การเกิดของพรรคการเมืองใหม่ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา และนี่นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดพรรคการเมืองซึ่งพัฒนาจากการรวมตัวของขบวนการซึ่งเกิดมาจาก “ม็อบ” แต่ไม่ใช่ม็อบในความหมายเชิงลบแต่ประการใด
เหตุผลที่ผมกล่าวเช่นนี้ก็เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น โดยเนื้อแท้หาใช่ม็อบที่เราเคยรู้จักกันไม่ เพราะม็อบในความหมายทั่วไปมักจะเป็นการรวมตัวกันแบบ “เฉพาะกิจ” นัยว่ามีเป้าหมายเดียว และรวมตัวกันแบบชั่วคราว เพื่อวัตถุประสงค์เดียว โดยจะเลิกราเมื่อได้ผลประโยชน์ไปเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ม็อบในลักษณะที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องเห็นแก่ชาติโดยรวม แต่จะเป็นม็อบที่แสวงหาผลประโยชน์ต่อกลุ่ม จะเป็นกลุ่มผู้เสียเปรียบในด้านต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ที่ผมต้องอธิบายเกริ่นเช่นนี้ ก็เพื่อให้เราเข้าใจตรงกันว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น หาใช่ม็อบในรูปแบบที่คนทั่วไปอาจจะเรียกกัน
ดังนั้นบางคนจึงไขว้เขวได้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกอบไปด้วยบุคคลหลายระดับ ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนมีความรู้ดี ทั้งทางการเมือง หรือมีระดับการศึกษาเหนือโดยเฉลี่ย ดังนั้นส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่จะเป็นสตรี เนื่องจากไม่ได้อยู่ในแหล่งทำงาน การที่เป็นผู้หญิงซึ่งวัยตั้งแต่ 20 กว่าๆ ไปจนถึง 60 หรือมากกว่า นอกจากจะมีครอบครัว ลูกหลานแล้วพวกผู้หญิงเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่า เธอสนใจกับปัญหาบ้านเมือง
ซึ่งพลิกความคาดหมายมาก เนื่องจากเคยคิดกันว่าผู้หญิงไทยนั้น ไม่ได้ให้ความสนใจต่อความเป็นไปของบ้านเมืองแต่อย่างไร
มีเหตุผลหลายประการที่ผู้หญิงจำนวนมากเข้ามาร่วมกับพันธมิตรฯ ประการสำคัญที่สุด คือจุดยืนและอุดมการณ์ของพันธมิตรฯ และแกนนำที่เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นเหตุผลตรงข้ามก็คือ ได้มีการบ่อนทำลายสถาบันอย่างต่อเนื่อง โจ่งแจ้งด้วยวิธีการแยบยลหลากหลาย ทั้งข่าวลือเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์นับพันแห่ง ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ล้วนดลใจให้พวกผู้หญิงเข้าร่วมได้มาก
แต่ที่เข้าร่วมก็ด้วยเหตุผลสมทบอื่นๆ เช่น อุดมการณ์และต้องการมีส่วนร่วม ครอบครัวของผู้หญิงเหล่านี้ล้วนมีระดับและความเป็นอยู่ในเกณฑ์ดี มิฉะนั้นพอจะไม่สามารถยืนหยัดปักหลักอยู่ได้ร่วม 200-300 วัน โดยไม่วิตกต่อความยากลำบากใดๆ
การต่อสู้ของพันธมิตรฯ ยังรวมนักเรียน, นักศึกษา กรรมกร และภาครัฐวิสาหกิจจำนวนมากเข้าไปด้วย
สรุปได้ว่า นี่คือ การประสานทุกภาคส่วนของประชาชนที่ใหญ่ที่สุดเข้ามาไม่ต่างไปจากยุค 14 ตุลา 2516 ที่เคยมีประสบการณ์นี้มาแล้ว
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวในลักษณะมีเป้าหมายระดับชาติ และต้องการยกระดับการต่อสู้ให้สูงสุด
ดังนั้น จึงมีการพูดถึงการพัฒนาให้เป็นพรรคการเมือง หรือเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาระดับชาติโดยใช้หนทางสภามากกว่าใช้วิธีอื่น
ผู้เขียนเคยเสนอว่า แม้พันธมิตรฯ จะแปรแกนนำเป็นส่วนหนึ่งที่ไปทำหน้าที่ในพรรคการเมืองแล้วก็ตาม แต่ภารกิจที่จะเคลื่อนไหวก็จะยังดำรงอยู่ต่อไป
ภารกิจ “นอกสภา” นั้นควรมีอิสระ ยืดหยุ่น และคล่องตัว
ดังนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงมีต้อง “ทวิลักษณะ” กล่าวคือ เคลื่อนไหวทั้งในสภาและนอกสภา
เหตุผลที่ผมเชื่อเช่นนี้มาจากสมาชิกบางส่วนนั้นยังไม่พร้อมที่จะเข้าไปอยู่ในพรรคหรือเป็นสมาชิก แต่ยินดีที่จะสนับสนุนพรรคอยู่ข้างนอก
คนกลุ่มนี้มีอยู่มาก แต่พวกเขามิใช่กลุ่มที่คัดค้านการตั้งพรรค
ตรงกันข้ามคนกลุ่มนี้เห็นชอบกับการตั้งพรรคการเมือง
แต่เห็นว่าโดยส่วนตัว เขาอาจมีประโยชน์ หากจะยังคงเคลื่อนไหวในรูปแบบเดิมนอกสภาไปพลางก่อน
การที่พันธมิตรฯ ใช้ “ทวิลักษณะ” มิใช่จะทำให้เกิดการเอาเปรียบกันทางการเมือง
แต่หลายพรรคการเมืองต่างเคยใช้ “มวลชน” หนุนตนมาแล้วเช่นกัน โดยการ “ว่าจ้าง” ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่เปิดเผย
พันธมิตรฯ ทำแบบเปิดเผยเช่นนี้เท่ากับประกาศว่านี่ก็เป็น “ส่วนหนึ่งของการเมืองใหม่”
นอกจากนี้ การที่จะมีสมัชชาโดยมีจำนวนคนถึงเกือบหมื่นคนนั้น ผมเองก็ยังคิดว่าน่าจะมีผู้ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มทำงาน “นอกสภา” และอาจไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเข้าไปอยู่ในสมัชชาด้วย แต่ก็ควรมีบัตรสมาชิกพันธมิตรฯ หรืออะไรอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันการแทรกซึมของผู้ไม่หวังดี ซึ่งอาจจะเข้ามาหาข่าวหรือบ่อนทำลายพรรคได้
ครับ... ผมเขียนเรื่องนี้พร้อมกับขอส่งกำลังใจให้พรรคการเมืองใหม่รีบทำ 2 อย่าง คือ ปูพื้นฐาน โดยจริงๆ แล้วอยากให้ปูจากต่างจังหวัดครับ และอยากให้เริ่มจากจังหวัดใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, นครสวรรค์ ฯลฯ / อุบลฯ, อุดรฯ, ขอนแก่น, มหาสารคาม ฯลฯ/ กาญจนบุรี, ตราด, ระยอง, จันทบุรี, ชลบุรี/ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, และภาคใต้จังหวัดใหญ่ๆ
หลังจากนั้นจึงกลับมาทำงานการเมืองใน กทม.ครับ
เหตุผลที่ผมกล่าวเช่นนี้ก็เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น โดยเนื้อแท้หาใช่ม็อบที่เราเคยรู้จักกันไม่ เพราะม็อบในความหมายทั่วไปมักจะเป็นการรวมตัวกันแบบ “เฉพาะกิจ” นัยว่ามีเป้าหมายเดียว และรวมตัวกันแบบชั่วคราว เพื่อวัตถุประสงค์เดียว โดยจะเลิกราเมื่อได้ผลประโยชน์ไปเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ม็อบในลักษณะที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องเห็นแก่ชาติโดยรวม แต่จะเป็นม็อบที่แสวงหาผลประโยชน์ต่อกลุ่ม จะเป็นกลุ่มผู้เสียเปรียบในด้านต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ที่ผมต้องอธิบายเกริ่นเช่นนี้ ก็เพื่อให้เราเข้าใจตรงกันว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น หาใช่ม็อบในรูปแบบที่คนทั่วไปอาจจะเรียกกัน
ดังนั้นบางคนจึงไขว้เขวได้
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกอบไปด้วยบุคคลหลายระดับ ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนมีความรู้ดี ทั้งทางการเมือง หรือมีระดับการศึกษาเหนือโดยเฉลี่ย ดังนั้นส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่จะเป็นสตรี เนื่องจากไม่ได้อยู่ในแหล่งทำงาน การที่เป็นผู้หญิงซึ่งวัยตั้งแต่ 20 กว่าๆ ไปจนถึง 60 หรือมากกว่า นอกจากจะมีครอบครัว ลูกหลานแล้วพวกผู้หญิงเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่า เธอสนใจกับปัญหาบ้านเมือง
ซึ่งพลิกความคาดหมายมาก เนื่องจากเคยคิดกันว่าผู้หญิงไทยนั้น ไม่ได้ให้ความสนใจต่อความเป็นไปของบ้านเมืองแต่อย่างไร
มีเหตุผลหลายประการที่ผู้หญิงจำนวนมากเข้ามาร่วมกับพันธมิตรฯ ประการสำคัญที่สุด คือจุดยืนและอุดมการณ์ของพันธมิตรฯ และแกนนำที่เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นเหตุผลตรงข้ามก็คือ ได้มีการบ่อนทำลายสถาบันอย่างต่อเนื่อง โจ่งแจ้งด้วยวิธีการแยบยลหลากหลาย ทั้งข่าวลือเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์นับพันแห่ง ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ล้วนดลใจให้พวกผู้หญิงเข้าร่วมได้มาก
แต่ที่เข้าร่วมก็ด้วยเหตุผลสมทบอื่นๆ เช่น อุดมการณ์และต้องการมีส่วนร่วม ครอบครัวของผู้หญิงเหล่านี้ล้วนมีระดับและความเป็นอยู่ในเกณฑ์ดี มิฉะนั้นพอจะไม่สามารถยืนหยัดปักหลักอยู่ได้ร่วม 200-300 วัน โดยไม่วิตกต่อความยากลำบากใดๆ
การต่อสู้ของพันธมิตรฯ ยังรวมนักเรียน, นักศึกษา กรรมกร และภาครัฐวิสาหกิจจำนวนมากเข้าไปด้วย
สรุปได้ว่า นี่คือ การประสานทุกภาคส่วนของประชาชนที่ใหญ่ที่สุดเข้ามาไม่ต่างไปจากยุค 14 ตุลา 2516 ที่เคยมีประสบการณ์นี้มาแล้ว
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวในลักษณะมีเป้าหมายระดับชาติ และต้องการยกระดับการต่อสู้ให้สูงสุด
ดังนั้น จึงมีการพูดถึงการพัฒนาให้เป็นพรรคการเมือง หรือเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาระดับชาติโดยใช้หนทางสภามากกว่าใช้วิธีอื่น
ผู้เขียนเคยเสนอว่า แม้พันธมิตรฯ จะแปรแกนนำเป็นส่วนหนึ่งที่ไปทำหน้าที่ในพรรคการเมืองแล้วก็ตาม แต่ภารกิจที่จะเคลื่อนไหวก็จะยังดำรงอยู่ต่อไป
ภารกิจ “นอกสภา” นั้นควรมีอิสระ ยืดหยุ่น และคล่องตัว
ดังนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงมีต้อง “ทวิลักษณะ” กล่าวคือ เคลื่อนไหวทั้งในสภาและนอกสภา
เหตุผลที่ผมเชื่อเช่นนี้มาจากสมาชิกบางส่วนนั้นยังไม่พร้อมที่จะเข้าไปอยู่ในพรรคหรือเป็นสมาชิก แต่ยินดีที่จะสนับสนุนพรรคอยู่ข้างนอก
คนกลุ่มนี้มีอยู่มาก แต่พวกเขามิใช่กลุ่มที่คัดค้านการตั้งพรรค
ตรงกันข้ามคนกลุ่มนี้เห็นชอบกับการตั้งพรรคการเมือง
แต่เห็นว่าโดยส่วนตัว เขาอาจมีประโยชน์ หากจะยังคงเคลื่อนไหวในรูปแบบเดิมนอกสภาไปพลางก่อน
การที่พันธมิตรฯ ใช้ “ทวิลักษณะ” มิใช่จะทำให้เกิดการเอาเปรียบกันทางการเมือง
แต่หลายพรรคการเมืองต่างเคยใช้ “มวลชน” หนุนตนมาแล้วเช่นกัน โดยการ “ว่าจ้าง” ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่เปิดเผย
พันธมิตรฯ ทำแบบเปิดเผยเช่นนี้เท่ากับประกาศว่านี่ก็เป็น “ส่วนหนึ่งของการเมืองใหม่”
นอกจากนี้ การที่จะมีสมัชชาโดยมีจำนวนคนถึงเกือบหมื่นคนนั้น ผมเองก็ยังคิดว่าน่าจะมีผู้ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มทำงาน “นอกสภา” และอาจไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเข้าไปอยู่ในสมัชชาด้วย แต่ก็ควรมีบัตรสมาชิกพันธมิตรฯ หรืออะไรอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันการแทรกซึมของผู้ไม่หวังดี ซึ่งอาจจะเข้ามาหาข่าวหรือบ่อนทำลายพรรคได้
ครับ... ผมเขียนเรื่องนี้พร้อมกับขอส่งกำลังใจให้พรรคการเมืองใหม่รีบทำ 2 อย่าง คือ ปูพื้นฐาน โดยจริงๆ แล้วอยากให้ปูจากต่างจังหวัดครับ และอยากให้เริ่มจากจังหวัดใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, นครสวรรค์ ฯลฯ / อุบลฯ, อุดรฯ, ขอนแก่น, มหาสารคาม ฯลฯ/ กาญจนบุรี, ตราด, ระยอง, จันทบุรี, ชลบุรี/ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, และภาคใต้จังหวัดใหญ่ๆ
หลังจากนั้นจึงกลับมาทำงานการเมืองใน กทม.ครับ