xs
xsm
sm
md
lg

สุเทือกžปัดตั้งฉก.ไล่ล่านช.แม้วž

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ปฏิเสธ วานนี้ (26 พ.ย.) ว่า ไม่เคยพูดว่าจะตั้งทีมเฉพาะกิจติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาดำเนินคดีในไทย แต่ตอนนี้เราก็ทำไปตามหน้าที่ โดยกระทรวงการต่างประเทศก็ทำไป ส่วนการขอ ความร่วมมือจากทางดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการให้สัมภาษณ์หมิ่นสถาบันผ่านไทม์ ออนไลน์นั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ
วันเดียวกันมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ วันสุดท้าย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี เรื่องการใช้อำนาจรัฐเกินกว่าเหตุว่า รัฐบาลพยายามไล่ล่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องหลัก มากกว่าบริหารราชการแผ่นดิน โดยเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณรับเป็นที่ปรึกษา ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และได้นั่งเครื่องบินส่วนตัวมาที่กัมพูชา ได้รับอนุญาต ให้ผ่านน่านฟ้าไทยได้แล้วทั้งไปแล้วกลับ โดยไม่ต้องแจ้งชื่อผู้โดยสาร ที่ต้องเก็บเป็นความลับ แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ระบุในวันที่ 15 พ.ย.ว่าเส้นทางการบินไม่เป็นความลับ เครื่องบินที่พ.ต.ท.ทักษิณเช่าได้ขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบินผ่านน่านฟ้าไทย ดังนั้นไม่จำเป็น ต้องล้วงความลับจากกัมพูชา และทันทีที่รัฐบาลทราบข้อมูลก็สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ยกเลิกบินผ่านน่านฟ้าไทยขากลับ แต่รัฐบาลไปแอบรู้มาได้อย่างไรว่าเครื่องบินเอ็น 300 BZ มีพ.ต.ท.ทักษิณโดยสารมาด้วย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ มาที่กัมพูชา ตอนเดินลงจากเครื่องบินสื่อก็ถ่ายทอดภาพ จึงเห็นหมายเลขเครื่องบิน ตนก็สงสัยว่า บินจากไหนไปไหน เพราะเป็นเรื่องความมั่นคง จึงไปตรวจสอบและถามไปทางกรมขนส่งทางอากาศ กรมคมนาคมทางอากาศ วิทยุการบินของประเทศ ก็ได้รับคำตอบว่า เครื่องบินลำนี้ ยื่นหนังสือขอบินผ่านน่านฟ้า ขาไป 9 พฤศจิกายน ขากลับ 13 พฤศจิกายน หน่วยงานที่รับผิดชอบเห็นว่า เป็นการบินไม่ประจำ ไม่มุ่งประสงค์การค้า และอากาศยานทะเบียนอเมริกาตามสัญญาชิคาโก้ ก็เลยอนุญาต
ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่มีใครผิด แต่เมื่อเครื่องบินไปจอด คนที่ทำผิดจนศาลตัดสินแล้วและหนีศาล เดินลงมา ก็เป็นการที่เครื่องบินบรรทุกผู้โดยสารที่ไม่เหมาะสมผ่านประเทศไทย ตนก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบเพราะคนๆ นี้มีการกระทำที่อาจกระทบความมั่นคง จึงสั่งการไปยังอธิบดีกรมการขนส่ง และวิทยุการบิน ให้ยกเลิก การอนุญาตบินขากลับที่ต้องบินผ่านประเทศไทย และแจ้งไปยังบริษัทนี้ว่า ไม่อนุญาตให้เครื่องบินที่เชื่อว่าจะมีพ.ต.ท.ทักษิณ โดยสาร บินผ่านน่านฟ้า
ดังนั้นที่ตนสั่งการเป็นการใช้อำนาจตามปกติที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง ซึ่งเมื่อสั่งการไป ก็มีการดำเนินการ และเครื่องบินดังกล่าวก็ไม่ได้บินผ่านน่านฟ้าไทย ซึ่งมีเอกสารทั้งหมดยืนยันและเข้าถึงได้ตามช่องทางปกติ ไม่ต้องให้วิศวกร ไปจารกรรมข้อมูลจากกัมพูชาส่งมาให้ ฉะนั้นถ้ามีการสมคบให้วิศวกรรับบาป ก็ให้เป็นบาปของคนที่สมคบกันใส่ความ
น.อ.อนุดิษฐ์ ถามต่อว่า วันนี้ นายศิวิลักษณ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทย ที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัวฐานจารกรรม กำลังเป็นแพะรับบาป วันนี้ชัดเจนว่า ข้อมูลทั้งหมดไม่ได้แอบรับทราบ ไม่ได้เป็นการจารกรรมข้อมูล อยากถามว่าวันนี้นายศิวิลักษณ์ ชุติพงษ์ วิศวกร ที่ถูกจับ รัฐบาลไทยยังไม่มีมาตรการจะช่วยเหลือ วันนี้เดือนร้อน เพราะการกระทำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล จะช่วยเหลือคนไทยอย่างไร
นายสุเทพ ตอบว่า มีแต่ท่านกับเขมรที่พูดกันว่านายศิวลักษณ์เอาข้อมูล มาให้ตนคนไทยได้ยินหมดว่ามีกลุ่มของท่าน กับเขมรที่พูดทิศทางเดียวกัน จึงไม่อยากตอบโต้อะไรมาก รัฐบาลจะช่วยตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยได้ส่งเจ้าหน้ากระทรวงการต่าประเทศไปพบ ไปดู หากไม่มีทนายก็หาให้ และได้เตรียมเอกสารหลักฐานเหล่านี้ให้ทนายไปสู้คดี สามารถยืนยันกับทางการกัมพูชา ส่วนกระบวนการยุติธรรมจะทำอย่างไร เราก็ต้องเคารพ
น.อ.อนุดิษฐ์ ถามอีกว่าข้อมูลที่ได้มาทราบว่าท่านสั่งการให้กองทัพอากาศ นำเครื่องบินขับไล่ติดอาวุธเต็มพิกัด จรวดสังหาร ปืนกล เพื่อปฏิบัติภารกิจ หากมีการให้บินขึ้นจริงมีความพยายามอย่างยิ่งยวดหรือไม่ เพื่อทำลายเครื่องบินพลเรือน ทั้งที่มีกฎสากล ห้ามเอาไว้ว่าห้ามใช้อาวุธปฏิบัติต่อเครื่องบินพลเรือนเด็ดขาด
นายสุเทพ ชี้แจงว่า ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนถูกต้องทุกอย่าง ดังนั้นหากมี เจตนาร้ายจริงก็ปล่อยให้เขาบินเข้ามาแล้วดำเนินการตามกฎหมาย ทั้งนี้ไม่ได้สั่งการให้เครื่องบินรบขึ้นไป แต่กองทัพอากาศสั่งให้เครื่องบินรบเตรียมพร้อม เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องบินลำดังกล่าวบินเข้ามา เมื่อเครื่องบินลำดับกล่าวไม่ได้เข้ามา เครื่องบินก็บินลาดตระเวนตามปกติ
นายธานี ทองภักดี รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวภายหลังการหารือทวิภาคีระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับนายอาร์เอ็ม มาร์ตี้ นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย กว่า 1 ชั่วโมงว่า การพบปะกันครั้งนี้ได้มีการหารือในหลายเรื่อง ทั้งในกรอบความร่วมมืออาเซียน และทวิภาคีระหว่างกัน โดยนายมาร์ตี้ ได้กล่าวชื่นชม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอาเซียนได้แสดงบทบาทผลักดันแนวทางการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ ในการประชุมจี 20ได้เป็นอย่างดี
และยังได้ขอบคุณไทย ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนอินโดนีเซียที่ได้ประสบพิบัติภัยที่เกาะสุมาตรา ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้ชี้แจงถึงการเปลี่ยน กฎหมายสัมปทานประมงของอินโดนีเซีย โดยจะมีการหารือในการการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย- อินโดนีเซีย ซึ่งจะมีการกำหนดวันอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ ทั้งสองยังมีการหารือถึงความร่วมมือกัน ในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ ภายใต้ความร่วมมือสหประชาชาติ ซึ่งไทยกับอินโดนีเซียจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องอย่างใกล้ชิด
นายธานี กล่าวถึงการที่อินโดนีเซียจะเป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งไทย-กัมพูชาว่า นายกษิต ได้อธิบายย้ำถึงจุดยืนของไทย ให้อินโดนีเซียทราบ ซึ่งก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงให้ประธานาธิบดีของอินโดนีเซียได้ทราบ ในการเดินทางไปร่วมประชุมที่เอเปค เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากเหตุใด และเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลของสองประเทศ โดยทาง อินโดนีเซียยืนยันว่าจะอยู่ในฐานะรับฟังข้อมูลด้วยดี และหวังว่า ปัญหาจะคลี่คลายในไม่ช้า
กำลังโหลดความคิดเห็น