ASTVผู้จัดการรายวัน - “พันธมิตรฯ” บุกทำเนียบพบนายกฯ ยื่น 8 ข้อ ให้ รบ.ทบทวน MOU กับกัมพูชา รวมถึงพันธะผูกพันในอดีตด้วย ยันคำนึงผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก “ปานเทพ” เผยนายกฯ เข้าใจข้อเรียกร้องพันธมิตรฯ ดี ยันยึดหลักสนธิสัญญา (1904) สันปันน้ำเป็นหลัก ส่วน MOU ครม.จะไล่เรียงเอกสารทุกฉบับ เพื่อประกอบการตัดสินใจของ ครม.พรุ่งนี้ ส่วนกระทรวงกลาโหมชี้ระดับความสัมพันธ์ทางทหารยังดี อัดแม้วทำทุกอย่างลงไปเป็นการทำลายตัวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 พ.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 8.30 น. แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เช่น นายพิภพ ธงไชย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นานประมาณ 40 นาที จากนั้นนายพิภพให้สัมภาษณ์ว่าพันธมิตรฯ มาพบนายกฯ ในวันนี้ (9 พ.ย.) ได้นำข้อเสนอต่างๆ มาเสนอต่อนายกฯ อาทิ ขอให้นายกฯ ดำเนินการยกเลิกแผนที่แสดงเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ผลักดันทหารและชาวกัมพูชาออกจากดินแดนไทยโดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นหลักที่เรามายื่นและได้ส่งเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สัญญาการเซ็นต่างๆ การลงนาม การทำข้อตกลงในรูปแบบต่างๆมาให้ รวม 11 รายการ ทั้งนี้ได้มีการเริ่มต้นจดหมายด้วยการเท้าความประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ยึดถือสนธิสัญญา แนวสันปันน้ำ
นายพิภพกล่าวต่อว่า เอกสารที่นำมาเสนอในวันนี้ เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ไล่มาจนถึงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในการเซ็น MOU จนถึงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลำดับความเป็นมาตลอด เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นมาอย่างไร รวมถึงจะเกิดกรณีได้เปรียบเสียเปรียบ โดยสรุปยื่นเงื่อนไข ทั้งหมด รวม 8 ประการ จากการที่รัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงออกในความไม่พอใจในสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 พ.ย.2552 พันธมิตรฯ ขอสนับสนุนและให้กำลังใจ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ได้ใช้โอกาสนี้ดำเนินการทบทวนพันธะผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชา พร้อมกับแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตด้วย
นายพิภพกล่าวต่อว่า การแก้ไขข้อผิดพลาดเป็นข้อผิดพลาดที่กระทำมาในหลายรัฐบาล ดังนั้น ข้อเสนอของพันธมิตรฯ นายกฯ ต้องทบทวนในข้อผิดพลาดของทุกรัฐบาล แม้จะเป็นรัฐบาลซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งก็ตาม เพราะตรงนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
**เผยนายกฯ เข้าใจข้อเรียกร้อง
ด้าน นายปานเทพกล่าวว่า หลังจากที่ยื่นข้อเสนอต่อนายกฯ แล้ว นายกฯ ได้รับเรื่องและดูคร่าวๆในหนังสือที่นำเสนอ โดยภาพรวมนายกฯมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวข้องกับกระบวนการในการที่พันธมิตรฯ เรียกร้อง โดยนายกฯ ยืนยันว่าที่ผ่านมาประเทศไทย ได้ยึดหลักสนธิสัญญา (1904) สันปันน้ำเป็นหลัก และรัฐบาลก็ยังคงยึดหลักนั้นเช่นเดียวกัน ส่วนกรณีเรื่องข้อผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่อาจทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงหรือการเสียเปรียบในอนาคตไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทะเล อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาล เข้าในว่าในวันที่ 10 พ.ย.นี้ ครม.คงได้ไล่เรียงเอกสารทุกฉบับ หรือข้อตกลงทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชาเข้าพิจารณาใน ครม. เพื่อจะดูสิ่งใดทำได้ไม่ได้อย่างไร
นายปานเทพกล่าวต่อด้วยว่า พันธมิตรฯ ได้มีการสอบถามเรื่องที่ประชุมสภาฯที่จะมีการรับรองการประชุมของ JBC 3 ครั้ง และมีการพิจารณาร่างข้อร่างข้อตกลงระหว่างไทยกัมพูชาที่จะมีการลงนามนั้น นายกฯ กล่าวว่าถ้ามีการเข้าที่ประชุมสภาฯจริงก็คงจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการต่อไป ระหว่างนี้อยู่ในช่วงการพิจาณาของรัฐบาลว่าจะพิจารณาฉบับใดบ้างเป็นลำดับแรก และพิจารณาเหตุผล ถ้าในแต่ละฉบับจะยกเลิกพิจารณาจากเหตุผลใดก็จะชี้แจงเป็นครั้งๆ ไป
นายพิภพกล่าวต่ออีกด้วยว่า นายกฯ กล่าวว่า จะพิจารณาให้กระทรวงต่างประเทศนำเสนอเข้าครม.ในวันที่ 10 พ.ย.ในสัญญาหรือการประกาศทีได้กระทำไปแล้วตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน รวมถึงจะพยายามระมัดระวังในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และระมัดระวังในเรื่องสายตาชาวโลกว่าเราจะอะไรต้องมีเหตุมีผล ซึ่งตนและนายปานเทพได้ย้ำกับท่านายกฯว่าคงต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ และเรายืนยันที่จะต้องใช้สนธิสัญญาที่รับรองเรื่องสันปันน้ำเป็นเรื่องสำคัญ
**กองทัพชี้สัมพันธ์ทหารยังดี
เมื่อเวลา 15.00 น. ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ. อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชา หลังสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้ง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจว่า เป็นเรื่องการเมืองที่ดำเนินการ เรื่องความสัมพันธ์เป็นเรื่องกระทรวงการต่างประเทศที่จะดูแลเรื่องปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนกองทัพเฝ้าติดตามสถานการณ์ว่าจะพัฒนาไปอย่างไร คิดว่าน่าจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ถือเป็นสิ่งที่เราคาดหวัง เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งเรื่องความมั่นคง ทั้งนี้ คงไม่กระทบกับความมั่นคง เพราะการดำเนินการเป็นเรื่องส่วนตัว
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ในส่วนกองทัพไม่มีปัญหาขัดแย้ง เพราะความสัมพันธ์ระดับ รมว.กลาโหม ยังใกล้ชิดเหมือนเดิมไม่มีปัญหา ทั้งนี้ กองทัพมีการเตรียมดูแลสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น หากมีผลกระทบอะไรก็พร้อมช่วยเหลือ ส่วนเรื่องที่จะพิจารณายกเลิกเอ็มโอยูกับกัมพูชานั้น เรื่องนี้สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) จะมีการประชุมถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้
**อัดแม้วทำลายตัวเอง
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รับตำแหน่งที่ปรึกษาจะกระทบกับไทยอย่างไร พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้กระทบกับตัว พ.ต.ท. ทักษิณ มากกว่า เพราะสิ่งที่ทำประชาชนเข้าใจได้ว่าท่านต้องการอะไร และคิดอะไร หากท่านรักประเทศไทยจริงคงไม่ยอมเป็นที่ปรึกษาให้ประเทศอื่นที่มีปัญหากับเรา
“ผมไม่เข้าใจความคิด พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าทำไม ท่านจึงไปตกลงเป็นที่ปรึกษาเขาได้ ทั้งที่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับประเทศไทยเลย ซึ่งการกระทำของท่านตรงข้ามกับสิ่งที่ท่านพูดไว้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ท่านพูดเชื่อถือไม่ได้ เป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันคิดว่าสิ่งที่ท่านทำกระทบต่อประเทศไทยเราเอง ทั้งที่ท่านเคยเป็นถึงนายกรัฐมนตรี แต่เอาความเจ็บช้ำส่วนตัวมาทำให้ประเทศชาติมีปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายตัวท่านเองมากกว่า” พล.อ.อภิชาต กล่าว
เมื่อถามว่า สถานการณ์บีบคั้นให้รัฐบาลยุบสภา พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ยังมองว่ารัฐบาลมั่นคง และดำเนินการในแนวทางโดยไม่มีปัญหา ขณะนี้ไม่มีผลกระทบอะไรต่อรัฐบาล แต่อาจทำให้การทำงานไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร เมื่อถามว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ รับตำแหน่งทำให้คะแนนนิยมรัฐบาลดีขึ้นหรือไม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า คงเป็นอีกแง่หนึ่งที่ทำให้คะแนนนิยมของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีดีขึ้น ตนเชื่อว่าประชาชนคิดเป็นว่าสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำถูกต้องหรือไม่อย่างไร
**ระบุเขมรฟังแม้วมากไป
เมื่อถามถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางมากัมพูชาในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้จะทำให้ความขัดแย้งไทยกัมพูชารุนแรงขึ้นหรือไม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร คงเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์แล้วว่าหากมาคงต้องทำหนังสือขอตัวในฐานะเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ขึ้นอยู่กับกัมพูชาจะดูแลอย่างไร
เมื่อถามว่า ท่าทีสมเด็จฮุนเซนชัดเจนว่าจะไม่ส่งตัว พ.ต.ท. ทักษิณ ให้ไทย พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า คงไม่มีปัญหาเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูแลกันไป ความสัมพันธ์เพื่อนบ้านไม่มีปัญหาอะไร แต่กัมพูชาคงมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง และไปฟัง พ.ต.ท.ทักษิณ มากเกินไป
เมื่อถามว่า สมเด็จฮุนเซนให้สัมภาษณ์ว่าให้นายกรัฐมนตรีไทยควรยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า แน่นอน เป็นเรื่องกิจการภายในประเทศเรา การตัดสินใจยุบสภาเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีไทยเองที่จะดูแล ซึ่งสถานการณ์นี้นายกรัฐมนตรีไม่มีความจำเป็นต้องยุบสภา ซึ่งอาจเป็นความเข้าใจไม่ถูกต้อง หรือฟังข้อมูลไม่ถูกต้องมาจึงคิดว่าทำอย่างนี้ได้
เมื่อถามถึงกรณีสื่อต่างประเทศเปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่หมิ่นเบื้องสูง พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับรายงาน ซึ่งยังไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดว่า พ.ต.ท. ทักษิณ สัมภาษณ์อย่างไร แต่ทราบว่าค่อนข้างรุนแรง ซึ่งไม่น่าจะเกิดจากคนระดับนี้ สิ่งที่ท่านทำคือการทำลายตัวท่านเอง หากเราวางตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างใคร คงมองได้ว่าท่านพยายามทำลายตัวท่านเองมากกว่ายกย่องตัวท่านเองขึ้นมา ความจริงท่านคิดเองได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงว่าท่านคิดแล้ว และคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้ตัวท่านดีขึ้น แต่ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าคะแนนนิยมท่านลดลงไป
เมื่อถามว่า กองทัพจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการหมิ่นเบื้องสูง พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ขอตรวจสอบข้อมูลก่อน หากเป็นจริงจะต้องหาทางดำเนินการอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเราคงยอมไม่ได้ที่ให้มีการหมิ่นสถาบัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 พ.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 8.30 น. แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เช่น นายพิภพ ธงไชย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นานประมาณ 40 นาที จากนั้นนายพิภพให้สัมภาษณ์ว่าพันธมิตรฯ มาพบนายกฯ ในวันนี้ (9 พ.ย.) ได้นำข้อเสนอต่างๆ มาเสนอต่อนายกฯ อาทิ ขอให้นายกฯ ดำเนินการยกเลิกแผนที่แสดงเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ผลักดันทหารและชาวกัมพูชาออกจากดินแดนไทยโดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นหลักที่เรามายื่นและได้ส่งเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สัญญาการเซ็นต่างๆ การลงนาม การทำข้อตกลงในรูปแบบต่างๆมาให้ รวม 11 รายการ ทั้งนี้ได้มีการเริ่มต้นจดหมายด้วยการเท้าความประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ยึดถือสนธิสัญญา แนวสันปันน้ำ
นายพิภพกล่าวต่อว่า เอกสารที่นำมาเสนอในวันนี้ เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ไล่มาจนถึงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในการเซ็น MOU จนถึงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลำดับความเป็นมาตลอด เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นมาอย่างไร รวมถึงจะเกิดกรณีได้เปรียบเสียเปรียบ โดยสรุปยื่นเงื่อนไข ทั้งหมด รวม 8 ประการ จากการที่รัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงออกในความไม่พอใจในสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 พ.ย.2552 พันธมิตรฯ ขอสนับสนุนและให้กำลังใจ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ได้ใช้โอกาสนี้ดำเนินการทบทวนพันธะผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชา พร้อมกับแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีตด้วย
นายพิภพกล่าวต่อว่า การแก้ไขข้อผิดพลาดเป็นข้อผิดพลาดที่กระทำมาในหลายรัฐบาล ดังนั้น ข้อเสนอของพันธมิตรฯ นายกฯ ต้องทบทวนในข้อผิดพลาดของทุกรัฐบาล แม้จะเป็นรัฐบาลซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งก็ตาม เพราะตรงนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
**เผยนายกฯ เข้าใจข้อเรียกร้อง
ด้าน นายปานเทพกล่าวว่า หลังจากที่ยื่นข้อเสนอต่อนายกฯ แล้ว นายกฯ ได้รับเรื่องและดูคร่าวๆในหนังสือที่นำเสนอ โดยภาพรวมนายกฯมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวข้องกับกระบวนการในการที่พันธมิตรฯ เรียกร้อง โดยนายกฯ ยืนยันว่าที่ผ่านมาประเทศไทย ได้ยึดหลักสนธิสัญญา (1904) สันปันน้ำเป็นหลัก และรัฐบาลก็ยังคงยึดหลักนั้นเช่นเดียวกัน ส่วนกรณีเรื่องข้อผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่อาจทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงหรือการเสียเปรียบในอนาคตไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทะเล อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาล เข้าในว่าในวันที่ 10 พ.ย.นี้ ครม.คงได้ไล่เรียงเอกสารทุกฉบับ หรือข้อตกลงทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชาเข้าพิจารณาใน ครม. เพื่อจะดูสิ่งใดทำได้ไม่ได้อย่างไร
นายปานเทพกล่าวต่อด้วยว่า พันธมิตรฯ ได้มีการสอบถามเรื่องที่ประชุมสภาฯที่จะมีการรับรองการประชุมของ JBC 3 ครั้ง และมีการพิจารณาร่างข้อร่างข้อตกลงระหว่างไทยกัมพูชาที่จะมีการลงนามนั้น นายกฯ กล่าวว่าถ้ามีการเข้าที่ประชุมสภาฯจริงก็คงจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการต่อไป ระหว่างนี้อยู่ในช่วงการพิจาณาของรัฐบาลว่าจะพิจารณาฉบับใดบ้างเป็นลำดับแรก และพิจารณาเหตุผล ถ้าในแต่ละฉบับจะยกเลิกพิจารณาจากเหตุผลใดก็จะชี้แจงเป็นครั้งๆ ไป
นายพิภพกล่าวต่ออีกด้วยว่า นายกฯ กล่าวว่า จะพิจารณาให้กระทรวงต่างประเทศนำเสนอเข้าครม.ในวันที่ 10 พ.ย.ในสัญญาหรือการประกาศทีได้กระทำไปแล้วตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน รวมถึงจะพยายามระมัดระวังในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และระมัดระวังในเรื่องสายตาชาวโลกว่าเราจะอะไรต้องมีเหตุมีผล ซึ่งตนและนายปานเทพได้ย้ำกับท่านายกฯว่าคงต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ และเรายืนยันที่จะต้องใช้สนธิสัญญาที่รับรองเรื่องสันปันน้ำเป็นเรื่องสำคัญ
**กองทัพชี้สัมพันธ์ทหารยังดี
เมื่อเวลา 15.00 น. ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ. อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชา หลังสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้ง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจว่า เป็นเรื่องการเมืองที่ดำเนินการ เรื่องความสัมพันธ์เป็นเรื่องกระทรวงการต่างประเทศที่จะดูแลเรื่องปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนกองทัพเฝ้าติดตามสถานการณ์ว่าจะพัฒนาไปอย่างไร คิดว่าน่าจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ถือเป็นสิ่งที่เราคาดหวัง เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งเรื่องความมั่นคง ทั้งนี้ คงไม่กระทบกับความมั่นคง เพราะการดำเนินการเป็นเรื่องส่วนตัว
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ในส่วนกองทัพไม่มีปัญหาขัดแย้ง เพราะความสัมพันธ์ระดับ รมว.กลาโหม ยังใกล้ชิดเหมือนเดิมไม่มีปัญหา ทั้งนี้ กองทัพมีการเตรียมดูแลสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น หากมีผลกระทบอะไรก็พร้อมช่วยเหลือ ส่วนเรื่องที่จะพิจารณายกเลิกเอ็มโอยูกับกัมพูชานั้น เรื่องนี้สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) จะมีการประชุมถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 9 พฤศจิกายนนี้
**อัดแม้วทำลายตัวเอง
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ รับตำแหน่งที่ปรึกษาจะกระทบกับไทยอย่างไร พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้กระทบกับตัว พ.ต.ท. ทักษิณ มากกว่า เพราะสิ่งที่ทำประชาชนเข้าใจได้ว่าท่านต้องการอะไร และคิดอะไร หากท่านรักประเทศไทยจริงคงไม่ยอมเป็นที่ปรึกษาให้ประเทศอื่นที่มีปัญหากับเรา
“ผมไม่เข้าใจความคิด พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าทำไม ท่านจึงไปตกลงเป็นที่ปรึกษาเขาได้ ทั้งที่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับประเทศไทยเลย ซึ่งการกระทำของท่านตรงข้ามกับสิ่งที่ท่านพูดไว้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ท่านพูดเชื่อถือไม่ได้ เป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันคิดว่าสิ่งที่ท่านทำกระทบต่อประเทศไทยเราเอง ทั้งที่ท่านเคยเป็นถึงนายกรัฐมนตรี แต่เอาความเจ็บช้ำส่วนตัวมาทำให้ประเทศชาติมีปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายตัวท่านเองมากกว่า” พล.อ.อภิชาต กล่าว
เมื่อถามว่า สถานการณ์บีบคั้นให้รัฐบาลยุบสภา พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ยังมองว่ารัฐบาลมั่นคง และดำเนินการในแนวทางโดยไม่มีปัญหา ขณะนี้ไม่มีผลกระทบอะไรต่อรัฐบาล แต่อาจทำให้การทำงานไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร เมื่อถามว่า การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ รับตำแหน่งทำให้คะแนนนิยมรัฐบาลดีขึ้นหรือไม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า คงเป็นอีกแง่หนึ่งที่ทำให้คะแนนนิยมของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีดีขึ้น ตนเชื่อว่าประชาชนคิดเป็นว่าสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำถูกต้องหรือไม่อย่างไร
**ระบุเขมรฟังแม้วมากไป
เมื่อถามถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางมากัมพูชาในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้จะทำให้ความขัดแย้งไทยกัมพูชารุนแรงขึ้นหรือไม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร คงเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์แล้วว่าหากมาคงต้องทำหนังสือขอตัวในฐานะเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ขึ้นอยู่กับกัมพูชาจะดูแลอย่างไร
เมื่อถามว่า ท่าทีสมเด็จฮุนเซนชัดเจนว่าจะไม่ส่งตัว พ.ต.ท. ทักษิณ ให้ไทย พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า คงไม่มีปัญหาเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูแลกันไป ความสัมพันธ์เพื่อนบ้านไม่มีปัญหาอะไร แต่กัมพูชาคงมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง และไปฟัง พ.ต.ท.ทักษิณ มากเกินไป
เมื่อถามว่า สมเด็จฮุนเซนให้สัมภาษณ์ว่าให้นายกรัฐมนตรีไทยควรยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า แน่นอน เป็นเรื่องกิจการภายในประเทศเรา การตัดสินใจยุบสภาเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีไทยเองที่จะดูแล ซึ่งสถานการณ์นี้นายกรัฐมนตรีไม่มีความจำเป็นต้องยุบสภา ซึ่งอาจเป็นความเข้าใจไม่ถูกต้อง หรือฟังข้อมูลไม่ถูกต้องมาจึงคิดว่าทำอย่างนี้ได้
เมื่อถามถึงกรณีสื่อต่างประเทศเปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่หมิ่นเบื้องสูง พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับรายงาน ซึ่งยังไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดว่า พ.ต.ท. ทักษิณ สัมภาษณ์อย่างไร แต่ทราบว่าค่อนข้างรุนแรง ซึ่งไม่น่าจะเกิดจากคนระดับนี้ สิ่งที่ท่านทำคือการทำลายตัวท่านเอง หากเราวางตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างใคร คงมองได้ว่าท่านพยายามทำลายตัวท่านเองมากกว่ายกย่องตัวท่านเองขึ้นมา ความจริงท่านคิดเองได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงว่าท่านคิดแล้ว และคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้ตัวท่านดีขึ้น แต่ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าคะแนนนิยมท่านลดลงไป
เมื่อถามว่า กองทัพจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการหมิ่นเบื้องสูง พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ขอตรวจสอบข้อมูลก่อน หากเป็นจริงจะต้องหาทางดำเนินการอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเราคงยอมไม่ได้ที่ให้มีการหมิ่นสถาบัน