ASTV ผู้จัดการรายวัน – สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ เชื่อบริษัทในระบบไม่ซื้อใบเสร็จแต่งงบบัญชีลดกำไรตัวเองหัวงลดหย่อนภาษี เหตุเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ระบุอาจโดนคดีอาญา ชี้หากตกแต่งบัญชีลดกำไร แบงก์ตรวจได้ โอกาสถูกปฎิเสธสินเชื่อสูง ระบุผู้ประกอบการไม่ใช่ต้นเหตุ หากต้องแก้ปัญหาจริงต้องแก้ที่ต้นตอผู้ค้าวัสดุ แนะรัฐตรวจเข้มผู้ค้าวัสดุกำชับค้าขายตรงไปตรงมาออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ขายสินค้า
นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในประบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงปัญหาการเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการก่อสร้างซึ่งกรมสรรพากรจะเข้ามาเข้มงวดการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีในปี53ว่า กรณีที่กรมสรรพากรตั้งข้อสังเกตการเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการก่อสร้าง เช่นการซื้อบิลรายการค่าใช้จ่ายสินค้าเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีของผู้ประกอบการนั้น อาจจะมองถึงกลุ่มผู้ประกอบการก่อสร้างรายย่อย กลุ่มหรือคณะบุคคล หรือกลุ่มบริษัทที่ไม่มีการจดทะเบียนบริษัทในระบบ
เนื่องจากการซื้อใบเสร็จค่าใช้จ่ายสินค้าเพื่อนำมาหักลดภาษีดังกล่าว หากเป็นบริษัทจดทะเบียนและดำเนินงานอย่างถูกต้องถือเป็นเรื่องเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีอาญา และกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัท และในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย และยังกระทบต่อผลประกอบการหรือกำไรของบริษัท โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องและรับงานก่อสร้างโครงการของหน่วยงานภาครัฐบาล และบริษัทเอกชนด้วยกัน ซึ่งมีการตรวจสอบค่าใช้จ่ายการจัดซื้อของบริษัทก่อสร้างอยู่แล้ว
“ในปี50-51ที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันดีว่าราคาวัสดุก่อสร้างมีความผันผวนสูง ซึ่งต่อเนื่องมาถึงปี52ก็มีปัญหาการชะการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลและการชะลอการลงทุนของโครงการเอกชนส่งผลให้ในช่วง2ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการก่อสร้างประสบปัญหาการขาดทุนจากการดำเนินงาน เพราะต้นทุนวัสดุก่อสร้างและการชะลอการก่อสร้างทำให้งานในตลาดน้อย ซึ่งแทบทุกบริษัทต่างขาดทุนจากการดำเนินงานจึงไม่จำเป็นต้องซื้อบิลหรือเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อหักลดภาษีให้ได้มากขึ้นอยู่แล้ว”
นอกจากนี้ มองในมุมของการขอสินเชื่องานก่อสร้างจากสถาบันการเงินของบริษัทก่อสร้างแล้ว หากมีการทำตัวเลขให้มีการขาดทุนมากขึ้น หรือ ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทลดลงจะทำให้มีผลต่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินอาจจะไม่ปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการเพราะในปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่มีมาตรการตรวจสอบยอดรายได้และผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่ขอสินเชื่อที่เข้มงวด ซึ่งธนาคารโดยมากสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลจากระบบออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วอยู่แล้ว
ทั้งนี้สำหรับประเด็นที่เกิดขึ้นน่าจะหมายถึงกลุ่มบุคคลหรือผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบหรือผู้ประกอบการรายย่อยที่หลบเลี่ยงภาษีมากกว่าผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบริษัทเพราะกลุ่มดังกล่าวตรวจสอบได้ยาก ทำอาจจะมีการเลี่ยงภาษีได้
“ปัญหาการซื้อใบเสร็จค่าวัสดุก่อสร้างหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง หรือการซื้อวัสดุก่อสร้างแล้วปฏิเสธการรับใบกำกับภาษีนั้น ต้นเหตุไม่ได้อยู่ที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่อยู่ที่ร้านค้าวัสดุ เพราะหากร้านค้าวัสดุก่อสร้างค้าขาย แบบตรงไปตรงมาออกใบกำกับภาษีทุกครั้งก็จะไม่เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะแม้ว่าผู้รับเหมาจะปฏิเสธใบกำกับภาษี แต่ผู้ค้าก็ออกใบกำกับภาษีตามปกติ ผู้รับเหมาจะรับหรือไม่ก็มีค่าเท่ากัน เพราะเมื่อครบรอบต้องแสดงบัญชีรายได้ ผู้ค้าก็ต้องนำส่งบัญชีรายรับรายจ่ายยอดขายในการเสียภาษีต่อสรรพากรอยู่แล้ว และหากมีการปฏิเสธใบกำกับภาษีหรือมีการเลี่ยงภาษี เกิดขึ้นจำหน้าที่สรรพากรก็สามารถตรวจสอบได้จากใบกำกับภาษีดังกล่าวที่ผู้ค้าแสดงในบัญชีไว้ได้”
นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในประบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงปัญหาการเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการก่อสร้างซึ่งกรมสรรพากรจะเข้ามาเข้มงวดการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีในปี53ว่า กรณีที่กรมสรรพากรตั้งข้อสังเกตการเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการก่อสร้าง เช่นการซื้อบิลรายการค่าใช้จ่ายสินค้าเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีของผู้ประกอบการนั้น อาจจะมองถึงกลุ่มผู้ประกอบการก่อสร้างรายย่อย กลุ่มหรือคณะบุคคล หรือกลุ่มบริษัทที่ไม่มีการจดทะเบียนบริษัทในระบบ
เนื่องจากการซื้อใบเสร็จค่าใช้จ่ายสินค้าเพื่อนำมาหักลดภาษีดังกล่าว หากเป็นบริษัทจดทะเบียนและดำเนินงานอย่างถูกต้องถือเป็นเรื่องเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีอาญา และกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัท และในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย และยังกระทบต่อผลประกอบการหรือกำไรของบริษัท โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องและรับงานก่อสร้างโครงการของหน่วยงานภาครัฐบาล และบริษัทเอกชนด้วยกัน ซึ่งมีการตรวจสอบค่าใช้จ่ายการจัดซื้อของบริษัทก่อสร้างอยู่แล้ว
“ในปี50-51ที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันดีว่าราคาวัสดุก่อสร้างมีความผันผวนสูง ซึ่งต่อเนื่องมาถึงปี52ก็มีปัญหาการชะการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลและการชะลอการลงทุนของโครงการเอกชนส่งผลให้ในช่วง2ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการก่อสร้างประสบปัญหาการขาดทุนจากการดำเนินงาน เพราะต้นทุนวัสดุก่อสร้างและการชะลอการก่อสร้างทำให้งานในตลาดน้อย ซึ่งแทบทุกบริษัทต่างขาดทุนจากการดำเนินงานจึงไม่จำเป็นต้องซื้อบิลหรือเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อหักลดภาษีให้ได้มากขึ้นอยู่แล้ว”
นอกจากนี้ มองในมุมของการขอสินเชื่องานก่อสร้างจากสถาบันการเงินของบริษัทก่อสร้างแล้ว หากมีการทำตัวเลขให้มีการขาดทุนมากขึ้น หรือ ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทลดลงจะทำให้มีผลต่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินอาจจะไม่ปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการเพราะในปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่มีมาตรการตรวจสอบยอดรายได้และผลประกอบการของบริษัทเอกชนที่ขอสินเชื่อที่เข้มงวด ซึ่งธนาคารโดยมากสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลจากระบบออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วอยู่แล้ว
ทั้งนี้สำหรับประเด็นที่เกิดขึ้นน่าจะหมายถึงกลุ่มบุคคลหรือผู้ประกอบการที่อยู่นอกระบบหรือผู้ประกอบการรายย่อยที่หลบเลี่ยงภาษีมากกว่าผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบริษัทเพราะกลุ่มดังกล่าวตรวจสอบได้ยาก ทำอาจจะมีการเลี่ยงภาษีได้
“ปัญหาการซื้อใบเสร็จค่าวัสดุก่อสร้างหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง หรือการซื้อวัสดุก่อสร้างแล้วปฏิเสธการรับใบกำกับภาษีนั้น ต้นเหตุไม่ได้อยู่ที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่อยู่ที่ร้านค้าวัสดุ เพราะหากร้านค้าวัสดุก่อสร้างค้าขาย แบบตรงไปตรงมาออกใบกำกับภาษีทุกครั้งก็จะไม่เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะแม้ว่าผู้รับเหมาจะปฏิเสธใบกำกับภาษี แต่ผู้ค้าก็ออกใบกำกับภาษีตามปกติ ผู้รับเหมาจะรับหรือไม่ก็มีค่าเท่ากัน เพราะเมื่อครบรอบต้องแสดงบัญชีรายได้ ผู้ค้าก็ต้องนำส่งบัญชีรายรับรายจ่ายยอดขายในการเสียภาษีต่อสรรพากรอยู่แล้ว และหากมีการปฏิเสธใบกำกับภาษีหรือมีการเลี่ยงภาษี เกิดขึ้นจำหน้าที่สรรพากรก็สามารถตรวจสอบได้จากใบกำกับภาษีดังกล่าวที่ผู้ค้าแสดงในบัญชีไว้ได้”