“มาร์ค”ย้ำ กทช.ต้องกำหนดกติกา 3G ให้ชัดก่อนประมูล ดูความโปร่งใส ต่างชาติ-นอมินี ถือหุ้น 3G สั่ง ทีโอที/กสท สรุปผลกระทบส่งกลับครม. เพื่อหาทางแก้ไข บอกปัญหาใหญ่อยู่ที่การถ่ายโอนลูกค้าและการใช้เครือข่ายร่วมกัน ‘พล.อ.ชูชาติ’ ประธานกทช.เตรียมส่งกฤษฎีกาตีความประมูล 3Gขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
เมื่อเวลา 13.30 น. นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.ศก.)ว่า ในการประชุมครม.ศก.ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินการโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่าหากจะมีการประมูลระบบนี้ ควรจะมีการกำหนดกติกาให้ชัดเจนก่อนที่จะมีการประมูล ทั้งในเรื่องคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล และเครือข่ายที่จะใช้ให้เกิดความชัดเจน
นอกจากนั้นยังได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายกิจการโทรคมนาคม โดยผู้ประกอบการที่จะขอใบอนุญาตได้จะต้องเป็นนิติบุคคลไทย ซึ่งต้องมีการตรวจสอบกันให้ชัดเจนซึ่งทาง กทช.ได้รับข้อสังเกตเหล่านี้ไปและจะทำให้เกิดความชัดเจนโดยจะกลับมาหารือกันอีกครั้ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่าที่ประชุมครม.ยังได้มอบหมายให้บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม สรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประมูลระบบ3G ของกทช.เป็นอย่างไร เพื่อที่ครม.จะได้พิจารณาแนวทางการแก้ไข
ส่วนกรณีมีการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ประกอบการรายเดิมจะมีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการประมูลนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของเรื่องนี้คือการใช้เครือข่าย และทรัพย์สินที่ได้มอบหมายให้กทช.กลับไปจัดทำกติกาให้ชัดเจนก่อนที่จะประมูล ทั้งนี้ ต้องการให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีขึ้น แต่ค่าตอบแทนที่จะให้กับรัฐในเรื่องการประมูลใบอนุญาตต้องเป็นธรรม และกติกาการแข่งขันจะต้องดี ซึ่งทางกทช.จะต้องดูแล แต่เรื่องนี้มีความซับซ้อน เพราะบริษัทที่จะเข้ามาประมูลอาจจะเป็นบริษัทที่รับสัมปทาน และไม่ได้ประกอบกิจการ 3G ในขณะนี้ แต่อาจจะถ่ายโอนลูกค้าและมาใช้ทรัพย์สินร่วมกัน วันนี้ถือว่าระบบ 3G เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น เพราะประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ใช้กันหมดแล้ว ของไทยล่าช้ามานานแล้วซึ่งอยากให้บริการดีขึ้นแต่กติกาจะต้องเป็นธรรมและโปร่งใส
ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่ากทช.เหลือเพียง 3 คนจะสามารถเปิดประมูล 3G ได้หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราไม่ได้ก้าวล่วงในเรื่องนี้ แต่ได้ให้ข้อสังเกตไปแล้วว่ามันจะพันกัน เพราะการที่หน่วยงานของรัฐกำลังตัดสินใจที่จะไปลงทุน ในขณะที่มีความไม่ชัดเจนในเรื่องผลกระทบต่อการดำเนินการในการเปิดประมูล ทำให้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่ลำบาก แต่ทุกอย่างต้องมีความโปร่งใส
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับมาตรา 67 กรณีเดียวกับมาดตาพุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าอยู่ที่ กทช.จะวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตัวเอง และถ้ามีการโต้แย้งก็ต้องเป็นเรื่องที่มีองค์กรวินิจฉัย
‘เรื่องราคานั้นได้รับการยืนยันว่า ก็ใช้กลไกการแข่งขัน และกทช.บอกว่า ณ ขณะนี้ก็ไม่ได้บอกว่า เสนอค่าตอบแทนที่สูงเป็นเรื่องหลักในการพิจารณา แต่ต้องเป็นราคาที่เป็นธรรม’
ทั้งนี้ในการประชุมครม.เศรษฐกิจ มีการหารือเรื่องการประมูล 3G โดยมีนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และตัวแทนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ร่วมให้ข้อมูล นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ)กล่าวว่าที่ประชุมรับทราบว่าขณะนี้ กทช. อยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการให้ใบอนุญาต 3G โดยอยู่ระหว่างเตรียมการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและมีแผนที่จะเปิดประมูลในเดือนธันวาคม 2552 โดยขณะนี้ ทีโอที อยู่ระหว่างเตรียมการลงทุนโครงข่ายดังกล่าวเพื่อรองรับการให้บริการในอนาคต อย่างไรก็ตาม กรณีที่เปิดให้บริการ 3G จะทำให้มีการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมสูงขึ้น และอาจมีการโอนฐานลูกค้าจากระบบเดิมไปยังระบบ 3G ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายได้จากผู้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเดิม
ทั้งนี้ผู้แทน กทช. ให้ข้อมูลว่าการแข่งขันในตลาด 3G ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ให้บริการประมาณ 4 - 6 ราย ยังคงทำให้การแข่งขันในตลาด 3G อยู่ในระดับที่เหมาะสม และคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ( รศก.) เห็นว่าทีโอทีและกสท ควรมุ่งเน้นการหารายได้จากการให้บริการโครงข่าย 3G เป็นหลัก เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมเป็นตลาดที่ภาครัฐเปิดให้เกิดการแข่งขันเสรีแล้ว
อย่างไรก็ตามการพิจารณาให้ใบอนุญาต 3G ของ กทช. นั้น ควรกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน และกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งในกรณีที่จะลงทุนโครงข่าย และกรณีการเช่าใช้โครงข่าย และคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลที่ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย สำหรับการพิจารณาผู้ขอใบอนุญาตทุกรายทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ติดตามผลกระทบจากการประมูล 3G ที่จะเกิดขึ้นต่อทีโอทีและกสท.และเสนอให้ครม.พิจารณาต่อไป
ให้ 4 ข้อสังเกตทีโออาร์ กทช.
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี และครม.เศรษฐกิจได้ตั้งข้อสังเกตใน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีไปพิจารณาผลกระทบต่อรายได้ของทีโอทีและกสท เนื่องจากบริษัทฯมีโครงข่ายเดิมอยู่แล้ว และเพื่อให้คุ้มกับการลงทุน 20,000 ล้านบาทว่า หากมีการแข่งขันเกิดขึ้นในอนาคตจะปรับแผนองค์กรอย่างไรเนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเกิดขึ้นจากการแข่งขัน 2. กทช.ต้องตั้งกติกาการแข่งขันให้มีความชัดเจนในการใช้อุปกรณ์โครงข่ายเครือข่ายที่มีอยู่เดิม (2G) ได้หรือไม่ โดยให้ระบุอย่างชัดเจนในร่าง ทีโออาร์ให้ผู้ที่จะประมูลในอนาคตรับทราบ อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ ไม่มีการลงลึกว่า กทช.จะมีอำนาจในการร่างทีโออาร์หรือไม่ แต่กระบวนการสร้างความชัดเจนจะอยู่ที่กทช.
3.สัดส่วนการถือหุ้นนักลงทุนต่างชาติ ต้องมีความชัดเจนว่า ต้องมีสัญชาติไทย มีบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในไทยร้อยละ 49 ซึ่งผู้ที่จะได้รับสัมปทานในอนาคตจะได้รับความปลอดภัย ไม่ต้องเกิดความหวาดระแวงเหมือนในอดีตที่มีบริษัทที่เป็นนอมินีขายสัมปทานให้ต่างชาติและสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงเหมือนในอดีต
4.กฎหมาย กทช.มาตรา 78(2) ว่าด้วยการแบ่งรายได้หลังการเข้ารับสัมปทานจะต้องเก็บในส่วนของ “ค่าบริการสัญญาณ” เท่านั้น ส่วนอื่น ๆ จะต้องนำเข้าคลัง ขณะเดียวกันกทช. อยู่ระหว่างจัดทำร่างทีโออาร์ใบอนุญาต 3G และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและมีแผนที่จะเปิดประมูลในเดือน ธ.ค.นี้ ในขณะที่ทีโอทียืนยันจะเปิดให้บริการเครือข่าย 3G ได้ ในวันที่ 3 ธ.ค. ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
เปิดช่องรัฐสนับสนุนทีโอที-กสท
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ความชัดเจนจะอยู่ที่ทีโออาร์และกทช.ก็น่าจะมีอำนาจ แต่ที่ประชุมไม่มีการกล่าวถึงกรอบอำนาจ แต่ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่งนายกฯก็เพียงมีหน้าที่สอบถาม แต่ไม่มีอำนาจที่จะไปสั่งการองค์กรอิสระอย่าง กทช.ได้ อย่างไรก็ตามแนวทางการเปิดเสรีโทรคมนาคม 3G โดยเฉพาะรายได้ในอนาคตของทีโอทีและกสท หากได้รับผลกระทบ ก็ยังมีช่องทางที่เปิดให้รัฐสนับสนุนได้แม้จะเชื่อว่ารายได้ของทั้ง 2 บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีรูปแบบการดำเนินการในลักษณะรัฐวิสาหกิจอยู่แล้วดังนั้นการเปิดเสรีจะต้องมีความเป็นธรรม ไม่กระทบกับประชาชนผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตามการขอรับการสนับสนุนหากทั้ง 2 บริษัทได้รับผลกระทบนั้นไม่ได้เป็นมติครม. แต่ตามหลักการหากรายได้ลดลงก็สามารถที่จะรับการสนับสนุนจากรัฐได้ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเพียงข้อสังเกตของรัฐต่อกทช.เพื่อให้ดำเนินการร่างทีโออาร์อย่างโปร่งใส โดยให้คำนึงถึงเครือข่ายและการขยายเครือข่าย
‘ระนองรักษ์’ แว่บ
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ระหว่างการประชุมนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวในที่ประชุมว่า ทีโอทีและกสท ควรไปศึกษาเตรียมความพร้อมและปรับแผนการบริหารเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น แต่หากในอนาคตมีปัญหาด้านการเงิน รัฐบาลก็พร้อมจะสนับสนุน เพราะถือเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ได้ตั้งข้อห่วงใยในเรื่องเงื่อนไขการเปิดประมูล3จี ของกทช. จึงอยากให้กทช.กำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน เป็นธรรมและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถือหุ้นของต่างชาติ ควรจะเป็นบริษัทสัญชาติไทยหรือคนไทยถือหุ้นในสัดส่วนเท่าใด รวมถึงคณะกรรมการบริษัท ถึงแม้พ.ร.บ.คนต่างด้าวจะกำหนดไว้แล้ว แต่ก็อยากให้ระบุไว้ในนเงื่อนไขการประมูล3G ให้ชัดเจน และคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลต้องไม่ขัดกับกฎหมายใดๆ เพราะโครงข่ายโทรคมนาคมเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ อีกทั้งจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ากรณีที่จะลงทุนสร้างโครงข่ายเองหรือเช่าใช้ โครงข่าย ควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรด้วย และข้อให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก
“ครม.เศรษฐกิจไม่ ได้พูดถึงเรื่องอำนาจหน้าที่ของกทช. เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตไปยังกทช.เรื่องการประเปิดประมูล3G ซึ่งกทช.ก็รับไปพิจารณาเพื่อให้เกิดความรัดกุมมากขึ้น ซึ่งการทำงานรัฐบาลไม่สามารถไปก้าวล่วงการทำงานของกทช.ได้ เพราะเป็นองค์กรอิสระ และกทช.ก็ยังยืนยันว่าต้องเปิดประมูล3G ตามกรอบเวลาเดิมที่วางไว้”
ทั้งนี้ทีโอที ได้รายงานให้ที่ประชุมครม.รับทราบว่า จากการประเมินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับใบอนุญาตใหม่เทียบกับการจ่ายส่วนแบ่งราย ได้ตามสัญญาสัมปทาน โดยคาดว่าเอกชนจะจ่ายค่าใบอนุญาตประมาณปีละ 6.5%ของรายได้ ซึ่งจะทำให้เอกชนประหยัดเงินได้ 3,000-15,000 ล้านบาท ต่อปี ขณะที่ปัจจุบันต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 19,000-30,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าเอกชนทุกรายจะเข้าร่วมประมูล3G และหลังจากนั้น ก็จะถ่ายโอนลูกค้าจากโครงข่าย2Gไปโครงข่าย3G ซึ่งการถ่ายโอนลูกค้าจะทำให้ทีโอทีและกสทรายได้ลดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม.เศรษฐกิจได้พิจารณาเรื่องการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่3G ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่ปรากฏว่า ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เพราะติดภารกิจเข้าร่วมรัฐมนตรีอาเซียนโทรคมนาคม ที่ประเทศลาว โดยมอบหมายให้นายณัฐวุฒ จิตะสมบัติ ผู้ช่วยรมว.ไอซีที และทีมผู้บริหารทีโอทีและกสท มาชี้แจงแทน
กทช.ส่งกฤษฎีกาตีความ
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวว่ากทช.จะส่งกฤษฎีกาตีความการประมูล 3G ของกทช.ว่าผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 47(2) หรือไม่ ส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G กทช.มั่นใจว่าสามารถทำได้ (รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 47 (2) กำหนดให้องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว)ส่วนราคาเริ่มต้นการประมูลนั้น ในเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7 พันล้านบาทโดยการประชุมกทช.วันนี้เป็นลักษณะการหารือกันเนื่องจากนายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกทช.ติดภารกิจไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย จำเป็นต้องมีการประชุมกันใหม่ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนที่จะนำขึ้นเว็บ และทำประชาพิจารณ์อีกครั้งในวันที่ 5 พ.ย.ที่จะถึงนี้
‘เราทำคู่ขนานกันไป และเชื่อว่ากฤษฎีกาคงตีความกลับมาก่อนที่จะประมูลตามแผนเดิมคือในราวเดือนธ.ค. ส่วนข้อสังเกตจากครม.เศรษฐกิจนั้น กทช.เห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เราชี้แจงได้หมด เพราะครม.ดูจะห่วงทีโอทีและกสทมากกว่า”
ศาล ปค.ไม่รับฟ้องคดีสมาคม รธน.ฯ
ที่ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ วันนี้ นายชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว ตุลาการศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวน มีคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีที่นายภาดร ผลาพิบูลย์ สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อประกอบการพัฒนาแนวทาง และหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ 3 G ยื่นฟ้อง กทช. เรื่องเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ศาลปกครอง พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า แม้ กทช. ผู้ถูกฟ้อง ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อพิจารณาการกระทำของ กทช. ที่ผู้ฟ้องอ้างว่า กทช. ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และกำหนดแนวทางในการอนุมัติใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 3 G ตามเอกสารการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา แล้ว เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการเตรียมการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อออกกฎ หรือคำสั่งทางปกครองตามอำนาจหน้าที่ของ กทช. ผู้ถูกฟ้องเท่านั้น ผู้ฟ้องจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่มีสิทธิฟ้องคดี ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้ และไม่จำเป็นต้องพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวเช่นกัน จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ขณะที่คดีที่นายพรชัย มีมาก พนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด ( มหาชน) ยื่นฟ้อง กทช. อีกคดีในเรื่องเดียวกันนี้ ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด
เมื่อเวลา 13.30 น. นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ(ครม.ศก.)ว่า ในการประชุมครม.ศก.ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินการโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่าหากจะมีการประมูลระบบนี้ ควรจะมีการกำหนดกติกาให้ชัดเจนก่อนที่จะมีการประมูล ทั้งในเรื่องคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล และเครือข่ายที่จะใช้ให้เกิดความชัดเจน
นอกจากนั้นยังได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายกิจการโทรคมนาคม โดยผู้ประกอบการที่จะขอใบอนุญาตได้จะต้องเป็นนิติบุคคลไทย ซึ่งต้องมีการตรวจสอบกันให้ชัดเจนซึ่งทาง กทช.ได้รับข้อสังเกตเหล่านี้ไปและจะทำให้เกิดความชัดเจนโดยจะกลับมาหารือกันอีกครั้ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่าที่ประชุมครม.ยังได้มอบหมายให้บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม สรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประมูลระบบ3G ของกทช.เป็นอย่างไร เพื่อที่ครม.จะได้พิจารณาแนวทางการแก้ไข
ส่วนกรณีมีการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ประกอบการรายเดิมจะมีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการประมูลนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของเรื่องนี้คือการใช้เครือข่าย และทรัพย์สินที่ได้มอบหมายให้กทช.กลับไปจัดทำกติกาให้ชัดเจนก่อนที่จะประมูล ทั้งนี้ ต้องการให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีขึ้น แต่ค่าตอบแทนที่จะให้กับรัฐในเรื่องการประมูลใบอนุญาตต้องเป็นธรรม และกติกาการแข่งขันจะต้องดี ซึ่งทางกทช.จะต้องดูแล แต่เรื่องนี้มีความซับซ้อน เพราะบริษัทที่จะเข้ามาประมูลอาจจะเป็นบริษัทที่รับสัมปทาน และไม่ได้ประกอบกิจการ 3G ในขณะนี้ แต่อาจจะถ่ายโอนลูกค้าและมาใช้ทรัพย์สินร่วมกัน วันนี้ถือว่าระบบ 3G เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น เพราะประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ใช้กันหมดแล้ว ของไทยล่าช้ามานานแล้วซึ่งอยากให้บริการดีขึ้นแต่กติกาจะต้องเป็นธรรมและโปร่งใส
ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่ากทช.เหลือเพียง 3 คนจะสามารถเปิดประมูล 3G ได้หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราไม่ได้ก้าวล่วงในเรื่องนี้ แต่ได้ให้ข้อสังเกตไปแล้วว่ามันจะพันกัน เพราะการที่หน่วยงานของรัฐกำลังตัดสินใจที่จะไปลงทุน ในขณะที่มีความไม่ชัดเจนในเรื่องผลกระทบต่อการดำเนินการในการเปิดประมูล ทำให้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่ลำบาก แต่ทุกอย่างต้องมีความโปร่งใส
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับมาตรา 67 กรณีเดียวกับมาดตาพุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าอยู่ที่ กทช.จะวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตัวเอง และถ้ามีการโต้แย้งก็ต้องเป็นเรื่องที่มีองค์กรวินิจฉัย
‘เรื่องราคานั้นได้รับการยืนยันว่า ก็ใช้กลไกการแข่งขัน และกทช.บอกว่า ณ ขณะนี้ก็ไม่ได้บอกว่า เสนอค่าตอบแทนที่สูงเป็นเรื่องหลักในการพิจารณา แต่ต้องเป็นราคาที่เป็นธรรม’
ทั้งนี้ในการประชุมครม.เศรษฐกิจ มีการหารือเรื่องการประมูล 3G โดยมีนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และตัวแทนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ร่วมให้ข้อมูล นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ)กล่าวว่าที่ประชุมรับทราบว่าขณะนี้ กทช. อยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการให้ใบอนุญาต 3G โดยอยู่ระหว่างเตรียมการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและมีแผนที่จะเปิดประมูลในเดือนธันวาคม 2552 โดยขณะนี้ ทีโอที อยู่ระหว่างเตรียมการลงทุนโครงข่ายดังกล่าวเพื่อรองรับการให้บริการในอนาคต อย่างไรก็ตาม กรณีที่เปิดให้บริการ 3G จะทำให้มีการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมสูงขึ้น และอาจมีการโอนฐานลูกค้าจากระบบเดิมไปยังระบบ 3G ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายได้จากผู้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเดิม
ทั้งนี้ผู้แทน กทช. ให้ข้อมูลว่าการแข่งขันในตลาด 3G ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ให้บริการประมาณ 4 - 6 ราย ยังคงทำให้การแข่งขันในตลาด 3G อยู่ในระดับที่เหมาะสม และคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ( รศก.) เห็นว่าทีโอทีและกสท ควรมุ่งเน้นการหารายได้จากการให้บริการโครงข่าย 3G เป็นหลัก เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมเป็นตลาดที่ภาครัฐเปิดให้เกิดการแข่งขันเสรีแล้ว
อย่างไรก็ตามการพิจารณาให้ใบอนุญาต 3G ของ กทช. นั้น ควรกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน และกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งในกรณีที่จะลงทุนโครงข่าย และกรณีการเช่าใช้โครงข่าย และคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลที่ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย สำหรับการพิจารณาผู้ขอใบอนุญาตทุกรายทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ติดตามผลกระทบจากการประมูล 3G ที่จะเกิดขึ้นต่อทีโอทีและกสท.และเสนอให้ครม.พิจารณาต่อไป
ให้ 4 ข้อสังเกตทีโออาร์ กทช.
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี และครม.เศรษฐกิจได้ตั้งข้อสังเกตใน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีไปพิจารณาผลกระทบต่อรายได้ของทีโอทีและกสท เนื่องจากบริษัทฯมีโครงข่ายเดิมอยู่แล้ว และเพื่อให้คุ้มกับการลงทุน 20,000 ล้านบาทว่า หากมีการแข่งขันเกิดขึ้นในอนาคตจะปรับแผนองค์กรอย่างไรเนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเกิดขึ้นจากการแข่งขัน 2. กทช.ต้องตั้งกติกาการแข่งขันให้มีความชัดเจนในการใช้อุปกรณ์โครงข่ายเครือข่ายที่มีอยู่เดิม (2G) ได้หรือไม่ โดยให้ระบุอย่างชัดเจนในร่าง ทีโออาร์ให้ผู้ที่จะประมูลในอนาคตรับทราบ อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ ไม่มีการลงลึกว่า กทช.จะมีอำนาจในการร่างทีโออาร์หรือไม่ แต่กระบวนการสร้างความชัดเจนจะอยู่ที่กทช.
3.สัดส่วนการถือหุ้นนักลงทุนต่างชาติ ต้องมีความชัดเจนว่า ต้องมีสัญชาติไทย มีบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในไทยร้อยละ 49 ซึ่งผู้ที่จะได้รับสัมปทานในอนาคตจะได้รับความปลอดภัย ไม่ต้องเกิดความหวาดระแวงเหมือนในอดีตที่มีบริษัทที่เป็นนอมินีขายสัมปทานให้ต่างชาติและสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงเหมือนในอดีต
4.กฎหมาย กทช.มาตรา 78(2) ว่าด้วยการแบ่งรายได้หลังการเข้ารับสัมปทานจะต้องเก็บในส่วนของ “ค่าบริการสัญญาณ” เท่านั้น ส่วนอื่น ๆ จะต้องนำเข้าคลัง ขณะเดียวกันกทช. อยู่ระหว่างจัดทำร่างทีโออาร์ใบอนุญาต 3G และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและมีแผนที่จะเปิดประมูลในเดือน ธ.ค.นี้ ในขณะที่ทีโอทียืนยันจะเปิดให้บริการเครือข่าย 3G ได้ ในวันที่ 3 ธ.ค. ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
เปิดช่องรัฐสนับสนุนทีโอที-กสท
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ความชัดเจนจะอยู่ที่ทีโออาร์และกทช.ก็น่าจะมีอำนาจ แต่ที่ประชุมไม่มีการกล่าวถึงกรอบอำนาจ แต่ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่งนายกฯก็เพียงมีหน้าที่สอบถาม แต่ไม่มีอำนาจที่จะไปสั่งการองค์กรอิสระอย่าง กทช.ได้ อย่างไรก็ตามแนวทางการเปิดเสรีโทรคมนาคม 3G โดยเฉพาะรายได้ในอนาคตของทีโอทีและกสท หากได้รับผลกระทบ ก็ยังมีช่องทางที่เปิดให้รัฐสนับสนุนได้แม้จะเชื่อว่ารายได้ของทั้ง 2 บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีรูปแบบการดำเนินการในลักษณะรัฐวิสาหกิจอยู่แล้วดังนั้นการเปิดเสรีจะต้องมีความเป็นธรรม ไม่กระทบกับประชาชนผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตามการขอรับการสนับสนุนหากทั้ง 2 บริษัทได้รับผลกระทบนั้นไม่ได้เป็นมติครม. แต่ตามหลักการหากรายได้ลดลงก็สามารถที่จะรับการสนับสนุนจากรัฐได้ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเพียงข้อสังเกตของรัฐต่อกทช.เพื่อให้ดำเนินการร่างทีโออาร์อย่างโปร่งใส โดยให้คำนึงถึงเครือข่ายและการขยายเครือข่าย
‘ระนองรักษ์’ แว่บ
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ระหว่างการประชุมนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวในที่ประชุมว่า ทีโอทีและกสท ควรไปศึกษาเตรียมความพร้อมและปรับแผนการบริหารเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น แต่หากในอนาคตมีปัญหาด้านการเงิน รัฐบาลก็พร้อมจะสนับสนุน เพราะถือเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ได้ตั้งข้อห่วงใยในเรื่องเงื่อนไขการเปิดประมูล3จี ของกทช. จึงอยากให้กทช.กำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน เป็นธรรมและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถือหุ้นของต่างชาติ ควรจะเป็นบริษัทสัญชาติไทยหรือคนไทยถือหุ้นในสัดส่วนเท่าใด รวมถึงคณะกรรมการบริษัท ถึงแม้พ.ร.บ.คนต่างด้าวจะกำหนดไว้แล้ว แต่ก็อยากให้ระบุไว้ในนเงื่อนไขการประมูล3G ให้ชัดเจน และคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลต้องไม่ขัดกับกฎหมายใดๆ เพราะโครงข่ายโทรคมนาคมเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ อีกทั้งจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ากรณีที่จะลงทุนสร้างโครงข่ายเองหรือเช่าใช้ โครงข่าย ควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรด้วย และข้อให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก
“ครม.เศรษฐกิจไม่ ได้พูดถึงเรื่องอำนาจหน้าที่ของกทช. เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตไปยังกทช.เรื่องการประเปิดประมูล3G ซึ่งกทช.ก็รับไปพิจารณาเพื่อให้เกิดความรัดกุมมากขึ้น ซึ่งการทำงานรัฐบาลไม่สามารถไปก้าวล่วงการทำงานของกทช.ได้ เพราะเป็นองค์กรอิสระ และกทช.ก็ยังยืนยันว่าต้องเปิดประมูล3G ตามกรอบเวลาเดิมที่วางไว้”
ทั้งนี้ทีโอที ได้รายงานให้ที่ประชุมครม.รับทราบว่า จากการประเมินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับใบอนุญาตใหม่เทียบกับการจ่ายส่วนแบ่งราย ได้ตามสัญญาสัมปทาน โดยคาดว่าเอกชนจะจ่ายค่าใบอนุญาตประมาณปีละ 6.5%ของรายได้ ซึ่งจะทำให้เอกชนประหยัดเงินได้ 3,000-15,000 ล้านบาท ต่อปี ขณะที่ปัจจุบันต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 19,000-30,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าเอกชนทุกรายจะเข้าร่วมประมูล3G และหลังจากนั้น ก็จะถ่ายโอนลูกค้าจากโครงข่าย2Gไปโครงข่าย3G ซึ่งการถ่ายโอนลูกค้าจะทำให้ทีโอทีและกสทรายได้ลดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม.เศรษฐกิจได้พิจารณาเรื่องการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่3G ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่ปรากฏว่า ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เพราะติดภารกิจเข้าร่วมรัฐมนตรีอาเซียนโทรคมนาคม ที่ประเทศลาว โดยมอบหมายให้นายณัฐวุฒ จิตะสมบัติ ผู้ช่วยรมว.ไอซีที และทีมผู้บริหารทีโอทีและกสท มาชี้แจงแทน
กทช.ส่งกฤษฎีกาตีความ
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวว่ากทช.จะส่งกฤษฎีกาตีความการประมูล 3G ของกทช.ว่าผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 47(2) หรือไม่ ส่วนการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G กทช.มั่นใจว่าสามารถทำได้ (รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 47 (2) กำหนดให้องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว)ส่วนราคาเริ่มต้นการประมูลนั้น ในเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 7 พันล้านบาทโดยการประชุมกทช.วันนี้เป็นลักษณะการหารือกันเนื่องจากนายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกทช.ติดภารกิจไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย จำเป็นต้องมีการประชุมกันใหม่ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนที่จะนำขึ้นเว็บ และทำประชาพิจารณ์อีกครั้งในวันที่ 5 พ.ย.ที่จะถึงนี้
‘เราทำคู่ขนานกันไป และเชื่อว่ากฤษฎีกาคงตีความกลับมาก่อนที่จะประมูลตามแผนเดิมคือในราวเดือนธ.ค. ส่วนข้อสังเกตจากครม.เศรษฐกิจนั้น กทช.เห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เราชี้แจงได้หมด เพราะครม.ดูจะห่วงทีโอทีและกสทมากกว่า”
ศาล ปค.ไม่รับฟ้องคดีสมาคม รธน.ฯ
ที่ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ วันนี้ นายชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว ตุลาการศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวน มีคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีที่นายภาดร ผลาพิบูลย์ สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อประกอบการพัฒนาแนวทาง และหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ 3 G ยื่นฟ้อง กทช. เรื่องเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ศาลปกครอง พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า แม้ กทช. ผู้ถูกฟ้อง ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อพิจารณาการกระทำของ กทช. ที่ผู้ฟ้องอ้างว่า กทช. ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และกำหนดแนวทางในการอนุมัติใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 3 G ตามเอกสารการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา แล้ว เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการเตรียมการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อออกกฎ หรือคำสั่งทางปกครองตามอำนาจหน้าที่ของ กทช. ผู้ถูกฟ้องเท่านั้น ผู้ฟ้องจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่มีสิทธิฟ้องคดี ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้ และไม่จำเป็นต้องพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวเช่นกัน จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ขณะที่คดีที่นายพรชัย มีมาก พนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด ( มหาชน) ยื่นฟ้อง กทช. อีกคดีในเรื่องเดียวกันนี้ ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด