังหาฯตามเกาะต่างๆของไทย โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต สมุย พังงา เป็นต้น ส่วนที่พัทยาก็มีรายงานเข้ามาพอสมควร ขณะนี้รอแต่งตั้งคณะกรรม การธุรกรรมเพื่อตรวจสอบและตัดสินใจการออกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
ทั้งนี้ คณะกรรมการธุรกรรม มีจำนวน 26 คน ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน กรรมการ 13 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 19 คน ส่วนเลขาธิการปปง.เป็นเลขานุการและกรรมการ
จากสถิติตั้งแต่ปี 2543 ปปง.จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายฟอกเงินและทำการอายัดทรัพย์มูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2552 ทำการอายัดทรัพย์มาแล้ว 400 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวสามารถนำยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน 1,800 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังพบว่ามีรายงานธุรกรรมตั้งแต่ปี 43 ถึงเดือนกรกฎาคม 52 จำนวน 6,827,031 ราย แบ่งเป็นรายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด 2,955,640 ราย, รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 3,382,944 ราย และรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย จำนวน 484,447 ราย
กม.ไม่ครอบคลุมผู้ประกอบการจัดสรร
ด้านนายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแสดงความเห็นว่า การที่ปปง.จะให้เฉพาะนายหน้าอสังหาฯ รายงานการทำธุรกรรมการซื้อขาย ถือว่าไม่ครอบคลุมการซื้อขายอสังหาฯทั้งหมด เพราะการซื้อขายผ่านผู้ประกอบการจัดสรรก็ไม่จำเป็นต้องรายงานต่อปปง. ดังนั้น จึงเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมการกระทำผิด
“จะใช้กฎหมายนี้ในไทยเหมือนในต่างประเทศไม่ได้ เพราะในต่างประเทศทุกการซื้อขายอสังหาฯ กฎหมายบังคับให้ผ่านนายหน้าเท่านั้น แต่สำหรับไทยมีน้อยมาก หากเทียบกับการซื้อจากโครงการหรือซื้อขายกันเอง และปกติก็ให้กรมที่ดินเป็นผู้รายงานซึ่งครอบคลุมกว่า จึงไม่ควรบังคับใช้กฎหมายซ้ำซ้อน และยังทำให้นายหน้าทำ อาชีพนี้ลำบากขึ้น เพราะปกติก็ไม่ค่อยมีคนอยากเสียค่านายหน้าอยู่แล้ว” นายพนมกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทนายหน้าขนาดใหญ่เชื่อว่าไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะมีมาตรฐานการซื้อขาย ซึ่งในส่วนของบริษัทเองใช้วิธีโอนเงินผ่านธนาคารทั้งหมด ยกเว้นเงินวางมัดจำที่มีจำนวนไม่มาก แต่ที่น่ากังวลมากที่สุดคือ การรายงานธุรกรรมต้องสงสัย ประเด็นส่วนนี้ไม่มีอะไรมาชี้วัดได้ว่า อะไรต้องสงสัย คนที่เข้ามาซื้อเป็นใครมาจากไหน หากลูกค้าแจ้งว่าทำธุรกิจที่อังกฤษ นายหน้าไม่สามารถไปตรวจสอบได้ หรือ บางรายไว้หนวดไว้เครามาน่าสงสัย แต่เค้าอาจทำธุรกิจโปร่งใสก็เป็นได้
“สิ่งที่เป็นปัญหาคือจะเอาอะไรมาชี้วัดว่าใครน่าสงสัย ในทางปฏิบัติมันทำได้ยาก แล้วหากเราไม่รายงานแต่ดันไปเจอคดีฟอกเงินเข้าเราก็ต้องมีความผิดไปด้วย ไม่เช่นนั้นเราก็ต้องรายงานทุกอัน เพื่อจะได้ไม่มีความผิด”
วานนี้ (26 พ.ย. 52) สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จัดงานสัมมนา เรื่อง “ ความเข้าใจกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำหรับผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ”โดยมีพ.ต.อ.ดร.สีหนาท ประยูรรัตน์ รองเลขาธิการรักษาราชการแทนเลขาธิการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวว่า ที่มาของการกำหนดให้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องรายงานการทำธุรกรรมที่มีค่านายหน้าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
นอกจากนี้ การที่ต้องเพิ่มให้อาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องรายงานการทำธุรกรรมการซื้อขายอสังหาฯนั้น เนื่องมาจากต้องการให้ฐานข้อมูลของผู้กระทำผิด เป็นมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศที่มีหน่วยการป้องกันและปรามปราบการฟอกเงินหรือ Egmont group ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกถึง 116 ประเทศ
อย่างไรก็ดี พ.ร.บ.ฟอกเงินดังกล่าว จะต้องมีกฎหมายลูกออกมารองรับเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่า จะสามารถบังคับใช้ได้ภายในต้นปี 2553 อีกทั้งนายหน้าฯยังต้องรายงานธุรกรรมต้องสงสัยว่าจะมีการฟอกเงินต่อปปง.อีกด้วย โดยจะต้องปิดเป็นความลับไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบ หากแจ้งต่อลูกค้าจะถือว่ามีความผิดฐานเปิดเผยข้อมูล
สำหรับบทลงโทษในกฎหมายใหม่ มีบทลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรง คือ ปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท หรือปรับวันละ 5,000 บาท จนกว่าจะมีการรายงาน ซึ่งที่ผ่านมาจะมีกลุ่มต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายเข้ามาตั้งบริษัทเป็นนายหน้าค้าขาย หรือเอาไปซื้ออสังหาฯซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายอสังหาฯตามเกาะต่างๆของไทย โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต สมุย พังงา เป็นต้น ส่วนที่พัทยาก็มีรายงานเข้ามาพอสมควร ขณะนี้รอแต่งตั้งคณะกรรม การธุรกรรมเพื่อตรวจสอบและตัดสินใจการออกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
ทั้งนี้ คณะกรรมการธุรกรรม มีจำนวน 26 คน ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธาน กรรมการ 13 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 19 คน ส่วนเลขาธิการปปง.เป็นเลขานุการและกรรมการ
จากสถิติตั้งแต่ปี 2543 ปปง.จับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายฟอกเงินและทำการอายัดทรัพย์มูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2552 ทำการอายัดทรัพย์มาแล้ว 400 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวสามารถนำยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน 1,800 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังพบว่ามีรายงานธุรกรรมตั้งแต่ปี 43 ถึงเดือนกรกฎาคม 52 จำนวน 6,827,031 ราย แบ่งเป็นรายงานธุรกรรมที่ใช้เงินสด 2,955,640 ราย, รายงานธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 3,382,944 ราย และรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย จำนวน 484,447 ราย
กม.ไม่ครอบคลุมผู้ประกอบการจัดสรร
ด้านนายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแสดงความเห็นว่า การที่ปปง.จะให้เฉพาะนายหน้าอสังหาฯ รายงานการทำธุรกรรมการซื้อขาย ถือว่าไม่ครอบคลุมการซื้อขายอสังหาฯทั้งหมด เพราะการซื้อขายผ่านผู้ประกอบการจัดสรรก็ไม่จำเป็นต้องรายงานต่อปปง. ดังนั้น จึงเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมการกระทำผิด
“จะใช้กฎหมายนี้ในไทยเหมือนในต่างประเทศไม่ได้ เพราะในต่างประเทศทุกการซื้อขายอสังหาฯ กฎหมายบังคับให้ผ่านนายหน้าเท่านั้น แต่สำหรับไทยมีน้อยมาก หากเทียบกับการซื้อจากโครงการหรือซื้อขายกันเอง และปกติก็ให้กรมที่ดินเป็นผู้รายงานซึ่งครอบคลุมกว่า จึงไม่ควรบังคับใช้กฎหมายซ้ำซ้อน และยังทำให้นายหน้าทำ อาชีพนี้ลำบากขึ้น เพราะปกติก็ไม่ค่อยมีคนอยากเสียค่านายหน้าอยู่แล้ว” นายพนมกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทนายหน้าขนาดใหญ่เชื่อว่าไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะมีมาตรฐานการซื้อขาย ซึ่งในส่วนของบริษัทเองใช้วิธีโอนเงินผ่านธนาคารทั้งหมด ยกเว้นเงินวางมัดจำที่มีจำนวนไม่มาก แต่ที่น่ากังวลมากที่สุดคือ การรายงานธุรกรรมต้องสงสัย ประเด็นส่วนนี้ไม่มีอะไรมาชี้วัดได้ว่า อะไรต้องสงสัย คนที่เข้ามาซื้อเป็นใครมาจากไหน หากลูกค้าแจ้งว่าทำธุรกิจที่อังกฤษ นายหน้าไม่สามารถไปตรวจสอบได้ หรือ บางรายไว้หนวดไว้เครามาน่าสงสัย แต่เค้าอาจทำธุรกิจโปร่งใสก็เป็นได้
“สิ่งที่เป็นปัญหาคือจะเอาอะไรมาชี้วัดว่าใครน่าสงสัย ในทางปฏิบัติมันทำได้ยาก แล้วหากเราไม่รายงานแต่ดันไปเจอคดีฟอกเงินเข้าเราก็ต้องมีความผิดไปด้วย ไม่เช่นนั้นเราก็ต้องรายงานทุกอัน เพื่อจะได้ไม่มีความผิด”