การดำเนินการขอส่งตัวนายราเกซ สักเสนา เป็นผู้ร้ายข้ามแดน จากประเทศแคนาดาเพื่อมาดำเนินคดีในเมืองไทยนั้นต้องใช้ระยะเวลาถึง 13 ปี โดยมีลำดับเหตุการณ์ตลอดระยะเวลา 13 ปีโดยสรุปดังนี้
กรกฏาคม 2539 นายราเกซฯ ถูกจับที่รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ตามคำร้องของกรมตำรวจ
กันยายน 2539 อัยการสูงสุดมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายราเกซฯ และทำสำนวนคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนใหม่ส่งไปยังประเทศแคนาดา
สิงหาคม 2543 ศาลชั้นต้นแคนาดาพิพากษาให้ส่งตัวนายราเกซฯ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้ทางการไทย
กันยายน 2543นายราเกซฯ อุทธรณ์คำพิพากษาศษลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ รัฐบริติชโคลัมเบีย
พฤศจิกายน 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการยุติธรรมแคนาดามีคำสั่งให้ส่งตัวนายราเกซฯให้ทางการไทย
ธันวาคม 2546นายราเกซฯ อุทธรณ์คำสั่งของรัฐมนตรีฯต่อศาลอุทธรณ์ รัฐบริติชโคลัมเบีย
มกราคม - กุมภาพันธ์ 2549 ศาลอุทธรณ์ฯรวมพิจารณาอุทธรณ์ทั้งสองกรณีข้างต้นเข้าด้วยกัน
มีนาคม 2549 ศาลอุทธรณ์ฯ พิพากษาให้ส่งตัวนายราเกซฯ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้ทางการไทย
มีนาคาม 2549 นายราเกซฯ ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฏีกา
กันยายน 2549 นายราเกซฯ ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแคนาดาโดยอ้างเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
ตุลาคม 2549 นายราเกซฯ ยื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแคนาดา โดยอ้างเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
พฤศจิกายน 2549 ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้นายราเกซฯยื่นฎีกา
ธันวาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแคนาดามีคำสั่งยืนตามคำสั่งเดิม
ธันวาคม 2551 นายราเกซฯ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งรัฐมนตรีว่าการะทรวงยุติธรรม
พฤษภาคม 2552 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของนายราเกซฯ
มิถุนายน 2552 นายราเกซฯ ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาแคนาดา
29 ตุลาคม 2552ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา คดีถึงที่สุด นายราเกซฯถูกส่งตัวกลับประเทศไทย
30 ตุลาคม 2552 อัยการและตำรวจ คุมตัวนายราเกซ สักเสนา ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ และนำตัวเข้าควบคุมที่กองปราบปราม
กรกฏาคม 2539 นายราเกซฯ ถูกจับที่รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ตามคำร้องของกรมตำรวจ
กันยายน 2539 อัยการสูงสุดมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายราเกซฯ และทำสำนวนคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนใหม่ส่งไปยังประเทศแคนาดา
สิงหาคม 2543 ศาลชั้นต้นแคนาดาพิพากษาให้ส่งตัวนายราเกซฯ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้ทางการไทย
กันยายน 2543นายราเกซฯ อุทธรณ์คำพิพากษาศษลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ รัฐบริติชโคลัมเบีย
พฤศจิกายน 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการยุติธรรมแคนาดามีคำสั่งให้ส่งตัวนายราเกซฯให้ทางการไทย
ธันวาคม 2546นายราเกซฯ อุทธรณ์คำสั่งของรัฐมนตรีฯต่อศาลอุทธรณ์ รัฐบริติชโคลัมเบีย
มกราคม - กุมภาพันธ์ 2549 ศาลอุทธรณ์ฯรวมพิจารณาอุทธรณ์ทั้งสองกรณีข้างต้นเข้าด้วยกัน
มีนาคม 2549 ศาลอุทธรณ์ฯ พิพากษาให้ส่งตัวนายราเกซฯ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้ทางการไทย
มีนาคาม 2549 นายราเกซฯ ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฏีกา
กันยายน 2549 นายราเกซฯ ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแคนาดาโดยอ้างเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
ตุลาคม 2549 นายราเกซฯ ยื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแคนาดา โดยอ้างเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
พฤศจิกายน 2549 ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้นายราเกซฯยื่นฎีกา
ธันวาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแคนาดามีคำสั่งยืนตามคำสั่งเดิม
ธันวาคม 2551 นายราเกซฯ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งรัฐมนตรีว่าการะทรวงยุติธรรม
พฤษภาคม 2552 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของนายราเกซฯ
มิถุนายน 2552 นายราเกซฯ ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกาแคนาดา
29 ตุลาคม 2552ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา คดีถึงที่สุด นายราเกซฯถูกส่งตัวกลับประเทศไทย
30 ตุลาคม 2552 อัยการและตำรวจ คุมตัวนายราเกซ สักเสนา ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ และนำตัวเข้าควบคุมที่กองปราบปราม