ASTVผู้จัดการรายวัน - ทหารไทยเข็นพอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีสิ้นปีให้แตะ 1.1 แสนล้านบาท จากการต่อยอดความสำเร็จ “สินเชื่อ 3 เท่า ด่วน! ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” รับเงินไวภายใน 15 วัน เสริมสภาพคล่องธุรกิจเอสเอ็มอี พร้อมเปิดตัว 16 พ.ย.นี้
นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดผยว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตของฐานสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) คงค้างในสิ้นปี 2552 นี้ไว้ที่ 1.1 แสนล้านบาท จากปัจจุบันฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างของธนาคารอยู่ที่ 8.6 หมื่นล้านบาท ส่วนเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้ก็ยังยืนยันไว้ที่ 10% หรือคิดเป็นมูลค่าสินเชื่อปล่อยใหม่จะอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาหลังจากที่ธนาคารมีการปรับโครงสร้างคือย้ายสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อเอสเอ็มอีจากการดูแลของสาขามาอยู่ที่สำนักงานใหญ่
ด้านส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) สินเชื่อเอสเอ็มอี ธนาคารตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์ เป็น 14% ภายในระยะเวลา 4 ปี จากปัจจุบันมาร์เกตแชร์สินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 7% ส่วนฐานลูกค้าเอสเอ็มอีมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 3-4 หมื่นราย ซึ่งแบ่งเป็นลูกค้าขนาดกลาง (Midium) อยู่ที่กว่า 4 พันราย และลูกค้าขนาดเล็ก (Small) อีก 2-3 หมื่นราย
ทั้งนี้ หลังจากธนาคารได้เปิดตัวแคมเปญ “สินเชื่อ 3 เท่า ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฎว่ามีผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อมากกว่า 1 พันราย หรือคิดเป็นวงเงินมากกว่า 9 พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้ธนาคารกำลังทยอยทำวงเงินสินเชื่อ โดยผลตอบรับจากลูกค้าดีมากหลังจากที่ธนาคารนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและมีการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ จึงทำให้ธนาคารมีการออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ 3 เท่า ด่วน! ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” ออกมาเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยจะมีการอนุมัติวงเงินสูงสุด 3 เท่าของสินทรัพย์ค้ำประกันเหมือนเดิม แต่สิทธิพิเศษที่เพิ่มมาคือลูกค้าสามารถรับเงินได้ภายใน 15 วันทำการหลังจากยื่นเอกสารการสมัครครบ ซึ่งธนาคารคาดว่าจะมียอดขอสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นอีก 1 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ หลังจากออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยลูกค้าสามารถขอรับบริการได้ทุกสาขาของธนาคาร ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป
“หลังจากธนาคารเปิดตัว “สินเชื่อ 3 เท่า ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” เมื่อเดือน ต.ค. ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับดีมาก เพราะลูกค้าที่ขอสินเชื่อจำนวน 60-70% เป็นลูกค้าใหม่ในขณะที่ลูกค้าเก่าก็มีมาขอสินเชื่อบ้างแต่ไม่มากนัก และในจำนวนลูกค้าดังกล่าว 90% จะขอวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด 1 พันราย นอกจากนี้ การที่ธนาคารสามารถอนุมัติสินเชื่อโดยใช้ระยะเวลาน้อยลงนั้น เป็นผลมาจากการที่ธนาคารมีการลดขั้นตอนการทำงาน และลดเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อให้น้อยลง เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก แต่ในส่วนของมาตรฐานหลักของการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารยังเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังจากการอนุมัติสินเชื่อ” นายสยาม กล่าว
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันความต้องการใช้สินเชื่อของเอสเอ็มอียังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความต้องการใช้เงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อเพื่อการลงทุนยังมีไม่มากนักเนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก ทำให้การลงทุนใหม่ๆเกิดขึ้นไม่มากนัก ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10% ซึ่งถือเป็นระดับที่ทรงตัวและไม่มีการเพิ่มขึ้น โดยเอ็นพีแอลส่วนใหญ่ของธนาคารเป็นเอ็นพีแอลเก่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีต แต่เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่มีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งธนาคารจะพยายามควบคุมระดับเอ็นพีแอลไม่ให้เพิ่มขึ้น และสิ้นปีนี้มีโอกาสที่เอ็นพีแอลของธนาคารจะปรับลดลงหากสินเชื่อของธนาคารมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดผยว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตของฐานสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) คงค้างในสิ้นปี 2552 นี้ไว้ที่ 1.1 แสนล้านบาท จากปัจจุบันฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างของธนาคารอยู่ที่ 8.6 หมื่นล้านบาท ส่วนเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้ก็ยังยืนยันไว้ที่ 10% หรือคิดเป็นมูลค่าสินเชื่อปล่อยใหม่จะอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาหลังจากที่ธนาคารมีการปรับโครงสร้างคือย้ายสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อเอสเอ็มอีจากการดูแลของสาขามาอยู่ที่สำนักงานใหญ่
ด้านส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) สินเชื่อเอสเอ็มอี ธนาคารตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์ เป็น 14% ภายในระยะเวลา 4 ปี จากปัจจุบันมาร์เกตแชร์สินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 7% ส่วนฐานลูกค้าเอสเอ็มอีมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 3-4 หมื่นราย ซึ่งแบ่งเป็นลูกค้าขนาดกลาง (Midium) อยู่ที่กว่า 4 พันราย และลูกค้าขนาดเล็ก (Small) อีก 2-3 หมื่นราย
ทั้งนี้ หลังจากธนาคารได้เปิดตัวแคมเปญ “สินเชื่อ 3 เท่า ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฎว่ามีผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อมากกว่า 1 พันราย หรือคิดเป็นวงเงินมากกว่า 9 พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้ธนาคารกำลังทยอยทำวงเงินสินเชื่อ โดยผลตอบรับจากลูกค้าดีมากหลังจากที่ธนาคารนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและมีการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ จึงทำให้ธนาคารมีการออกผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อ 3 เท่า ด่วน! ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” ออกมาเพิ่มเติมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยจะมีการอนุมัติวงเงินสูงสุด 3 เท่าของสินทรัพย์ค้ำประกันเหมือนเดิม แต่สิทธิพิเศษที่เพิ่มมาคือลูกค้าสามารถรับเงินได้ภายใน 15 วันทำการหลังจากยื่นเอกสารการสมัครครบ ซึ่งธนาคารคาดว่าจะมียอดขอสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นอีก 1 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ หลังจากออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยลูกค้าสามารถขอรับบริการได้ทุกสาขาของธนาคาร ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป
“หลังจากธนาคารเปิดตัว “สินเชื่อ 3 เท่า ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” เมื่อเดือน ต.ค. ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับดีมาก เพราะลูกค้าที่ขอสินเชื่อจำนวน 60-70% เป็นลูกค้าใหม่ในขณะที่ลูกค้าเก่าก็มีมาขอสินเชื่อบ้างแต่ไม่มากนัก และในจำนวนลูกค้าดังกล่าว 90% จะขอวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 20 ล้านบาท ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด 1 พันราย นอกจากนี้ การที่ธนาคารสามารถอนุมัติสินเชื่อโดยใช้ระยะเวลาน้อยลงนั้น เป็นผลมาจากการที่ธนาคารมีการลดขั้นตอนการทำงาน และลดเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อให้น้อยลง เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก แต่ในส่วนของมาตรฐานหลักของการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารยังเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังจากการอนุมัติสินเชื่อ” นายสยาม กล่าว
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันความต้องการใช้สินเชื่อของเอสเอ็มอียังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความต้องการใช้เงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อเพื่อการลงทุนยังมีไม่มากนักเนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก ทำให้การลงทุนใหม่ๆเกิดขึ้นไม่มากนัก ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10% ซึ่งถือเป็นระดับที่ทรงตัวและไม่มีการเพิ่มขึ้น โดยเอ็นพีแอลส่วนใหญ่ของธนาคารเป็นเอ็นพีแอลเก่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีต แต่เอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่มีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งธนาคารจะพยายามควบคุมระดับเอ็นพีแอลไม่ให้เพิ่มขึ้น และสิ้นปีนี้มีโอกาสที่เอ็นพีแอลของธนาคารจะปรับลดลงหากสินเชื่อของธนาคารมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น