ASTV ผู้จัดการรายวัน – เอกชนหนุนรัฐ เข้มตรวจสอบการจัดเก็บภาษี ปิดทางรับเหมาก่อสร้างนอกระบบ-ผู้ประกอบการรายเล็ก-ย่อย เลี่ยงภาษี แฉกลลวงตบแต่งบัญชี กล่อมลูกค้าปลูกบ้านไม่เอาใบเสร็จ แนะงัดกฎหมายบังคับใช้ เร่งออกมาตรการจูงใจกระตุ้นให้ลูกค้าเรียกใบกำกับภาษี ด้านส.อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯเชื่อบริษัทในระบบไม่ซื้อใบเสร็จแต่งงบบัญชีลดกำไรตัวเองหัวงลดหย่อนภาษี เหตุเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี อาจโดนทั้งกม.อาญา-แบงก์ตรวจพบไม่ปล่อยกู้
นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พีดี เฮ้าส์ ดีเวลลอป จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลเข้ามาดูแลในเรื่องของการจัดเก็บภาษี เพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีว่า สำหรับธุรกิจก่อสร้างภาคเอกชนประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ว่าจ้างหรือบุคคลธรรมดาไม่ได้เป็นนิติบุคคล กรณีธุรกิจก่อสร้างมีโอกาสสูงมากที่จะเลี่ยงไม่เข้าระบบภาษี โดยเฉพาะภาษีมูลเพิ่ม ซึ่งระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้ประกอบการมีการสมยอมว่าจ้างก่อสร้างกัน ทั้งนี้ โดยหลักการซึ่งสินค้าที่ผู้ประกอบการให้บริการ จะต้องมีการคำนวณภาษี 7% โดยเป็นภาระที่ผู้บริโภคต้องจ่าย ซึ่งประชาชนจะต้องแบกรับภาระภาษี
“นี่คือปัญหาของผู้บริโภคที่ต้องรับผิดชอบคนสุดท้าย โดยเฉพาะบ้านลูกค้าที่สร้างบ้านราคา3ล้านบาทจะมีภาระจ่ายภาษี 210,000 บาท ซึ่งหมายความว่า หากบริษัทรับสร้างบ้านปฏิบัติตามกฎหมายก็บวกภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในราคาบ้านที่เสนอลูกค้าแล้ว 7% หมายความว่า ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบ้านรวมทั้งสิ้น 3.21 ล้านบาท และหากกรณีที่ผู้ประกอบการสมยอมกับผู้บริโภคไม่เอาภาษีมาคำนวณ แต่จะรับเฉพาะราคาบ้านไม่รวมภาษี ถามว่าผู้บริโภคจะเลือกวิธีการไหน”
ทั้งนี้ในส่วนของกฎหมายระบุไว้ชัดเจน ผู้บริโภคต้องรับภาระตรงนี้ แต่กฎหมายกำหนดให้ผู้ถูกว่าจ้างต้องนำภาษีไปบวกแต่ผู้ประกอบการไม่ยอมทำตาม โดยเลือกวิธีการดังกล่าวนี้เพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้ผู้บริโภคสนใจสินค้าของตัวเอง โดยปัจจุบันนี้ การแข่งขันของธุรกิจที่จะแย่งชิงลูกค้าซึ่งใช้ตัวล่อไม่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับ 210,000 บาทที่เกิดขึ้นจริง ไม่ยอมเอามาคำนวณ ทำให้รัฐเองต้องเสียผลประโยชน์ตรงนี้ไป
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีการเอาจริง เอาจังกับเรื่องดังกล่าวมากนัก จึงอยากฝากถึงรัฐบาลว่า ในส่วนของผู้ประกอบการที่จ่ายภาษีถูกต้องมี 30% ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และอีกครึ่งหนึ่งทั่วประเทศไม่ยอมจ่ายภาษีมีประมาณแสนกว่ารายที่ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย
“สาเหตุหลักๆ คือผู้บริโภคเลี่ยงไม่ขอคำนวณ เมื่อไม่คำนวณภาษีทำให้ไม่มีการยื่นรายได้ ซึ่งสะท้อนงบกำไรขาดทุนของผู้ประกอบการว่ามีรายจ่ายมาก แต่ไม่มีรายได้เข้ามา ทำให้ผลประกอบการขาดทุน เท่ากับว่า ไม่ต้องเสียภาษี และที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ประกอบการเหล่านี้ ก็จะใช้วิธีการตกแต่งบัญชี”
นายสิทธิพรกล่าว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลเข้ามาตรวจสอบการจัดเก็บภาษี เพราะโดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองกับผู้ประกอบการรับสร้างบ้านค่อนข้างมีสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องยอมลดกำไรลง เพื่อให้ได้ยอดขายตามเป้าที่วางไว้
ทั้งนี้ หากพิจารณาภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจัดทำส่งกรมสรรพากร ทั้งในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้าน และผู้ประกอบการรายย่อย ที่จะต้องนำส่งภาษีให้รัฐอาจจะมีมูลค่าถึงพันกว่าล้านบาทต่อปี ขณะที่การแสดงรายได้ ถ้ามีการส่งข้อมูลแบบตรงไปตรงมา
ดังนั้น รัฐจะต้องเอาจริงกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการนำกฎหมายเข้ามาบังคับใช้ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม หรือในส่วนของผู้บริโภค จะต้องทำให้ลูกค้ามีความคิดที่จะต้องเสียภาษี 7% จะใช้วิธีการใดเข้ามาเป็นแรงจูงใจ ที่จะทำให้ลูกค้าเรียกร้องขอใบเสร็จจากผู้ประกอบการ หรือรัฐบาลก็ควรที่จะหามาตรการออกมากระตุ้นให้ลูกค้าเห็นความสำคัญในการขอใบเสร็จรับเงินทุกครั้งเมื่อซื้อสินค้า
นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พีดี เฮ้าส์ ดีเวลลอป จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลเข้ามาดูแลในเรื่องของการจัดเก็บภาษี เพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีว่า สำหรับธุรกิจก่อสร้างภาคเอกชนประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ว่าจ้างหรือบุคคลธรรมดาไม่ได้เป็นนิติบุคคล กรณีธุรกิจก่อสร้างมีโอกาสสูงมากที่จะเลี่ยงไม่เข้าระบบภาษี โดยเฉพาะภาษีมูลเพิ่ม ซึ่งระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้ประกอบการมีการสมยอมว่าจ้างก่อสร้างกัน ทั้งนี้ โดยหลักการซึ่งสินค้าที่ผู้ประกอบการให้บริการ จะต้องมีการคำนวณภาษี 7% โดยเป็นภาระที่ผู้บริโภคต้องจ่าย ซึ่งประชาชนจะต้องแบกรับภาระภาษี
“นี่คือปัญหาของผู้บริโภคที่ต้องรับผิดชอบคนสุดท้าย โดยเฉพาะบ้านลูกค้าที่สร้างบ้านราคา3ล้านบาทจะมีภาระจ่ายภาษี 210,000 บาท ซึ่งหมายความว่า หากบริษัทรับสร้างบ้านปฏิบัติตามกฎหมายก็บวกภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในราคาบ้านที่เสนอลูกค้าแล้ว 7% หมายความว่า ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบ้านรวมทั้งสิ้น 3.21 ล้านบาท และหากกรณีที่ผู้ประกอบการสมยอมกับผู้บริโภคไม่เอาภาษีมาคำนวณ แต่จะรับเฉพาะราคาบ้านไม่รวมภาษี ถามว่าผู้บริโภคจะเลือกวิธีการไหน”
ทั้งนี้ในส่วนของกฎหมายระบุไว้ชัดเจน ผู้บริโภคต้องรับภาระตรงนี้ แต่กฎหมายกำหนดให้ผู้ถูกว่าจ้างต้องนำภาษีไปบวกแต่ผู้ประกอบการไม่ยอมทำตาม โดยเลือกวิธีการดังกล่าวนี้เพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้ผู้บริโภคสนใจสินค้าของตัวเอง โดยปัจจุบันนี้ การแข่งขันของธุรกิจที่จะแย่งชิงลูกค้าซึ่งใช้ตัวล่อไม่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับ 210,000 บาทที่เกิดขึ้นจริง ไม่ยอมเอามาคำนวณ ทำให้รัฐเองต้องเสียผลประโยชน์ตรงนี้ไป
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีการเอาจริง เอาจังกับเรื่องดังกล่าวมากนัก จึงอยากฝากถึงรัฐบาลว่า ในส่วนของผู้ประกอบการที่จ่ายภาษีถูกต้องมี 30% ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และอีกครึ่งหนึ่งทั่วประเทศไม่ยอมจ่ายภาษีมีประมาณแสนกว่ารายที่ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย
“สาเหตุหลักๆ คือผู้บริโภคเลี่ยงไม่ขอคำนวณ เมื่อไม่คำนวณภาษีทำให้ไม่มีการยื่นรายได้ ซึ่งสะท้อนงบกำไรขาดทุนของผู้ประกอบการว่ามีรายจ่ายมาก แต่ไม่มีรายได้เข้ามา ทำให้ผลประกอบการขาดทุน เท่ากับว่า ไม่ต้องเสียภาษี และที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ประกอบการเหล่านี้ ก็จะใช้วิธีการตกแต่งบัญชี”
นายสิทธิพรกล่าว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลเข้ามาตรวจสอบการจัดเก็บภาษี เพราะโดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองกับผู้ประกอบการรับสร้างบ้านค่อนข้างมีสูง ทำให้ผู้ประกอบการต้องยอมลดกำไรลง เพื่อให้ได้ยอดขายตามเป้าที่วางไว้
ทั้งนี้ หากพิจารณาภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจัดทำส่งกรมสรรพากร ทั้งในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้าน และผู้ประกอบการรายย่อย ที่จะต้องนำส่งภาษีให้รัฐอาจจะมีมูลค่าถึงพันกว่าล้านบาทต่อปี ขณะที่การแสดงรายได้ ถ้ามีการส่งข้อมูลแบบตรงไปตรงมา
ดังนั้น รัฐจะต้องเอาจริงกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการนำกฎหมายเข้ามาบังคับใช้ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม หรือในส่วนของผู้บริโภค จะต้องทำให้ลูกค้ามีความคิดที่จะต้องเสียภาษี 7% จะใช้วิธีการใดเข้ามาเป็นแรงจูงใจ ที่จะทำให้ลูกค้าเรียกร้องขอใบเสร็จจากผู้ประกอบการ หรือรัฐบาลก็ควรที่จะหามาตรการออกมากระตุ้นให้ลูกค้าเห็นความสำคัญในการขอใบเสร็จรับเงินทุกครั้งเมื่อซื้อสินค้า