ASTVผู้จัดการรายวัน-“อนันท์”เตรียมนำทัพคณะกรรมการ 4 ฝ่ายลงพื้นที่มาบตาพุด 5-6 ธ.ค.นี้ เผยถกนัดแรกวางกรอบทำงานคาดใช้เวลา 4-5 สัปดาห์หาทางออก ยันไม่มีผลต่อกระบวนการพิจารณาของศาลฯ
นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฎิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคเอกชนผู้ประกอบการ เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมนัดแรกอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการชุดนี้จะยึดกรอบการทำงานตามมาตรา 67(2)ในการปฎิบัติงานเพื่อหาทางออกให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยคาดหวังที่จะแก้ไขปัญหาให้ได้ภายใน 4-5สัปดาห์
“คณะทำงานไม่ได้เป็นผู้ที่จะมาหาว่าใครผิดใครถูก แต่จะประเมินเพื่อหาทางออกที่ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยมีการยกปัญหาเร่งด่วนขึ้นมาหารือ เช่น ประกาศ 8 ประเภทกิจการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่างพระราชบัญญัติควบคุมสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลจากการคณะกรรมการชุดนี้จะไม่มีผลต่อกระบวนการศาล แต่จะมีผลต่อรัฐบาลในกระบวนการนิติบัญญัติมากกว่า แต่หากมีอะไรที่ต้องถอนหรือชะลอก็สามารถทำได้”นายอานันท์ กล่าว
ทั้งนี้ช่วง 4-5 เดือนนี้ที่อยู่ระหว่างการวางแผนแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น จะปล่อยให้เกิดช่องว่างไม่ได้ต้องมีสร้างกติกาในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันคือ ต้องเข้ามาตรฐานระดับโลก ภาคเอกชนยอมรับและปฎิบัติตามได้ และต้องพิสูจน์ได้ว่ามลพิษที่ออกมาเป็นที่มาของโรคที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฎิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะมีการปะชุมทุกวันจันทร์และวันพุธ เวลาประมาณ 13.30 น. ที่บ้านพิษณุโลก โดยในวันที่ 5-6 ธ.ค.นี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดระยองและจะมีการประชุมหารือนัดพิเศษที่ระยองด้วย
นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฎิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ และภาคเอกชนผู้ประกอบการ เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมนัดแรกอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการชุดนี้จะยึดกรอบการทำงานตามมาตรา 67(2)ในการปฎิบัติงานเพื่อหาทางออกให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยคาดหวังที่จะแก้ไขปัญหาให้ได้ภายใน 4-5สัปดาห์
“คณะทำงานไม่ได้เป็นผู้ที่จะมาหาว่าใครผิดใครถูก แต่จะประเมินเพื่อหาทางออกที่ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยมีการยกปัญหาเร่งด่วนขึ้นมาหารือ เช่น ประกาศ 8 ประเภทกิจการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่างพระราชบัญญัติควบคุมสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลจากการคณะกรรมการชุดนี้จะไม่มีผลต่อกระบวนการศาล แต่จะมีผลต่อรัฐบาลในกระบวนการนิติบัญญัติมากกว่า แต่หากมีอะไรที่ต้องถอนหรือชะลอก็สามารถทำได้”นายอานันท์ กล่าว
ทั้งนี้ช่วง 4-5 เดือนนี้ที่อยู่ระหว่างการวางแผนแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น จะปล่อยให้เกิดช่องว่างไม่ได้ต้องมีสร้างกติกาในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันคือ ต้องเข้ามาตรฐานระดับโลก ภาคเอกชนยอมรับและปฎิบัติตามได้ และต้องพิสูจน์ได้ว่ามลพิษที่ออกมาเป็นที่มาของโรคที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฎิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะมีการปะชุมทุกวันจันทร์และวันพุธ เวลาประมาณ 13.30 น. ที่บ้านพิษณุโลก โดยในวันที่ 5-6 ธ.ค.นี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดระยองและจะมีการประชุมหารือนัดพิเศษที่ระยองด้วย