หากเอ่ยถึงนักการเมืองรุ่นเก๋าแล้ว และมีวาทะที่คม จัดจ้านแล้ว หลายคนต้องนึกถึงนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และยังเป็นเจ้าของฉายา”ชิมไปบ่นไป” รายการทำอาหาร ยกโขยง6โมงเช้า" และเขียนหนังสือ เลี้ยงแมวที่เขารัก
แต่ล่าสุดเช้าวานนี้ (24 พ.ย.) นายสมัคร ได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้วที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และได้มีการเคลื่อนศพไปบำเพ็ญกุศล ที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันนี้(25)
สำหรับภูมิหลังนายสมัคร เป็นบุตรคนที่ 4 ของ เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของมหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
โดยได้สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ( CP ) มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภาและกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ.2505 สถานะการเงินของภรรยาจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัครเลยมิได้ทำงานประจำให้หน่วยงานใด และได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว
เริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ.2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ.2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ.2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายสมัครได้รับการแต่งตั้งในคณะรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ในรัฐบาลหม่อราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช , ถัดมาในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ,รัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ,รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ,รัฐบาล รัฐบาลพล.อ.สุจินดา คราประยูร ,รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปะอาชา ,รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
หลังจากนั้น นายสมัครได้แข่งขันการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ และได้รับเลือกตั้ง พ.ศ.2543 ด้วยคะแนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โดยอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ระหว่างพ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯคนที่ 13 และเป็นคนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากพ้นตำแหน่งผู้ว่าฯกทม. ในคดีเรื่องการทุจริตกรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ก็ยังมีการดำเนินการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ได้ลงสมัครเลือกตั้งในสมัยที่ 2 และนายสมัคร ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยทำพิธีรับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก ซึ่งนายสมัครดำรงตำแหน่งนายกฯตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค.ถึง ก.ย. พ.ศ. 2551
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 ก.ย.51 นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182(7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้นายสมัครสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา นายสมัครเคยถูกดำเนินคดีจำนวนมาก รวมถึงยังได้ปะทะคารมกับสื่อมวลชนเสมอๆ จนเป็นโจษจันกันไปทั่ววงการและเป็นที่รับรู้ของสังคมอีกด้านหนึ่ง
แต่ล่าสุดเช้าวานนี้ (24 พ.ย.) นายสมัคร ได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้วที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และได้มีการเคลื่อนศพไปบำเพ็ญกุศล ที่ศาลา 100 ปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันนี้(25)
สำหรับภูมิหลังนายสมัคร เป็นบุตรคนที่ 4 ของ เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของมหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
โดยได้สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ( CP ) มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภาและกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ.2505 สถานะการเงินของภรรยาจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัครเลยมิได้ทำงานประจำให้หน่วยงานใด และได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว
เริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ.2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ.2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ.2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายสมัครได้รับการแต่งตั้งในคณะรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ในรัฐบาลหม่อราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช , ถัดมาในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ,รัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ,รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ,รัฐบาล รัฐบาลพล.อ.สุจินดา คราประยูร ,รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปะอาชา ,รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
หลังจากนั้น นายสมัครได้แข่งขันการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ และได้รับเลือกตั้ง พ.ศ.2543 ด้วยคะแนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โดยอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ระหว่างพ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯคนที่ 13 และเป็นคนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากพ้นตำแหน่งผู้ว่าฯกทม. ในคดีเรื่องการทุจริตกรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ก็ยังมีการดำเนินการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ได้ลงสมัครเลือกตั้งในสมัยที่ 2 และนายสมัคร ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยทำพิธีรับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก ซึ่งนายสมัครดำรงตำแหน่งนายกฯตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค.ถึง ก.ย. พ.ศ. 2551
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 ก.ย.51 นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182(7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้นายสมัครสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา นายสมัครเคยถูกดำเนินคดีจำนวนมาก รวมถึงยังได้ปะทะคารมกับสื่อมวลชนเสมอๆ จนเป็นโจษจันกันไปทั่ววงการและเป็นที่รับรู้ของสังคมอีกด้านหนึ่ง