ASTVผู้จัดการรายวัน- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมก.ย.พุ่งสุดในรอบ 2 ปี 10 เดือนหลังคำสั่งซื้อเริ่มกลับมาแต่ผลสำรวจยังไม่ได้รวมผลกระทบมาบตาพุดซึ่งยังหวั่นวิตกว่าจะเป็นปัจจัยฉุดเชื่อมั่นได้หากยังไม่ชัดเจน ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย. ก็สูงสุดในรอบ 11 เดือน ส่งสัญญาอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนก.ย.2552 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,130 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของส.อ.ท.ว่า ค่าดัชนีเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 95.5 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนส.ค.ที่ระดับ 88 และเป็นดัชนีที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปีกับ 10 เดือนนับตั้งแต่พ.ย.2549 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ การผลิต ต้นทุนและผลประกอบการเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม การสำรวจเดือนก.ย.ยังไม่มีการรวบรวมผลกระทบจากกรณีมาบตาพุดและปัญหาน้ำท่วม เพราะยังไม่มีความชัดเจนถึงผลกระทบกับผู้ประกอบการในขณะนั้น ซึ่งคงต้องติดตามดัชนีเดือนถัดไปว่าปัญหามาบตาพุดจะฉุดความเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใด แต่ยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวภาคเอกชนยังกังวลใจอยู่ซึ่งหากมีความชัดเจนเชื่อว่าสิ้นปีนี้อาจเห็นดัชนีเชื่อมั่นกลับไปอยู่ในระดับ 100 เช่นอดีตที่ผ่านมา
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นมาจากอุตสาหกรรมต้นน้ำเป็นส่วนใหญ่ถึง 14 กลุ่ม ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี และเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาวเอกชนเตรียมที่จะเสนอยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบรางของประเทศที่จะทำให้ระบบขนส่งภาคอุตสาหกรรมเข้มแข็ง โดยวางระบบตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนรถไฟเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์
นายอดิศักดิ์ โรหิตศุน รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ดัชนีคาดการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะคาดการณ์ว่ายอดขายโดยรวมจะดีขึ้นอีก และเอกชนได้เสนอแนะให้มีการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน พร้อมกับส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ตลอดจนความชัดเจนเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุด
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ย.ว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 186.59 เพิ่มขึ้น 1% จากระดับ 184.79 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือน หลังจากเผชิญภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่กลางปี 2551 เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยฟื้นตัวตามไปด้วย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก Hard Disk Drive การกลั่นปิโตรเลียม การผลิตเหล็ก ยานยนต์เริ่มฟื้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.59 ลดลง 0.5% จากระดับ 186.59 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 189.37 เพิ่มขึ้น 0.9% จากระดับ 187.72 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 167.24 ลดลง 20.7% จากระดับ 210.81 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 172.43 ลดลง 52.8% จากระดับ 365.49 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.11 ลดลง 2.9% จากระดับ 117.46
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนก.ย.2552 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,130 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของส.อ.ท.ว่า ค่าดัชนีเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 95.5 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนส.ค.ที่ระดับ 88 และเป็นดัชนีที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปีกับ 10 เดือนนับตั้งแต่พ.ย.2549 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ การผลิต ต้นทุนและผลประกอบการเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาก
อย่างไรก็ตาม การสำรวจเดือนก.ย.ยังไม่มีการรวบรวมผลกระทบจากกรณีมาบตาพุดและปัญหาน้ำท่วม เพราะยังไม่มีความชัดเจนถึงผลกระทบกับผู้ประกอบการในขณะนั้น ซึ่งคงต้องติดตามดัชนีเดือนถัดไปว่าปัญหามาบตาพุดจะฉุดความเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใด แต่ยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวภาคเอกชนยังกังวลใจอยู่ซึ่งหากมีความชัดเจนเชื่อว่าสิ้นปีนี้อาจเห็นดัชนีเชื่อมั่นกลับไปอยู่ในระดับ 100 เช่นอดีตที่ผ่านมา
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นมาจากอุตสาหกรรมต้นน้ำเป็นส่วนใหญ่ถึง 14 กลุ่ม ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี และเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาวเอกชนเตรียมที่จะเสนอยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบรางของประเทศที่จะทำให้ระบบขนส่งภาคอุตสาหกรรมเข้มแข็ง โดยวางระบบตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนรถไฟเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์
นายอดิศักดิ์ โรหิตศุน รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ดัชนีคาดการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะคาดการณ์ว่ายอดขายโดยรวมจะดีขึ้นอีก และเอกชนได้เสนอแนะให้มีการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน พร้อมกับส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ตลอดจนความชัดเจนเกี่ยวกับปัญหามาบตาพุด
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ย.ว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 186.59 เพิ่มขึ้น 1% จากระดับ 184.79 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือน หลังจากเผชิญภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่กลางปี 2551 เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยฟื้นตัวตามไปด้วย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก Hard Disk Drive การกลั่นปิโตรเลียม การผลิตเหล็ก ยานยนต์เริ่มฟื้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.59 ลดลง 0.5% จากระดับ 186.59 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 189.37 เพิ่มขึ้น 0.9% จากระดับ 187.72 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 167.24 ลดลง 20.7% จากระดับ 210.81 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 172.43 ลดลง 52.8% จากระดับ 365.49 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.11 ลดลง 2.9% จากระดับ 117.46