ช่วงนี้ในกรุงเทพฯ แม้ฝนจะยังตกอยู่ แต่ช่วงเช้าๆ ถ้าได้ยืนอยู่นอกชานบ้าน ท่านผู้อ่านหลายคนคงรู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของ “ฤดูหนาว” ที่กำลังจะมาเยือน
ส่วนตัว เมื่อกล่าวถึงฤดูหนาว ผมมักจะนึกถึงจังหวัดเชียงใหม่ เหตุเพราะตั้งแต่เป็นนักเรียนใส่กางเกงขาสั้น จนกระทั่งทำงานเป็นนักข่าว ทุกๆ ปี ผมจะได้มีโอกาสไปเยือนเมืองเชียงใหม่ ปีละหลายๆ ครั้งเสมอ ทั้งด้วยภารกิจทางหน้าที่การงานและภารกิจส่วนตัว โดยในความผูกพันกับเมืองหลวงของภาคเหนือแห่งนี้นอกจากเรื่องงานแล้ว ในแง่มุมของครอบครัว ภรรยาของผมยังเป็น “ลูกช้าง” หรือ “ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่” อีกด้วย
ทว่า ในช่วงหลังมานี้ ด้วยเหตุผลทางการเมืองที่เข้ามากระทบกับความรู้สึกบางประการ ทำให้ตัวผมเองไม่ได้กลับไปเยือนเชียงใหม่มา 3-4 ปีแล้ว
ล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เดินทางไปยังประเทศจีนกับรุ่นพี่ร่วมอาชีพผู้กว้างขวางด้านการท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นนักธุรกิจท้องถิ่นที่ผูกพันอยู่กับเมืองเชียงใหม่มาเกือบทั้งชีวิต
“ยังโชคดีที่ได้หมีแพนด้ามาช่วยเอาไว้ แต่ถ้ายังขืนปล่อยไว้แบบนี้ คนเชียงใหม่ตายแน่” รุ่นพี่ผู้นั้นกล่าวถึงปัญหาใหญ่ของการท่องเที่ยวเชียงใหม่ ด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล
ในทางการเมืองที่มีผู้พยายามแบ่งสี-แบ่งค่ายให้เป็นสีเหลืองและสีแดง เป็นที่ทราบกันดีว่า เมืองเชียงใหม่นั้นนอกจากจะเป็นถิ่นฐานสำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้หลบหนีโทษจำคุก 2 ปีของศาลฎีกาแล้ว เชียงใหม่ยังถือเป็นเมืองหลวงของ “คนเสื้อแดง” ด้วย
ความรุนแรงหลายครั้งที่คนเสื้อแดง เชียงใหม่ก่อขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กรณีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ “กลุ่มรักเชียงใหม่ 51” เข้าทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนที่สนามบินเชียงใหม่ จนได้รับบาดเจ็บหนัก อีกทั้งยังมีการเข้าปิดล้อมหมู่บ้านระมิงค์นิเวศน์ ที่ตั้งของบ้านแกนนำพันธมิตรฯ เชียงใหม่ และกลุ้มรุมทำร้ายนายเชษฐา เจียมกิจวัฒนา บิดาของนายเทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา พันธมิตรฯ เชียงใหม่ และเจ้าของสถานีวิทยุชุมชมวิหคเรดิโอจนเสียชีวิต
รวมไปถึงกรณีความรุนแรงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเดือนเมษายน 2552 และเหตุการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มเสื้อแดงได้ทำการปิดล้อม สถานีตำรวจภูธรภูพิงคราชนิเวศน์ (สภ.ภูพิงค์) จนทำให้เกิดปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงเพื่อต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวคนเสื้อแดงที่ถูกจับเนื่องจากพกพาอาวุธปืนอย่างผิดกฎหมาย
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความรุนแรงและการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไร้กระบวนของกลุ่มเสื้อแดงผู้จงรักภักดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งหมดได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งคนเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่ และที่สำคัญคือ ธุรกิจการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงปากท้องผู้คนของนครเก่าแก่แห่งนี้
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีความพยายามจากกลุ่มนักธุรกิจ-หอการค้า-นักวิชาการที่ต้องการผลักดันให้มีการจัดแถลงข่าวและจัดเวทีให้กลุ่มคนเสื้อเหลือง กับ เสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่ มาจับมือกัน เพื่อหวังว่าภาพดังกล่าวจะช่วยแก้ปมปัญหาการท่องเที่ยวและธุรกิจของเชียงใหม่ได้
หากจะกล่าวไป ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกันว่า เหตุใด “เชียงใหม่” จึงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเพียงแห่งเดียวที่ออกมาป่าวประกาศว่าได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องสีเหลือง-สีแดง มากที่สุด
ทั้งๆ ที่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การท่องเที่ยวในพื้นที่/จังหวัดอื่นๆ อย่างเช่น ในเขตภาคใต้-ภาคตะวันออก ที่มีการรวมตัวของคนเสื้อเหลืองอย่างเป็นกลุ่มก้อน เช่น หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต หรือกระทั่ง ชลบุรี-พัทยา ที่คนเสื้อแดงเดินทางไปล้มการประชุมอาเซียนเมื่อเดือนเมษายน 2552 และสร้างภาพลบให้เมืองท่องเที่ยวสำคัญทางภาคตะวันออกอย่างใหญ่หลวง กลับได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองแต่ในระยะสั้นเท่านั้น และเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวมาได้สักพักหนึ่งแล้วตามสภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ด้วยเหตุนี้ คำถามจึงมาตกอยู่ที่ว่า ในการแก้ไขปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ เพื่อให้ทันฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เทศกาลลอยกระทง ต่อเนื่องไปจนถึงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2553 ด้วยวิธีการเปิดแถลงข่าว โดยเอาเสื้อเหลืองและเสื้อแดงมาจับมือกันนั้นตรงจุดหรือไม่?
นอกจากนี้ คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่ถูกต้องหรือไม่?
จริงๆ คำตอบของคำถามแรกนั้น ผมเชื่อว่า หลายท่านคงทราบอยู่แก่ใจแล้วจากเหตุการณ์ที่ผ่านๆ มาว่า ปัจจัยชี้ขาดความสมานฉันท์และความสงบสุขจะเกิดขึ้นแก่เชียงใหม่หรือไม่นั้นมิได้อยู่ที่กลุ่มเสื้อเหลืองที่ถือว่าเป็นคนกลุ่มน้อยในเชียงใหม่ และแสดงออกทางการเมืองอย่างสงบสันติมาตลอด แต่อยู่กับกลุ่มเสื้อแดงที่มีพฤติกรรมและประวัติในการใช้ความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในจุดนี้ ก็มีผู้จับตาดูอยู่ว่า ปัจจัยเสริมอย่าง นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่สายพรรคเพื่อไทยที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นมาจะเข้ามากระพือเพลิงความขัดแย้งให้ลุกโชนขึ้น หรือช่วยบรรเทาความรุนแรงให้เบาบางลงกันแน่
ส่วนคำตอบของคำถามที่สองนั้น ผมเชื่อมั่นว่า ปัจจัยที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาวนั้นตกอยู่ในความรับผิดชอบของชาวเมืองเชียงใหม่เองว่า จะปล่อยให้นักการเมืองเอาเกมการเมืองระดับชาติ หยิบยกเอาเรื่องการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเอง โดยใช้วิธีเกณฑ์คนต่างถิ่น/นอกพื้นที่ก่อความรุนแรง เข้ามามีอำนาจเหนือตนเองในการกำหนดชะตากรรมของคนเชียงใหม่ และอนาคตทางเศรษฐกิจของคนเชียงใหม่ทั้งหมดหรือไม่
หากคนเชียงใหม่ไม่รีบตัดสินใจ ไม่ลงมือทำและไม่เริ่มแก้ไขตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าหน้าท่องเที่ยว ช่วงเทศกาล หรือฤดูหนาวของปีนี้หรือปีไหนๆ ก็คงยากที่เชียงใหม่จะดึงคนให้กลับไปเที่ยวได้เหมือนเดิมอีก
ส่วนตัว เมื่อกล่าวถึงฤดูหนาว ผมมักจะนึกถึงจังหวัดเชียงใหม่ เหตุเพราะตั้งแต่เป็นนักเรียนใส่กางเกงขาสั้น จนกระทั่งทำงานเป็นนักข่าว ทุกๆ ปี ผมจะได้มีโอกาสไปเยือนเมืองเชียงใหม่ ปีละหลายๆ ครั้งเสมอ ทั้งด้วยภารกิจทางหน้าที่การงานและภารกิจส่วนตัว โดยในความผูกพันกับเมืองหลวงของภาคเหนือแห่งนี้นอกจากเรื่องงานแล้ว ในแง่มุมของครอบครัว ภรรยาของผมยังเป็น “ลูกช้าง” หรือ “ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่” อีกด้วย
ทว่า ในช่วงหลังมานี้ ด้วยเหตุผลทางการเมืองที่เข้ามากระทบกับความรู้สึกบางประการ ทำให้ตัวผมเองไม่ได้กลับไปเยือนเชียงใหม่มา 3-4 ปีแล้ว
ล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เดินทางไปยังประเทศจีนกับรุ่นพี่ร่วมอาชีพผู้กว้างขวางด้านการท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นนักธุรกิจท้องถิ่นที่ผูกพันอยู่กับเมืองเชียงใหม่มาเกือบทั้งชีวิต
“ยังโชคดีที่ได้หมีแพนด้ามาช่วยเอาไว้ แต่ถ้ายังขืนปล่อยไว้แบบนี้ คนเชียงใหม่ตายแน่” รุ่นพี่ผู้นั้นกล่าวถึงปัญหาใหญ่ของการท่องเที่ยวเชียงใหม่ ด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล
ในทางการเมืองที่มีผู้พยายามแบ่งสี-แบ่งค่ายให้เป็นสีเหลืองและสีแดง เป็นที่ทราบกันดีว่า เมืองเชียงใหม่นั้นนอกจากจะเป็นถิ่นฐานสำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้หลบหนีโทษจำคุก 2 ปีของศาลฎีกาแล้ว เชียงใหม่ยังถือเป็นเมืองหลวงของ “คนเสื้อแดง” ด้วย
ความรุนแรงหลายครั้งที่คนเสื้อแดง เชียงใหม่ก่อขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กรณีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ “กลุ่มรักเชียงใหม่ 51” เข้าทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนที่สนามบินเชียงใหม่ จนได้รับบาดเจ็บหนัก อีกทั้งยังมีการเข้าปิดล้อมหมู่บ้านระมิงค์นิเวศน์ ที่ตั้งของบ้านแกนนำพันธมิตรฯ เชียงใหม่ และกลุ้มรุมทำร้ายนายเชษฐา เจียมกิจวัฒนา บิดาของนายเทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา พันธมิตรฯ เชียงใหม่ และเจ้าของสถานีวิทยุชุมชมวิหคเรดิโอจนเสียชีวิต
รวมไปถึงกรณีความรุนแรงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเดือนเมษายน 2552 และเหตุการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มเสื้อแดงได้ทำการปิดล้อม สถานีตำรวจภูธรภูพิงคราชนิเวศน์ (สภ.ภูพิงค์) จนทำให้เกิดปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงเพื่อต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวคนเสื้อแดงที่ถูกจับเนื่องจากพกพาอาวุธปืนอย่างผิดกฎหมาย
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความรุนแรงและการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไร้กระบวนของกลุ่มเสื้อแดงผู้จงรักภักดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งหมดได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งคนเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่ และที่สำคัญคือ ธุรกิจการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงปากท้องผู้คนของนครเก่าแก่แห่งนี้
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีความพยายามจากกลุ่มนักธุรกิจ-หอการค้า-นักวิชาการที่ต้องการผลักดันให้มีการจัดแถลงข่าวและจัดเวทีให้กลุ่มคนเสื้อเหลือง กับ เสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่ มาจับมือกัน เพื่อหวังว่าภาพดังกล่าวจะช่วยแก้ปมปัญหาการท่องเที่ยวและธุรกิจของเชียงใหม่ได้
หากจะกล่าวไป ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกันว่า เหตุใด “เชียงใหม่” จึงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเพียงแห่งเดียวที่ออกมาป่าวประกาศว่าได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องสีเหลือง-สีแดง มากที่สุด
ทั้งๆ ที่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การท่องเที่ยวในพื้นที่/จังหวัดอื่นๆ อย่างเช่น ในเขตภาคใต้-ภาคตะวันออก ที่มีการรวมตัวของคนเสื้อเหลืองอย่างเป็นกลุ่มก้อน เช่น หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต หรือกระทั่ง ชลบุรี-พัทยา ที่คนเสื้อแดงเดินทางไปล้มการประชุมอาเซียนเมื่อเดือนเมษายน 2552 และสร้างภาพลบให้เมืองท่องเที่ยวสำคัญทางภาคตะวันออกอย่างใหญ่หลวง กลับได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองแต่ในระยะสั้นเท่านั้น และเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวมาได้สักพักหนึ่งแล้วตามสภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ด้วยเหตุนี้ คำถามจึงมาตกอยู่ที่ว่า ในการแก้ไขปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ เพื่อให้ทันฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เทศกาลลอยกระทง ต่อเนื่องไปจนถึงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2553 ด้วยวิธีการเปิดแถลงข่าว โดยเอาเสื้อเหลืองและเสื้อแดงมาจับมือกันนั้นตรงจุดหรือไม่?
นอกจากนี้ คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่ถูกต้องหรือไม่?
จริงๆ คำตอบของคำถามแรกนั้น ผมเชื่อว่า หลายท่านคงทราบอยู่แก่ใจแล้วจากเหตุการณ์ที่ผ่านๆ มาว่า ปัจจัยชี้ขาดความสมานฉันท์และความสงบสุขจะเกิดขึ้นแก่เชียงใหม่หรือไม่นั้นมิได้อยู่ที่กลุ่มเสื้อเหลืองที่ถือว่าเป็นคนกลุ่มน้อยในเชียงใหม่ และแสดงออกทางการเมืองอย่างสงบสันติมาตลอด แต่อยู่กับกลุ่มเสื้อแดงที่มีพฤติกรรมและประวัติในการใช้ความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในจุดนี้ ก็มีผู้จับตาดูอยู่ว่า ปัจจัยเสริมอย่าง นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่สายพรรคเพื่อไทยที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นมาจะเข้ามากระพือเพลิงความขัดแย้งให้ลุกโชนขึ้น หรือช่วยบรรเทาความรุนแรงให้เบาบางลงกันแน่
ส่วนคำตอบของคำถามที่สองนั้น ผมเชื่อมั่นว่า ปัจจัยที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาวนั้นตกอยู่ในความรับผิดชอบของชาวเมืองเชียงใหม่เองว่า จะปล่อยให้นักการเมืองเอาเกมการเมืองระดับชาติ หยิบยกเอาเรื่องการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ของพวกพ้องตัวเอง โดยใช้วิธีเกณฑ์คนต่างถิ่น/นอกพื้นที่ก่อความรุนแรง เข้ามามีอำนาจเหนือตนเองในการกำหนดชะตากรรมของคนเชียงใหม่ และอนาคตทางเศรษฐกิจของคนเชียงใหม่ทั้งหมดหรือไม่
หากคนเชียงใหม่ไม่รีบตัดสินใจ ไม่ลงมือทำและไม่เริ่มแก้ไขตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าหน้าท่องเที่ยว ช่วงเทศกาล หรือฤดูหนาวของปีนี้หรือปีไหนๆ ก็คงยากที่เชียงใหม่จะดึงคนให้กลับไปเที่ยวได้เหมือนเดิมอีก