หลังการประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองใหม่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ประชาชนชาวไทยจะได้เห็นความแตกต่างระหว่างการเมืองเก่ากับการเมืองใหม่อย่างชัดเจนขึ้นโดยลำดับ และทำให้ภาพรวมของการต่อสู้ทางการเมืองเป็นการต่อสู้ระหว่างการเมืองเเก่ากับการเมืองใหม่ที่จะมีความเข้มข้นมากขึ้นโดยลำดับเช่นเดียวกัน
ทว่าพรรคการเมืองใหม่ยังเยาว์วัย ยังอยู่ในช่วงระยะเวลาการสร้างพรรคและการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติภารกิจทางการเมืองของตน ทั้งการเมืองเก่าก็ได้เกิดขึ้นและดำเนินมาร่วม 70 ปีแล้ว ดังนั้นแม้กระแสหลักจะเป็นการต่อสู้ระหว่างใหม่กับเก่า แต่ท่ามกลางการต่อสู้นั้นก็ย่อมมีความซับซ้อนและความสับสนอันเป็นผลตกทอดมาจากอดีตมากมายนัก
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันสมควรที่จะได้มองถึงความเป็นไปของความสลับซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสักครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องใจหรือไม่ต้องใจใครก็ได้ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ แต่อย่างน้อยก็จะเป็นการจุดประกายความคิดให้ได้พิจารณากัน
ความเป็นจริงของการเมืองไทยในขณะนี้เห็นกันอยู่แล้วว่าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มพรรคการเมืองที่ครองอำนาจรัฐ ได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมใจไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน
ภายในกลุ่มแรกนี้ก็ยังมีความแปลกแยกกันเป็นอันมาก มีทั้งเรื่องที่ร่วมกันได้ และเรื่องที่ขัดแย้งกันดำรงอยู่ และมันจะยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่รู้ว่าจะจบสิ้นลงเมื่อใด
แต่ในวิถีดำเนินนั้นทั้งความร่วมและความแตกต่างอยู่ที่สิ่งเดียวเท่านั้นคือผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและผลประโยชน์ทางการเมือง
สถานการณ์ในกลุ่มแรกในปัจจุบันนี้ปรากฏว่าพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดได้จับมือกันอย่างแน่นหนา ประดุจว่าเป็นกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งภายในพรรคร่วมรัฐบาล ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำในรัฐบาลก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นห่วงโซ่ข้อกลาง
แต่เป็นห่วงโซ่ข้อกลางประเภทที่ตึงและพร้อมจะขาดกับพรรคที่ตนเองสังกัด ในขณะที่หย่อนและเหนียวแน่นกับพรรคร่วมที่เหลือ โดยในพรรคประชาธิปัตย์นั้นก็มีความเห็นต่างกันเป็นสองขั้ว คือขั้วผลัดใบกับขั้วศตวรรษใหม่
ความร่วมกันและความแตกต่างกันภายในกลุ่มแรกนี้ได้ส่งผลให้การเมืองและการบริหารบ้านเมืองไม่อาจเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพได้ ทั้งได้สร้างหน่อเนื้อของความแตกร้าวและความแตกแยกโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ขึ้นแล้ว
ทว่าทุกพรรคในกลุ่มแรกนี้ต่างก็เข็ดหลาบกับการร่วมงานทางการเมืองกับระบอบทักษิณ เพราะที่เคยร่วมการงานกันมานั้นก็รู้เช่นเห็นชาติกันเป็นอย่างดีว่าระบอบนั้นเป็นระบอบผูกขาดของผู้คนในครอบครัวเดียว ที่ใครอื่นใดไม่อยู่ในสายตาทั้งสิ้น ความผูกขาดนั้นยังมีลักษณะกินรวบ และมีความเสี่ยงทั้งการรักษาอำนาจและการใช้อำนาจ จนเข็ดขยาดที่จะต้องเอาอนาคตของตนเองและครอบครัวเข้าไปอยู่ในอุ้งมือของกระบวนการยุติธรรม ที่มีคุกหรือความทุกข์ทรมานเป็นอนาคต
ดังนั้นภายในกลุ่มแรกนี้จึงด้านหนึ่งสามารถประสานผลประโยชน์กันได้เพราะปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก และสามารถประสานผลประโยชน์ทางอำนาจกันได้เป็นอย่างดีเพราะไม่เคยมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใดที่พรรคร่วมมีอำนาจวาสนายิ่งใหญ่ถึงปานนี้มาก่อนเลย
กลุ่มที่สอง คือระบอบทักษิณที่ปัจจุบันนี้มีกองรบใหญ่อยู่ 3 กอง คือกองรบในสภา ได้แก่พรรคเพื่อไทย กองรบงานมวลชน คือคนเสื้อแดง และกองรบสื่อมวลชน ซึ่งเป็นอาวุธที่ทรงพลังแห่งยุคสมัย ทั้งยังมีทุนรอนมหาศาลและยังมีข้าราชการจำนวนไม่น้อยที่ยังถวิลหาอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งเคยได้รับเมื่อครั้งที่พรรคไทยรักไทยครองอำนาจรัฐ
ทว่ากลุ่มนี้กลับมีจุดอ่อนที่ใหญ่หลวง คือมีศัตรูคู่แค้นมากหลายในขอบเขตทั่วประเทศ ในทุกเหล่าชั้นชน โดยเฉพาะคนบางกลุ่มที่มีเขี้ยวเล็บอยู่ในมือ และยากที่จะประสานความเข้าใจหรือร่วมมือต่อกันได้อีกต่อไป
และด้วยจุดอ่อนนี้ก็เคยมีบทเรียนที่เด่นชัดมาแล้ว จากการได้ครองอำนาจรัฐช่วงที่สองในยุคที่ยังเป็นพรรคพลังประชาชนว่า ถึงแม้จะครองอำนาจรัฐได้ แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถรักษาอำนาจรัฐได้
กลุ่มนี้และพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศตนเป็นศัตรูทางการเมืองต่อกันอย่างชัดเจนว่า จะไม่มีวันที่จะร่วมมือกันเป็นรัฐบาลได้เลย แต่มิได้หมายความว่าการร่วมผลประโยชน์บางอย่างจะเป็นไปไม่ได้
กลุ่มนี้หวังนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับคืนสู่อำนาจโดยปราศจากความผิด ซึ่งทำได้ก็แต่โดย 2 ทางเท่านั้น คือโดยการปฏิวัติรัฐประหาร หรือโดยการเป็นรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาด
ในวันนี้หนทางรัฐประหารสำหรับกลุ่มนี้คงยากจะเกิดขึ้นได้ เพราะย่อมไม่มีผู้มีอำนาจทางทหารคนใดที่จะยอมตนเป็นผู้รับจ้างยึดอำนาจเพื่อผู้อื่น ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มนี้ย่อมมีบทเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ในห้วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
คงเหลือก็แต่หนทางรัฐสภา ซึ่งต้องได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และดูเหมือนว่ากลุ่มนี้จะรู้ดีว่ายากจะดึงพรรคการเมืองอื่นเข้าร่วมได้ เพราะวิบากกรรมอันทำไว้แต่อดีตที่ทำให้เกิดความขยาดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องมุ่งมั่นที่จะเอาชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเป็นเสียงข้างมากแต่พรรคเดียว
ความเป็นไปได้มีอยู่น้อยมาก เพราะในวันนี้พรรคภูมิใจไทยได้ครองอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพลังอำนาจครบเครื่องทุกด้าน และวางเป้าหมายพื้นที่ยุทธศาสตร์เลือกตั้งไว้ที่ภาคอีสาน จึงก่อรูปการกำหนดให้กลุ่มนี้ต้องเสริมกำลังจนต้องไปเชื้อเชิญพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามานำทัพ
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้กลุ่มนี้ได้กำหนดให้พรรคภูมิใจไทยเป็นศัตรูตัวเอก และพรรคประชาธิปัตย์เป็นศัตรูตัวรองในสมรภูมิรบทางการเมือง
สถานการณ์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่าถ้ากลุ่มนี้ไม่สามารถได้รับชัยชนะเด็ดขาดในการเลือกตั้ง ก็ยากที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ และจะต้องกลายเป็นฝ่ายค้านไปอีกนานเท่านาน ในขณะที่เวลาได้พร่ากำลังรบของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้อ่อนลงโดยลำดับ ดังนั้นจึงต้องทำการแข่งกับเวลาแม้ว่าจะต้องสุ่มเสี่ยงก็ตามที
กลุ่มที่สาม คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งในวันนี้ก็มีกองรบในเครือข่ายหลายกอง ไม่ว่าพลังมวลชนของกลุ่มพันธมิตรฯ เอง องค์กรแนวร่วม เครือข่ายสื่อที่มีเอเอสทีวีเป็นศูนย์กลาง ระบบเศรษฐกิจการเมืองใหม่ที่มีรูปธรรมในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในขอบเขตทั่วประเทศ และพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น
ในวันนี้กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีอำนาจรัฐ ไม่มีนักรบในสภา และไม่มีทุนรอนเป็นกอบเป็นกำ จึงได้แต่อาศัยพลังของมวลชนเป็นที่ตั้ง แต่เพราะการต่อสู้ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ และกล้าหาญ จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง และดูแคลนไม่ได้
พรรคพลังประชาชนล้มคว่ำไป 2 รัฐบาล ก็เพราะดูแคลนว่ากลุ่มที่สามนี้ไม่มีพลังแล้ว แตกแยกแตกความสามัคคีกันแล้ว จึงฮึกเหิมลำพองทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ และไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ แม้ในวันนี้กลุ่มแรกมีอำนาจรัฐ ก็มีอาการที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พรรคพลังประชาชนเคยมีความคิดมาแล้ว
กลุ่มที่สามเป็นตัวแทนของการเมืองใหม่ ในขณะที่กลุ่มแรกและกลุ่มที่สองเป็นตัวแทนของการเมืองเก่า เพราะเหตุนี้จึงกล่าวว่าในภาพรวมการต่อสู้ในทางการเมืองจะเป็นการต่อสู้ระหว่างใหม่กับเก่า
ดังนั้นกลุ่มที่สามจึงต้องรับมือกับการโจมตีของกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง กลายเป็นสองรุมหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ภายในภาคส่วนของการเมืองเก่าก็มีความขัดแย้งและมีการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง จึงก่อเกิดสภาพร่วมและแยกกันของทั้งสามกลุ่มดังนี้
กลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลอาจร่วมผลประโยชน์กับกลุ่มระบอบทักษิณได้ แต่ยากที่จะร่วมอำนาจกันได้ เว้นแต่จะไม่มีทางเลือกอย่างอื่นเท่านั้น
ภายในพรรคร่วมรัฐบาล ร่วมอำนาจกันได้ และร่วมผลประโยชน์กันได้
กลุ่มพันธมิตรฯ ในขณะนี้ไม่มีผลประโยชน์ที่จะร่วมกับใครได้ และด้วยแนวทางการเมืองใหม่ย่อมยากที่จะร่วมผลประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์กับกลุ่มใดๆ ได้ จึงมีแต่ต้องมุ่งสร้างพรรคให้ได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน
ทว่าในทางยุทธวิธีนั้น ก็ใช่ว่าจะร่วมมือกันเฉพาะเรื่องเฉพาะราวไม่ได้
ดังนั้นการกำหนดและยึดมั่นในปัญหายุทธศาสตร์ทางการเมืองและความพลิกแพลงทางยุทธวิธีของทุกกลุ่มนับแต่นี้ไป จึงมีแต่พิสดาร ซับซ้อน และเข้มข้นยิ่งขึ้นกว่าทุกระยะที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้ประชาชนเราต้องทำความเข้าใจด้วยความรู้เท่าทันอยู่เสมอ.
ทว่าพรรคการเมืองใหม่ยังเยาว์วัย ยังอยู่ในช่วงระยะเวลาการสร้างพรรคและการเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติภารกิจทางการเมืองของตน ทั้งการเมืองเก่าก็ได้เกิดขึ้นและดำเนินมาร่วม 70 ปีแล้ว ดังนั้นแม้กระแสหลักจะเป็นการต่อสู้ระหว่างใหม่กับเก่า แต่ท่ามกลางการต่อสู้นั้นก็ย่อมมีความซับซ้อนและความสับสนอันเป็นผลตกทอดมาจากอดีตมากมายนัก
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันสมควรที่จะได้มองถึงความเป็นไปของความสลับซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสักครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องใจหรือไม่ต้องใจใครก็ได้ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ แต่อย่างน้อยก็จะเป็นการจุดประกายความคิดให้ได้พิจารณากัน
ความเป็นจริงของการเมืองไทยในขณะนี้เห็นกันอยู่แล้วว่าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มพรรคการเมืองที่ครองอำนาจรัฐ ได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมใจไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน
ภายในกลุ่มแรกนี้ก็ยังมีความแปลกแยกกันเป็นอันมาก มีทั้งเรื่องที่ร่วมกันได้ และเรื่องที่ขัดแย้งกันดำรงอยู่ และมันจะยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่รู้ว่าจะจบสิ้นลงเมื่อใด
แต่ในวิถีดำเนินนั้นทั้งความร่วมและความแตกต่างอยู่ที่สิ่งเดียวเท่านั้นคือผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและผลประโยชน์ทางการเมือง
สถานการณ์ในกลุ่มแรกในปัจจุบันนี้ปรากฏว่าพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดได้จับมือกันอย่างแน่นหนา ประดุจว่าเป็นกลุ่มอีกกลุ่มหนึ่งภายในพรรคร่วมรัฐบาล ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำในรัฐบาลก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นห่วงโซ่ข้อกลาง
แต่เป็นห่วงโซ่ข้อกลางประเภทที่ตึงและพร้อมจะขาดกับพรรคที่ตนเองสังกัด ในขณะที่หย่อนและเหนียวแน่นกับพรรคร่วมที่เหลือ โดยในพรรคประชาธิปัตย์นั้นก็มีความเห็นต่างกันเป็นสองขั้ว คือขั้วผลัดใบกับขั้วศตวรรษใหม่
ความร่วมกันและความแตกต่างกันภายในกลุ่มแรกนี้ได้ส่งผลให้การเมืองและการบริหารบ้านเมืองไม่อาจเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพได้ ทั้งได้สร้างหน่อเนื้อของความแตกร้าวและความแตกแยกโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ขึ้นแล้ว
ทว่าทุกพรรคในกลุ่มแรกนี้ต่างก็เข็ดหลาบกับการร่วมงานทางการเมืองกับระบอบทักษิณ เพราะที่เคยร่วมการงานกันมานั้นก็รู้เช่นเห็นชาติกันเป็นอย่างดีว่าระบอบนั้นเป็นระบอบผูกขาดของผู้คนในครอบครัวเดียว ที่ใครอื่นใดไม่อยู่ในสายตาทั้งสิ้น ความผูกขาดนั้นยังมีลักษณะกินรวบ และมีความเสี่ยงทั้งการรักษาอำนาจและการใช้อำนาจ จนเข็ดขยาดที่จะต้องเอาอนาคตของตนเองและครอบครัวเข้าไปอยู่ในอุ้งมือของกระบวนการยุติธรรม ที่มีคุกหรือความทุกข์ทรมานเป็นอนาคต
ดังนั้นภายในกลุ่มแรกนี้จึงด้านหนึ่งสามารถประสานผลประโยชน์กันได้เพราะปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก และสามารถประสานผลประโยชน์ทางอำนาจกันได้เป็นอย่างดีเพราะไม่เคยมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใดที่พรรคร่วมมีอำนาจวาสนายิ่งใหญ่ถึงปานนี้มาก่อนเลย
กลุ่มที่สอง คือระบอบทักษิณที่ปัจจุบันนี้มีกองรบใหญ่อยู่ 3 กอง คือกองรบในสภา ได้แก่พรรคเพื่อไทย กองรบงานมวลชน คือคนเสื้อแดง และกองรบสื่อมวลชน ซึ่งเป็นอาวุธที่ทรงพลังแห่งยุคสมัย ทั้งยังมีทุนรอนมหาศาลและยังมีข้าราชการจำนวนไม่น้อยที่ยังถวิลหาอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งเคยได้รับเมื่อครั้งที่พรรคไทยรักไทยครองอำนาจรัฐ
ทว่ากลุ่มนี้กลับมีจุดอ่อนที่ใหญ่หลวง คือมีศัตรูคู่แค้นมากหลายในขอบเขตทั่วประเทศ ในทุกเหล่าชั้นชน โดยเฉพาะคนบางกลุ่มที่มีเขี้ยวเล็บอยู่ในมือ และยากที่จะประสานความเข้าใจหรือร่วมมือต่อกันได้อีกต่อไป
และด้วยจุดอ่อนนี้ก็เคยมีบทเรียนที่เด่นชัดมาแล้ว จากการได้ครองอำนาจรัฐช่วงที่สองในยุคที่ยังเป็นพรรคพลังประชาชนว่า ถึงแม้จะครองอำนาจรัฐได้ แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถรักษาอำนาจรัฐได้
กลุ่มนี้และพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศตนเป็นศัตรูทางการเมืองต่อกันอย่างชัดเจนว่า จะไม่มีวันที่จะร่วมมือกันเป็นรัฐบาลได้เลย แต่มิได้หมายความว่าการร่วมผลประโยชน์บางอย่างจะเป็นไปไม่ได้
กลุ่มนี้หวังนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับคืนสู่อำนาจโดยปราศจากความผิด ซึ่งทำได้ก็แต่โดย 2 ทางเท่านั้น คือโดยการปฏิวัติรัฐประหาร หรือโดยการเป็นรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาด
ในวันนี้หนทางรัฐประหารสำหรับกลุ่มนี้คงยากจะเกิดขึ้นได้ เพราะย่อมไม่มีผู้มีอำนาจทางทหารคนใดที่จะยอมตนเป็นผู้รับจ้างยึดอำนาจเพื่อผู้อื่น ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มนี้ย่อมมีบทเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ในห้วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
คงเหลือก็แต่หนทางรัฐสภา ซึ่งต้องได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และดูเหมือนว่ากลุ่มนี้จะรู้ดีว่ายากจะดึงพรรคการเมืองอื่นเข้าร่วมได้ เพราะวิบากกรรมอันทำไว้แต่อดีตที่ทำให้เกิดความขยาดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องมุ่งมั่นที่จะเอาชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเป็นเสียงข้างมากแต่พรรคเดียว
ความเป็นไปได้มีอยู่น้อยมาก เพราะในวันนี้พรรคภูมิใจไทยได้ครองอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพลังอำนาจครบเครื่องทุกด้าน และวางเป้าหมายพื้นที่ยุทธศาสตร์เลือกตั้งไว้ที่ภาคอีสาน จึงก่อรูปการกำหนดให้กลุ่มนี้ต้องเสริมกำลังจนต้องไปเชื้อเชิญพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามานำทัพ
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้กลุ่มนี้ได้กำหนดให้พรรคภูมิใจไทยเป็นศัตรูตัวเอก และพรรคประชาธิปัตย์เป็นศัตรูตัวรองในสมรภูมิรบทางการเมือง
สถานการณ์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่าถ้ากลุ่มนี้ไม่สามารถได้รับชัยชนะเด็ดขาดในการเลือกตั้ง ก็ยากที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ และจะต้องกลายเป็นฝ่ายค้านไปอีกนานเท่านาน ในขณะที่เวลาได้พร่ากำลังรบของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้อ่อนลงโดยลำดับ ดังนั้นจึงต้องทำการแข่งกับเวลาแม้ว่าจะต้องสุ่มเสี่ยงก็ตามที
กลุ่มที่สาม คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งในวันนี้ก็มีกองรบในเครือข่ายหลายกอง ไม่ว่าพลังมวลชนของกลุ่มพันธมิตรฯ เอง องค์กรแนวร่วม เครือข่ายสื่อที่มีเอเอสทีวีเป็นศูนย์กลาง ระบบเศรษฐกิจการเมืองใหม่ที่มีรูปธรรมในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในขอบเขตทั่วประเทศ และพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น
ในวันนี้กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีอำนาจรัฐ ไม่มีนักรบในสภา และไม่มีทุนรอนเป็นกอบเป็นกำ จึงได้แต่อาศัยพลังของมวลชนเป็นที่ตั้ง แต่เพราะการต่อสู้ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ และกล้าหาญ จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง และดูแคลนไม่ได้
พรรคพลังประชาชนล้มคว่ำไป 2 รัฐบาล ก็เพราะดูแคลนว่ากลุ่มที่สามนี้ไม่มีพลังแล้ว แตกแยกแตกความสามัคคีกันแล้ว จึงฮึกเหิมลำพองทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ และไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ แม้ในวันนี้กลุ่มแรกมีอำนาจรัฐ ก็มีอาการที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับที่พรรคพลังประชาชนเคยมีความคิดมาแล้ว
กลุ่มที่สามเป็นตัวแทนของการเมืองใหม่ ในขณะที่กลุ่มแรกและกลุ่มที่สองเป็นตัวแทนของการเมืองเก่า เพราะเหตุนี้จึงกล่าวว่าในภาพรวมการต่อสู้ในทางการเมืองจะเป็นการต่อสู้ระหว่างใหม่กับเก่า
ดังนั้นกลุ่มที่สามจึงต้องรับมือกับการโจมตีของกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง กลายเป็นสองรุมหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ภายในภาคส่วนของการเมืองเก่าก็มีความขัดแย้งและมีการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มแรกและกลุ่มที่สอง จึงก่อเกิดสภาพร่วมและแยกกันของทั้งสามกลุ่มดังนี้
กลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลอาจร่วมผลประโยชน์กับกลุ่มระบอบทักษิณได้ แต่ยากที่จะร่วมอำนาจกันได้ เว้นแต่จะไม่มีทางเลือกอย่างอื่นเท่านั้น
ภายในพรรคร่วมรัฐบาล ร่วมอำนาจกันได้ และร่วมผลประโยชน์กันได้
กลุ่มพันธมิตรฯ ในขณะนี้ไม่มีผลประโยชน์ที่จะร่วมกับใครได้ และด้วยแนวทางการเมืองใหม่ย่อมยากที่จะร่วมผลประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์กับกลุ่มใดๆ ได้ จึงมีแต่ต้องมุ่งสร้างพรรคให้ได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน
ทว่าในทางยุทธวิธีนั้น ก็ใช่ว่าจะร่วมมือกันเฉพาะเรื่องเฉพาะราวไม่ได้
ดังนั้นการกำหนดและยึดมั่นในปัญหายุทธศาสตร์ทางการเมืองและความพลิกแพลงทางยุทธวิธีของทุกกลุ่มนับแต่นี้ไป จึงมีแต่พิสดาร ซับซ้อน และเข้มข้นยิ่งขึ้นกว่าทุกระยะที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้ประชาชนเราต้องทำความเข้าใจด้วยความรู้เท่าทันอยู่เสมอ.