ในตอนที่แล้ว (1) ผมได้เขียนเชิงวิเคราะห์ถึงปัญหานี้ว่า น่าจะมีรากเหง้าจากระบบความเชื่อที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีมูลเหตุที่ก่อให้เกิดความเชื่อนั้น มูลมรดกเช่นนี้เป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าที่จะแก้อย่างถอนรากถอนโคนในระยะเวลาอันสั้น ผมขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาการดูถูกเหยียดหยามคนจัณฑาลในสังคมฮินดูในอินเดีย ซึ่งนำการรณรงค์โดยคนจัณฑาลชื่อดร.ภิมราว อัมเบ็ดการ์ ตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2467 ผู้นำเชื่อว่าการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมฮินดู พร้อมทั้งยกเลิกระบบวรรณะออกไปจากสังคมประเทศโดยกระบวนการทางกฎหมายเท่านั้นจึงจะสามารถถอนรากถอนโคนปัญหาที่แท้จริงได้
ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายมือหนึ่งในเวลานั้น อีกทั้งยังเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกชองอินเดีย หนึ่งในประเด็นสำคัญคือการยกเลิกระบบวรรณะ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้เวลาถึง 26 ปี แต่โดยพฤตินัยแล้วพฤติกรรมการเหยียดหยามคนจัณฑาลยังคงดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้
เราจะทำอย่างไรกับปัญหาที่กำลังกล่าวถึง เราจะมีทางออกหรือไม่? ผมคิดว่าเราควรแสวงหาทางออกร่วมกัน ในการนี้ที่ผมเชื่อในแนวคิดของศาสนาพุทธที่ว่า การแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือการขจัดปัญหาที่เหตุของปัญหา เพราะทุกสรรพสิ่งต่างก็ตกอยู่ในกฎของเหตุและผล ข้อเสนอของผมเป็นเรื่องพื้นๆ ไม่หวือหวาอะไร ดังจะได้กล่าวต่อไป
เพื่อตอบคำถามนั้นผมขอเล่าประสบการณ์ของผมในภาคอีสานสักเล็กน้อย เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้วผมทำงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และถูกส่งให้ทำงานในระดับหมู่บ้านในภาคนี้ ผมสนุกกับการทำงานแต่มีอยู่เรื่องหนึ่งผมมักเป็นทุกข์คือการทำธุระส่วนตัวทุกครั้ง ผมต้องเดินเข้าป่าหรือไม่ก็ต้องเข้าส้วมหลุมใกล้บ้านที่เห็นอะไรต่อมิอะไรในหลุมเต็มไปหมด แน่นอนว่าทางการได้รณรงค์การใช้ส้วมซึมมาก่อนหน้านั้นแล้ว มีการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแม่บ้านบ่อยครั้ง แถมยังมีการประกวดจำนวนส้วมซึมในระดับหมู่บ้านอย่างกว้างขวาง กระทั่งการสำรวจ จปฐ.ยังมีคำถามลักษณะนี้ปรากฏอยู่ แต่ก็ยังไม่เห็นผลเท่าใดนัก คำพูดที่ผู้นำหมู่บ้านมักนำมาอ้างกันคือ ชาวบ้านไม่เคยมีส้วมอย่างที่รณรงค์หลายร้อยปีแล้ว อีกทั้งหาน้ำมาล้างส้วมก็แสนยาก
วันเวลาผ่านไปจนถึง พ.ศ. 2543 ผมลงพื้นที่ภาคสนามทั้ง 26 อำเภอในจังหวัดขอนแก่น เพราะได้สมัครเลือกตั้งเป็น ส.ว.คราวนี้สิทำให้ผมแปลกใจมาก ผมเห็นแม่บ้านและเด็กนักเรียน (หญิง) พากันซักผ้าที่หน้าห้องน้ำที่ลาดปูนเป็นกิจลักษณะ ในห้องน้ำมีโถส้วมราคาถูกตั้งอยู่ แน่นอนว่าถ้าส้วมเหม็นคงไม่มีผู้ใดไปนั่งซักผ้า ผมได้ความรู้จากเด็กนักเรียนว่าที่โรงเรียน (ในอำเภอ) มีห้องน้ำอย่างนี้ ครูเองก็พร่ำสอนให้ทุกคนรักษาความสะอาดในเรื่องนี้ ละครโทรทัศน์ฉายให้เห็นบ้านเรือนเป็นระเบียบและห้องน้ำสะอาดและน่าใช้จึงอยากมีบ้าง แม่บ้านได้เห็นตัวอย่างจากที่ไปอบรมในตัวเมือง อีกทั้งลูกๆ รบเร้าให้สร้างห้องน้ำ ส่วนพ่อบ้านเมื่อถูกเรียกร้องบ่อยครั้งเข้าจึงตัดสินใจสร้างตามคำเรียกร้องของครอบครัว
เหตุปัจจัยเท่านั้นยังนับว่าไม่เพียงพอ ในสมัยนั้นการแพร่ภาพของสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ แพร่หลายพอสมควรแล้ว ข่าวสารและละครการละเล่นแพร่เข้าไปทุกซอกทุกมุมในเมืองและชนบท อีกทั้งเทคโนโลยี เช่น ถนน รถ ไฟฟ้า น้ำประปาหมู่บ้านเริ่มแพร่หลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาระดับอำเภอมีแล้ว ดังนั้นการได้รับข่าวสารและความรู้ที่เชื่อถือได้ การมีเทคโนโลยีแพร่หลายพร้อมๆ กับการขยายตัวโอกาสทางการศึกษาและการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของสื่อสารมวลชน ทำให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้มากขึ้นๆ
ใน พ.ศ. 2549 ผมลงพื้นที่อีกครั้งหนึ่งในจังหวัดเดียวกัน ก็เพราะสมัคร ส.ว.นั่นแหละ
ครั้งนี้ยิ่งแปลกใหญ่ ผมเห็นห้องน้ำและห้องส้วมปลูกค่อนข้างดีในแทบทุกหมู่บ้าน แม้จะไม่สะอาดเนียนเหมือนที่เห็นในหมู่บ้านจัดสรรในเมืองก็ตามที ผมว่าถ้าจะประกวดกันใหม่คงต้องประกวดเรื่องยี่ห้อของเครื่องสุขภัณฑ์มากกว่า ดังนั้นเรื่องที่รณรงค์อย่างยากเย็นแสนเข็ญในอดีตอย่างส้วมซึม บัดนี้ไม่ต้องมีใครมาบอกชาวบ้านจะรีบลงมือทำเอง
ก่อนถึงประเด็นสำคัญ ผมขอเล่าอีกเล็กน้อย ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง มุ่งใช้การศึกษาเพื่อปฏิวัติสังคม เขียนโดย เปาโล แฟร์ นักปฏิวัติการศึกษาเพื่อสังคมชาวบราซิล เขาเห็นอาการด้อยพัฒนาของประเทศทั้งหลายในแถบละตินอเมริกาแล้วรู้สึกฮึกเหิม จึงพัฒนาระบบการให้การศึกษาแก่คนที่ถูกเอาเปรียบ เขาว่าถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมมีความเชื่อว่าตนเองต่ำต้อย ความเชื่อเช่นนี้ทำให้เรื่องที่เป็นสากล เช่นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชน อิสรภาพและอำนาจอันชอบธรรมของประชาชนกลายเป็นเพียงคำสวยหรู แต่ไม่เคยนำไปสู่ความเป็นจริง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดว่าตนจะสามารถอยู่ในขบวนการนั้นได้
เขาตอกย้ำว่าการศึกษาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเท่านั้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการลบเลือนความรู้สึกต่ำต้อยออกจากความทรงจำได้ แน่นอนว่าเขาเสนอวิธีการที่น่าสนใจด้วย แต่อาจซับซ้อนที่จะนำมาเสนอในที่นี้ (โปรดอ่าน Paulo Freire, Education for Critical consciousness)
คราวนี้กลับมาถึงแนวทางการแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ – ขายเสียงบ้าง ข้อเสนอของผมอาจไม่หวือหวา หรือไม่ค่อยเป็นวิชาการนัก ผมกำลังเลียนแบบการสร้างส้วมซึมนั่นแหละ เพราะสาระแท้จริงของการแก้ปัญหาเรื่องส้วมคือการให้ข้อมูลและการศึกษาแก่ประชาชนนั่นเอง
ในการนี้ผมคงไม่จำเป็นจะต้องอธิบายความให้เยิ่นเย้อว่าจะทำกันอย่างไรในเรื่องการแก้ปัญหาการขายเสียง แต่ขอเสริมสักเล็กน้อยว่าในเมื่อสถาบันสังคม เช่นสถาบันการศึกษา โรงเรียน วัด อบต., อบท., อบจ., ส.ส., ส.ว. ผู้นำชุมชน NGO องค์กรอิสระทั้งหลาย สื่อมวลชนรูปแบบต่างๆ มากหลาย เทคโนโลยี และสิ่งก่อสร้างนานาชนิดก็พร้อมอยู่แล้ว เราควรใช้ความพร้อมเหล่านี้ให้ผสมผสานกัน สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “เอกภพทั้งหมดเป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้โดยไม่สัมพันธ์กับสิ่งอื่น” ต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วย
ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายมือหนึ่งในเวลานั้น อีกทั้งยังเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกชองอินเดีย หนึ่งในประเด็นสำคัญคือการยกเลิกระบบวรรณะ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้เวลาถึง 26 ปี แต่โดยพฤตินัยแล้วพฤติกรรมการเหยียดหยามคนจัณฑาลยังคงดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้
เราจะทำอย่างไรกับปัญหาที่กำลังกล่าวถึง เราจะมีทางออกหรือไม่? ผมคิดว่าเราควรแสวงหาทางออกร่วมกัน ในการนี้ที่ผมเชื่อในแนวคิดของศาสนาพุทธที่ว่า การแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือการขจัดปัญหาที่เหตุของปัญหา เพราะทุกสรรพสิ่งต่างก็ตกอยู่ในกฎของเหตุและผล ข้อเสนอของผมเป็นเรื่องพื้นๆ ไม่หวือหวาอะไร ดังจะได้กล่าวต่อไป
เพื่อตอบคำถามนั้นผมขอเล่าประสบการณ์ของผมในภาคอีสานสักเล็กน้อย เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้วผมทำงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และถูกส่งให้ทำงานในระดับหมู่บ้านในภาคนี้ ผมสนุกกับการทำงานแต่มีอยู่เรื่องหนึ่งผมมักเป็นทุกข์คือการทำธุระส่วนตัวทุกครั้ง ผมต้องเดินเข้าป่าหรือไม่ก็ต้องเข้าส้วมหลุมใกล้บ้านที่เห็นอะไรต่อมิอะไรในหลุมเต็มไปหมด แน่นอนว่าทางการได้รณรงค์การใช้ส้วมซึมมาก่อนหน้านั้นแล้ว มีการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแม่บ้านบ่อยครั้ง แถมยังมีการประกวดจำนวนส้วมซึมในระดับหมู่บ้านอย่างกว้างขวาง กระทั่งการสำรวจ จปฐ.ยังมีคำถามลักษณะนี้ปรากฏอยู่ แต่ก็ยังไม่เห็นผลเท่าใดนัก คำพูดที่ผู้นำหมู่บ้านมักนำมาอ้างกันคือ ชาวบ้านไม่เคยมีส้วมอย่างที่รณรงค์หลายร้อยปีแล้ว อีกทั้งหาน้ำมาล้างส้วมก็แสนยาก
วันเวลาผ่านไปจนถึง พ.ศ. 2543 ผมลงพื้นที่ภาคสนามทั้ง 26 อำเภอในจังหวัดขอนแก่น เพราะได้สมัครเลือกตั้งเป็น ส.ว.คราวนี้สิทำให้ผมแปลกใจมาก ผมเห็นแม่บ้านและเด็กนักเรียน (หญิง) พากันซักผ้าที่หน้าห้องน้ำที่ลาดปูนเป็นกิจลักษณะ ในห้องน้ำมีโถส้วมราคาถูกตั้งอยู่ แน่นอนว่าถ้าส้วมเหม็นคงไม่มีผู้ใดไปนั่งซักผ้า ผมได้ความรู้จากเด็กนักเรียนว่าที่โรงเรียน (ในอำเภอ) มีห้องน้ำอย่างนี้ ครูเองก็พร่ำสอนให้ทุกคนรักษาความสะอาดในเรื่องนี้ ละครโทรทัศน์ฉายให้เห็นบ้านเรือนเป็นระเบียบและห้องน้ำสะอาดและน่าใช้จึงอยากมีบ้าง แม่บ้านได้เห็นตัวอย่างจากที่ไปอบรมในตัวเมือง อีกทั้งลูกๆ รบเร้าให้สร้างห้องน้ำ ส่วนพ่อบ้านเมื่อถูกเรียกร้องบ่อยครั้งเข้าจึงตัดสินใจสร้างตามคำเรียกร้องของครอบครัว
เหตุปัจจัยเท่านั้นยังนับว่าไม่เพียงพอ ในสมัยนั้นการแพร่ภาพของสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ แพร่หลายพอสมควรแล้ว ข่าวสารและละครการละเล่นแพร่เข้าไปทุกซอกทุกมุมในเมืองและชนบท อีกทั้งเทคโนโลยี เช่น ถนน รถ ไฟฟ้า น้ำประปาหมู่บ้านเริ่มแพร่หลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาระดับอำเภอมีแล้ว ดังนั้นการได้รับข่าวสารและความรู้ที่เชื่อถือได้ การมีเทคโนโลยีแพร่หลายพร้อมๆ กับการขยายตัวโอกาสทางการศึกษาและการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของสื่อสารมวลชน ทำให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้มากขึ้นๆ
ใน พ.ศ. 2549 ผมลงพื้นที่อีกครั้งหนึ่งในจังหวัดเดียวกัน ก็เพราะสมัคร ส.ว.นั่นแหละ
ครั้งนี้ยิ่งแปลกใหญ่ ผมเห็นห้องน้ำและห้องส้วมปลูกค่อนข้างดีในแทบทุกหมู่บ้าน แม้จะไม่สะอาดเนียนเหมือนที่เห็นในหมู่บ้านจัดสรรในเมืองก็ตามที ผมว่าถ้าจะประกวดกันใหม่คงต้องประกวดเรื่องยี่ห้อของเครื่องสุขภัณฑ์มากกว่า ดังนั้นเรื่องที่รณรงค์อย่างยากเย็นแสนเข็ญในอดีตอย่างส้วมซึม บัดนี้ไม่ต้องมีใครมาบอกชาวบ้านจะรีบลงมือทำเอง
ก่อนถึงประเด็นสำคัญ ผมขอเล่าอีกเล็กน้อย ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง มุ่งใช้การศึกษาเพื่อปฏิวัติสังคม เขียนโดย เปาโล แฟร์ นักปฏิวัติการศึกษาเพื่อสังคมชาวบราซิล เขาเห็นอาการด้อยพัฒนาของประเทศทั้งหลายในแถบละตินอเมริกาแล้วรู้สึกฮึกเหิม จึงพัฒนาระบบการให้การศึกษาแก่คนที่ถูกเอาเปรียบ เขาว่าถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมมีความเชื่อว่าตนเองต่ำต้อย ความเชื่อเช่นนี้ทำให้เรื่องที่เป็นสากล เช่นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชน อิสรภาพและอำนาจอันชอบธรรมของประชาชนกลายเป็นเพียงคำสวยหรู แต่ไม่เคยนำไปสู่ความเป็นจริง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดว่าตนจะสามารถอยู่ในขบวนการนั้นได้
เขาตอกย้ำว่าการศึกษาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเท่านั้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการลบเลือนความรู้สึกต่ำต้อยออกจากความทรงจำได้ แน่นอนว่าเขาเสนอวิธีการที่น่าสนใจด้วย แต่อาจซับซ้อนที่จะนำมาเสนอในที่นี้ (โปรดอ่าน Paulo Freire, Education for Critical consciousness)
คราวนี้กลับมาถึงแนวทางการแก้ปัญหาการซื้อสิทธิ – ขายเสียงบ้าง ข้อเสนอของผมอาจไม่หวือหวา หรือไม่ค่อยเป็นวิชาการนัก ผมกำลังเลียนแบบการสร้างส้วมซึมนั่นแหละ เพราะสาระแท้จริงของการแก้ปัญหาเรื่องส้วมคือการให้ข้อมูลและการศึกษาแก่ประชาชนนั่นเอง
ในการนี้ผมคงไม่จำเป็นจะต้องอธิบายความให้เยิ่นเย้อว่าจะทำกันอย่างไรในเรื่องการแก้ปัญหาการขายเสียง แต่ขอเสริมสักเล็กน้อยว่าในเมื่อสถาบันสังคม เช่นสถาบันการศึกษา โรงเรียน วัด อบต., อบท., อบจ., ส.ส., ส.ว. ผู้นำชุมชน NGO องค์กรอิสระทั้งหลาย สื่อมวลชนรูปแบบต่างๆ มากหลาย เทคโนโลยี และสิ่งก่อสร้างนานาชนิดก็พร้อมอยู่แล้ว เราควรใช้ความพร้อมเหล่านี้ให้ผสมผสานกัน สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “เอกภพทั้งหมดเป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้โดยไม่สัมพันธ์กับสิ่งอื่น” ต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วย