ASTVผู้จัดการรายวัน – ซีพีเอฟ เดินเกมสร้างแบรนด์ผ่านโครงการซีเอสอาร์ทั้งในและต่างประเทศ หวังสร้างภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นและยั่งยืนองค์กร ตราสินค้า ผลิตภัณฑ์ ทุ่ม 15 ล้านบาท นำร่องโครงการ “ซีพีเอฟ เพื่อชีวิตยั่งยืน” เท 1,000 ล้านบาท ผุดโรงงานอินเดีย มั่นใจปีหน้าเศรษฐกิจเริ่มฟื้น สิ้นปีผลประกอบการโต 5-10% ตามเป้าหมาย โชว์ปรับโมเดลธุรกิจกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 4,000 ล้านบาท
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวทางการตลาดของบริษัท มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ซีพีเอฟ ผ่านการทำโครงการการทำตลาดอย่างรับผิดชอบสังคม (Corporate Social Responsibility :CSR) ที่ดำเนินการมากกว่า 40 ปี โดยจะเริ่มใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้านซีเอสอาร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่น และความยั่งยืนให้กับบริษัท ตราสินค้า และผลิตภัณฑ์ ซึ่งปีนี้บริษัทวางงบซีเอสอาร์ 300 ล้านบาท จากปัจจุบันซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเกือบ 90 ปี บนหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ของท่านประธาน ธนินท์ เจียรวนนท์ คือ ธุรกิจที่ทำต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชนและบริษัท
ล่าสุดรุกโฆษณาประชาสัมพันธ์การทำซีเอสอาร์โมเดลนำร่อง และเป็นครั้งแรกของบริษัท ทุ่ม 15 ล้านบาท เปิดตัวโครงการ “ซีพีเอฟ เพื่อชีวิตยั่งยืน” ในโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ในระยะ 1 เดือน และคาดว่าสิ้นปีใช้งบ 30-40 ล้านบาท โดยการเลือกไข่ไก่เป็นสินค้าที่มาสื่อสารเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ
ส่วนในต่างประเทศในปีหน้านี้บริษัทจะเริ่มมีการทำสื่อโฆษณาซีเอสอาร์ในประเทศที่เข้าไปลงทุนสร้างโรงงาน 15 ประเทศ จากการดำเนินธุรกิจ 30 ประเทศทั่วโลก อาทิ เวียดนาม จีน พม่า บังคลาเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างวางงบการใช้สื่อ จากปัจจุบันบริษัทใช้งบการตลาดทั้งในและต่างประเทศ 450 ล้านบาท แบ่งเป็น ในประเทศ 200 ล้านบาท และต่างประเทศ 250 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ดำเนินการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เน้นการสร้างแบรนด์และสินค้าเข้าถึงผู้บริโภค การปรับระบบลอจิสติกส์ให้ทันสมัย หรือกระทั่งการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจอาหาร พร้อมกันนี้บริษัทได้ทุ่มงบลงทุน 500-1,000 ล้านบาท สร้างโรงงานธุรกิจสัตว์น้ำและบกที่ ประเทศอินเดีย และลงทุนโรงงานเนื้อไก่ในรัสเซีย เนื่องจากภายในประเทศขาดแคลน
ส่วนฟิลิปปินส์ลงทุนในกลุ่มธุรกิจสัตว์น้ำ และกำลังอยู่ระหว่างเจรจาธุรกิจสุกร ส่วนในประเทศบริษัทวางแผนขยายช่องทางจำหน่ายภายใต้ซีพี เฟรชมาร์ท จาก 500-600 แห่ง เป็น 2,000-3,000 แห่ง
นายอดิเรก กล่าวว่า จากการที่ภาครัฐอัดงบกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางโครงการไทยเข้มแข็ง คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจปีหน้านี้เริ่มดีขึ้นและเติบโตอย่างมั่นคง เนื่องจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นธุรกิจพื้นฐานหลักของประเทศไทยในสัดส่วน 50% มีแนวโน้มดีขึ้นจากการผลิตพืชที่เป็นพลังงานทางเลือกป้อนกับให้กับตลาด เพราะในอนาคตราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นส่งผลให้ภาคธุรกิจหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งในรายเล็กและระดับกลาง
สำหรับผลประกอบการทั้งปีบริษัทตั้งเป้าเติบโต 5-10% จากเป้าหมายตั้งเป้าเติบโต 5% โดยในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่ารายได้จะดีกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสี่คาดว่ามีอัตราการเติบโตที่ดีกว่า ไตรมาส 3 ซึ่งกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 4,000 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโมเดลการดำเนินธุรกิจ เน้นสร้างแบรนด์ซีพีเอฟ
และลดกลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์ลงแต่หันมาผลิตอาหารสำเร็จรูปทดแทน เพื่อลดความเสี่ยงการผันผวนราคาเนื้อสัตว์ และมาจากต้นทุนการผลิตลดลง จากราคาน้ำมันที่ลดลง
ทั้งนี้ปัจจุบันสัดส่วนรายได้แบ่งเป็น กลุ่มอาหารสำเร็จรูป 55% จากการเติบโต 30-50% ส่วนกลุ่มอาหารสัตว์ 45% ขณะที่ด้านการส่งออกเติบโต 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันโต 16%
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวทางการตลาดของบริษัท มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ซีพีเอฟ ผ่านการทำโครงการการทำตลาดอย่างรับผิดชอบสังคม (Corporate Social Responsibility :CSR) ที่ดำเนินการมากกว่า 40 ปี โดยจะเริ่มใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้านซีเอสอาร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่น และความยั่งยืนให้กับบริษัท ตราสินค้า และผลิตภัณฑ์ ซึ่งปีนี้บริษัทวางงบซีเอสอาร์ 300 ล้านบาท จากปัจจุบันซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเกือบ 90 ปี บนหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ของท่านประธาน ธนินท์ เจียรวนนท์ คือ ธุรกิจที่ทำต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชนและบริษัท
ล่าสุดรุกโฆษณาประชาสัมพันธ์การทำซีเอสอาร์โมเดลนำร่อง และเป็นครั้งแรกของบริษัท ทุ่ม 15 ล้านบาท เปิดตัวโครงการ “ซีพีเอฟ เพื่อชีวิตยั่งยืน” ในโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ในระยะ 1 เดือน และคาดว่าสิ้นปีใช้งบ 30-40 ล้านบาท โดยการเลือกไข่ไก่เป็นสินค้าที่มาสื่อสารเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ
ส่วนในต่างประเทศในปีหน้านี้บริษัทจะเริ่มมีการทำสื่อโฆษณาซีเอสอาร์ในประเทศที่เข้าไปลงทุนสร้างโรงงาน 15 ประเทศ จากการดำเนินธุรกิจ 30 ประเทศทั่วโลก อาทิ เวียดนาม จีน พม่า บังคลาเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างวางงบการใช้สื่อ จากปัจจุบันบริษัทใช้งบการตลาดทั้งในและต่างประเทศ 450 ล้านบาท แบ่งเป็น ในประเทศ 200 ล้านบาท และต่างประเทศ 250 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ดำเนินการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เน้นการสร้างแบรนด์และสินค้าเข้าถึงผู้บริโภค การปรับระบบลอจิสติกส์ให้ทันสมัย หรือกระทั่งการใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจอาหาร พร้อมกันนี้บริษัทได้ทุ่มงบลงทุน 500-1,000 ล้านบาท สร้างโรงงานธุรกิจสัตว์น้ำและบกที่ ประเทศอินเดีย และลงทุนโรงงานเนื้อไก่ในรัสเซีย เนื่องจากภายในประเทศขาดแคลน
ส่วนฟิลิปปินส์ลงทุนในกลุ่มธุรกิจสัตว์น้ำ และกำลังอยู่ระหว่างเจรจาธุรกิจสุกร ส่วนในประเทศบริษัทวางแผนขยายช่องทางจำหน่ายภายใต้ซีพี เฟรชมาร์ท จาก 500-600 แห่ง เป็น 2,000-3,000 แห่ง
นายอดิเรก กล่าวว่า จากการที่ภาครัฐอัดงบกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางโครงการไทยเข้มแข็ง คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจปีหน้านี้เริ่มดีขึ้นและเติบโตอย่างมั่นคง เนื่องจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นธุรกิจพื้นฐานหลักของประเทศไทยในสัดส่วน 50% มีแนวโน้มดีขึ้นจากการผลิตพืชที่เป็นพลังงานทางเลือกป้อนกับให้กับตลาด เพราะในอนาคตราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นส่งผลให้ภาคธุรกิจหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งในรายเล็กและระดับกลาง
สำหรับผลประกอบการทั้งปีบริษัทตั้งเป้าเติบโต 5-10% จากเป้าหมายตั้งเป้าเติบโต 5% โดยในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่ารายได้จะดีกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสี่คาดว่ามีอัตราการเติบโตที่ดีกว่า ไตรมาส 3 ซึ่งกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 4,000 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโมเดลการดำเนินธุรกิจ เน้นสร้างแบรนด์ซีพีเอฟ
และลดกลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์ลงแต่หันมาผลิตอาหารสำเร็จรูปทดแทน เพื่อลดความเสี่ยงการผันผวนราคาเนื้อสัตว์ และมาจากต้นทุนการผลิตลดลง จากราคาน้ำมันที่ลดลง
ทั้งนี้ปัจจุบันสัดส่วนรายได้แบ่งเป็น กลุ่มอาหารสำเร็จรูป 55% จากการเติบโต 30-50% ส่วนกลุ่มอาหารสัตว์ 45% ขณะที่ด้านการส่งออกเติบโต 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันโต 16%