ASTVผู้จัดการรายวัน – ชุมพล กลับลำ ไม่ตัดสินอีลิทเอง แต่โยน 4 แนวทาง ส่งครม.ฟันธงวันนี้ ขณะที่ผลตรวจสอบการทำงานอีลิท พบ การทำงานบกพร่อง เกือบทุกโครงการ ล่าสุด จำยอมใช้สนามกอล์ฟพัฒนา เหตุเจ้าของสนามอ้างเป็นสัญญาถูกต้องไม่คืนเงินให้ “ธงชัย”ยอมรับ เป็นการตัดสินใจไม่ถูกต้องของผู้บริหารในขณะนั้น ด้านสัญญา เอไอที ส่อทุจริตหลายจุด เดินหน้าคุ้ยต่อ
นายธงชัย ศรีดามา ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด(ทีพีซี) ผู้ดำเนินโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (3 พ.ย.) จะมีการนำวาระอีลิทการ์ดเข้าพิจารณา โดยยังคงเสนอ 4 แนวทางเลือกให้ ครม.เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ ได้แก่ การยกเลิกบริษัท การเปิดให้เอกชนเข้าถือหุ้น การโอนย้ายเข้าไปอยู่กับททท. หรือให้บริษัทดำเนินการต่อโดยปรับโครงสร้าง โดยทุกวิธีจะมีทั้งข้อดีข้อเสีย ซึ่งหากเลือกที่จะปิดบริษัท ประเมินไว้ว่า ต้องใช้เงินเพื่อชดเชยค่าเสียหายและค่าฟ้องร้องให้แก่สมาชิกประมาณ 2.3 พันล้านบาท
ซึ่งก่อนหน้านี้นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯเคยระบุว่า จะเป็นผู้ตัดสินเลือกเพียงแนวทางเดียวเสนอ ครม.เพื่อทราบ เท่านั้น
ทั้งนี้นายชุมพล ได้เสนอวาระของอีลิทให้แก่เลขาครม.ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.52 ซึ่งหากไม่นำมาพิจารณาในวันนี้ก็คงต้องเลื่อนไปประชุมในอีก 2 สัปดาห์เนื่องจาก นายชุมพล ติดภาระกิจปฎิบัติงานในต่างประเทศ
สำหรับการประชุมของบอร์ดทีพีซี ได้เห็นชอบให้ทีพีซีไปคิดวิธีการการนำเสนอให้สมาชิกเข้าไปใช้บริการสนามกอล์ฟ พัฒนา สปอร์ต คลับ ให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้ เพราะจากการที่ให้ นายอุดม เมธาธำรงศิริ อดีตรักษาการผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ไปเจรจากับผู้บริหาร เพื่อขอคืนเงินบางส่วน จาก จำนวน 20 ล้านบาท ที่จ่ายให้แก่สนามกอล์ฟ พัฒนา ตามสัญญาเมื่อ 4 ปีก่อนแต่ได้รับคำตอบว่า เลิกสัญญาได้แต่ไม่คืนเงินให้ เพราะข้อตกลงนี้เป็นสิ่นที่ผู้บริหารและประธานบอร์ดในสมัยนั้นเข้าไปติดต่อเจรจาขอทำสัญญาเอง แต่ได้บอกว่า สมาชิกอีลิทสามารถเข้ามาใช้บริการได้ถึงวันละ 100 คน ในอายุสัญญาที่เหลืออยู่อีกราว 30 ปี ซึ่งหากทำได้ก็เท่ากับว่าทีพีซีได้ประโยชน์ โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัย นายโชคศิริ รอดบุญพาเป็นผู้จัดการใหญ่ทีพีซี และนายสมใจนึก เองตระกูล เป็นประธานบอร์ดทีพีซี
“ยอมรับว่าสัญญาครั้งนี้เป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกนัก ถือว่าเป็นความผิดพลาดด้านการบริหารจัดการ ที่ไม่สามารถชักจูงให้สมาชิกเข้าไปใช้สนามดังกล่าว แต่ไม่ใช่ความผิดเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง เราจึงไม่สามารถบอกคืนสัญญาได้ ซึ่งปัจจุบันสมาชิกอีลิทใช้บริการกอล์ฟประมาณ 870 ครั้งต่อเดือน ในหลายๆสนามที่เป็นคู่สัญญา”
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้เร่งรัดให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของอีลิท การ์ด เร่งสรุปผลการตรวจสอบโครงการ “ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที) กับบริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (เอไอที)” ให้เสร็จทันภายในเดือนนี้เพื่อหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เบื้องต้นมีรายงานความคืบหน้าว่าพบขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ผิดปกติ เช่น
บริษัทที่ไม่ได้เข้าฟังรายละเอียดโครงการ แต่กลับมายื่นซองประกวดราคาได้ เป็นต้น
ส่วนการเจรจากับบริษัท เอไอที กรณีเรียกร้องค่าเสียหายเข้ามาเพราะบริษัทจะขอยกเลิกโครงการนั้น คั้งแรก เอไอที ยอมลดค่าเสียหายจาก 39 ล้านบาท เหลือ 29 ล้านบาท แต่ไม่มีรายละเอียดด้านหลักฐาน เช่น หนังสือสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศที่เอไอทีอ้างถึง มีจริงหรือไม่ จากนั้นจะขอเจรจาต่อรองราคาอีกครั้ง
นายธงชัย ยังกล่าวในฐานะกรรมการบอร์ด ททท. ว่า ในการนัดประชุมบอร์ดททท.วันที่ 18 พ.ย.ศกนี้ จะมีการพิจารณาเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. จากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหานำเสนอ นอกจากนั้น คาดว่าจะมีการแต่งตั้งตำแหน่งรองผู้ว่าการในตำแหน่งที่ว่างอยู่ขณะนี้ไปพร้อมกัน เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้ผู้ว่าททท.คนใหม่เข้ามาเลือก
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุว่า แนวทางดังกล่าว สวนทางกับแนวคิดที่ผู้บริหาร ททท.ชุดเก่าสมัยนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตประธานบอร์ด ททท. เสนอไว้ว่า ควรจะให้ผู้ว่าการททท.คนใหม่ เป็นผู้คัดเลือกรองผู้ว่าฯด้วยตัวเอง เพื่อการทำงานที่เป็นทีมเวิร์คที่ดีกว่า
นายธงชัย ศรีดามา ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด(ทีพีซี) ผู้ดำเนินโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (3 พ.ย.) จะมีการนำวาระอีลิทการ์ดเข้าพิจารณา โดยยังคงเสนอ 4 แนวทางเลือกให้ ครม.เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ ได้แก่ การยกเลิกบริษัท การเปิดให้เอกชนเข้าถือหุ้น การโอนย้ายเข้าไปอยู่กับททท. หรือให้บริษัทดำเนินการต่อโดยปรับโครงสร้าง โดยทุกวิธีจะมีทั้งข้อดีข้อเสีย ซึ่งหากเลือกที่จะปิดบริษัท ประเมินไว้ว่า ต้องใช้เงินเพื่อชดเชยค่าเสียหายและค่าฟ้องร้องให้แก่สมาชิกประมาณ 2.3 พันล้านบาท
ซึ่งก่อนหน้านี้นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวฯเคยระบุว่า จะเป็นผู้ตัดสินเลือกเพียงแนวทางเดียวเสนอ ครม.เพื่อทราบ เท่านั้น
ทั้งนี้นายชุมพล ได้เสนอวาระของอีลิทให้แก่เลขาครม.ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.52 ซึ่งหากไม่นำมาพิจารณาในวันนี้ก็คงต้องเลื่อนไปประชุมในอีก 2 สัปดาห์เนื่องจาก นายชุมพล ติดภาระกิจปฎิบัติงานในต่างประเทศ
สำหรับการประชุมของบอร์ดทีพีซี ได้เห็นชอบให้ทีพีซีไปคิดวิธีการการนำเสนอให้สมาชิกเข้าไปใช้บริการสนามกอล์ฟ พัฒนา สปอร์ต คลับ ให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้ เพราะจากการที่ให้ นายอุดม เมธาธำรงศิริ อดีตรักษาการผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ไปเจรจากับผู้บริหาร เพื่อขอคืนเงินบางส่วน จาก จำนวน 20 ล้านบาท ที่จ่ายให้แก่สนามกอล์ฟ พัฒนา ตามสัญญาเมื่อ 4 ปีก่อนแต่ได้รับคำตอบว่า เลิกสัญญาได้แต่ไม่คืนเงินให้ เพราะข้อตกลงนี้เป็นสิ่นที่ผู้บริหารและประธานบอร์ดในสมัยนั้นเข้าไปติดต่อเจรจาขอทำสัญญาเอง แต่ได้บอกว่า สมาชิกอีลิทสามารถเข้ามาใช้บริการได้ถึงวันละ 100 คน ในอายุสัญญาที่เหลืออยู่อีกราว 30 ปี ซึ่งหากทำได้ก็เท่ากับว่าทีพีซีได้ประโยชน์ โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัย นายโชคศิริ รอดบุญพาเป็นผู้จัดการใหญ่ทีพีซี และนายสมใจนึก เองตระกูล เป็นประธานบอร์ดทีพีซี
“ยอมรับว่าสัญญาครั้งนี้เป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกนัก ถือว่าเป็นความผิดพลาดด้านการบริหารจัดการ ที่ไม่สามารถชักจูงให้สมาชิกเข้าไปใช้สนามดังกล่าว แต่ไม่ใช่ความผิดเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง เราจึงไม่สามารถบอกคืนสัญญาได้ ซึ่งปัจจุบันสมาชิกอีลิทใช้บริการกอล์ฟประมาณ 870 ครั้งต่อเดือน ในหลายๆสนามที่เป็นคู่สัญญา”
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้เร่งรัดให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของอีลิท การ์ด เร่งสรุปผลการตรวจสอบโครงการ “ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที) กับบริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (เอไอที)” ให้เสร็จทันภายในเดือนนี้เพื่อหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เบื้องต้นมีรายงานความคืบหน้าว่าพบขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ผิดปกติ เช่น
บริษัทที่ไม่ได้เข้าฟังรายละเอียดโครงการ แต่กลับมายื่นซองประกวดราคาได้ เป็นต้น
ส่วนการเจรจากับบริษัท เอไอที กรณีเรียกร้องค่าเสียหายเข้ามาเพราะบริษัทจะขอยกเลิกโครงการนั้น คั้งแรก เอไอที ยอมลดค่าเสียหายจาก 39 ล้านบาท เหลือ 29 ล้านบาท แต่ไม่มีรายละเอียดด้านหลักฐาน เช่น หนังสือสัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศที่เอไอทีอ้างถึง มีจริงหรือไม่ จากนั้นจะขอเจรจาต่อรองราคาอีกครั้ง
นายธงชัย ยังกล่าวในฐานะกรรมการบอร์ด ททท. ว่า ในการนัดประชุมบอร์ดททท.วันที่ 18 พ.ย.ศกนี้ จะมีการพิจารณาเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. จากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหานำเสนอ นอกจากนั้น คาดว่าจะมีการแต่งตั้งตำแหน่งรองผู้ว่าการในตำแหน่งที่ว่างอยู่ขณะนี้ไปพร้อมกัน เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้ผู้ว่าททท.คนใหม่เข้ามาเลือก
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุว่า แนวทางดังกล่าว สวนทางกับแนวคิดที่ผู้บริหาร ททท.ชุดเก่าสมัยนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตประธานบอร์ด ททท. เสนอไว้ว่า ควรจะให้ผู้ว่าการททท.คนใหม่ เป็นผู้คัดเลือกรองผู้ว่าฯด้วยตัวเอง เพื่อการทำงานที่เป็นทีมเวิร์คที่ดีกว่า