การออกมาพูดจาเลอะเทอะของส.ส.บางคนในพรรครัฐบาล ใส่ไคล้พรรคการเมืองใหม่ว่า อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศให้ลาหยุดงาน จนส่งผลให้ต้องหยุดการเดินรถในหลายสายในภาคใต้ บางทีเรื่องนี้ก็อาจจะไม่มีอะไรมากกว่าการสะท้อนให้เห็นถึง “อาการกลัวความเสื่อมที่จะมาถึง” ของคนที่ออกมาพูดจาเอ้ออ้านั่นเอง
ด้วยเพราะรู้ว่า ฐานเสียงในพื้นที่ภาคใต้ของตนร่อยหรอเต็มที
ด้วยเพราะรู้ว่า ประชาชนที่เดือดร้อนเริ่มเบื่อหน่าย ส.ส.ปากว่าตาขยิบไร้น้ำยาทั้งหลาย
ด้วยเพราะรู้ว่า กระทั่งวันที่มีอำนาจในมือ คนเหล่านี้ก็ไม่รู้วิธีที่จะถือไว้ ทำงานไม่เป็น มีแต่จะทำให้คะแนนหนุนเนื่องหดหาย
ด้วยเหตุนี้ คนเหล่านี้จึงเลือกทางลัด ใช้ปากทำงานแทนสมอง เลือกแกว่งปากจาบจ้วงใส่ร้ายเพื่อหวังตัดคะแนน หรือหวังทำลายพรรคการเมืองอื่นๆ เหยียบย่ำคนอื่นเพื่อเชิดชูตนเอง ไม่ได้คิดที่จะใช้เวลาที่เหลือเข้าไปปลดเปลื้องปัญหาของชาวบ้านอย่างแท้จริง
แต่การออกมาพูดของ ส.ส.หลายสมัยที่ว่า ยังไม่ทำให้ผู้เขียนปวดใจได้เท่ากับคำพูดของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อกรณีการขอเข้าพบของชาวบ้านเครือข่ายภาคตะวันออกที่ใช้เวลาถึง 6 วัน ในการเดินเท้าเปล่าเข้ากรุง เพื่อหวังมาขอให้นายกฯได้เป็นที่พึ่งยามยาก แก้ปัญหาหลังศาลปกครองสั่งระงับการก่อสร้างอุตสาหกรรม ในมาบตาพุด แต่คำสั่งศาลกลับไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติ
หะแรก เมื่อวันพุธ คุณอภิสิทธิ์ปฏิเสธจะพบหารือกับเครือข่ายชาวบ้านภาคตะวันออกด้วยเหตุผลว่า เกรงจะมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เข้ามาหนุนเนื่อง อ้างว่า ผู้นำเครือข่ายอย่าง นายสุทธิ อัฌาศรัย ว่า เป็นว่าที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ จึงมิอาจไปพบได้ โดยคุณอภิสิทธิ์ ยังได้มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่องดังกล่าว แต่นายกอร์ปศักดิ์ กลับพยายามถ่วงเวลาและไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
เมื่อวันพุธพออ่านข่าวถึงตรงนี้ ผู้เขียนก็เกิดอาการก้อนเศร้าวิ่งขึ้นไปจุกที่ลำคอ
อนาจหนอ เมืองไทยไม่ว่า จะได้ผู้นำประเทศ จบการศึกษาสูงแค่ไหน แต่สุดท้ายก็ต้องเผชิญกับปัญหาคล้ายๆ กันทุกยุคทุกสมัย
กล่าวคือ ต้องเจอนักการเมืองประเภทแยกแยะระหว่าง “ความเดือดร้อนชาวบ้าน” กับ “การเมือง” ไม่ออก
ปัญหาเรื่อง “มาบตาพุด” ไม่ได้เพิ่งเกิดหลังพรรคการเมืองใหม่ แต่มันก่อร่างสร้างตัวมานานแล้วนานพอๆ กับสารมะเร็งที่มันก่อตัวในร่างกายของชาวบ้านที่นั่น เมื่อวานชาวบ้านเดินเท้าเปล่าเข้ามา แต่พวกเขาไม่ได้มามือเปล่า ชาวบ้านหอบเอาน้ำเน่า หอยเน่า และบางคนก็เอาเบ้าตาที่กำลังถูกมะเร็งลุกลามมาให้รัฐบาลได้ประจักษ์กับสายตา
และการต่อสู้ของภาคประชาชนที่นำโดย นายสุทธิ อัชฌาศรัย ก็มีการเคลื่อนไหวมาอย่างยาวนานแล้วมันไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นหลังได้รับเลือกให้ขึ้นไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ และไม่ใช่เรื่องแปลกใดๆ ถ้าวันนี้คนอย่าง คุณสุทธิ อัชฌาศัย ที่มีผลงานรับใช้ชาวบ้านมายาวนาน จะเป็นที่ต้องการ และถูกชักชวนให้ร่วมสร้างการเมืองใหม่ การเมืองที่ดี
ดังนั้น คำตอบในฐานะผู้นำประเทศ ที่อ้างว่าความเดือดร้อนของชาวบ้านมาบตาพุดเป็นประเด็นการเมือง มันจึงกลายเป็นคำตอบที่นอกจากจะสะท้อนความคับแคบในหลายด้านแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความกลัวไปในตัวด้วย ส่วนจะกลัวอะไร หรือกลัวอย่างเดียวกับ ส.ส.ร่วมพรรค
อย่าลืมว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบกรณีมาบตาพุดอย่างจังหวัดระยอง คนที่นั่นเลือก ส.ส.ประชาธิปัตย์เข้าไปนั่งในสภา เพื่อให้ ส.ส.ในสภาเลือกนายกรัฐมนตรีอีกที ถ้าวันนี้ชาวบ้านทุ่มทุนเดินเท้าตลอดระยะเวลา 5-6 วัน (ในจำนวนนี้มีคุณลุงวัยเกษียณร่วมเดินเท้าเปล่าเข้าเมืองมาด้วย) แล้วต้องมาพบความผิดหวัง แค่จะพบหน้า คนที่เขาเลือกให้ขึ้นมาเป็นนายกฯ ยังไม่ได้ แล้วชาวบ้านจะหันไปพึ่งใคร
แหล่งข่าวเล่าว่า ผู้นำบางคนในรัฐบาลนี้ พูดจาอย่างหยิ่งผยองกับ ส.ว.บางท่าน ว่าไหนๆ ชาวบ้านจะฟ้องตนอยู่แล้ว ก็ไปเจอกันในศาลทีเดียว แล้วกัน ..
ฟังแล้วช่างเป็นคำพูดที่จองหองสิ้นดี แต่เสียดายที่ดันจองหองผิดที่ เลือกจองหองกับคนดี จองหองกับชาวบ้านที่เลือกคุณมา แต่กลับหันหาไปจู๋จี๋กับพวกนักการเมืองเลวๆ
แต่หลังจากได้กลับไปนอนคิดเต็มๆ หนึ่งคืน ล่าสุดก็มีแจ้งเข้ามาแล้วว่า รัฐบาลจะให้เครือข่ายประชาชนเข้าพบในช่วงเวลาสั้นๆ ในวันศุกร์นี้ ..ค่ะ อย่างน้อยก็ยังได้พบแม้จะยากเย็นเหลือเกิน …
ประเด็นเรื่องมาบตาพุด อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อดีตผู้นำนักศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 พูดไว้ในงานปาฐกถาวาระครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 10 หัวข้อ “เศรษฐศาสตร์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง” (Economic Religion and the Production of Structural Ignorance)
“...กรณีของมาบตาพุด สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกใจหายก็คือ ขณะที่ชาวบ้านที่เดือดร้อนเป็นบุคคลที่มีหน้าตาตัวตนอย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม มีคนเจ็บและคนเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนานาชนิดอย่างเป็นรูปธรรม ฝ่ายรัฐและภาคธุรกิจกลับพูดถึงคุณค่าและปริมาณของเงินลงทุนแบบลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าใครได้อะไรแค่ไหนจากเงินดังกล่าว จำนวนคนทำงาน 1 แสนคน ก็เป็นมนุษย์นิรนาม ไม่รู้ว่าเป็นใคร และทำงานในเงื่อนไขอะไร งานเหล่านั้นสร้างชีวิตที่ดีให้พวกเขาหรือไม่ หรือยิ่งทำให้ชีวิตของพวกเขาเลวลง กลายเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น..” (ประชาชาติธุรกิจ, 26 ต.ค. 52 )
ด้วยเพราะรู้ว่า ฐานเสียงในพื้นที่ภาคใต้ของตนร่อยหรอเต็มที
ด้วยเพราะรู้ว่า ประชาชนที่เดือดร้อนเริ่มเบื่อหน่าย ส.ส.ปากว่าตาขยิบไร้น้ำยาทั้งหลาย
ด้วยเพราะรู้ว่า กระทั่งวันที่มีอำนาจในมือ คนเหล่านี้ก็ไม่รู้วิธีที่จะถือไว้ ทำงานไม่เป็น มีแต่จะทำให้คะแนนหนุนเนื่องหดหาย
ด้วยเหตุนี้ คนเหล่านี้จึงเลือกทางลัด ใช้ปากทำงานแทนสมอง เลือกแกว่งปากจาบจ้วงใส่ร้ายเพื่อหวังตัดคะแนน หรือหวังทำลายพรรคการเมืองอื่นๆ เหยียบย่ำคนอื่นเพื่อเชิดชูตนเอง ไม่ได้คิดที่จะใช้เวลาที่เหลือเข้าไปปลดเปลื้องปัญหาของชาวบ้านอย่างแท้จริง
แต่การออกมาพูดของ ส.ส.หลายสมัยที่ว่า ยังไม่ทำให้ผู้เขียนปวดใจได้เท่ากับคำพูดของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อกรณีการขอเข้าพบของชาวบ้านเครือข่ายภาคตะวันออกที่ใช้เวลาถึง 6 วัน ในการเดินเท้าเปล่าเข้ากรุง เพื่อหวังมาขอให้นายกฯได้เป็นที่พึ่งยามยาก แก้ปัญหาหลังศาลปกครองสั่งระงับการก่อสร้างอุตสาหกรรม ในมาบตาพุด แต่คำสั่งศาลกลับไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติ
หะแรก เมื่อวันพุธ คุณอภิสิทธิ์ปฏิเสธจะพบหารือกับเครือข่ายชาวบ้านภาคตะวันออกด้วยเหตุผลว่า เกรงจะมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เข้ามาหนุนเนื่อง อ้างว่า ผู้นำเครือข่ายอย่าง นายสุทธิ อัฌาศรัย ว่า เป็นว่าที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ จึงมิอาจไปพบได้ โดยคุณอภิสิทธิ์ ยังได้มอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่องดังกล่าว แต่นายกอร์ปศักดิ์ กลับพยายามถ่วงเวลาและไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
เมื่อวันพุธพออ่านข่าวถึงตรงนี้ ผู้เขียนก็เกิดอาการก้อนเศร้าวิ่งขึ้นไปจุกที่ลำคอ
อนาจหนอ เมืองไทยไม่ว่า จะได้ผู้นำประเทศ จบการศึกษาสูงแค่ไหน แต่สุดท้ายก็ต้องเผชิญกับปัญหาคล้ายๆ กันทุกยุคทุกสมัย
กล่าวคือ ต้องเจอนักการเมืองประเภทแยกแยะระหว่าง “ความเดือดร้อนชาวบ้าน” กับ “การเมือง” ไม่ออก
ปัญหาเรื่อง “มาบตาพุด” ไม่ได้เพิ่งเกิดหลังพรรคการเมืองใหม่ แต่มันก่อร่างสร้างตัวมานานแล้วนานพอๆ กับสารมะเร็งที่มันก่อตัวในร่างกายของชาวบ้านที่นั่น เมื่อวานชาวบ้านเดินเท้าเปล่าเข้ามา แต่พวกเขาไม่ได้มามือเปล่า ชาวบ้านหอบเอาน้ำเน่า หอยเน่า และบางคนก็เอาเบ้าตาที่กำลังถูกมะเร็งลุกลามมาให้รัฐบาลได้ประจักษ์กับสายตา
และการต่อสู้ของภาคประชาชนที่นำโดย นายสุทธิ อัชฌาศรัย ก็มีการเคลื่อนไหวมาอย่างยาวนานแล้วมันไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นหลังได้รับเลือกให้ขึ้นไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ และไม่ใช่เรื่องแปลกใดๆ ถ้าวันนี้คนอย่าง คุณสุทธิ อัชฌาศัย ที่มีผลงานรับใช้ชาวบ้านมายาวนาน จะเป็นที่ต้องการ และถูกชักชวนให้ร่วมสร้างการเมืองใหม่ การเมืองที่ดี
ดังนั้น คำตอบในฐานะผู้นำประเทศ ที่อ้างว่าความเดือดร้อนของชาวบ้านมาบตาพุดเป็นประเด็นการเมือง มันจึงกลายเป็นคำตอบที่นอกจากจะสะท้อนความคับแคบในหลายด้านแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความกลัวไปในตัวด้วย ส่วนจะกลัวอะไร หรือกลัวอย่างเดียวกับ ส.ส.ร่วมพรรค
อย่าลืมว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบกรณีมาบตาพุดอย่างจังหวัดระยอง คนที่นั่นเลือก ส.ส.ประชาธิปัตย์เข้าไปนั่งในสภา เพื่อให้ ส.ส.ในสภาเลือกนายกรัฐมนตรีอีกที ถ้าวันนี้ชาวบ้านทุ่มทุนเดินเท้าตลอดระยะเวลา 5-6 วัน (ในจำนวนนี้มีคุณลุงวัยเกษียณร่วมเดินเท้าเปล่าเข้าเมืองมาด้วย) แล้วต้องมาพบความผิดหวัง แค่จะพบหน้า คนที่เขาเลือกให้ขึ้นมาเป็นนายกฯ ยังไม่ได้ แล้วชาวบ้านจะหันไปพึ่งใคร
แหล่งข่าวเล่าว่า ผู้นำบางคนในรัฐบาลนี้ พูดจาอย่างหยิ่งผยองกับ ส.ว.บางท่าน ว่าไหนๆ ชาวบ้านจะฟ้องตนอยู่แล้ว ก็ไปเจอกันในศาลทีเดียว แล้วกัน ..
ฟังแล้วช่างเป็นคำพูดที่จองหองสิ้นดี แต่เสียดายที่ดันจองหองผิดที่ เลือกจองหองกับคนดี จองหองกับชาวบ้านที่เลือกคุณมา แต่กลับหันหาไปจู๋จี๋กับพวกนักการเมืองเลวๆ
แต่หลังจากได้กลับไปนอนคิดเต็มๆ หนึ่งคืน ล่าสุดก็มีแจ้งเข้ามาแล้วว่า รัฐบาลจะให้เครือข่ายประชาชนเข้าพบในช่วงเวลาสั้นๆ ในวันศุกร์นี้ ..ค่ะ อย่างน้อยก็ยังได้พบแม้จะยากเย็นเหลือเกิน …
ประเด็นเรื่องมาบตาพุด อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อดีตผู้นำนักศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 พูดไว้ในงานปาฐกถาวาระครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 10 หัวข้อ “เศรษฐศาสตร์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง” (Economic Religion and the Production of Structural Ignorance)
“...กรณีของมาบตาพุด สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกใจหายก็คือ ขณะที่ชาวบ้านที่เดือดร้อนเป็นบุคคลที่มีหน้าตาตัวตนอย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม มีคนเจ็บและคนเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนานาชนิดอย่างเป็นรูปธรรม ฝ่ายรัฐและภาคธุรกิจกลับพูดถึงคุณค่าและปริมาณของเงินลงทุนแบบลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าใครได้อะไรแค่ไหนจากเงินดังกล่าว จำนวนคนทำงาน 1 แสนคน ก็เป็นมนุษย์นิรนาม ไม่รู้ว่าเป็นใคร และทำงานในเงื่อนไขอะไร งานเหล่านั้นสร้างชีวิตที่ดีให้พวกเขาหรือไม่ หรือยิ่งทำให้ชีวิตของพวกเขาเลวลง กลายเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น..” (ประชาชาติธุรกิจ, 26 ต.ค. 52 )