ASTVผู้จัดการรายวัน - ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส ไตรมาสนี้กำไร 688 ล้านบาท ขยับเพิ่มจากปีก่อนเกือบ 19% เหตุกำไรขั้นต้นเพิ่มจากงวดเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งรายได้จากกลุ่มบริษัทก็ต่ำลงทุกหน่วยงานบวกกับสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ด้านไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ กำไรทรุดจากปีก่อน 50% เหตุปริมาณขายและส่วนต่างราคาขายกับวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้รายได้จากการขายต่ำกว่าปี 51 จากการหยุดผลิตเพื่อซ่อมบำรุง
นายวินสัน มุง ชู ฮุย กรรมการ บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA แจ้งผลงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 687.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี 580.26 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 107.33 ล้านบาท คิดเป็น 18.49% ขณะที่อัตราส่วนกำไรขั้นต้นในไตรมาสนี้มี 20 % ใกล้เคียงกับไตรมาส 3/51 จากการประเมินมูลค่าค่าสินค้าคงคลังใหม่ในไตรมาส 3/52 จำนวน 30 ล้านบาท ทำให้กำไรลดลง 1 % ซึ่งถูกชดเชยกับต้นทุนแรงงานที่ลดลงและมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ขณะที่รายได้จากการขายของกลุ่มบริษัทลดลง 11% เมื่อเทียบปีต่อปีหรือ 3.62 พันล้านบาทในไตรมาส 3/52 เมื่อเทียบกับ 4.06 พันล้านบาทในไตรมาส 3/51 รายได้จากการขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง 11.3% หรือ 106.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 3/52 เทียบกับ 119.9 ล้านดดลลาร์สหรัฐในไตรมาส 3/51 กำไรจากการดำเนินงานลดลง 10% หรือ 565.0 ล้านบาทในไตรมาส 3/52 เทียบกับ 629.1 ล้านบาทในไตรมาส 3/51 โดยหน่วยงานไมโครอิเล็คโทรนิคส มียอดขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง 4% เมื่อเทียบปีต่อปี ส่วนหน่วยงานที่จังหวัดลำพูนมียอดขายเพิ่มขึ้น 8 % ขณะที่หน่วยงานที่เมืองเจียซิง ประเทศจีนลดลง 29 % ด้านหน่วยงานประกอบ IC มียอดขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง 17 % ส่วนหน่วยงาน IC ทั้งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเมืองเจียซิงมียอดขายลดลงและหน่วยงานประกอบผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง ( CPG) มียอดขายลดลง 30% ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงกว่าปีก่อน จากการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
นายคเณศ ขาวจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPC แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 525.89 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,053.82 ล้านบาท หรือลดลง 527.93 ล้านบาทคิดเป็น 50.06% อันเป็นผลจากปริมาณขายและส่วนต่างราคาขายกับราคาวัตถุดิบลดลง ขณะที่งวดนี้บริษัทมีรายได้จากการขายและจากการให้บริการรวม 6,748 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,136 ล้านบาท คิดเป็น 24 % โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากทั้งปริมาณขายที่ลดลงซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการหยุดผลิตเพื่อซ่อมบำรุงและราคาขายที่ลดลงตามทิศทางของราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่ลดลง ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลงจากปีก่อน 12 % ส่วนใหญ่เป็นผลจากค่าขนส่ง
นายวินสัน มุง ชู ฮุย กรรมการ บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA แจ้งผลงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 687.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี 580.26 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 107.33 ล้านบาท คิดเป็น 18.49% ขณะที่อัตราส่วนกำไรขั้นต้นในไตรมาสนี้มี 20 % ใกล้เคียงกับไตรมาส 3/51 จากการประเมินมูลค่าค่าสินค้าคงคลังใหม่ในไตรมาส 3/52 จำนวน 30 ล้านบาท ทำให้กำไรลดลง 1 % ซึ่งถูกชดเชยกับต้นทุนแรงงานที่ลดลงและมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ขณะที่รายได้จากการขายของกลุ่มบริษัทลดลง 11% เมื่อเทียบปีต่อปีหรือ 3.62 พันล้านบาทในไตรมาส 3/52 เมื่อเทียบกับ 4.06 พันล้านบาทในไตรมาส 3/51 รายได้จากการขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง 11.3% หรือ 106.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 3/52 เทียบกับ 119.9 ล้านดดลลาร์สหรัฐในไตรมาส 3/51 กำไรจากการดำเนินงานลดลง 10% หรือ 565.0 ล้านบาทในไตรมาส 3/52 เทียบกับ 629.1 ล้านบาทในไตรมาส 3/51 โดยหน่วยงานไมโครอิเล็คโทรนิคส มียอดขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง 4% เมื่อเทียบปีต่อปี ส่วนหน่วยงานที่จังหวัดลำพูนมียอดขายเพิ่มขึ้น 8 % ขณะที่หน่วยงานที่เมืองเจียซิง ประเทศจีนลดลง 29 % ด้านหน่วยงานประกอบ IC มียอดขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง 17 % ส่วนหน่วยงาน IC ทั้งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเมืองเจียซิงมียอดขายลดลงและหน่วยงานประกอบผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง ( CPG) มียอดขายลดลง 30% ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงกว่าปีก่อน จากการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
นายคเณศ ขาวจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPC แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 525.89 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,053.82 ล้านบาท หรือลดลง 527.93 ล้านบาทคิดเป็น 50.06% อันเป็นผลจากปริมาณขายและส่วนต่างราคาขายกับราคาวัตถุดิบลดลง ขณะที่งวดนี้บริษัทมีรายได้จากการขายและจากการให้บริการรวม 6,748 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,136 ล้านบาท คิดเป็น 24 % โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากทั้งปริมาณขายที่ลดลงซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการหยุดผลิตเพื่อซ่อมบำรุงและราคาขายที่ลดลงตามทิศทางของราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่ลดลง ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลงจากปีก่อน 12 % ส่วนใหญ่เป็นผลจากค่าขนส่ง