ASTVผู้จัดการรายวัน - "บัณฑูร"วิพากษ์สถาบันการเมือง สถาบันสื่อสารมวลชนปัจจุบันมีบทบาท อำนาจมากที่สุดในสังคมไทย แนะสื่อควรใช้อำนาจในทางที่ถูกต้องและกัดไม่ปล่อยเรื่องคอรัปชั่น ด้านเศรษฐกิจปีหน้าฟื้นแน่ ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก แต่ไปได้อย่างช้าๆ
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวในงานเสวนา “สื่อมวลชน ...ผู้ทำได้ดีกว่าใคร ๆ” ซึ่งจัดขึ้นโดยหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญว่า ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยมี 2 สถาบันหลักที่มีบทบาทและอำนาจต่อสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก คือสื่อสารมวลชนและการเมือง โดยสื่อมวลชนนั้นจะมีอำนาจในทางที่ทำให้ผู้บริโภคข่าวสารมีอารมณ์และความคิดเป็นไปในทิศทางใดก็ได้ ด้วยการใช้อำนาจในทางที่ไม่ถือว่าผิด แต่ในสถานการณ์บ้านเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกำลังเป็นไปในลักษณะที่ซับซ้อน ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วสื่อสารมวลชนก็จะต้องใช้อำนาจไปในทางสร้างสรรค์และไม่สร้างความแตกแยกให้กับบ้านเมือง
“การเมือง และสื่อมวลชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุด โดยการเมืองเป็นผู้บริหารประเทศ ขณะที่สื่อมวลชนมีอำนาจมากกว่าคนอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ หรือดูโทรศัพท์ คนจะเชื่อข่าวที่รายงานออกมามากกว่าครึ่ง ซึ่งหากใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง ก็จะนำไปสู่ความแตกแยกได้ สิ่งที่ออกมาจากสื่อต้องยอมรับว่าเวลานี้นำไปสู่ความแตกแยก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะสังคมไทยในปัจจุบันมีแต่การใช้อารมณ์เข้าฟาดฟันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ดังนั้น ถ้าสื่อสารมวลชนมีอำนาจแล้วก็ควรพิจารณาในการใส่ข้อมูลและข้อความที่ตรงกับหลักความเป็นจริง แล้วก็สื่อออกไปในแนวทางที่ไม่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม” นายบัณฑูร กล่าว
แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วก็ต้องยอมรับว่าสื่อสารมวลชนก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่ทำหน้าที่ในลักษณะของธุรกิจ ต้องคำนึงถึงผลกำไรจาการที่หนังสือพิมพ์ของบริษัทตนเองต้องขายได้มากที่สุด ด้วยการนำเสนอข่าวสารที่พิจารณาแล้วว่าตรงกับความต้องการของผู้บริโภค จนในบางครั้งผู้บริโภคเกิดอารมณ์ร่วมและกลายเป็นความแตกแยกขึ้น เพราะฉะนั้นสื่อสารมวลชนก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องความสมดุลระหว่างธุรกิจทางการตลาดและความถูกต้องในการตอบสนองข่าวสารต่อผู้บริโภคด้วย
นายบัณฑูร ยังกล่าวอีกว่า ในแง่ของการทำงานของสื่อสารมวลชนนั้น สิ่งที่ควรกระทำคือเรื่องของการสำรวจจิตและทดสอบว่าแนวทางของการนำเสนอข่าวว่าเป็นไปในทิศทางใด ถูกต้องต่อสังคมโดยรวมหรือไม่ ซึ่งตนเองมีข้อเสนอแนะต่อสื่อสารมวลชนในการทำงาน ประกอบด้วย 2 ประเด็นคือ 1.สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เกิดการคอรัปชั่น มีการโกงกิน มีการทุจริต ก็ต้องเกาะติดไม่ให้เกิดการโกงกินง่ายๆหรือกัดไม่ปล่อย 2.ในกรณีที่สังคมมีความแตกแยก มีความเห็นไม่ตรงกันเกิดขึ้น สื่อก็ต้องคิดว่าเสนอข่าวอย่างไรให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง หรือสื่อต้องใช้อำนาจให้ถูกทาง
“คนมีอำนาจไม่ว่าเป็นนักการเมือง หรือ สื่อไม่ควรเอาเปรียบในยุคที่สังคมอ่อนแอ ไม่ทนงตนว่ามีอำนาจแล้วลำพองตัว แต่ควรใช้อำนาจยกระดับให้สังคมมีความเข้มแข็ง เพราะไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่ความล่มสลายได้” นายบัณฑูร กล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนของสภาพเศรษฐกิจในปี 2553 นั้นเชื่อว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่จะเป็นไปในลักษณะแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป โดยประเทศไทยเองปัจจัยทางด้านความเชื่อมั่นก็จะกลับมามีมากขึ้น แต่ประเด็นปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ระบบเศรษฐกิจแล้ว แต่อยู่กระบวนการจัดการทางการเมืองที่ในปัจจุบันต้องสร้างให้เกิดความเชื่อมั่น ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วตัวรัฐบาลเองก็ไม่มีเวลามาจัดการแก้ปัญหาดังกล่าวได้เต็มที่มากนัก เพราะต้องคอยแก้ปัญหาด้านอื่น
“ทั้งนี้ ถ้าถามถึงสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องปัญหาการเมืองที่ยังไม่นิ่ง รวมไปถึงการจัดการระยะยาวในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เพราะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศยังต้องพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องของการโทรคมนาคม การศึกษา และด้านกฎหมาย ส่วนโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลในปัจจุบันนี้ก็เป็นการกระตุ้นชั่วคราวที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน แต่ก็ต้องมีการกระตุ้นเช่นกันไ” นายบัณฑูร กล่าว.
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวในงานเสวนา “สื่อมวลชน ...ผู้ทำได้ดีกว่าใคร ๆ” ซึ่งจัดขึ้นโดยหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญว่า ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยมี 2 สถาบันหลักที่มีบทบาทและอำนาจต่อสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก คือสื่อสารมวลชนและการเมือง โดยสื่อมวลชนนั้นจะมีอำนาจในทางที่ทำให้ผู้บริโภคข่าวสารมีอารมณ์และความคิดเป็นไปในทิศทางใดก็ได้ ด้วยการใช้อำนาจในทางที่ไม่ถือว่าผิด แต่ในสถานการณ์บ้านเมืองและสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกำลังเป็นไปในลักษณะที่ซับซ้อน ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วสื่อสารมวลชนก็จะต้องใช้อำนาจไปในทางสร้างสรรค์และไม่สร้างความแตกแยกให้กับบ้านเมือง
“การเมือง และสื่อมวลชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุด โดยการเมืองเป็นผู้บริหารประเทศ ขณะที่สื่อมวลชนมีอำนาจมากกว่าคนอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ หรือดูโทรศัพท์ คนจะเชื่อข่าวที่รายงานออกมามากกว่าครึ่ง ซึ่งหากใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง ก็จะนำไปสู่ความแตกแยกได้ สิ่งที่ออกมาจากสื่อต้องยอมรับว่าเวลานี้นำไปสู่ความแตกแยก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะสังคมไทยในปัจจุบันมีแต่การใช้อารมณ์เข้าฟาดฟันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ดังนั้น ถ้าสื่อสารมวลชนมีอำนาจแล้วก็ควรพิจารณาในการใส่ข้อมูลและข้อความที่ตรงกับหลักความเป็นจริง แล้วก็สื่อออกไปในแนวทางที่ไม่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม” นายบัณฑูร กล่าว
แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วก็ต้องยอมรับว่าสื่อสารมวลชนก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่ทำหน้าที่ในลักษณะของธุรกิจ ต้องคำนึงถึงผลกำไรจาการที่หนังสือพิมพ์ของบริษัทตนเองต้องขายได้มากที่สุด ด้วยการนำเสนอข่าวสารที่พิจารณาแล้วว่าตรงกับความต้องการของผู้บริโภค จนในบางครั้งผู้บริโภคเกิดอารมณ์ร่วมและกลายเป็นความแตกแยกขึ้น เพราะฉะนั้นสื่อสารมวลชนก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องความสมดุลระหว่างธุรกิจทางการตลาดและความถูกต้องในการตอบสนองข่าวสารต่อผู้บริโภคด้วย
นายบัณฑูร ยังกล่าวอีกว่า ในแง่ของการทำงานของสื่อสารมวลชนนั้น สิ่งที่ควรกระทำคือเรื่องของการสำรวจจิตและทดสอบว่าแนวทางของการนำเสนอข่าวว่าเป็นไปในทิศทางใด ถูกต้องต่อสังคมโดยรวมหรือไม่ ซึ่งตนเองมีข้อเสนอแนะต่อสื่อสารมวลชนในการทำงาน ประกอบด้วย 2 ประเด็นคือ 1.สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เกิดการคอรัปชั่น มีการโกงกิน มีการทุจริต ก็ต้องเกาะติดไม่ให้เกิดการโกงกินง่ายๆหรือกัดไม่ปล่อย 2.ในกรณีที่สังคมมีความแตกแยก มีความเห็นไม่ตรงกันเกิดขึ้น สื่อก็ต้องคิดว่าเสนอข่าวอย่างไรให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง หรือสื่อต้องใช้อำนาจให้ถูกทาง
“คนมีอำนาจไม่ว่าเป็นนักการเมือง หรือ สื่อไม่ควรเอาเปรียบในยุคที่สังคมอ่อนแอ ไม่ทนงตนว่ามีอำนาจแล้วลำพองตัว แต่ควรใช้อำนาจยกระดับให้สังคมมีความเข้มแข็ง เพราะไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่ความล่มสลายได้” นายบัณฑูร กล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนของสภาพเศรษฐกิจในปี 2553 นั้นเชื่อว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่จะเป็นไปในลักษณะแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป โดยประเทศไทยเองปัจจัยทางด้านความเชื่อมั่นก็จะกลับมามีมากขึ้น แต่ประเด็นปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ระบบเศรษฐกิจแล้ว แต่อยู่กระบวนการจัดการทางการเมืองที่ในปัจจุบันต้องสร้างให้เกิดความเชื่อมั่น ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วตัวรัฐบาลเองก็ไม่มีเวลามาจัดการแก้ปัญหาดังกล่าวได้เต็มที่มากนัก เพราะต้องคอยแก้ปัญหาด้านอื่น
“ทั้งนี้ ถ้าถามถึงสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องปัญหาการเมืองที่ยังไม่นิ่ง รวมไปถึงการจัดการระยะยาวในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เพราะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศยังต้องพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องของการโทรคมนาคม การศึกษา และด้านกฎหมาย ส่วนโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลในปัจจุบันนี้ก็เป็นการกระตุ้นชั่วคราวที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน แต่ก็ต้องมีการกระตุ้นเช่นกันไ” นายบัณฑูร กล่าว.