ที่ทำเนียบรัฐฐาล เมื่อเวลา 08.00 น. (9 ต.ค.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และอ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม 2552 มีฝ่ายความมั่นคงเข้าประชุมพร้อมเพรียง อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความั่นคง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผบ.ตร.
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม กอ.รมน. ว่าที่ประชุม กอ.รมน.อนุมัติแผนยุทธการร่วม ชะอำ-หัวหิน 521 จัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการร่วมรักษาความปลอดภัย (ศอร.รปภ) โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยจะเป็นการทำงานสนธิกำลังกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และพลเรือน 18,298 คน ในการรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนระหว่างวันที่ 23 - 25 ต.ค.นี้ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
ในทางการข่าวอาจมีการเคลื่อนไหวบางเล็กๆ น้อยๆ เฉพาะบางกลุ่มที่ฝังตัวอยู่ในพื้นที่นานแล้ว ซึ่งควบคุมได้ แต่ในการเชื่อมโยงระดับต่างประเทศ หรือ การก่อการร้ายสากล ยังไม่มีความเคลื่อนไหว แต่จะมีการประสานข้อมูลกันโดยตลอด
ทั้งนี้ในเขตพื้นที่ 9 ตำบล ของ 2 จังหวัด กำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นในคุมเข้มการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ ตามประกาศ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในฯ ที่ห้ามการชุมนุมเคลื่อนไหวใดๆ เด็ดขาด แต่ในส่วนนอกเขตพื้นที่ชั้นในออกไป สามารถชุมนุมเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เบื้องต้นรายงานแจ้งว่ามีกลุ่มเคลื่อนไหว 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งมีความเคลื่อนไหวมาโดยตลอด ในพื้นที่ 2 จังหวัดดังกล่าว 2.กลุ่มองค์กรภาคประชาชน และ 3.กลุ่มนักวิชาการ ที่จะจัดการประชุมเคลื่อนไหวซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ในคราวนี้ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทาง ศอร.รปภ. จะเฝ้าระวังและจับตาเป็นพิเศษ
จะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมสื่อมวลชน พร้อมกับตั้งโฆษกกองทัพบก รองผู้ว่าราชการทั้ง 2 จังหวัดร่วมกันเป็นโฆษกร่วม ศอร.รปภ. เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ให้กับประชาชนและสื่อมวลชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวว่า อาจจะมีกลุ่มก่อการร้ายจากต่างประเทศแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อก่อความวุ่นวายในการประชุมหรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า ยังไม่พบว่ามีกลุ่มก่อการร้ายจากต่างประเทศจะแฝงตัวมาก่อความวุ่นวายในการชุมนุม ครั้งนี้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังไว้ ส่วนกลุ่มมือที่ 3 ที่อาจแฝงตัวมาร่วมก่อเหตุ ก็คงต้องเฝ้าระวังไว้ด้วยเช่นกัน
สำหรับพื้นที่กทม.ก็ต้องเฝ้าระวังไว้เช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ที่อาจส่งผลกระทบมาถึงการประชุมได้ ส่วนจะต้องประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในพื้นที่กทม.เนื่องจากจะมีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงด้วยหรือไม่ คงต้องรอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
นายปณิธาน กล่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำในที่ประชุมเป็นพิเศษว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นภารกิจสำคัญ เพราะจะเป็นบททดสอบในการฟื้น ความเชื่อมั่นจากนานาชาติว่าประเทศไทยเข้าสู่สภาวะปกติ และ เป็นการยืนยันว่าประเทศไทยพร้อมแล้วสำหรับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมระดับสากลต่อไปในอนาคต
พล.ต.ดิฏฐพร ศศะสมิต โฆษก กอ.รมน. กล่าวว่าในการดูแลความปลอดภัยในครั้งนี้จะเข้มงวดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในพื้นที่ชั้นใน 9 ตำบล ด้วยการเปิดลงทะเบียนให้ประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 9 ตำบลทุกคนต้องมาลงทะเบียนต่อ ศอร.รปภ. เพื่อรับสติ๊กเกอร์ บาร์โค้ดรถที่เข้ามาในพื้นที่ เพื่อบ่งชี้ว่าประชาชน หรือ ยานพาหนะของบุคคลนั้นๆ อยู่ในพื้นที่ต้องห้ามที่ทาง ศอร.รปภ.กำหนดไว้ เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ ศอร.รปภ.จะสังเกตความผิดปกติจาก 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ สติ๊กเกอร์ ทะเบียนบ้านบัตรประชาชน และ รูปพรรณสัญฐาน ซึ่งสติ๊กเกอร์ดังกล่าวจะใช้เวลาตรวจสอบเพียง 4 วินาทีเท่านั้น จะทราบทันทีว่า บุคคลนั้นเป็นใครมาจากไหน
ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับผิดชอบในการดูแลเส้นทางการจราจรทั้งหมด โดยจะจัดอาเซียนเลน( Asian lane) สำหรับการเดินทางไปประชุมของขบวนรถ ผู้นำอาเซียน 16 ชาติ จึงไม่จำเป็นต้องปิดถนนแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ ตำรวจจะประกาศเป็นระยะๆให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบเพื่อให้หลีกเลี่ยงเส้นทาง ถนนเพชรเกษมในช่วงวันเวลาวันประชุมด้วย
นอกจากนี้ทางกองทัพเรือได้จัดเตรียมเรือ 12 ลำในการตรวจการณ์ชายฝั่งที่ห่างออกไป 3 ไมล์ทะเล ห้ามเรือหรือมีการเคลื่อนไหวใดๆ ตลอดแนวชายฝั่งหาดชะอำ-หัวหิน แต่ห่างออกไป 12 ไมล์ทะเล จะเป็นเพียงเฝ้าสังเกตการณ์ตามปกติเท่านั้น พร้อมกับทางกองทัพอากาศจัดกำลังดูแลความเรียบร้อยสนามบินหัวหิน และจัดเตรียมเฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์ และ บินติดตามเหนือขบวนรถผู้นำอาเซียน โดยขึ้นอยู่กับภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้วย
ด้าน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง กล่าว ถึงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 11ต.ค.นี้ว่า อยากจะขอความกรุณาให้เห็นกับบ้านเมือง การชุมนุมขอให้เป็นไปด้วยความสงบ อย่าทำอะไรให้ผิดกฎหมาย อย่าทำอะไรทำให้เกิดความรุนแรง เสียหายต่อภาพของประเทศไทย จะทำให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเสียหายไปด้วย เดือดร้อนกันไปหมด อย่างไรก็ตามก็ไม่ประมาทจะพยายามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษากฎหมาย รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเอาไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้รับรายงานด้านการข่าวหรือไม่ว่าจะมีการก่อเหตุรุนแรง หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกจะมีความรุนแรง ทั้งนี้ในช่วงเดือน ต.ค.เป็นต้นไปจนถึงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเสร็จเรียบร้อยก็จะมีพิจารณาประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ในพื้นที่กรุงเทพฯด้วย แต่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีก่อน เพราะเป็นช่วงเดียวกับการประชุมอาเซียน ซึ่งต้องดูแลให้เรียร้อยที่สุด เพราะว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นข่าว เป็นความเสียหายกับบ้านเมืองทั้งนั้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ยกเว้นแต่จะมีข่าวเป็นอย่างอื่น
ผมมีหน้าที่ดูแลความมั่นคง ดูแลความสงบเรียบร้อย ผมจะดูจากงานข่าว และจากการประเมินทั้งหลายถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นต้องใช้พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ มาแก้ปัญหาผมก็ทำ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ทำ ขณะนี้คิดว่าจะยังไม่ออกพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ยกเว้นคืนนี้ พรุ่งนี้ข่าวเปลี่ยนแปลงว่ากันไป ดูแลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งระยะเวลาประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯในพื้นที่กรุงเทพฯ อาจจะสั้นกว่าการประกาศ ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งกำลังพิจารณา อาจจะเป็นระหว่างวันที่ 15-25 ต.ค.2552 ต้องดูการข่าว การประเมินด้วย
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม กอ.รมน. ว่าที่ประชุม กอ.รมน.อนุมัติแผนยุทธการร่วม ชะอำ-หัวหิน 521 จัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการร่วมรักษาความปลอดภัย (ศอร.รปภ) โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยจะเป็นการทำงานสนธิกำลังกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และพลเรือน 18,298 คน ในการรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนระหว่างวันที่ 23 - 25 ต.ค.นี้ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
ในทางการข่าวอาจมีการเคลื่อนไหวบางเล็กๆ น้อยๆ เฉพาะบางกลุ่มที่ฝังตัวอยู่ในพื้นที่นานแล้ว ซึ่งควบคุมได้ แต่ในการเชื่อมโยงระดับต่างประเทศ หรือ การก่อการร้ายสากล ยังไม่มีความเคลื่อนไหว แต่จะมีการประสานข้อมูลกันโดยตลอด
ทั้งนี้ในเขตพื้นที่ 9 ตำบล ของ 2 จังหวัด กำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นในคุมเข้มการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ ตามประกาศ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในฯ ที่ห้ามการชุมนุมเคลื่อนไหวใดๆ เด็ดขาด แต่ในส่วนนอกเขตพื้นที่ชั้นในออกไป สามารถชุมนุมเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เบื้องต้นรายงานแจ้งว่ามีกลุ่มเคลื่อนไหว 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งมีความเคลื่อนไหวมาโดยตลอด ในพื้นที่ 2 จังหวัดดังกล่าว 2.กลุ่มองค์กรภาคประชาชน และ 3.กลุ่มนักวิชาการ ที่จะจัดการประชุมเคลื่อนไหวซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ในคราวนี้ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทาง ศอร.รปภ. จะเฝ้าระวังและจับตาเป็นพิเศษ
จะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมสื่อมวลชน พร้อมกับตั้งโฆษกกองทัพบก รองผู้ว่าราชการทั้ง 2 จังหวัดร่วมกันเป็นโฆษกร่วม ศอร.รปภ. เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ให้กับประชาชนและสื่อมวลชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานข่าวว่า อาจจะมีกลุ่มก่อการร้ายจากต่างประเทศแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อก่อความวุ่นวายในการประชุมหรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า ยังไม่พบว่ามีกลุ่มก่อการร้ายจากต่างประเทศจะแฝงตัวมาก่อความวุ่นวายในการชุมนุม ครั้งนี้ แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังไว้ ส่วนกลุ่มมือที่ 3 ที่อาจแฝงตัวมาร่วมก่อเหตุ ก็คงต้องเฝ้าระวังไว้ด้วยเช่นกัน
สำหรับพื้นที่กทม.ก็ต้องเฝ้าระวังไว้เช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ที่อาจส่งผลกระทบมาถึงการประชุมได้ ส่วนจะต้องประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในพื้นที่กทม.เนื่องจากจะมีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงด้วยหรือไม่ คงต้องรอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
นายปณิธาน กล่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำในที่ประชุมเป็นพิเศษว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นภารกิจสำคัญ เพราะจะเป็นบททดสอบในการฟื้น ความเชื่อมั่นจากนานาชาติว่าประเทศไทยเข้าสู่สภาวะปกติ และ เป็นการยืนยันว่าประเทศไทยพร้อมแล้วสำหรับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมระดับสากลต่อไปในอนาคต
พล.ต.ดิฏฐพร ศศะสมิต โฆษก กอ.รมน. กล่าวว่าในการดูแลความปลอดภัยในครั้งนี้จะเข้มงวดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในพื้นที่ชั้นใน 9 ตำบล ด้วยการเปิดลงทะเบียนให้ประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 9 ตำบลทุกคนต้องมาลงทะเบียนต่อ ศอร.รปภ. เพื่อรับสติ๊กเกอร์ บาร์โค้ดรถที่เข้ามาในพื้นที่ เพื่อบ่งชี้ว่าประชาชน หรือ ยานพาหนะของบุคคลนั้นๆ อยู่ในพื้นที่ต้องห้ามที่ทาง ศอร.รปภ.กำหนดไว้ เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ ศอร.รปภ.จะสังเกตความผิดปกติจาก 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ สติ๊กเกอร์ ทะเบียนบ้านบัตรประชาชน และ รูปพรรณสัญฐาน ซึ่งสติ๊กเกอร์ดังกล่าวจะใช้เวลาตรวจสอบเพียง 4 วินาทีเท่านั้น จะทราบทันทีว่า บุคคลนั้นเป็นใครมาจากไหน
ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับผิดชอบในการดูแลเส้นทางการจราจรทั้งหมด โดยจะจัดอาเซียนเลน( Asian lane) สำหรับการเดินทางไปประชุมของขบวนรถ ผู้นำอาเซียน 16 ชาติ จึงไม่จำเป็นต้องปิดถนนแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ ตำรวจจะประกาศเป็นระยะๆให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบเพื่อให้หลีกเลี่ยงเส้นทาง ถนนเพชรเกษมในช่วงวันเวลาวันประชุมด้วย
นอกจากนี้ทางกองทัพเรือได้จัดเตรียมเรือ 12 ลำในการตรวจการณ์ชายฝั่งที่ห่างออกไป 3 ไมล์ทะเล ห้ามเรือหรือมีการเคลื่อนไหวใดๆ ตลอดแนวชายฝั่งหาดชะอำ-หัวหิน แต่ห่างออกไป 12 ไมล์ทะเล จะเป็นเพียงเฝ้าสังเกตการณ์ตามปกติเท่านั้น พร้อมกับทางกองทัพอากาศจัดกำลังดูแลความเรียบร้อยสนามบินหัวหิน และจัดเตรียมเฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์ และ บินติดตามเหนือขบวนรถผู้นำอาเซียน โดยขึ้นอยู่กับภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้วย
ด้าน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง กล่าว ถึงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันอาทิตย์ที่ 11ต.ค.นี้ว่า อยากจะขอความกรุณาให้เห็นกับบ้านเมือง การชุมนุมขอให้เป็นไปด้วยความสงบ อย่าทำอะไรให้ผิดกฎหมาย อย่าทำอะไรทำให้เกิดความรุนแรง เสียหายต่อภาพของประเทศไทย จะทำให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเสียหายไปด้วย เดือดร้อนกันไปหมด อย่างไรก็ตามก็ไม่ประมาทจะพยายามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษากฎหมาย รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเอาไว้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้รับรายงานด้านการข่าวหรือไม่ว่าจะมีการก่อเหตุรุนแรง หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกจะมีความรุนแรง ทั้งนี้ในช่วงเดือน ต.ค.เป็นต้นไปจนถึงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเสร็จเรียบร้อยก็จะมีพิจารณาประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ในพื้นที่กรุงเทพฯด้วย แต่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีก่อน เพราะเป็นช่วงเดียวกับการประชุมอาเซียน ซึ่งต้องดูแลให้เรียร้อยที่สุด เพราะว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นข่าว เป็นความเสียหายกับบ้านเมืองทั้งนั้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ยกเว้นแต่จะมีข่าวเป็นอย่างอื่น
ผมมีหน้าที่ดูแลความมั่นคง ดูแลความสงบเรียบร้อย ผมจะดูจากงานข่าว และจากการประเมินทั้งหลายถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นต้องใช้พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ มาแก้ปัญหาผมก็ทำ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ทำ ขณะนี้คิดว่าจะยังไม่ออกพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ยกเว้นคืนนี้ พรุ่งนี้ข่าวเปลี่ยนแปลงว่ากันไป ดูแลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งระยะเวลาประกาศพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯในพื้นที่กรุงเทพฯ อาจจะสั้นกว่าการประกาศ ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งกำลังพิจารณา อาจจะเป็นระหว่างวันที่ 15-25 ต.ค.2552 ต้องดูการข่าว การประเมินด้วย