เดลิเมล์ – นักดนตรีที่ใช้พรแสวงและจินตนาการอันเหลือเชื่อ เคยแม้แต่นอนข้างถนนมาสิบปี สามารถเขียนเพลงซิมโฟนีที่งดงามอ่อนหวานกระทั่งนักดนตรีมืออาชีพยกให้เป็นอัจฉริยะ
สจ๊วร์ต ชาร์ป วัย 67 ปี เห็นภาพงานเพลงชิ้นเอกในสมองหลังจากลูกชายเสียชีวิตหลังคลอดเมื่อ 35 ปีที่แล้ว
เขาอ่าน-เขียนโน้ตเพลงไม่ได้ แต่ท่วงทำนองเพลงนั้นยังแจ่มชัดจนเขาตัดสินใจเปลี่ยนเสียง ‘ในจินตนาการ’ เป็นซิมโฟนีความทรงจำเพื่อระลึกถึงลูกน้อยที่จากไป
กระนั้น ความฝันกลับนำมาซึ่งปัญหาชีวิตคู่และการหย่าร้างในที่สุด และชาร์ปกลายเป็นคนจรนอนข้างถนนในลอนดอน
แต่ในที่สุด ความดื้อรั้นก็เกิดผล กลายเป็นงานชิ้นเอกความยาว 40 นาทีที่ขณะนี้ได้รับการบันทึกเสียงโดยวงฟิลฮาร์โมเนีย ออร์เคสตราของลอนดอน
“แองเจลี ซิมโฟนี” ของชาร์ปได้รับการยกย่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีว่าเป็นผลงานของ ‘อัจฉริยะ’ และจะถูกนำไปบรรเลงในรอยัล อัลเบิร์ต ฮอลล์เร็วๆ นี้
“เบน ลูกชายผม เสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนหลังคลอด ส่วนภรรยาป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาล ชีวิตผมตอนนั้นแย่มากจนคุณนึกไม่ออกหรอก
“แล้วคืนวันที่เราจัดงานศพให้เบน ผมเห็นเพลงที่ปลอบประโลมและสวยงาม ทำให้ผมรู้สึกดีขึ้นมาก
“ผมเห็นวงออร์เคสตราทั้งวงมาบรรเลงให้ ผมยังเห็นกระทั่งตัวโน้ตทุกตัวที่เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเล่น หลังจากนั้นผมได้ยินเพลงนี้ในสมองบ่อยๆ และผมจำได้ขึ้นใจ
“ท่วงทำนองเพลงนั้นอ่อนหวานสวยงามราวกับนางฟ้าชวนกันมาบรรเลงให้ผม
“ตอนนั้นผมไม่รู้จักโน้ตสักตัว คิดว่าตัวเองคงบ้าไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะผมเป็นคนที่ไม่เชื่อพระเจ้า
“แต่แล้วผมก็เข้าใจว่านั่นเป็นบทเพลงสำหรับลูกชายของผม และมั่นใจว่าสักวันหนึ่งจะได้ยินเพลงนั้นบรรเลงบนเวทีจริงๆ”
ซิมโฟนีโรแมนติกที่อบอวลด้วยส่วนของเครื่องสาย ทำเอานักดนตรีมืออาชีพงงงันไปตามๆ กัน
“เพลงในจินตนาการของสจ๊วร์ตชัดเจนมาก และน่าทึ่งตรงที่นักดนตรีสมัครเล่นอย่างเขาสามารถสร้างผลงานคุณภาพได้ขนาดนี้
“ผมว่าคงคล้ายกับคนที่พยายามผ่าตัดสมองทั้งที่ไม่เคยเรียนแพทย์มาก่อน” อลัน วิลสัน วาทยากรของวงฟิลฮาร์โมเนีย ออร์เคสตรา ลอนดอน ชื่นชม
สจ๊วร์ตจากเลสเตอร์เชียร์ แต่งงานกับหวานใจวัยเด็ก โจ ตอนอายุ 21 ปี และลูกสาวของทั้งคู่ลืมตาดูโลกในปี 1974
แต่หลังจากลูกชายเสียชีวิต ครอบครัวนี้ก็เริ่มร้าวฉาน โจนอนโรงพยาบาลอยู่นานกว่าปี สจ๊วร์ตจึงต้องรับหน้าที่ดูแลลูกสาวและทำงานเป็นเชฟของผับแห่งหนึ่ง
เมื่อโจได้กลับบ้าน ทั้งคู่รับทารกชื่อเคตมาเลี้ยง แต่ตอนนั้นเองสจ๊วร์ตเริ่มมีอาการซึมเศร้า
“ผมดื่มเหล้าเป็นน้ำ วิสกี้คืนละขวด รู้ว่าขืนปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปผมต้องตายเพราะเหล้าแน่
“ผมบอกภรรยาว่าอยากไล่ตามความฝัน ถ่ายทอดซิมโฟนีในหัวออกมา แต่เธอไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เธอคิดว่าผมบ้าและควรไปหาหมอ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากทำจริงๆ“
สจ๊วร์ตจึงออกจากบ้านและใช้ชีวิตข้างถนนมาเกือบสิบปี รับงานเล็กๆ น้อยๆ ไปเรื่อยจนน้ำหนักลดเหลือแค่ 50 กิโลกรัม
แต่เขายังไม่ถอดใจไล่ตามความฝัน สจ๊วร์ตซื้อกีตาร์ด้วยเงินที่สะสมไว้ 50 ปอนด์ และพยายามถ่ายทอดเพลงในสมองออกมา
วันหนึ่งขณะนอนพักอยู่หน้าศูนย์ทีวีของบีบีซี เขาพบแอนโทนี เวด นักดนตรีแจ๊ซที่เอื้อเฟื้อให้เขาอาศัยอยู่ด้วย และช่วยถ่ายทอดซิมโฟนีในจินตนาการ
หลายปีต่อมา ชีวิตของสจ๊วร์ตพลิกผันอีกครั้ง เขากลายเป็นเศรษฐีเงินล้านจากอาชีพเซลส์แมนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
“ปี 1994 ผมรวยขึ้น มีบ้านหลังใหญ่กลางลอนดอน ผมจึงตัดสินใจซื้อสตูดิโอบันทึกเสียงเพื่อให้ฝันกลายเป็นความจริงเสียที
“ผมตามหาแอนโทนี เขาแทบไม่เชื่อว่าผมจะประสบความสำเร็จขนาดนี้”
สจ๊วร์ตใช้เวลาหลายปีกว่าจะเขียนซิมโฟนีเสร็จ ซึ่งจะถูกนำไปเป็นดนตรีประกอบภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของตัวเขาเองที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการถ่ายทำ
“ผมใช้เวลาหลายปีในการถ่ายทอดเสียงเพลงในสมองออกมา แต่ผมก็ทำสำเร็จ และนับจากนั้นผมยังเขียนเพลงออกมาอีก 30 เพลง
“ฟิลฮาร์โมเนีย ออร์เคสตรายืนปรบมือให้ผมหลังจากเล่นเพลงจบ แต่ผมยังรู้สึกแปลกๆ อยู่เลยที่คิดว่าตัวเองเขียนเพลงนั้นขึ้นมา
“ผมคิดว่าหลังจากเบนตาย ตัวผมตายไปพร้อมลูกชายและเกิดใหม่เป็นคนละคน”
สจ๊วร์ต ชาร์ป วัย 67 ปี เห็นภาพงานเพลงชิ้นเอกในสมองหลังจากลูกชายเสียชีวิตหลังคลอดเมื่อ 35 ปีที่แล้ว
เขาอ่าน-เขียนโน้ตเพลงไม่ได้ แต่ท่วงทำนองเพลงนั้นยังแจ่มชัดจนเขาตัดสินใจเปลี่ยนเสียง ‘ในจินตนาการ’ เป็นซิมโฟนีความทรงจำเพื่อระลึกถึงลูกน้อยที่จากไป
กระนั้น ความฝันกลับนำมาซึ่งปัญหาชีวิตคู่และการหย่าร้างในที่สุด และชาร์ปกลายเป็นคนจรนอนข้างถนนในลอนดอน
แต่ในที่สุด ความดื้อรั้นก็เกิดผล กลายเป็นงานชิ้นเอกความยาว 40 นาทีที่ขณะนี้ได้รับการบันทึกเสียงโดยวงฟิลฮาร์โมเนีย ออร์เคสตราของลอนดอน
“แองเจลี ซิมโฟนี” ของชาร์ปได้รับการยกย่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีว่าเป็นผลงานของ ‘อัจฉริยะ’ และจะถูกนำไปบรรเลงในรอยัล อัลเบิร์ต ฮอลล์เร็วๆ นี้
“เบน ลูกชายผม เสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนหลังคลอด ส่วนภรรยาป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาล ชีวิตผมตอนนั้นแย่มากจนคุณนึกไม่ออกหรอก
“แล้วคืนวันที่เราจัดงานศพให้เบน ผมเห็นเพลงที่ปลอบประโลมและสวยงาม ทำให้ผมรู้สึกดีขึ้นมาก
“ผมเห็นวงออร์เคสตราทั้งวงมาบรรเลงให้ ผมยังเห็นกระทั่งตัวโน้ตทุกตัวที่เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเล่น หลังจากนั้นผมได้ยินเพลงนี้ในสมองบ่อยๆ และผมจำได้ขึ้นใจ
“ท่วงทำนองเพลงนั้นอ่อนหวานสวยงามราวกับนางฟ้าชวนกันมาบรรเลงให้ผม
“ตอนนั้นผมไม่รู้จักโน้ตสักตัว คิดว่าตัวเองคงบ้าไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะผมเป็นคนที่ไม่เชื่อพระเจ้า
“แต่แล้วผมก็เข้าใจว่านั่นเป็นบทเพลงสำหรับลูกชายของผม และมั่นใจว่าสักวันหนึ่งจะได้ยินเพลงนั้นบรรเลงบนเวทีจริงๆ”
ซิมโฟนีโรแมนติกที่อบอวลด้วยส่วนของเครื่องสาย ทำเอานักดนตรีมืออาชีพงงงันไปตามๆ กัน
“เพลงในจินตนาการของสจ๊วร์ตชัดเจนมาก และน่าทึ่งตรงที่นักดนตรีสมัครเล่นอย่างเขาสามารถสร้างผลงานคุณภาพได้ขนาดนี้
“ผมว่าคงคล้ายกับคนที่พยายามผ่าตัดสมองทั้งที่ไม่เคยเรียนแพทย์มาก่อน” อลัน วิลสัน วาทยากรของวงฟิลฮาร์โมเนีย ออร์เคสตรา ลอนดอน ชื่นชม
สจ๊วร์ตจากเลสเตอร์เชียร์ แต่งงานกับหวานใจวัยเด็ก โจ ตอนอายุ 21 ปี และลูกสาวของทั้งคู่ลืมตาดูโลกในปี 1974
แต่หลังจากลูกชายเสียชีวิต ครอบครัวนี้ก็เริ่มร้าวฉาน โจนอนโรงพยาบาลอยู่นานกว่าปี สจ๊วร์ตจึงต้องรับหน้าที่ดูแลลูกสาวและทำงานเป็นเชฟของผับแห่งหนึ่ง
เมื่อโจได้กลับบ้าน ทั้งคู่รับทารกชื่อเคตมาเลี้ยง แต่ตอนนั้นเองสจ๊วร์ตเริ่มมีอาการซึมเศร้า
“ผมดื่มเหล้าเป็นน้ำ วิสกี้คืนละขวด รู้ว่าขืนปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปผมต้องตายเพราะเหล้าแน่
“ผมบอกภรรยาว่าอยากไล่ตามความฝัน ถ่ายทอดซิมโฟนีในหัวออกมา แต่เธอไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เธอคิดว่าผมบ้าและควรไปหาหมอ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากทำจริงๆ“
สจ๊วร์ตจึงออกจากบ้านและใช้ชีวิตข้างถนนมาเกือบสิบปี รับงานเล็กๆ น้อยๆ ไปเรื่อยจนน้ำหนักลดเหลือแค่ 50 กิโลกรัม
แต่เขายังไม่ถอดใจไล่ตามความฝัน สจ๊วร์ตซื้อกีตาร์ด้วยเงินที่สะสมไว้ 50 ปอนด์ และพยายามถ่ายทอดเพลงในสมองออกมา
วันหนึ่งขณะนอนพักอยู่หน้าศูนย์ทีวีของบีบีซี เขาพบแอนโทนี เวด นักดนตรีแจ๊ซที่เอื้อเฟื้อให้เขาอาศัยอยู่ด้วย และช่วยถ่ายทอดซิมโฟนีในจินตนาการ
หลายปีต่อมา ชีวิตของสจ๊วร์ตพลิกผันอีกครั้ง เขากลายเป็นเศรษฐีเงินล้านจากอาชีพเซลส์แมนและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
“ปี 1994 ผมรวยขึ้น มีบ้านหลังใหญ่กลางลอนดอน ผมจึงตัดสินใจซื้อสตูดิโอบันทึกเสียงเพื่อให้ฝันกลายเป็นความจริงเสียที
“ผมตามหาแอนโทนี เขาแทบไม่เชื่อว่าผมจะประสบความสำเร็จขนาดนี้”
สจ๊วร์ตใช้เวลาหลายปีกว่าจะเขียนซิมโฟนีเสร็จ ซึ่งจะถูกนำไปเป็นดนตรีประกอบภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของตัวเขาเองที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการถ่ายทำ
“ผมใช้เวลาหลายปีในการถ่ายทอดเสียงเพลงในสมองออกมา แต่ผมก็ทำสำเร็จ และนับจากนั้นผมยังเขียนเพลงออกมาอีก 30 เพลง
“ฟิลฮาร์โมเนีย ออร์เคสตรายืนปรบมือให้ผมหลังจากเล่นเพลงจบ แต่ผมยังรู้สึกแปลกๆ อยู่เลยที่คิดว่าตัวเองเขียนเพลงนั้นขึ้นมา
“ผมคิดว่าหลังจากเบนตาย ตัวผมตายไปพร้อมลูกชายและเกิดใหม่เป็นคนละคน”