ASTVผู้จัดการรายวัน –เจ้าหน้าที่มาร์เกตติ้งเตรียมเฮ! ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ฯไฟเขียวให้จ่ายอินเซ็นทีฟกรณีลูกค้าเทรดหุ้นผ่านอินเทอร์เน็ตตามประกาศเดิม เหตุ เพิ่มช่องทางรายได้จากแนวโน้มนักลงทุนหันเทรดอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ส่วนกรณีลูกค้าเทรดผ่านมาร์เกตติ้งให้ยึดตามประกาศเดิม ขณะที่ค่าคอมมิชชันขั้นบันได ยังให้ยืนตามบอร์ดตลท.เห็นชอบ
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการเปิดรับความความคิดเห็น (เฮียร์ริ่ง)บริษัทหลักทรัพย์สมาชิก ในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น) การจ่ายผลตอบแทนตามมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ (Incentive)ให้กับเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง )ในส่วนซื้อขายหุ้นผ่านมาร์เกตติ้ง และการจ่าย Incentive ให้กับมาร์เกตติ้งกรณีที่ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต ที่จะมีการบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553
ทั้งนี้ผลจากการเฮียร์ริ่งบริษัทสมาชิกมีความเห็นให้มีการคิดค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดตามมติคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯอนุมัติ คือ มูลค่าซื้อขายไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่นอัตรา 0.25% มูลค่าซื้อขายมากกว่า5ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น 0. 22 % มูลค่าการซื้อขายมากกว่ามากกว่า 10 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 20 ล้านบาทคิดค่าคอมมิชชั่น 0.18% และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป สามารถต่อรองได้เสรีฯ ส่วนนักลงทุนสถาบันการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอัตราเดียวที่ 0.22%
ขณะที่การจ่าย Incentiveให้กับมาร์เกตติ้งกรณีที่ลูกค้ามีการส่งคำสั่งซื้อขายกับมาร์เกตติ้งให้จ่ายอัตรา 75%ในแต่ละเดือน ส่วนอีก 25% ให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้พิจารณาตามความผลงานและจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง จากที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เสนอให้จ่ายในอัตรา 65% และให้โบรกเกอร์เก็บไว้ 35% เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และตลาดหลักทรัพย์นจะไม่มีการกำหนดเงินเดือนขั้นสูงที่มาร์เกตติ้งจะได้รับ แต่ให้สมาคมโบรกเกอร์เป็นผู้พิจารณาเพื่อความเหมาะสม โดยตลาดหลักทรัพย์จะพยายามลดเรื่องการกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากที่สุด
ด้านนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในเรื่องการจ่ายIncentive ให้กับมาร์เกตติ้งกรณีที่ลูกค้ามีการสีงคำสั่งซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น มีข้อสรุปว่าจะให้มีการจ่ายให้ในอัตตรา 13.75% ของค่าคอมมิชชั่นซื้อขายหุ้น โดยที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากลูกค้า จากที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ฯเสนอว่า จะให้ลูกค้าเป็นผู้พิจารณาว่ามาร์เกตติ้งจะได้รับ Incentive หรือไม่ เนื่องจาก แนวโน้มอนาคตนักลงทุนจะมีการหันไปซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และยังเป็นอีกช่องทางที่มาร์เกตติ้งจะได้รับผลตอบแทน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการเปิดรับความความคิดเห็น (เฮียร์ริ่ง)บริษัทหลักทรัพย์สมาชิก ในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น) การจ่ายผลตอบแทนตามมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ (Incentive)ให้กับเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง )ในส่วนซื้อขายหุ้นผ่านมาร์เกตติ้ง และการจ่าย Incentive ให้กับมาร์เกตติ้งกรณีที่ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต ที่จะมีการบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553
ทั้งนี้ผลจากการเฮียร์ริ่งบริษัทสมาชิกมีความเห็นให้มีการคิดค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดตามมติคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯอนุมัติ คือ มูลค่าซื้อขายไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่นอัตรา 0.25% มูลค่าซื้อขายมากกว่า5ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น 0. 22 % มูลค่าการซื้อขายมากกว่ามากกว่า 10 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 20 ล้านบาทคิดค่าคอมมิชชั่น 0.18% และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป สามารถต่อรองได้เสรีฯ ส่วนนักลงทุนสถาบันการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอัตราเดียวที่ 0.22%
ขณะที่การจ่าย Incentiveให้กับมาร์เกตติ้งกรณีที่ลูกค้ามีการส่งคำสั่งซื้อขายกับมาร์เกตติ้งให้จ่ายอัตรา 75%ในแต่ละเดือน ส่วนอีก 25% ให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้พิจารณาตามความผลงานและจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง จากที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เสนอให้จ่ายในอัตรา 65% และให้โบรกเกอร์เก็บไว้ 35% เพื่อให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และตลาดหลักทรัพย์นจะไม่มีการกำหนดเงินเดือนขั้นสูงที่มาร์เกตติ้งจะได้รับ แต่ให้สมาคมโบรกเกอร์เป็นผู้พิจารณาเพื่อความเหมาะสม โดยตลาดหลักทรัพย์จะพยายามลดเรื่องการกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากที่สุด
ด้านนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในเรื่องการจ่ายIncentive ให้กับมาร์เกตติ้งกรณีที่ลูกค้ามีการสีงคำสั่งซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น มีข้อสรุปว่าจะให้มีการจ่ายให้ในอัตตรา 13.75% ของค่าคอมมิชชั่นซื้อขายหุ้น โดยที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากลูกค้า จากที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ฯเสนอว่า จะให้ลูกค้าเป็นผู้พิจารณาว่ามาร์เกตติ้งจะได้รับ Incentive หรือไม่ เนื่องจาก แนวโน้มอนาคตนักลงทุนจะมีการหันไปซื้อขายหุ้นผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และยังเป็นอีกช่องทางที่มาร์เกตติ้งจะได้รับผลตอบแทน