พรรคไทยรักไทยซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคที่ขึ้นมาเถลิงอำนาจในปี 2544 จะว่าไปแล้วก็คือ ตัวแทนของกลุ่มทุนไทยขนาดใหญ่ที่รอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาได้นั่นเอง กลุ่มทุนไทยขนาดใหญ่เหล่านี้ ล้วนเห็นพ้องต้องกันว่า มีความจำเป็นที่ต้องเข้ามายึดกุมอำนาจรัฐโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งเพื่อใช้อำนาจรัฐนี้ไปปกป้องธุรกิจของพวกตนจากความผันผวนของเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์ที่ยากจะคาดการณ์ได้
กลุ่มทุนไทยขนาดใหญ่เหล่านี้เริ่มรู้สึกไม่มั่นใจในอนาคตหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 พวกเขาจึงต้องการได้ “อำนาจรัฐ” เพื่อมาใช้สนับสนุนส่งเสริม รวมทั้งให้อภิสิทธิ์แก่กลุ่มตน และพวกพ้องโดยเฉพาะในการกำหนดกฎกติกาและนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่ตนและพรรคพวก
ถ้าพิจารณาองค์ประกอบของกลุ่มทุนไทยขนาดใหญ่ที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ของกลุ่มทุนเหล่านี้ล้วนดำเนินธุรกิจที่ต้องอาศัยใบอนุญาตหรือสัมปทานจากภาครัฐ หรืออย่างน้อยการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภาครัฐเพื่อเอื้ออำนวยในเรื่องกฎกติกาเป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบธุรกิจของพวกเขา
เพราะฉะนั้น ในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 การที่พวกนายทุนใหญ่พวกนี้ได้ผันตัวเองมาเป็น “นักการเมือง” โดยตรงเพื่อยึดกุมอำนาจรัฐจึงมีความสมเหตุสมผลทางธุรกิจในการที่จะลดความเสี่ยงทางธุรกิจของพวกตน โดยการเข้ามาเป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจโดยตรงด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ “การเมือง” สำหรับพวกนายทุนใหญ่กลุ่มนี้ จึงเป็นเรื่องของ “วิธีคิดแบบนักธุรกิจ” ล้วนๆ หาได้มีอุดมคติทางการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างที่ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นมาแต่อย่างใดไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่า พรรคไทยรักไทยได้ใช้ นโยบายประชานิยม เป็นอาวุธทางการเมืองที่ทรงพลังยิ่งในการไต่เต้าอย่างพรวดพราดขึ้นมายึดอำนาจรัฐอย่างได้ผล โดยผ่านการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นโยบายประชานิยม แบบต่างๆ ที่นำเสนอโดยพรรคไทยรักไทยนี้ล้วนถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อดูดคะแนนเสียงจากชนชั้นรากหญ้าในภาคอีสานและภาคเหนือโดยเฉพาะ จึงมีแนวโน้มที่จะไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม และไม่ได้คำนึงถึงภาระทางการคลังของรัฐบาลเท่าที่ควร
นโยบายประชานิยม จึงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรของรัฐอย่างขาดประสิทธิภาพ และไปบดบังโครงการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อสังคมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวมากกว่า เช่น การปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นหัวใจของการเพิ่มศักยภาพของประชาชนไทยที่เป็นจุดอ่อนของทุกรัฐบาลมาโดยตลอด
* * *
โดยการชูคำขวัญ “คิดใหม่ ทำใหม่” พร้อมๆ กับการรณรงค์อย่างแข็งขันด้วยชุดของนโยบายใหม่อย่างเช่น การพักชำระหนี้เกษตรกร การประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค การตั้งกองทุนหมู่บ้าน การปราบปรามยาเสพติด และการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางย่อย ฯลฯ ของพรรคไทยรักไทยที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ทำให้ผลการเลือกตั้งที่มีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยได้เสียงมากสุด คือ ในจำนวน ส.ส.เขต 400 เสียง พรรคไทยรักไทยได้ถึง 208 เสียง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนนเป็นอันดับสองได้เพียง 97 เสียงเท่านั้น
ส่วนจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนที่จัดสำหรับพรรคที่ได้คะแนนบัญชีรายชื่อ 5% ขึ้นไป พรรคไทยรักไทยได้ 48 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 31 เสียง ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสียงรับรองในสภาผู้แทนราษฎรถึง 339 เสียง มาจากพรรคไทยรักไทย 246 เสียง ส่วนที่เหลือมาจากพรรคอื่นๆ ที่ต่อมาได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลกับพรรคไทยรักไทย คือ พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ และพรรคเสรีธรรม
หลังจากเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้พยายามแสดงท่าทีผ่อนปรนต่อภาคประชาชน เมื่อเทียบกับรัฐบาลชุดก่อน เช่น ให้คำมั่นสัญญาต่อสมัชชาคนจนว่าจะเร่งแก้ปัญหาให้ สมัชชาคนจนจึงยุติการชุมนุม เปิดโอกาสและให้เวลารัฐบาลในการดำเนินการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ รัฐบาลทักษิณยังได้ยกเลิกพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ในเรื่องของการบริหารราชการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเริ่มต้นการบริหารส่วนภูมิภาคแบบใหม่ โดยนำระบบ “ผู้ว่าฯ แบบซีอีโอ” เข้ามาใช้ ซึ่งก็คือ การให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพิ่มขึ้นจนครอบคลุมทุกด้าน แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบนี้จะต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่า จะดำเนินการอย่างไรให้แก่จังหวัด และจะมีการประเมินผลงานทุก 2 ปี ในลักษณะเดียวกับผู้บริหารธุรกิจ
ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 7 ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิดกรณีซุกหุ้นในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เพราะเป็นการ “บกพร่องโดยสุจริต” ก็ยิ่งทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระชับอำนาจ ได้มากยิ่งขึ้น และสามารถบริหารประเทศได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพะวงหลังว่าจะถูกถอดถอนสิทธิทางการเมือง จึงทำให้หลังจากที่บริหารประเทศไปได้หนึ่งปีคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังสูงลิ่ว เพราะนอกจากพรรคของเขาจะดำเนินนโยบายประชานิยมตามที่ได้หาเสียงแล้วในช่วงนั้น ยังมีแนวโน้มที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างมากจากการปั่น “ฟองสบู่” อีกครั้งของกลุ่มทุนใหญ่กลุ่มต่างๆ โดยคิดว่าจะสามารถควบคุมได้ในตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้แสดงบุคลิกภาพความเป็นผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง และตอบปัญหาทุกประเด็น อธิบายทุกเรื่องให้ประชาชนได้รับทราบผ่านรายการพบประชาชนทางวิทยุทุกเช้าวันเสาร์ ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลายเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากประชาชนกว่าค่อนประเทศอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนกับนายกรัฐมนตรีคนใดก่อนหน้านี้
* * *
อะไรคือ เคล็ดลับแห่งมนต์ขลัง ของผู้นำประเทศที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร? ความจริงในขณะนั้นที่ยากจะปฏิเสธได้ก็คือ ประชาชนกว่าค่อนประเทศในตอนนั้นได้ตกเป็น “เชลย” ของทักษิณ ไม่ว่าคนที่สนับสนุนเขา คนที่ศรัทธาเขา หรือคนที่รู้ทันเขา คนที่ไม่ชอบไม่ไว้วางใจในการกระทำของเขา รวมทั้งคนที่ไม่แคร์ว่าใครจะเป็นผู้นำก็ได้ ผู้คนเหล่านี้ล้วนตกเป็น “เชลย” ของทักษิณในตอนนั้นด้วยกันหมดทั้งสิ้น ทุกคนกลายเป็นเชลยของทักษิณ มิใช่เพราะความหวาดกลัว และมิใช่เพราะอำนาจบารมีส่วนตัวของทักษิณ เพราะลำพังแค่ความสามารถทางวาทศิลป์ของเขาในการพูดจาโน้มน้าวจิตใจประชาชนผ่านทางรายการวิทยุทุกวันเสาร์ ไม่น่าจะทำให้ผู้คนกว่าค่อนประเทศตกอยู่ในภาวะจำยอมเหมือนกับเป็นเชลยของทักษิณได้ถึงเพียงนี้
แต่น่าจะเป็นเพราะว่า คนไทยเกือบทั่วทั้งประเทศในตอนนั้น ได้ตกหลุมพรางหลวมตัวหลงเชื่อสิ่งที่เป็น “นิทาน” หรือ “เรื่องเล่า” ที่ทักษิณเฝ้าเป่าหู กรอกหูคนทั้งประเทศมาโดยตลอดว่า “เรามาถูกทางแล้ว” ต่างหาก
นิทานหรือเรื่องเล่าอันเป็น “มายาคติ” ที่เขาและพวกสมุนของเขาเฝ้าพร่ำบอกหลอกผู้คนทั้งประเทศว่า ขอให้เชื่อมั่นในการนำของเขา เพราะเขาจะนำพาทุกคนให้หลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ไปสู่ความมั่งคั่งเทียบเท่าอารยประเทศได้อย่างแน่นอนด้วย แนวทางแบบทักษิโณมิกส์ของเขา
ในช่วงแรกๆ ดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ “ดูดีขึ้น” อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะมีการอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลลงไปในภาคชนบทด้วยนโยบายประชานิยม และการปั่นฟองสบู่ในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์สำหรับภาคเศรษฐกิจทุนนิยม ทำให้ในตอนนั้นผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศล้วน “เทใจ” ให้แก่ผู้นำของเขา ด้วยความเชื่อมั่นจากใจจริงว่า “เรื่องเล่า” ที่ผู้นำของเขา “กล่อม” ให้ประชาชนของเขาฟังอยู่ทุกเช้าค่ำนั้น จะเป็นจริงอย่างแน่นอนและอีกไม่ช้าคนจนจะหมดไปจากประเทศนี้ ทุกคนจึงกลายเป็นเชลยของทักษิณ เพราะทุกคนในประเทศนี้ล้วนถูกม้วนตัวเข้าไปอยู่ในนิทานหรือเรื่องเล่าของทักษิณ ที่แม้แต่ตัวทักษิณเองก็ยังหลอกตัวเอง เพราะหลงตัวเองอย่างสุดๆ ในเรื่องเล่าที่ตัวเองปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นมา เพราะเรื่องเล่าที่ทักษิณนำมาขายให้ประชาชนด้วยลัทธิการตลาดอันลึกล้ำ จนกระทั่งตัวเขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศได้นี้ มีตัวเขาเล่นเป็น “พระเอก” ของเรื่อง ดุจอัศวินม้าขาวผู้มากอบกู้วิกฤตของชาติ โดยที่ตัวเขาคือความหวังของผู้คนทั้งประเทศ
การแสดงของเขาในฐานะผู้นำประเทศที่ผ่านมาคือ การใช้ชีวิตเพื่อให้เรื่องเล่าหรือนิทานนี้ดูสมจริง โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็สวมบทบาทไปตามเรื่องเล่าของทักษิณคือ พวกเขามุมานะทำงานหนักในตอนกลางวัน มอมเมาตัวเองด้วยสุรา หรือละครน้ำเน่าทางโทรทัศน์ในตอนกลางคืน และพยายามที่จะไม่วิตกวิจารณ์อะไรมากนักเกี่ยวกับปัญหาที่สะสมอย่างหมักหมมของสังคมนี้และโลกใบนี้
ทักษิณผู้เล่นบท “พระเอก” ในเรื่องเล่าหรือนิทานเรื่องนี้คงยังไม่ได้ตระหนักหรือสำนึกในตอนนั้นกระมังว่า พระเอกในนิทานเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ ตัวทักษิณจะมีชีวิตที่เรืองโรจน์อยู่เพียงช่วงระยะสั้นๆ เท่านั้นเอง เพราะตัวเขาเองเป็นคนปฏิเสธที่จะเล่น “นิทานเรื่องอื่น” ว่าด้วย “เศรษฐกิจพอเพียงคือทางรอด” แต่ทักษิณกลับเป็นคนเลือกเองด้วยอัตตาของเขาเองที่จะอยู่อย่างรุ่งโรจน์ แม้ว่าจะแสนสั้นก็ตาม เพราะอีกไม่นานหลังจากนั้น ทักษิณจะได้เห็นด้วยตาตนเองพร้อมๆ กับผู้คนส่วนใหญ่ว่า “สวรรค์” ของเขากำลังล่มลงด้วยน้ำมือของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com
กลุ่มทุนไทยขนาดใหญ่เหล่านี้เริ่มรู้สึกไม่มั่นใจในอนาคตหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 พวกเขาจึงต้องการได้ “อำนาจรัฐ” เพื่อมาใช้สนับสนุนส่งเสริม รวมทั้งให้อภิสิทธิ์แก่กลุ่มตน และพวกพ้องโดยเฉพาะในการกำหนดกฎกติกาและนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่ตนและพรรคพวก
ถ้าพิจารณาองค์ประกอบของกลุ่มทุนไทยขนาดใหญ่ที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ของกลุ่มทุนเหล่านี้ล้วนดำเนินธุรกิจที่ต้องอาศัยใบอนุญาตหรือสัมปทานจากภาครัฐ หรืออย่างน้อยการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภาครัฐเพื่อเอื้ออำนวยในเรื่องกฎกติกาเป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบธุรกิจของพวกเขา
เพราะฉะนั้น ในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 การที่พวกนายทุนใหญ่พวกนี้ได้ผันตัวเองมาเป็น “นักการเมือง” โดยตรงเพื่อยึดกุมอำนาจรัฐจึงมีความสมเหตุสมผลทางธุรกิจในการที่จะลดความเสี่ยงทางธุรกิจของพวกตน โดยการเข้ามาเป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจโดยตรงด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ “การเมือง” สำหรับพวกนายทุนใหญ่กลุ่มนี้ จึงเป็นเรื่องของ “วิธีคิดแบบนักธุรกิจ” ล้วนๆ หาได้มีอุดมคติทางการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างที่ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นมาแต่อย่างใดไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่า พรรคไทยรักไทยได้ใช้ นโยบายประชานิยม เป็นอาวุธทางการเมืองที่ทรงพลังยิ่งในการไต่เต้าอย่างพรวดพราดขึ้นมายึดอำนาจรัฐอย่างได้ผล โดยผ่านการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นโยบายประชานิยม แบบต่างๆ ที่นำเสนอโดยพรรคไทยรักไทยนี้ล้วนถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อดูดคะแนนเสียงจากชนชั้นรากหญ้าในภาคอีสานและภาคเหนือโดยเฉพาะ จึงมีแนวโน้มที่จะไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม และไม่ได้คำนึงถึงภาระทางการคลังของรัฐบาลเท่าที่ควร
นโยบายประชานิยม จึงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรของรัฐอย่างขาดประสิทธิภาพ และไปบดบังโครงการอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อสังคมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวมากกว่า เช่น การปฏิรูปการศึกษาซึ่งเป็นหัวใจของการเพิ่มศักยภาพของประชาชนไทยที่เป็นจุดอ่อนของทุกรัฐบาลมาโดยตลอด
* * *
โดยการชูคำขวัญ “คิดใหม่ ทำใหม่” พร้อมๆ กับการรณรงค์อย่างแข็งขันด้วยชุดของนโยบายใหม่อย่างเช่น การพักชำระหนี้เกษตรกร การประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค การตั้งกองทุนหมู่บ้าน การปราบปรามยาเสพติด และการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางย่อย ฯลฯ ของพรรคไทยรักไทยที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ทำให้ผลการเลือกตั้งที่มีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยได้เสียงมากสุด คือ ในจำนวน ส.ส.เขต 400 เสียง พรรคไทยรักไทยได้ถึง 208 เสียง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนนเป็นอันดับสองได้เพียง 97 เสียงเท่านั้น
ส่วนจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนที่จัดสำหรับพรรคที่ได้คะแนนบัญชีรายชื่อ 5% ขึ้นไป พรรคไทยรักไทยได้ 48 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 31 เสียง ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสียงรับรองในสภาผู้แทนราษฎรถึง 339 เสียง มาจากพรรคไทยรักไทย 246 เสียง ส่วนที่เหลือมาจากพรรคอื่นๆ ที่ต่อมาได้เข้าร่วมเป็นรัฐบาลกับพรรคไทยรักไทย คือ พรรคชาติไทย พรรคความหวังใหม่ และพรรคเสรีธรรม
หลังจากเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้พยายามแสดงท่าทีผ่อนปรนต่อภาคประชาชน เมื่อเทียบกับรัฐบาลชุดก่อน เช่น ให้คำมั่นสัญญาต่อสมัชชาคนจนว่าจะเร่งแก้ปัญหาให้ สมัชชาคนจนจึงยุติการชุมนุม เปิดโอกาสและให้เวลารัฐบาลในการดำเนินการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ รัฐบาลทักษิณยังได้ยกเลิกพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์อย่างเป็นทางการในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ในเรื่องของการบริหารราชการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเริ่มต้นการบริหารส่วนภูมิภาคแบบใหม่ โดยนำระบบ “ผู้ว่าฯ แบบซีอีโอ” เข้ามาใช้ ซึ่งก็คือ การให้อำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพิ่มขึ้นจนครอบคลุมทุกด้าน แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบนี้จะต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่า จะดำเนินการอย่างไรให้แก่จังหวัด และจะมีการประเมินผลงานทุก 2 ปี ในลักษณะเดียวกับผู้บริหารธุรกิจ
ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 7 ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิดกรณีซุกหุ้นในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เพราะเป็นการ “บกพร่องโดยสุจริต” ก็ยิ่งทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระชับอำนาจ ได้มากยิ่งขึ้น และสามารถบริหารประเทศได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพะวงหลังว่าจะถูกถอดถอนสิทธิทางการเมือง จึงทำให้หลังจากที่บริหารประเทศไปได้หนึ่งปีคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังสูงลิ่ว เพราะนอกจากพรรคของเขาจะดำเนินนโยบายประชานิยมตามที่ได้หาเสียงแล้วในช่วงนั้น ยังมีแนวโน้มที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างมากจากการปั่น “ฟองสบู่” อีกครั้งของกลุ่มทุนใหญ่กลุ่มต่างๆ โดยคิดว่าจะสามารถควบคุมได้ในตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังได้แสดงบุคลิกภาพความเป็นผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง และตอบปัญหาทุกประเด็น อธิบายทุกเรื่องให้ประชาชนได้รับทราบผ่านรายการพบประชาชนทางวิทยุทุกเช้าวันเสาร์ ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลายเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากประชาชนกว่าค่อนประเทศอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนกับนายกรัฐมนตรีคนใดก่อนหน้านี้
* * *
อะไรคือ เคล็ดลับแห่งมนต์ขลัง ของผู้นำประเทศที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร? ความจริงในขณะนั้นที่ยากจะปฏิเสธได้ก็คือ ประชาชนกว่าค่อนประเทศในตอนนั้นได้ตกเป็น “เชลย” ของทักษิณ ไม่ว่าคนที่สนับสนุนเขา คนที่ศรัทธาเขา หรือคนที่รู้ทันเขา คนที่ไม่ชอบไม่ไว้วางใจในการกระทำของเขา รวมทั้งคนที่ไม่แคร์ว่าใครจะเป็นผู้นำก็ได้ ผู้คนเหล่านี้ล้วนตกเป็น “เชลย” ของทักษิณในตอนนั้นด้วยกันหมดทั้งสิ้น ทุกคนกลายเป็นเชลยของทักษิณ มิใช่เพราะความหวาดกลัว และมิใช่เพราะอำนาจบารมีส่วนตัวของทักษิณ เพราะลำพังแค่ความสามารถทางวาทศิลป์ของเขาในการพูดจาโน้มน้าวจิตใจประชาชนผ่านทางรายการวิทยุทุกวันเสาร์ ไม่น่าจะทำให้ผู้คนกว่าค่อนประเทศตกอยู่ในภาวะจำยอมเหมือนกับเป็นเชลยของทักษิณได้ถึงเพียงนี้
แต่น่าจะเป็นเพราะว่า คนไทยเกือบทั่วทั้งประเทศในตอนนั้น ได้ตกหลุมพรางหลวมตัวหลงเชื่อสิ่งที่เป็น “นิทาน” หรือ “เรื่องเล่า” ที่ทักษิณเฝ้าเป่าหู กรอกหูคนทั้งประเทศมาโดยตลอดว่า “เรามาถูกทางแล้ว” ต่างหาก
นิทานหรือเรื่องเล่าอันเป็น “มายาคติ” ที่เขาและพวกสมุนของเขาเฝ้าพร่ำบอกหลอกผู้คนทั้งประเทศว่า ขอให้เชื่อมั่นในการนำของเขา เพราะเขาจะนำพาทุกคนให้หลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ไปสู่ความมั่งคั่งเทียบเท่าอารยประเทศได้อย่างแน่นอนด้วย แนวทางแบบทักษิโณมิกส์ของเขา
ในช่วงแรกๆ ดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ “ดูดีขึ้น” อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะมีการอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลลงไปในภาคชนบทด้วยนโยบายประชานิยม และการปั่นฟองสบู่ในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์สำหรับภาคเศรษฐกิจทุนนิยม ทำให้ในตอนนั้นผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศล้วน “เทใจ” ให้แก่ผู้นำของเขา ด้วยความเชื่อมั่นจากใจจริงว่า “เรื่องเล่า” ที่ผู้นำของเขา “กล่อม” ให้ประชาชนของเขาฟังอยู่ทุกเช้าค่ำนั้น จะเป็นจริงอย่างแน่นอนและอีกไม่ช้าคนจนจะหมดไปจากประเทศนี้ ทุกคนจึงกลายเป็นเชลยของทักษิณ เพราะทุกคนในประเทศนี้ล้วนถูกม้วนตัวเข้าไปอยู่ในนิทานหรือเรื่องเล่าของทักษิณ ที่แม้แต่ตัวทักษิณเองก็ยังหลอกตัวเอง เพราะหลงตัวเองอย่างสุดๆ ในเรื่องเล่าที่ตัวเองปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นมา เพราะเรื่องเล่าที่ทักษิณนำมาขายให้ประชาชนด้วยลัทธิการตลาดอันลึกล้ำ จนกระทั่งตัวเขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศได้นี้ มีตัวเขาเล่นเป็น “พระเอก” ของเรื่อง ดุจอัศวินม้าขาวผู้มากอบกู้วิกฤตของชาติ โดยที่ตัวเขาคือความหวังของผู้คนทั้งประเทศ
การแสดงของเขาในฐานะผู้นำประเทศที่ผ่านมาคือ การใช้ชีวิตเพื่อให้เรื่องเล่าหรือนิทานนี้ดูสมจริง โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็สวมบทบาทไปตามเรื่องเล่าของทักษิณคือ พวกเขามุมานะทำงานหนักในตอนกลางวัน มอมเมาตัวเองด้วยสุรา หรือละครน้ำเน่าทางโทรทัศน์ในตอนกลางคืน และพยายามที่จะไม่วิตกวิจารณ์อะไรมากนักเกี่ยวกับปัญหาที่สะสมอย่างหมักหมมของสังคมนี้และโลกใบนี้
ทักษิณผู้เล่นบท “พระเอก” ในเรื่องเล่าหรือนิทานเรื่องนี้คงยังไม่ได้ตระหนักหรือสำนึกในตอนนั้นกระมังว่า พระเอกในนิทานเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ ตัวทักษิณจะมีชีวิตที่เรืองโรจน์อยู่เพียงช่วงระยะสั้นๆ เท่านั้นเอง เพราะตัวเขาเองเป็นคนปฏิเสธที่จะเล่น “นิทานเรื่องอื่น” ว่าด้วย “เศรษฐกิจพอเพียงคือทางรอด” แต่ทักษิณกลับเป็นคนเลือกเองด้วยอัตตาของเขาเองที่จะอยู่อย่างรุ่งโรจน์ แม้ว่าจะแสนสั้นก็ตาม เพราะอีกไม่นานหลังจากนั้น ทักษิณจะได้เห็นด้วยตาตนเองพร้อมๆ กับผู้คนส่วนใหญ่ว่า “สวรรค์” ของเขากำลังล่มลงด้วยน้ำมือของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ยังมีต่อ)
www.suvinai-dragon.com