ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - วิกฤตปัญหารถไฟหยุดวิ่งประท้วงฝ่ายบริหารเริ่มคลี่คลาย การรถไฟพร้อมเปิดเดินรถให้บริการ 3 จชต.วันนี้ หลัง “ถาวร” เป็นตัวกลางเข้าเจรจา แต่อาจจะยังไม่ครบทุกขบวนและจะเร่งเปิดเดินรถเต็มทั้งระบบภายใน3 วัน ขณะที่ผู้บริหาร รฟท.ดันทุรังจุดไฟขึ้นอีก อาจถึงขั้นแตกหัก เมื่อ “ยุทธนา” งัดไม้แข็งดันสหภาพฯจนมุมสั่งไล่ออก 8 พนักงาน ระบุขัดคำสั่งศาลขวางการเดินรถ ตั้วข้อหาประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ด้าน 6 พนักงาน รฟท.รับคำสั่งไล่ออกยืนกรานไม่ได้ขัดขวางการเดินรถไฟ พร้อมสู้ตามกระบวนการกฎหมาย “ศิริชัย” ขู่หาก รฟท. ไล่แกนนำลุกฮือทั่วประเทศแน่
วานนี้ (28 ต.ค.) นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ได้เข้าเป็นคนกลางเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างตัวแทนผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แกนนำสหภาพฯ รฟท.หาดใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเดินรถไฟลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ ซึ่งผลการเจรจาทุกฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการที่จะเปิดเดินรถลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นทางการในวันนี้ (29 ต.ค.) เป็นต้นไป แต่อาจยังไม่เต็มระบบทุกขบวน เพราะมีปัญหาติดขัดเรื่องหัวรถจักรหุ้มเกราะที่ยังไม่พร้อม รวมทั้งต้องจัดระบบการเดินรถอีกครั้ง เนื่องจากหยุดใช้เส้นทางมานานเกือบ 2 สัปดาห์ แต่คาดว่าจะสามารถเปิดเดินรถได้เต็มระบบภายใน 3 วัน
นอกจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการกลางร่วมระหว่างสหภาพฯ รฟท.และพนักงานที่ส่งจากส่วนกลางเข้าไปตรวจสอบหัวรถจักรที่มีปัญหา ส่วนข้อเรียกร้องของสหภาพฯ รฟท.ให้เป็นเรื่องการดำเนินการภายในระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
**บรรยากาศเครียดแต่เช้าก่อนได้ข้อยุติ
สำหรับบรรยากาศก่อนหน้านี้ตั้งแต่เช้าของวันเดียวกัน ทางการรถไฟฯได้เริ่มเปิดให้บริการเดินรถไฟลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากสถานีหาดใหญ่ถึงสถานีสุไหงโก-ลก โดยเป็นรถท้องถิ่นขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 463 หาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ออกเดินทางในเวลา 08.30 น.ซึ่งเป็นขบวนรถไฟฟรี โดยมีผู้โดยสารเต็มขบวนทั้ง 8 โบกี้ เนื่องจากมีการถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟที่ลงมาจากกรุงเทพฯ 2 ขบวนและต้องการเดินทางพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการเพิ่มกำลังตำรวจรถไฟจาก 5 นายเป็น 10 นาย ดูแลรักษาความปลอดภัยบนขบวนรถและประสานกำลังตำรวจ และ อส.กว่า 200 นาย เพื่อดูแลความเรียบร้อยบริเวณสถานีหาดใหญ่ก่อนที่รถจะออกจากสถานี รวมทั้งคุ้มกันหัวรถจักรคนขับและช่างเครื่องที่ส่งมาจากส่วนกลาง ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถไฟขบวนดังกล่าวยังเป็นคนเดิมคือ นายสาโรจน์ สุขสำราญ พนักงานขับรถขบวนที่หวิดเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 27 ต.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม การเดินรถไฟในพื้นที่ 3 จังหวัดแดนภาคใต้วานนี้มีเพียงขบวนนี้ขบวนเดียวที่เปิดให้บริการ ส่วนขบวนรถจากกรุงเทพฯและขบวนท้องถิ่นจากภาคใต้ตอนบนยังคงเดินรถแค่สถานีหาดใหญ่เท่านั้น
ขณะเดียวกันการรถไฟแห่งประเทศไทย ยังคงพยายามเปิดเดินรถไฟใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เต็มระบบโดยเร็วที่สุด ซึ่งในช่วงเช้า นายวิโรจน์ เตรียมพงษ์พันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้ง พล.ต.ต.สุรพงษ์ ศิริภักดี ผู้บังคับการตำรวจรถไฟได้เข้าเจรจากับแกนนำสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ ณ ที่ทำการของสหภาพฯรถไฟ เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันและเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถไฟใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็วที่สุด
ส่วนทางด้านท่าทีของสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ วานนี้ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 เรื่อง สมาชิกสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ และพนักงานพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในกรณีรถจักร รถพ่วง ที่มีสภาพสมบูรณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ในการให้บริการประชาชนที่ใช้บริการในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ จึงเห็นควรให้มีคณะกรรมการ ซึ่งมีคนกลางตรวจสอบสภาพของรถจักร รถพ่วง ให้มีความพร้อมสมบูรณ์ก่อนนำออกไปทำขบวน และต้องใช้พนักงานรถจักรแขวงหาดใหญ่ปฏิบัติงานเท่านั้น และให้การรถไฟปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างการรถไฟกับสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ในข้อตกลงที่การรถไฟยังไม่ได้ปฏิบัติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
**สหภาพฯยันเดินหน้าสู้ตามกฎหมาย
ด้านนายวิรุฬ สะแกคุ้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่ กล่าวถึงเรื่องที่ผู้ว่าฯ รฟท.จะใช้มาตรการเด็ดขาดไล่ออกพนักงาน โดยเฉพาะแกนนำสหภาพฯรถไฟจำนวน 10 คน รวมทั้งกรณีที่มีการแจ้งความดำเนินคดีกับสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ ที่ขัดขวางขบวนรถไฟเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ทั้ง 2 กรณีทางสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ จะขอสู้ตามกระบวนการของกฎหมาย ซึ่งได้หารือกับฝ่ายกฎหมายแล้ว เพราะไม่ได้ทำผิดระเบียบปฏิบัติของรถไฟและไม่ได้ขัดขวางการเดินรถไฟแต่อย่างใด
ส่วนกลุ่มนักเรียนวิศวกรรมรถไฟจำนวน 56 คนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งมาให้ดูแลซ่อมบำรุงรถจักรตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.ผ่านมานั้น วันนี้ได้เริ่มออกปฏิบัติงานเป็นวันแรกโดยเข้าดูแลความพร้อมขบวนรถที่ 463 ที่เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นขบวนแรกและจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าการเดินรถไฟสายใต้จะเดินรถเต็มรูปแบบ
**ประสานทหารเคลียร์เส้นทาง จชต.
นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ ผอ.ศูนย์ภาคใต้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า ตนได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้เคลียร์เส้นทางพร้อมวางมาตรการดูแลความปลอดภัยเส้นทางรถไฟอยางเข้มงวดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารและพนักงานขับรถไฟที่สามารถเปิดบริการเดินรถในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวันแรกแล้วหลังจากหยุดมานาน 12 วัน
**ผู้บริหาร รฟท.ดันทุรังจุดไฟขึ้นอีก
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า วานนี้ (28 ต.ค.) นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯรฟท.ได้ลงนามไล่พนักงานออก 8 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลาหยุดงานและส่งผลให้การเดินรถในเส้นทางสายต้องหยุดตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.52 ซึ่งพนักงานที่ถูกไล่ออกทั้งหมดนั้นยืนยันว่ามีหลักฐานว่ากระทำผิดจริงในข้อหาประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เนื่องจากขัดคำสั่งศาลที่มีคำสั่งคุ้มครองไม่ให้ขัดขวางการเดินรถให้บริการแก่ประชาชน
ส่วนนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท.ยังไม่ถูกดำเนินการเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอในการเอาผิด โดยผู้บริหาร รฟท.ยอมรับว่าการไล่ออกครั้งนี้อาจทำให้เกิดการประท้วงที่รุนแรงมากขึ้น จึงเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันการก่อความวุ่นวาย และเชื่อว่าน่าจะควบคุมสถานการณ์ได้
โดยก่อนหน้านี้ รฟท.ได้เป็นโจทก์ยื่นร้องต่อศาลจังหวัดสงขลา ห้ามไม่ให้ สร.รฟท.กับพวกรวม 7 คนประกอบด้วย สร.รฟท.จำเลยที่ 1 นายสาวิทย์ แก้วหวาน, นางสุนันทา สว่างแก้ว, นายบรรจง บุญเนตร, นายารา แสวงธรรม, นายภิญญโญ เรือนเพ็ชร และนายเหลี่ยม โมกงาม เป็นจำเลยที่ 2-7 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องและห้ามไม่ให้พนักงานรฟท. หรือบุคคลอื่นเข้าไปในเขตทางรถไฟของ รฟท.เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการเดินขบวนรถไฟตามปกติ ห้ามไม่ให้บุคคลใด ๆ กระทำการอันเป็นการขัดขวางการเดินขบวนรถไฟของ รฟท.ได้ตามปกติ ทั้งที่ชุมทางสถานีรถไฟหาดใหญ่และชุมทางสถานีรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอแล้วและสำนักงานบังคับคดีจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี คดีหมายเลขดำที่926/2552 ลงวันที่ 23 ต.ค.52 ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ศาลจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งตามหมายห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยทั้ง 7 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องและโจทก์อาจได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไป เนื่องจากการกระทำของจำเลยที้ง 7 อันเป็นการขัดขวางมิให้มีการเดินขบวนรถไฟตามปรกติ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
**”ยุทธนา”สั่งไล่ออก 8 พนักงานแล้ว
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ รฟท.ยืนยันว่า ต้องเอาผิดพนักงานที่พยายามขัดขวางการเดินรถไฟตามระเบียบและตามกฎหมาย ซึ่งฝ่ายกฎหมาย รฟท.ได้ฟ้องร้องต่อศาลแรงงานกลาง ให้ดำเนินคดีกับพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพฯ รฟท.2 คนหลังตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ขัดขวางการเปิดเดินรถและชักชวนพนักงานหยุดเดินรถประท้วงโทษสูงสุด คือ ไล่ออก
นอกจากนี้กรณีที่ขบวนรถไฟเกือบเกิดอุบัติเหตุ เมื่อวันที่ 27 ต.ค.52 ซึ่งสหภาพฯอ้างว่า คนขับไม่ชำนาญเส้นทาง พบว่า จากการสอบสวนเบื้องต้นอาจเกิดจากการกลั่นแกล้ง
โดยวานนี้ได้ลงนามไล่ออกพนักงาน และลูกจ้างการรถไฟ 8 คนโดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค.52 เป็นต้นไป โดยพนักงานที่ถูกไล่ออกนั้นประกอบด้วย นายธวัชชัย บุญวิสูตร ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายสรวุฒิ พ่อทองคำ ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายสาโรจน์ รักจันทร์ ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายประชานิวัฒน์ บัวศรี พนักงานรถจักร 6 ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายวิรุฬห์ สะแกคุ้ม พนักงานรถจักร 6 ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล และนายนิตินัย ไชยภูมิ นายสถานีบางกล่ำ ฝ่ายการเดินรถ
ส่วนลูกจ้างการ รฟท.ที่สามารถเลิกจ้างได้ทันทีตามกฎหมายแรงกลาง พร้อมต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับการ รฟท.จำนวนเงิน 70 ล้านประกอบด้วยนายภิญโญ เรืองเพ็ชร พขร.(พ.รถจักร 6 ) งานรถจักรบางซื่อ 1 และนายบรรจง บุญเนตร์ ช่างฝีมือ 5 งานซ่อมอุปกรณ์ส่วนล่างรถโดยสาร
อย่างไรก็ตามการ รฟท.ยังได้ดำเนินการตรวจสอบความผิดของพนักงานอีก 6 คน ซึ่งหากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องก็จะดำเนินการไล่ออกทันที ประกอบด้วยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ช่างฝีมือ 5 แขวงบำรุงรถโดยสารกรุงเทพฯ, นายธารา แสวงธรรม พขร. (พ.รถจักร 6) งานรถจักรบางซื่อ, นายเหลี่ยม โมกงาม พ.รถนอน (พ.ขบวนรถ 5) งานระเบียบการโดยสาร, นางสุนันทา สว่างแก้ว พ.บริหารงาน 5 กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา, นายสุพิเชฐ สุวรรณชาตรีพขร. 6 งานรถจักรบางซื่อ 1(ชก.) และนายอรุณ ดีรักชาติ พขร. 6 งานรถจักรบางซื่อ 1(ชก.)
**6 พนง.ถูกไล่ออกเรียกร้องความยุติรรม
ด้านพนักงาน รฟท. 6 คนที่ถูกไล่ออก ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นแกนนำสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ ประกอบด้วยนายวิรุฬห์ สะแกคุ้ม ประธานสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ นายประชานิวัฒน์ บัวศรี รองประธานฯ และคณะกรรมการอีก 4 คน คือ นายสาโรจน์ รักจันทร์ นายธวัชชัย บุญวิสูตร นายสรวุธ พ่อทองคำ และนายนิตินัย ไชยภูมิ ได้ออกมาเคลื่อนไหวทันที
นายวิรุฬ กล่าวว่า ทุกคนต่างได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วขณะนี้ยังไม่ขอพูดอะไรเกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าว เพราะต้องปรึกษาทนายก่อน แต่ยังคงยืนยันว่าพวกตนทั้ง 6 คนไม่ได้ขัดขวางการเดินรถไฟตามที่ถูกกล่าวหาและการเคลื่อนไหวเป็นไปตามกฏระเบียบของการรถไฟและเป็นการต่อสู้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ โดยในวันนี้ (29) จะเปิดแถลงในรายละเอียดของเรื่องนี้อีกครั้ง แต่ทุกคนพร้อมที่จะสู้ตามกระบวนการของกฏหมายเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมจนถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม เรื่องคำสั่งไล่ออกพนักงานทั้ง 6 คนไม่ได้มีผลกระทบต่อการเปิดเดินรถในวันพรุ่งนี้แต่อย่างใด พนักงานของสถานีรถไฟหาดใหญ่ในส่วนของพนักงานประจำรถจักรพร้อมที่จะออกปฏิบัติหน้าที่ทุกขบวนที่สามารถออกวิ่งได้ในวันนี้
**”ศิริชัย”ขู่ไล่แกนนำลุกฮือทั่วประเทศ
นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) กล่าวกรณีที่จะมีการไล่พนักงานออกอีก 10 คน ว่า ผู้บริหารจะใช้อำนาจไล่พนักงานออกไม่ได้ โดยเฉพาะหากเป็นนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสร.รฟท.ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการลูกจ้างของการรถไฟด้วยแล้วการจะไล่ออกต้องร้องต่อศาลเท่านั้นไม่สามารถใช้อำนาจไล่ได้ทันที ทั้งนี้ เป็นมาตรการคุ้มครองพนักงานถูกกลั่นแกล้ง ส่วนพนักงานคนอื่นที่ไม่ใช่กรรมการก็ตาม ถ้าจะไล่ออกจริงก็ต้องถามว่าใช้ข้อหาอะไร เพราะการไม่วิ่งรถเพราะหัวรถจักรไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมนั้นก็เป็นไปตามข้อตกลงการจ้างงานที่นายจ้างและลูกจ้างลงนามกันไว้เมื่อนายจ้างให้วิ่งรถที่ไม่สมบูรณ์ก็ไม่ใช่ความผิดของพนักงาน
“ผมคิดว่าผู้บริหารคงไม่โง่ที่จะไล่สหภาพฯออกเพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกไม่พอใจ ที่ผู้บริหารจะทำลายสหภาพฯซึ่งเป็นองค์กรหลักแห่งเดียวที่จะต่อสู้เพื่อพนักงาน ถ้าทำจริงจะทำให้พนักงานจำนวนมากหยุดงานประท้วง และจะลุกลามไม่ใช่แค่ 43 องค์กรรัฐสาหกิจแต่องค์กรประชาชนทั่วประเทศด้วยจะออกมาเคลื่อนไหวด้วย”
**จ่อของบ 8 หมื่น ล.รื้อโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการยกเครื่องการรฟท.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า แผนการยกเครื่องด้านโครงสร้างพื้นฐาน รฟท.เบื้องต้นที่จะเสนอนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมพิจารณา ต้องใช้งบประมาณราว 80,000 ล้านบาท คือ งานก่อสร้างทางคู่บาง 42,000 ล้านบาท การปรับปรุงด้านความปลอดภัย เช่น หมอนรางรถไฟ และระบบอาณัติสัญญาอีก 17,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดจะดำเนินการในระยะ 5 ปีเสร็จสิ้นปี 2557 รวมทั้งจะการปรับปรุงหัวรถจักร แคร่และตู้รถอีก 20,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการจะเสร็จสิ้นในปี 2556
นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนารถไฟในช่วง 10 ปีระหว่างปี 2552-2562 ใช้เงินรวม 708,855 ล้านบาท คืองานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4 เส้นทาง ประกอบด้วย บางซื่อ-เชียงใหม่, บางซื่อ-หนองคาย, มักกะสัน-จันทบุรี และบางซื่อ-ปาดังเบซา โดยให้เอกชนมาลงทุนงานก่อสร้างและรับสัมปทานเดินรถเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งแผนการนี้นายโสภณจะนำบางเส้นทางไปเสนอประเทศจีนที่แสดงความจำนงอยากลงทุนระบบรางของไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้มีแผนว่าจะให้เอกชนลงทุนในรูปแบบสัมปทาน แต่การจัดหาหัวรถจักรเพิ่มเติมยังคงมีอยู่ เพราะ รฟท.ต้องมีหัวรถจักรเป็นของตัวเองอย่างน้อย 80% และให้เอกชนที่มารับสัมปทาน หรือมาร่วมลงทุนจัดหาอีก 20% โดยเบื้องต้นประเมินว่าจะต้องจัดหาหัวรถจักรอีกไม่ต่ำกว่า 100 หัว
“แผนเบื้องต้นในช่วง 4-5 ปีนี้ต้องใช้เงินประมาณ 80,000 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยทั้งหมดและลงทุนก่อสร้างทางคู่บางส่วน เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากปัจจุบันที่เราวิ่งอยู่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเรามีแผน 10 ปีที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4 เส้นทาง โดยบางส่วนนี้ รมว.คมนาคมจะนำไปเสนอประเทศจีน ที่เขาสนใจมาลงทุนด้วย” นายถวัลย์รัฐ กล่าว
วานนี้ (28 ต.ค.) นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ได้เข้าเป็นคนกลางเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างตัวแทนผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แกนนำสหภาพฯ รฟท.หาดใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเดินรถไฟลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ ซึ่งผลการเจรจาทุกฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการที่จะเปิดเดินรถลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นทางการในวันนี้ (29 ต.ค.) เป็นต้นไป แต่อาจยังไม่เต็มระบบทุกขบวน เพราะมีปัญหาติดขัดเรื่องหัวรถจักรหุ้มเกราะที่ยังไม่พร้อม รวมทั้งต้องจัดระบบการเดินรถอีกครั้ง เนื่องจากหยุดใช้เส้นทางมานานเกือบ 2 สัปดาห์ แต่คาดว่าจะสามารถเปิดเดินรถได้เต็มระบบภายใน 3 วัน
นอกจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการกลางร่วมระหว่างสหภาพฯ รฟท.และพนักงานที่ส่งจากส่วนกลางเข้าไปตรวจสอบหัวรถจักรที่มีปัญหา ส่วนข้อเรียกร้องของสหภาพฯ รฟท.ให้เป็นเรื่องการดำเนินการภายในระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
**บรรยากาศเครียดแต่เช้าก่อนได้ข้อยุติ
สำหรับบรรยากาศก่อนหน้านี้ตั้งแต่เช้าของวันเดียวกัน ทางการรถไฟฯได้เริ่มเปิดให้บริการเดินรถไฟลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากสถานีหาดใหญ่ถึงสถานีสุไหงโก-ลก โดยเป็นรถท้องถิ่นขบวนรถพิเศษโดยสารที่ 463 หาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ออกเดินทางในเวลา 08.30 น.ซึ่งเป็นขบวนรถไฟฟรี โดยมีผู้โดยสารเต็มขบวนทั้ง 8 โบกี้ เนื่องจากมีการถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟที่ลงมาจากกรุงเทพฯ 2 ขบวนและต้องการเดินทางพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการเพิ่มกำลังตำรวจรถไฟจาก 5 นายเป็น 10 นาย ดูแลรักษาความปลอดภัยบนขบวนรถและประสานกำลังตำรวจ และ อส.กว่า 200 นาย เพื่อดูแลความเรียบร้อยบริเวณสถานีหาดใหญ่ก่อนที่รถจะออกจากสถานี รวมทั้งคุ้มกันหัวรถจักรคนขับและช่างเครื่องที่ส่งมาจากส่วนกลาง ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถไฟขบวนดังกล่าวยังเป็นคนเดิมคือ นายสาโรจน์ สุขสำราญ พนักงานขับรถขบวนที่หวิดเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 27 ต.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม การเดินรถไฟในพื้นที่ 3 จังหวัดแดนภาคใต้วานนี้มีเพียงขบวนนี้ขบวนเดียวที่เปิดให้บริการ ส่วนขบวนรถจากกรุงเทพฯและขบวนท้องถิ่นจากภาคใต้ตอนบนยังคงเดินรถแค่สถานีหาดใหญ่เท่านั้น
ขณะเดียวกันการรถไฟแห่งประเทศไทย ยังคงพยายามเปิดเดินรถไฟใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เต็มระบบโดยเร็วที่สุด ซึ่งในช่วงเช้า นายวิโรจน์ เตรียมพงษ์พันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้ง พล.ต.ต.สุรพงษ์ ศิริภักดี ผู้บังคับการตำรวจรถไฟได้เข้าเจรจากับแกนนำสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ ณ ที่ทำการของสหภาพฯรถไฟ เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันและเตรียมความพร้อมในการเปิดเดินรถไฟใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็วที่สุด
ส่วนทางด้านท่าทีของสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ วานนี้ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 เรื่อง สมาชิกสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ และพนักงานพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในกรณีรถจักร รถพ่วง ที่มีสภาพสมบูรณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ในการให้บริการประชาชนที่ใช้บริการในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ จึงเห็นควรให้มีคณะกรรมการ ซึ่งมีคนกลางตรวจสอบสภาพของรถจักร รถพ่วง ให้มีความพร้อมสมบูรณ์ก่อนนำออกไปทำขบวน และต้องใช้พนักงานรถจักรแขวงหาดใหญ่ปฏิบัติงานเท่านั้น และให้การรถไฟปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างการรถไฟกับสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ในข้อตกลงที่การรถไฟยังไม่ได้ปฏิบัติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
**สหภาพฯยันเดินหน้าสู้ตามกฎหมาย
ด้านนายวิรุฬ สะแกคุ้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่ กล่าวถึงเรื่องที่ผู้ว่าฯ รฟท.จะใช้มาตรการเด็ดขาดไล่ออกพนักงาน โดยเฉพาะแกนนำสหภาพฯรถไฟจำนวน 10 คน รวมทั้งกรณีที่มีการแจ้งความดำเนินคดีกับสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ ที่ขัดขวางขบวนรถไฟเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ทั้ง 2 กรณีทางสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ จะขอสู้ตามกระบวนการของกฎหมาย ซึ่งได้หารือกับฝ่ายกฎหมายแล้ว เพราะไม่ได้ทำผิดระเบียบปฏิบัติของรถไฟและไม่ได้ขัดขวางการเดินรถไฟแต่อย่างใด
ส่วนกลุ่มนักเรียนวิศวกรรมรถไฟจำนวน 56 คนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งมาให้ดูแลซ่อมบำรุงรถจักรตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.ผ่านมานั้น วันนี้ได้เริ่มออกปฏิบัติงานเป็นวันแรกโดยเข้าดูแลความพร้อมขบวนรถที่ 463 ที่เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นขบวนแรกและจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าการเดินรถไฟสายใต้จะเดินรถเต็มรูปแบบ
**ประสานทหารเคลียร์เส้นทาง จชต.
นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ ผอ.ศูนย์ภาคใต้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า ตนได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้เคลียร์เส้นทางพร้อมวางมาตรการดูแลความปลอดภัยเส้นทางรถไฟอยางเข้มงวดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารและพนักงานขับรถไฟที่สามารถเปิดบริการเดินรถในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวันแรกแล้วหลังจากหยุดมานาน 12 วัน
**ผู้บริหาร รฟท.ดันทุรังจุดไฟขึ้นอีก
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า วานนี้ (28 ต.ค.) นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯรฟท.ได้ลงนามไล่พนักงานออก 8 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลาหยุดงานและส่งผลให้การเดินรถในเส้นทางสายต้องหยุดตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.52 ซึ่งพนักงานที่ถูกไล่ออกทั้งหมดนั้นยืนยันว่ามีหลักฐานว่ากระทำผิดจริงในข้อหาประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เนื่องจากขัดคำสั่งศาลที่มีคำสั่งคุ้มครองไม่ให้ขัดขวางการเดินรถให้บริการแก่ประชาชน
ส่วนนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท.ยังไม่ถูกดำเนินการเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอในการเอาผิด โดยผู้บริหาร รฟท.ยอมรับว่าการไล่ออกครั้งนี้อาจทำให้เกิดการประท้วงที่รุนแรงมากขึ้น จึงเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันการก่อความวุ่นวาย และเชื่อว่าน่าจะควบคุมสถานการณ์ได้
โดยก่อนหน้านี้ รฟท.ได้เป็นโจทก์ยื่นร้องต่อศาลจังหวัดสงขลา ห้ามไม่ให้ สร.รฟท.กับพวกรวม 7 คนประกอบด้วย สร.รฟท.จำเลยที่ 1 นายสาวิทย์ แก้วหวาน, นางสุนันทา สว่างแก้ว, นายบรรจง บุญเนตร, นายารา แสวงธรรม, นายภิญญโญ เรือนเพ็ชร และนายเหลี่ยม โมกงาม เป็นจำเลยที่ 2-7 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องและห้ามไม่ให้พนักงานรฟท. หรือบุคคลอื่นเข้าไปในเขตทางรถไฟของ รฟท.เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการเดินขบวนรถไฟตามปกติ ห้ามไม่ให้บุคคลใด ๆ กระทำการอันเป็นการขัดขวางการเดินขบวนรถไฟของ รฟท.ได้ตามปกติ ทั้งที่ชุมทางสถานีรถไฟหาดใหญ่และชุมทางสถานีรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอแล้วและสำนักงานบังคับคดีจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี คดีหมายเลขดำที่926/2552 ลงวันที่ 23 ต.ค.52 ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ศาลจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งตามหมายห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยทั้ง 7 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องและโจทก์อาจได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไป เนื่องจากการกระทำของจำเลยที้ง 7 อันเป็นการขัดขวางมิให้มีการเดินขบวนรถไฟตามปรกติ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
**”ยุทธนา”สั่งไล่ออก 8 พนักงานแล้ว
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ รฟท.ยืนยันว่า ต้องเอาผิดพนักงานที่พยายามขัดขวางการเดินรถไฟตามระเบียบและตามกฎหมาย ซึ่งฝ่ายกฎหมาย รฟท.ได้ฟ้องร้องต่อศาลแรงงานกลาง ให้ดำเนินคดีกับพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพฯ รฟท.2 คนหลังตรวจสอบพบว่าเป็นผู้ขัดขวางการเปิดเดินรถและชักชวนพนักงานหยุดเดินรถประท้วงโทษสูงสุด คือ ไล่ออก
นอกจากนี้กรณีที่ขบวนรถไฟเกือบเกิดอุบัติเหตุ เมื่อวันที่ 27 ต.ค.52 ซึ่งสหภาพฯอ้างว่า คนขับไม่ชำนาญเส้นทาง พบว่า จากการสอบสวนเบื้องต้นอาจเกิดจากการกลั่นแกล้ง
โดยวานนี้ได้ลงนามไล่ออกพนักงาน และลูกจ้างการรถไฟ 8 คนโดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค.52 เป็นต้นไป โดยพนักงานที่ถูกไล่ออกนั้นประกอบด้วย นายธวัชชัย บุญวิสูตร ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายสรวุฒิ พ่อทองคำ ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายสาโรจน์ รักจันทร์ ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายประชานิวัฒน์ บัวศรี พนักงานรถจักร 6 ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล, นายวิรุฬห์ สะแกคุ้ม พนักงานรถจักร 6 ช่างเครื่อง 5 สรจ.หาดใหญ่ ฝ่ายการช่างกล และนายนิตินัย ไชยภูมิ นายสถานีบางกล่ำ ฝ่ายการเดินรถ
ส่วนลูกจ้างการ รฟท.ที่สามารถเลิกจ้างได้ทันทีตามกฎหมายแรงกลาง พร้อมต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับการ รฟท.จำนวนเงิน 70 ล้านประกอบด้วยนายภิญโญ เรืองเพ็ชร พขร.(พ.รถจักร 6 ) งานรถจักรบางซื่อ 1 และนายบรรจง บุญเนตร์ ช่างฝีมือ 5 งานซ่อมอุปกรณ์ส่วนล่างรถโดยสาร
อย่างไรก็ตามการ รฟท.ยังได้ดำเนินการตรวจสอบความผิดของพนักงานอีก 6 คน ซึ่งหากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องก็จะดำเนินการไล่ออกทันที ประกอบด้วยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ช่างฝีมือ 5 แขวงบำรุงรถโดยสารกรุงเทพฯ, นายธารา แสวงธรรม พขร. (พ.รถจักร 6) งานรถจักรบางซื่อ, นายเหลี่ยม โมกงาม พ.รถนอน (พ.ขบวนรถ 5) งานระเบียบการโดยสาร, นางสุนันทา สว่างแก้ว พ.บริหารงาน 5 กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา, นายสุพิเชฐ สุวรรณชาตรีพขร. 6 งานรถจักรบางซื่อ 1(ชก.) และนายอรุณ ดีรักชาติ พขร. 6 งานรถจักรบางซื่อ 1(ชก.)
**6 พนง.ถูกไล่ออกเรียกร้องความยุติรรม
ด้านพนักงาน รฟท. 6 คนที่ถูกไล่ออก ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นแกนนำสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ ประกอบด้วยนายวิรุฬห์ สะแกคุ้ม ประธานสหภาพฯรถไฟหาดใหญ่ นายประชานิวัฒน์ บัวศรี รองประธานฯ และคณะกรรมการอีก 4 คน คือ นายสาโรจน์ รักจันทร์ นายธวัชชัย บุญวิสูตร นายสรวุธ พ่อทองคำ และนายนิตินัย ไชยภูมิ ได้ออกมาเคลื่อนไหวทันที
นายวิรุฬ กล่าวว่า ทุกคนต่างได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วขณะนี้ยังไม่ขอพูดอะไรเกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าว เพราะต้องปรึกษาทนายก่อน แต่ยังคงยืนยันว่าพวกตนทั้ง 6 คนไม่ได้ขัดขวางการเดินรถไฟตามที่ถูกกล่าวหาและการเคลื่อนไหวเป็นไปตามกฏระเบียบของการรถไฟและเป็นการต่อสู้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ โดยในวันนี้ (29) จะเปิดแถลงในรายละเอียดของเรื่องนี้อีกครั้ง แต่ทุกคนพร้อมที่จะสู้ตามกระบวนการของกฏหมายเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมจนถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม เรื่องคำสั่งไล่ออกพนักงานทั้ง 6 คนไม่ได้มีผลกระทบต่อการเปิดเดินรถในวันพรุ่งนี้แต่อย่างใด พนักงานของสถานีรถไฟหาดใหญ่ในส่วนของพนักงานประจำรถจักรพร้อมที่จะออกปฏิบัติหน้าที่ทุกขบวนที่สามารถออกวิ่งได้ในวันนี้
**”ศิริชัย”ขู่ไล่แกนนำลุกฮือทั่วประเทศ
นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) กล่าวกรณีที่จะมีการไล่พนักงานออกอีก 10 คน ว่า ผู้บริหารจะใช้อำนาจไล่พนักงานออกไม่ได้ โดยเฉพาะหากเป็นนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสร.รฟท.ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการลูกจ้างของการรถไฟด้วยแล้วการจะไล่ออกต้องร้องต่อศาลเท่านั้นไม่สามารถใช้อำนาจไล่ได้ทันที ทั้งนี้ เป็นมาตรการคุ้มครองพนักงานถูกกลั่นแกล้ง ส่วนพนักงานคนอื่นที่ไม่ใช่กรรมการก็ตาม ถ้าจะไล่ออกจริงก็ต้องถามว่าใช้ข้อหาอะไร เพราะการไม่วิ่งรถเพราะหัวรถจักรไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมนั้นก็เป็นไปตามข้อตกลงการจ้างงานที่นายจ้างและลูกจ้างลงนามกันไว้เมื่อนายจ้างให้วิ่งรถที่ไม่สมบูรณ์ก็ไม่ใช่ความผิดของพนักงาน
“ผมคิดว่าผู้บริหารคงไม่โง่ที่จะไล่สหภาพฯออกเพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกไม่พอใจ ที่ผู้บริหารจะทำลายสหภาพฯซึ่งเป็นองค์กรหลักแห่งเดียวที่จะต่อสู้เพื่อพนักงาน ถ้าทำจริงจะทำให้พนักงานจำนวนมากหยุดงานประท้วง และจะลุกลามไม่ใช่แค่ 43 องค์กรรัฐสาหกิจแต่องค์กรประชาชนทั่วประเทศด้วยจะออกมาเคลื่อนไหวด้วย”
**จ่อของบ 8 หมื่น ล.รื้อโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการยกเครื่องการรฟท.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า แผนการยกเครื่องด้านโครงสร้างพื้นฐาน รฟท.เบื้องต้นที่จะเสนอนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมพิจารณา ต้องใช้งบประมาณราว 80,000 ล้านบาท คือ งานก่อสร้างทางคู่บาง 42,000 ล้านบาท การปรับปรุงด้านความปลอดภัย เช่น หมอนรางรถไฟ และระบบอาณัติสัญญาอีก 17,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดจะดำเนินการในระยะ 5 ปีเสร็จสิ้นปี 2557 รวมทั้งจะการปรับปรุงหัวรถจักร แคร่และตู้รถอีก 20,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการจะเสร็จสิ้นในปี 2556
นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนารถไฟในช่วง 10 ปีระหว่างปี 2552-2562 ใช้เงินรวม 708,855 ล้านบาท คืองานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4 เส้นทาง ประกอบด้วย บางซื่อ-เชียงใหม่, บางซื่อ-หนองคาย, มักกะสัน-จันทบุรี และบางซื่อ-ปาดังเบซา โดยให้เอกชนมาลงทุนงานก่อสร้างและรับสัมปทานเดินรถเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งแผนการนี้นายโสภณจะนำบางเส้นทางไปเสนอประเทศจีนที่แสดงความจำนงอยากลงทุนระบบรางของไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้มีแผนว่าจะให้เอกชนลงทุนในรูปแบบสัมปทาน แต่การจัดหาหัวรถจักรเพิ่มเติมยังคงมีอยู่ เพราะ รฟท.ต้องมีหัวรถจักรเป็นของตัวเองอย่างน้อย 80% และให้เอกชนที่มารับสัมปทาน หรือมาร่วมลงทุนจัดหาอีก 20% โดยเบื้องต้นประเมินว่าจะต้องจัดหาหัวรถจักรอีกไม่ต่ำกว่า 100 หัว
“แผนเบื้องต้นในช่วง 4-5 ปีนี้ต้องใช้เงินประมาณ 80,000 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยทั้งหมดและลงทุนก่อสร้างทางคู่บางส่วน เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากปัจจุบันที่เราวิ่งอยู่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเรามีแผน 10 ปีที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4 เส้นทาง โดยบางส่วนนี้ รมว.คมนาคมจะนำไปเสนอประเทศจีน ที่เขาสนใจมาลงทุนด้วย” นายถวัลย์รัฐ กล่าว