ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังสั่งลุย! ไฟเขียว ธ.ก.ส.เตรียมวงเงิน 6 หมื่นล้านแทรกแซงราคาข้าวให้เกษตรกร ช่วงรอขั้นตอนทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกรป้องกันพ่อค้าคนกลางกำหนดราคา
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเปิดเผยถึงการดูแลปัญหาราคาข้าวตกต่ำว่า มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ใส่เงินเข้าไปในระบบ 6 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการแทรกแซงราคาข้าวในราคาตลาด ป้องกันการกำหนดราคาจากพ่อค้าคนกลาง โดย 2 หมื่นล้านบาทจะเป็นการปล่อยกู้ให้กับองค์การคลังสินค้า(อคส.) เพื่อมาทำหน้าที่รับซื้อข้าวในราคาอ้างอิง และ 2 หมื่นล้านบาทจะปล่อยกู้ให้กับโรงสี เพื่อให้มีเม็ดเงินมารับซื้อข้าวในราคาอ้างอิงเช่นกัน และอีก 2 หมื่นล้านบาทจะเป็นการปล่อยกู้ให้กับเกษตรกร เพื่อรับซื้อข้าวไว้เอง
“เงิน 6 หมื่นล้านบาทที่ธกส.จะสนับสนุนให้กับเกษตรกรน่าจะเป็นส่วนสำคัญในการรักษาระดับราคาข้าวไม้ให้ตกต่ำได้ เพราะขณะนี้โครงการประกันรายได้เกษตรกร อยู่ในขั้นตอนการลงทะเบียนเกษตรกร ซึ่งคาดว่าจะทำสัญญาครบประมาณกลางเดือนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากนั้นจะต้องผ่านการทำประชาคม หากเสร็จแล้ว เกษตรกรก็จะได้รับการชดเชยราคาส่วนต่างระหว่างราคาตลาดกับราคาอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบการจำนำมาเป็นระบบการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินถึงมือเกษตรกรมากกว่า” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณ เพื่อใช้ในการประกันรายได้เกษตรกร ผ่านโครงการไทยเข้มแข็งวงเงิน 4.3 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาระดับราคาสินค้าเกษตร แต่ในเรื่องการทำสัญญาการประกันรายได้เกษตรกร ได้เริ่มที่ข้าวโพดก่อน เนื่องจากเป็นช่วงการเก็บเกี่ยว หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจึงได้ใช้เวลาในการทำสัญญากับข้าวโพด คาดว่าจะเสร็จในสิ้นเดือนนี้ หลังจากนั้นเม็ดเงินก็จะลงสู่เกษตรกร เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานกดปุ่มเงินประกันรายได้ในส่วนข้าวโพดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ซึ่งคาดว่าจะใช้เม็ดเงินในการชดเชยรายได้ 7-8 พันล้านบาท
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวคืบหน้าไปมาก แม้ว่าช่วงเริ่มต้นจะมีปัญหามากก็ตาม แต่ธ.ก.ส.ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จและให้เกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการ โดยขณะนี้ในส่วนของข้าวโพดมีเกษตรกรลงทะเบียนกว่า 380,000 ราย มันสำปะหลัง 430,000 ราย ส่วนข้าวกำลังเร่งดำเนินการอยู่ คาดว่าเมื่อจบโครงการจะมีผู้เข้าร่วมกว่า 4.5 ล้านรายในพืชทุกประเภท และประเมินว่าต้องใช้เงินชดเชยเฉลี่ยรายละ 1,000-2,000 บาท เพราะราคาที่ตกลงนั้นยังใกล้เคียงกับราคาที่รับประกัน
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเปิดเผยถึงการดูแลปัญหาราคาข้าวตกต่ำว่า มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ใส่เงินเข้าไปในระบบ 6 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการแทรกแซงราคาข้าวในราคาตลาด ป้องกันการกำหนดราคาจากพ่อค้าคนกลาง โดย 2 หมื่นล้านบาทจะเป็นการปล่อยกู้ให้กับองค์การคลังสินค้า(อคส.) เพื่อมาทำหน้าที่รับซื้อข้าวในราคาอ้างอิง และ 2 หมื่นล้านบาทจะปล่อยกู้ให้กับโรงสี เพื่อให้มีเม็ดเงินมารับซื้อข้าวในราคาอ้างอิงเช่นกัน และอีก 2 หมื่นล้านบาทจะเป็นการปล่อยกู้ให้กับเกษตรกร เพื่อรับซื้อข้าวไว้เอง
“เงิน 6 หมื่นล้านบาทที่ธกส.จะสนับสนุนให้กับเกษตรกรน่าจะเป็นส่วนสำคัญในการรักษาระดับราคาข้าวไม้ให้ตกต่ำได้ เพราะขณะนี้โครงการประกันรายได้เกษตรกร อยู่ในขั้นตอนการลงทะเบียนเกษตรกร ซึ่งคาดว่าจะทำสัญญาครบประมาณกลางเดือนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากนั้นจะต้องผ่านการทำประชาคม หากเสร็จแล้ว เกษตรกรก็จะได้รับการชดเชยราคาส่วนต่างระหว่างราคาตลาดกับราคาอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบการจำนำมาเป็นระบบการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินถึงมือเกษตรกรมากกว่า” นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณ เพื่อใช้ในการประกันรายได้เกษตรกร ผ่านโครงการไทยเข้มแข็งวงเงิน 4.3 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาระดับราคาสินค้าเกษตร แต่ในเรื่องการทำสัญญาการประกันรายได้เกษตรกร ได้เริ่มที่ข้าวโพดก่อน เนื่องจากเป็นช่วงการเก็บเกี่ยว หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจึงได้ใช้เวลาในการทำสัญญากับข้าวโพด คาดว่าจะเสร็จในสิ้นเดือนนี้ หลังจากนั้นเม็ดเงินก็จะลงสู่เกษตรกร เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานกดปุ่มเงินประกันรายได้ในส่วนข้าวโพดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ซึ่งคาดว่าจะใช้เม็ดเงินในการชดเชยรายได้ 7-8 พันล้านบาท
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธ.ก.ส. กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวคืบหน้าไปมาก แม้ว่าช่วงเริ่มต้นจะมีปัญหามากก็ตาม แต่ธ.ก.ส.ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จและให้เกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการ โดยขณะนี้ในส่วนของข้าวโพดมีเกษตรกรลงทะเบียนกว่า 380,000 ราย มันสำปะหลัง 430,000 ราย ส่วนข้าวกำลังเร่งดำเนินการอยู่ คาดว่าเมื่อจบโครงการจะมีผู้เข้าร่วมกว่า 4.5 ล้านรายในพืชทุกประเภท และประเมินว่าต้องใช้เงินชดเชยเฉลี่ยรายละ 1,000-2,000 บาท เพราะราคาที่ตกลงนั้นยังใกล้เคียงกับราคาที่รับประกัน